ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความโกรธคืออะไร ? คุณเคยโกรธไหม ? ทำไมเราถึงโกรธกัน ?  (อ่าน 11211 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ความโกรธคืออะไร ?   คุณเคยโกรธไหม ?  ทำไมเราถึงโกรธกัน ?

   ขอเชิญร่วม สนทนาธรรม ในเรื่องของความเกิด

คุณเองเคยไหม เป็นอย่างไร
   :72:
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :32: :33: :34:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ความโกรธคืออะไร ?  คุณเคยโกรธไหม ?  คุณเองเป็นอย่างไร



ผมมีปกติชอบคนซื่อ ใจเย็น พูดจาเป็น รู้จักให้อภัย และอย่าหลักการมาก เพราะผมไม่แคร์การมีเพื่อนมากวุ่นวายครับ ต้องเรียกว่า "โกรธ" คนง่ายมากมาก แม้จะดูเงียบเงียบก็ตาม ชอบคิดชอบทำคนเดียว รักคนใสซื่อไม่แอบแฝง เพียงคุณพูดผิดหูไม่ซื่อจบทันทีโดยคุณไม่จำเป็นต้องรู้ คนสันดานโทสะเป็นเจ้าเรือนก็เช่นนี้



http://www.khontai.com/webboard/index.php?topic=6880.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 16, 2013, 03:06:20 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 >:( >:( >:( >:( >:( >:(
 :P :P :P :P :P :P :P
 :'( :'( :'( :'( :'( :'( :'(
 :38: :38: :38: :38: :38: :38:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ความโกรธ คือ หน้าดำ หน้าแดง หน้าเขียว

   หน้าดำ หมายถึง โกรธแล้วคิดไม่ออก เพราะแก้ตัวไม่ได้
   หน้าแดง หมายถึง โกรธแล้วอาย ต้องล้างบางกันไปข้าง
   หน้าเขียว หมายถึง โกรธแล้วเก็บ เพราะฝังลึกแค้น

 สรุปแล้วความโกรธ มีสองแบบ คือ โกรธแบบมีเหตุผลให้โกรธ โกรธแบบไม่มีเหตุผลให้โกรธ

 เคยโกรธไหม เป็นคำถามที่ โง่ นะครับ เพราะว่า เหมือนถามว่าเคยกินข้าวไหม ก็ ปุถุชน จะไม่โกรธได้อย่างไร ที่จะไม่โกรธ โน่น พระอนาคามี เชียวนะครับ ถึงจะไม่โกรธ กัน

  :41: :41: :41: :96: :96: :96:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ภาพจากเฟซบุ้ค Weera Sukmetup Phrakrusittisongvon


อุปกิเลส ๑๖

     [๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่าไหน เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต [คือ]
             - อภิชฌาวิสมโลภะ [ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง]
             - พยาบาท [ปองร้ายเขา]
             - โกธะ [โกรธ]
             - อุปนาหะ [ผูกโกรธไว้]
             - มักขะ [ลบหลู่คุณท่าน]
             - ปลาสะ [ยกตนเทียบเท่า]
             - อิสสา [ริษยา]
             - มัจฉริยะ [ตระหนี่]
             - มายา [มารยา]
             - สาเฐยยะ [โอ้อวด]
             - ถัมภะ [หัวดื้อ]
             - สารัมภะ [แข่งดี]
             - มานะ [ถือตัว]
             - อติมานะ [ดูหมิ่นท่าน]
             - มทะ [มัวเมา]
             - ปมาทะ [เลินเล่อ]

     เหล่านี้เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต.

_________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/read/?12/93/65


ans1 ans1 ans1

[๙๐๘] ในทุกมาติกาเหล่านั้น โกธะ ความโกรธ เป็นไฉน
           ความโกรธ กิริยาที่โกรธ สภาพที่โกรธ
           ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย สภาพที่คิดประทุษร้าย
           ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย สภาพที่คิดปองร้าย
           ความยินร้าย ความยินร้ายอย่างแรง ความดุร้าย ความปากร้าย
           ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า โกธะ ความโกรธ

_________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=12175&Z=12334&pagebreak=0


 ans1 ans1 ans1


อุปกิเลส หรือ จิตตอุปกิเลส 16 (ธรรมเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี)

       1. อภิชฌาวิสมโลภะ (คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร, โลภกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร)
       2. พยาบาท (คิดร้ายเขา)
       3. โกธะ (ความโกรธ)
       4. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ)
       5. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีของผู้อื่น, การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น)
       6. ปลาสะ (ความตีเสมอ, ยกตัวเทียมท่าน, เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน)
       7. อิสสา (ความริษยา)
       8. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
       9. มายา (มารยา)
       10. สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, หลอกด้วยคำโอ้อวด)
       11. ถัมภะ (ความหัวดื้อ, กระด้าง)
       12. สารัมภะ (ความแข่งดี, ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน)
       13. มานะ (ความถือตัว, ทะนงตน)
       14. อติมานะ (ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา, ดูหมิ่นเขา)
       15. มทะ (ความมัวเมา)
       16. ปมาทะ (ความประมาท, ละเลย, เลินเล่อ)


       ข้อ 2 มีต่างออกไป คือ ในธัมมทายาทสูตร เป็น โทสะ (ความคิดประทุษร้ายเขา)

_________________________________
อ้างอิง :-  ม.มู. 12/26/26 ; ม.มู. 12/93/65.
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


 ans1 ans1 ans1

โกธะ ความโกรธ, เคือง, ขุ่นเคือง
_______________________________________________
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


 ans1 ans1 ans1

โกรธ
    [โกฺรด] ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า “ทรงพระโกรธ” ก็ใช้ เช่น ก็จะทรงพระโกรธดั่งเพลิงกาล. (อิเหนา). (ส. โกฺรธ).
________________________________________
พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 17, 2013, 11:40:10 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ภาพจากเฟซบุ้ค Weera Sukmetup Phrakrusittisongvon

โกธะ(ความโกรธ) ละด้วย "อนาคามิมรรค"

[๙๔] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ด้วยคำอธิบายเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความผ่องใส จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ส โข โส ภิกฺขเว ดังนี้.
      บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิติ วิทิตฺวา แปลว่า รู้อย่างนี้.
      บทว่า ปชหติ ความว่า ละ (อุปกิเลสแห่งจิต) ด้วยอริยมรรคด้วยอำนาจแห่งสมุจเฉทปหาน.
      ในบทว่า ปชหติ นั้น พึงทราบการละมีอยู่ ๒ อย่าง คือ
         - (ละ) ตามลำดับกิเลส
         - และตามลำดับมรรค.

       ans1 ans1 ans1

      (จะอธิบายการละ) ตามลำดับกิเลสก่อน.
      กิเลส ๖ เหล่านี้คือ อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภโดยไม่ชอบธรรมคือความเพ่งเล็ง) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ถือตัว) อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) มทะ (มัวเมา) ย่อมละได้ด้วยอรหัตตมรรค.
      กิเลส ๔ เหล่านี้คือ พยาปาทะ (ความพยาบาท) โกธะ (ความโกรธ) อุปนาหะ (ความผูกโกรธไว้) ปมาทะ (เลินเล่อ) ย่อมละด้วยอนาคามิมรรค.
      กิเลส ๖ เหล่านี้คือ มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ตีเสมอ) อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ตระหนี่) มายา (มารยา, เจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (โอ้อวด) ย่อมละด้วยโสดาปัตติมรรค.


      ans1 ans1 ans1

    ส่วนการละตามลำดับมรรคจะอธิบายดังต่อไปนี้:-
    กิเลส ๖ เหล่านี้ คือ มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ตีเสมอ) อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ตระหนี่) มายา (มารยา, เจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (โอ้อวด) ย่อมละด้วยโสดาปัตติมรรค.
    กิเลส ๔ เหล่านี้ คือ พยาปาทะ (ความพยาบาท) โกธะ (ความโกรธ) อุปนาหะ (ความผูกโกรธไว้) ปมาทะ (เลินเล่อ) ย่อมละด้วยอนาคามิมรรค.
   กิเลส ๖ เหล่านี้คือ อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภโดยไม่ชอบธรรมคือความเพ่งเล็ง) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ถือตัว) อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) มทะ (มัวเมา) ย่อมละด้วยอรหัตตมรรค.


    แต่ในที่นี้กิเลสเหล่านี้จะถูกฆ่าด้วยโสดาปัตติมรรค หรือถูกฆ่าด้วยมรรคที่เหลือก็ตาม ถึงกระนั้นพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเป็นต้นว่า บุคคลย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ดังนี้
    ทรงหมายเอาการละด้วยอนาคามิมรรคนั่นเอง. ฯลฯ...

______________________________________________________
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค วัตถูปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยผ้า
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=91


จิตนี้เป็นธรรมชาติประภัสสร ก็จิตนั้นแลเศร้าหมองไปเพราะอุปกิเลสที่จรมา
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ภาพจากเฟซบุ้ค Weera Sukmetup Phrakrusittisongvon

สุภาษิตว่าด้วยความโกรธ

     ความโกรธเป็นกิเลสที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง หากผู้ใดถูกความโกรธครอบงำจะเกิดความมืดมนจนลืมตน หากไม่สามารถระงับดับความโกรธได้อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายได้ มีคดีความมากมายที่มีสาเหตุมาจากความโกรธ บางครั้งอาจจะทำให้เกิดมีผู้เสียชีวิตได้หรืออาจจะเกิดอันตรายต่อสังคมได้ ความโกรธก่อความพินาศ แม้จะรู้แต่ทว่าบางครั้งก็ระงับไม่ได้ ธรรมที่มาคู่กับความโกรธคือความเมตตา หากโลกนี้มีเมตตาต่อกันย่อมจะมีแต่ความสงบสันติ วันนี้ได้นำสุภาษิตที่ว่าด้วยความโกรธมาฝาก โปรดพิจารณา

สุภาษิตในโกธวรรคคือหมวดความโกรธ    
   
1. น  หิ  สาธุ  โกโธ.
            ความโกรธไม่ดีเลย.
            ขุ.  ชา.  ฉกฺก.  27/188.
2. โกโธ  สตฺถมลํ  โลเก.
            ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก.
            สํ.  ส.  15/60.
3. อนตฺถชนโน  โกโธ.
            ความโกรธก่อความพินาศ.
            องฺ.  สตฺตก.  23/99.
4. อนฺธตมํ  ตทา  โหติ  ยํ    โกโธ  สหเต  นรํ.
            ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด  ความมืดมนย่อมมีเมื่อนั้น.
            องฺ.  สตฺตก.  23/99.  ขุ.  มหา.  29/18.
5. อปฺโป  หุตฺวา  พหุ  โหติ  วฑฺฒเต  โส  อขนฺติโช.
            ความโกรธน้อยแล้วมาก  มันเกิดจากความไม่อดทนจึงทวีขึ้น.
            ขุ.  ชา.  ทสก.  27/273.
6. โกโธ  ทุมฺเมธโคจโร.           
            ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม.
            ขุ.  ชา.  ทสก.  27/280.
7. โทโส  โกธสมุฏฺฐาโน.
            โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน.
            ขุ.  ชา.  ทสก.  27/273.
8. นตฺถิ  โทสสโม  คโห.
            ผู้จับเสมอด้วยโทสะ  ไม่มี.
            ขุ.  ธ.  25/48.
9. นตฺถิ  โทสสโม  กลิ.
            ความผิดเสมอด้วยโทสะไม่มี.
            ขุ.  ธ.  25/42.
10. โกธํ  ฆตฺวา  สุขํ  เสติ.
            ฆ่าความโกรธได้  อยู่เป็นสุข.
            สํ.  ส.  15/57/64.
11. โกธํ  ฆตฺวา  น  โสจติ.
            ฆ่าความโกรธได้  ไม่เศร้าโศก.
            สํ.  ส.  15/57, 64.
12. โกธาภิภูโต  กุสลํ  ชหาติ.
            ผู้ถูกความโกรธครอบงำ  ย่อมละกุศลเสีย.
            นัย.  ขุ.  ชา.  ทสก.  27/286.
13. โกธโน  ทุพฺพณฺโณ  โหติ.           
            คนมักโกรธ  ย่อมมีผิวพรรณเศร้าหมอง.
            องฺ.  สตฺตก.  23/98.
14. ทุกฺขํ  สยติ  โกธโน.
            คนมักโกรธ  ย่อมอยู่เป็นทุกข์.
            นัย.  องฺ.  สตฺตก.  23/98.
15. อโถ  อตฺถํ  คเหตฺวาน    อนตฺถํ  ปฏิปชฺชติ.
            คนมักโกรธถือเอาประโยชน์แล้ว  กลับประพฤติไม่เป็นประโยชน์.
            องฺ.  สตฺตก.  23/98.
16. โกธาภิภูโต  ปุริโส    ธนชานึ  นิคจฺฉติ.
            ผู้ถูกความโกรธครอบงำ  ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์.
            องฺ.  สตฺตก.  23/98.
17. โกธสมฺมทสมฺมตฺโต    อายสกฺยํ  นิคจฺฉติ.
            ผู้เมามึนด้วยความโกรธ  ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์.
            องฺ.  สตฺตก.  23/98.
18. าติมิตฺตา  สุหชฺชา  จ    ปริวชฺเชนฺติ  โกธนํ.
            ญาติมิตรและสหาย  ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ.
            องฺ.  สตฺตก.  23/99.
19. กุทฺโธ  อตฺถํ  น  ชานาติ.           
            ผู้โกรธ  ย่อมไม่รู้อรรถ.
            องฺ.  สตฺตก.  23/99.
20. กุทฺโธ  ธมฺมํ  น  ปสฺสติ.
            ผู้โกรธ  ย่อมไม่เห็นธรรม.
            องฺ.  สตฺตก.  23/99.
21. ยํ  กุทฺโธ  อุปโรเธติ    สุกรํ  วิย  ทุกฺกรํ.
            ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด  สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย.
            องฺ.  สตฺตก.  23/99.
22. ปจฺฉา  โส  วิคเต  โกเธ    อคฺคิทฑฺโฒว  ตปฺปติ.
            ภายหลัง  เมื่อความโกรธหายแล้ว  เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้.
            องฺ.  สตฺตก.  23/99.
23. โกเธน  อภิภูตสฺส    น  ทีปํ  โหติ  กิญฺจินํ.
            ผู้ถูกความโกรธครอบงำ  ย่อมไม่มีที่พำนักสักนิดเดียว.
            องฺ.  สตฺตก.  23/99.
24. หนฺติ  กุทฺโธ  สมาตรํ.
            ผู้โกรธ  ย่อมฆ่ามารดาของตนได้.
            องฺ.  สตฺตก.  23/99.
25. โกธชาโต  ปราภโว.           
            ผู้เกิดความโกรธแล้ว  เป็นผู้ฉิบหาย.
            องฺ.  สตฺตก.  23/100.
26. โกธํ  ทเมน  อุจฺฉินฺเท.
            พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ.
            นัย.  องฺ.  สตฺตก.  23/100.
27. โกธํ  ปญฺญาย  อุจฺฉินฺเท.
            พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา.
            นัย-องฺ.  สตฺตก.  23/100.
28. มา  โกธสฺส  วสํ  คมิ.
            อย่าลุอำนาจความโกรธ.
            ขุ.  ชา.  ทุก.  27/69.


ที่มา http://www.cybervanaram.net/kati01/799-2012-08-06-00-45-20
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 17, 2013, 12:13:15 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ทำอย่างไรจะหายโกรธ
โดยพระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) วัดญานเวศกวัน นครปฐม

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งเมตตาการุณย์ พระพุทธเจ้ามีพระคุณข้อใหญ่ประการหนึ่ง คือ พระมหากรุณา ชาวพุทธทุกคนได้รับการสั่งสอนให้มีเมตตากรุณา ให้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นด้วยกานวาจา และมีน้ำใจปรารถนาดี แม้แต่เมื่อไม่ได้ทำอะไรอื่น ก็ให้แผ่เมตตาแก่เพื่อนมนุษย์ตลอดจนสัตว์ทั้งปวง ขอให้อยู่เป็นสุขปราศจากเวรภัยกันโดยทั่วหน้า

อย่างไรก็ตาม เมตตา มีคู่ปรับสำคัญอย่างหนึ่งคือความโกรธ ความโกรธเป็นศัตรูที่คอยขัดขวางไม่ให้เมตตาเกิดขึ้น คนบางคนเป็นผู้มักโกรธ พอโกรธขึ้นมาแล้วก็ต้องทำอะไรรุนแรงออกไป ทำให้เกิดความเสียหาย ถ้าทำอะไรไม่ได้ก้หงุดหงิดงุ่นง่านทรมานใจตัวเอง เวลานั้นเมตตาหลบหาย ไม่รู้ว่าไปซ่อนตัวอยู่ที่ไหน ไม่ยอมปรากฏให้เห็น ส่วนความโกรธทั้งที่ไม่ต้องการแต่ก็ไม่ยอมหนีไป บางทีจนปัญญา ไม่รู้จะขับไล่หรือกำจัดให้หมดไปได้อย่างไ

โบราณท่านรู้ใจและเห็นใจคนขี้โกรธ จึงพยายามช่วยเหลือ โดยสอนวิธีการต่างๆ สำหรับระงับความโกรธ วิธีการเหล่านี้มีประโยชน์ไม่เฉพาะสำหรับคนมักฌกรธเท่านั้น แต่เป็นคติแก่ทุกคน ช่วยให้เห็นโทษของความโกรธ และมั่นในคุณของเมตตายิ่งขึ้น จึงขอนำมาเสนอพิจารณากันดู วิธีเหล่านั้นท่านสอนไว้เป็นขั้นๆ ดังนี้

ขั้นที่ ๑
นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ

ก. สอนตนเองให้นึกว่า พระพุทธเจ้าของเราทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ และทรงสอนชาวพุทธให้เป็นคนมีเมตตา เรามามัวโกรธอยู่ ไม่ระงับความโกรธเสีย เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ไม่ทำตามอย่างพระศาสดา ไม่สมกับเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า จลรีบทำตัวให้สมกับที่เป็นศิษย์ของพระองค์ และจงเป็นชาวพุทธที่ดี

ข. พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า คนที่โกรธเขาก่อนก็นับว่าเลวอยู่แล้ว คนที่ไม่มีสติรู้เท่าทัน หลงโกรธตอบเขาไปอีก ก็เท่ากับสร้างความเลวให้ยืดยาวเพิ่มมากขึ้น นับว่าเลวหนักลงไปกว่าคนที่โกรธก่อนนั้นอีก เราอย่าเป็นทั้งคนเลว ทั้งคนเลวกว่า นั้นเลย

ค. พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนต่อไปอีกว่า เขาโกรธมาเราไม่โกรธตอบ อย่างนี้เรียกว่า ชนะสงครามที่ชนะได้ยาก เมื่อรู้ทันว่าคนอื่นหรืออีกฝ่ายหนึ่งเขาขุ่นเคืองขึ้นมาแล้ว เรามีสติระงับใจไว้เสีย ไม่เคืองตอบ จะชื่อว่าเป็นผู้ทำประโยชน์ให้แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ช่วยไว้ทั้งเขาและทั้งตัวเราเอง เพราะฉะนั้น เราอย่าทำตัวเป็นผู้แพ้สงครามเลย จงเป็นผู้ชนะสงคราม และเป็นผู้สร้างประโยชน์เถิด อย่าเป็นผู้สร้างความพินาศวอดวายเลย


ถ้าคิดนึกระลึกอย่างนี้แล้วก็ยังไม่หาย โกรธ ให้พิจารณาขั้นที่สองต่อไปอีก

ขั้นที่ ๒
พิจารณาโทษของความโกรธ

ในขั้นนี้มีพุทธพจน์ตรัสสอนไว้มากมาย เช่นว่า "คนขี้โกรธจะมีผิวพรรณไม่งาม คนขี้โกรธนอนก็เป้นทุกข์ ฯลฯ คนโกรธไม่รู้เท่าทันว่า ความโกรธนั้นแหละคือภัยที่เกิดขึ้นข้างในตัวเอง พอโกรธเข้าแล้วก็ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นประโยชน์ โกรธเข้าแล้วมองไม่เห็นธรรม เวลาถูกความโกรธครอบงำ มีแต่ความมืดตื้อ คนโกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย แต่ภายหลังพอหายโกรธแล้ว ต้องเดือดร้อนใจเหมือนถูกไฟเผา"

"แรกจะโกรธนั้น ก็แสดงความหน้าด้านออกมาก่อน เหมือนมีควันก่อนจะเกิดไฟ พอความโกรธแสดงเดชทำให้คนเดือดดาลได้ คราวนี้ละไม่มีกลัวอะไร ยางอายก็ไม่มี ถ้อยคำไม่มีคารวะ ฯลฯ คนโกรธฆ่าพ่อฆ่าแม่ตัวเองก็ได้ ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าคนสามัญก็ได้ทั้งนั้น ลูกที่แม่เลี้ยงไว้ จนลืมตามองดูโลกนี้ แต่มีกิเลสหนา พอโกรธขึ้นมาก็ฆ่าได้แม้แต่แม่ผู้ให้ชีวิตนั้น ฯลฯ"

"กาลีใดไม่มีเท่าโทสะ ฯลฯ เคราะห์อะไรเท่าโทสะไม่มี"

ความโกรธมีโทษก่อผลร้ายให้มากมาย อย่างพุทธพจน์นี้เป็นตัวอย่าง แม้เรื่องราวในนิทานต่างๆ และชีวิตจริงก็มีมากมาย ล้วนแสดงให้เห็นว่า ความโกรธมีแต่ทำให้เกิดความเสียหายและความพืนาศ ไม่มีผลดีอะไรเลยจึงควรฆ่ามันเสีย อย่าเก็บเอาไว้เลย ฆ่าอะไรอื่นแล้วอาจจะต้องมานอนเป็นทุกข์ ฆ่าอะไรอื่นแล้วอาจจะต้องเศร้าโศกเสียใจ แต่ "ฆ่าความโกรธแล้วนอนเป็น สุข ฆ่าความโกรธแล้วไม่เศร้าโศกเลย"

พิจารณาโทษของความโกรธทำนองนี้แล้ว ก็น่าจะบรรเทาความโกรธได้ แต่ถ้ายังไม่สำเร็จก็ลอววิธีต่อไปอีก

 

ขั้นที่ ๒
นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ

ธรรมดาคนเรานั้น ว่าโดยทั่งไป แต่ละคนๆ ย่อมมีข้อดีบ้างข้อเสียบ้าง มากบ้างน้อยบ้าง จะหาคนดีครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่มีข้อบกพร่องเลย คงหาไม่ได้หรือแทบจะไม่มี บางทีแง่ที่เราว่าดี คนอื่นว่าไม่ดี บางทีแง่ที่เราว่าไม่ดี คนอื่นว่าดี เรื่องราว ลักษณะหรือการกระทำของคนอื่นที่ทำให้เราโกรธนั้น ก็เป็นจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของเขาอย่างหนึ่ง หรืออาจเป็นแง่ที่ไม่ถูกใจเรา

เมื่อจุดนั้นแง่นั้นของเขาไม่ดีไม่ถูกใจเรา ทำให้เราโกรธ ก็อย่ามัวนึกถึงแต่จุดนั้นแง่นั้นของเขา พึงหันไปมองหรือระลึกถึงความดีหรือจุดอื่นที่ดีๆของเขา เช่นคนบางคน ความประพฤติทางกายเรียบร้อยดี แต่พูดไม่ไพเราะ หรือปากไม่ดี แต่ก็ไม่ได้ประพฤติเกะกะระรานทำร้ายใคร

บางคนแสดงทางกายกระโดกกระเดกไม่น่าดู หรือการแสดงออกทางกายเหมือนไม่มีสัมมาคารวะ แต่พูดจาดี สุภาพ หรือไม่ก็อาจพูดจามีเหตุมีผล บางคนปากร้ายแต่ใจดี บางคนสัมพันธ์กับคนอื่นไม่ค่อยดี แต่เขาก็รักงาน ตั้งใจทำหน้าที่ของเขาดี บางคนถึงแม้คราวนี้เขาทำอะไรไม่สมควรแก่เรา แต่ความดีเก่าๆ เขาก็มีเป็นต้น

ถ้ามีอะไรที่ขุ่นใจกับเขา ก็อย่าไปมองส่วนที่ไม่ดี พึงมองหาส่วนที่ดีของเขาเอาขึ้นมาระลึกนึกถึง ถ้าเขาไม่มีความดีอะไรเลยที่จะมองเอาจริงๆ ก็ควรคิดสงสาร ตั้งความกรุณาแก่เขาว่า โธ่! น่าสงสาร ต่อไปนี้คนคนนี้คงจะต้องประสบผลร้ายต่างๆ เพราะความประพฤตฺไม่ดีอย่างนี้ นรกอาจรอเขาอยู่ ดังนี้เป็นต้น พึงระงับความโกรธเสีย เปลี่ยนเป็นสงสารเห็นใจหรือคิดช่วยเหลือแทน
ถ้าคิดอย่างนี้ ก็ยังไม่หายโกรธ ลองวิธีขั้นต่อไปอีก


ขั้นที่ ๔
พิจารณาว่า ความโกรธ คือการสร้างทุกข์ให้ตัวเอง และเป็นการลงโทษตัวเองให้สมใจศัตรู

ธรรมดาศัตรูย่อมปรารถนาร้าย อยากให้เกิดความเสื่อมและความพินาศวอดวายแก่กันและกัน คนโกรธจะสร้างความเสื่อมพินาศให้แก่ตนเองได้ตั้งหลายอย่าง โดยที่ศัตรูไม่ต้องทำอะไรให้ลำบากก็ได้สมใจของเขา เช่น ศัตรูปรารถนาว่า "ขอ ให้มัน(ศัตรูของเขา)  ไม่สวยไม่งาม มีผิวพรรณไม่น่าดู"  หรือ "ขอ ให้มันนอนเป็นทุกข์ ขอให้มันเสื่อมเสียประโยชน์ ขอให้มันเสื่อมทรัพย์สมบัติ ขอให้มันเสื่อมยศ ขอให้มันเสื่อมมิตร ขอให้มันตายไปตกนรก"  เป็นต้น

เป็นที่หวังได้อย่างมากว่า คนโกรธจะทำร้ายเช่นนี้ให้เกิดแก่ตนเองตามปรารถนาของศัตรูของเขา ด้วยเหตุนี้ ศัตรูที่ฉลาดจึงมักหาวิธีแกล้งยั่วให้ฝ่ายตรงข้ามโกรธ จะได้เผลอสติทำการผิดพลาดเพลี่ยงพล้ำ
เมื่อรู้เท่าทันเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะทำร้ายตัวเองด้วยความโกรธ ให้ศัตรูได้สมใจเขาโดยไม่ต้องลงทุนอะไร


ในทางตรงข้าม ถ้าสามารถครองสติได้ ถึงกระทบอารมณ์ที่น่าโกรธก็ไม่โกรธ จิตใจไม่หวั่นไหว สีหน้าผ่องใส กิริยาอาการไม่ผิดเพี้ยน ทำการงานธุระของตนไปได้ตามปกติ ผู้ที่ไม่ปรารถนาดีต่อเรานั่นแหละจะกลับเป็ยทุกข์ ส่วนทางฝ่ายเราประโยชน์ที่ต้องการก็จะสำเร็จ ไม่มีอะไรเสียหาย

อาจสอนตัวเองต่อไปอีกว่า "ถ้าศัตรู ทำทุกข์ที่ร่างกายของเจ้า แล้วไฉนเจ้าจึงมาคิดทำทุกข์ให้ที่ใจของตนเอง ซึ่งมิใช่ร่างกายของศัตรูสักหน่อยเลย"

"ความโกรธ เป็นตัวตัดรากความประพฤติดีงามทั้งหลายที่เจ้าตั้งใจรักษา เจ้ากลับไปพนอความโกรธนั้นไว้ ถามหน่อยเถอะ ใครจะเซ่อเหมือนเจ้า"

"เจ้าโกรธว่าคนอื่นทำกรรมที่ป่า เถื่อน  แล้วใยตัวเจ้าเองจึงปรารถนาจะทำกรรมเช่นนั้นเสียเองเล่า"
" ถ้าคนอื่นอยากให้เจ้าโกรธ จึงแกล้งทำสิ่งไม่ถูกใจให้ แล้วไฉนเจ้าจึงช่วยทำให้เขาสมปรารถนา ด้วยการปล่อยให้ความโกรธเกิดขึ้นมาได้เล่า"

"แล้วนี่ เจ้าโกรธขึ้นมาแล้ว จะทำทุกข์ให้เขาได้หรือ  ไม่ก็ตาม แต่แน่ๆ เดี๋ยวเจ้าก็ได้เบียดเบียนตัวเองเข้าให้แล้วด้วยความทุกข์ใจเพราะโกรธนั่น แหละ"

"หรือถ้าเจ้าเห็นว่า พวกศัตรูขึ้นเดินไปในทางของความโกรธอันไร้ประโยชน์แล้ว ไฉนเจ้าจึงโกรธเลียนแบบเขาเสียอีกล่ะ"

"ศัตรูอาศัยความแค้นเคืองใดจึงก่อ เหตุไม่พึงใจขึ้นได้ เจ้าจงตัดความแค้นเคืองนั้นเสียเถิด จะมาเดือดร้อนด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องไปทำไม"

จะพิจารณาถึงขั้นปรมัตถ์ก็ได้ว่า
"ขันธ์เหล่าใดก่อเหตุไม่พึงใจแก่ เจ้า ขันธ์เหล่านั้นก็ดับไปแล้ว เพราะธรรมทั้งหลายเป็นไปเพียงชั่วขณะ แล้วทีนี้เจ้าจะมาโกรธให้ใครกันในโลกนี้"

"ศัตรูจะทำทุกข์ให้แก่ผูใด ถ้าไม่มีตัวตนของผู้นั้นมารับทุกข์ ศัตรูนั้นจะทำทุกข์ให้ใครได้ ตัวเจ้าเองนั่นแหละเป็นเหตุของทุกข์อยู่ฉะนี้ แล้วทำไมจะไปโกรธเขาเหล่า"


ถ้าพิจารณาอย่านี้แล้วก็ยังไม่หายโกรธ ก็ลองพิจารณาขั้นต่อไป

 

ขั้นที่ ๕
พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน

พึงพิจารณาว่า ทั้งเราและเขาต่างก็มีกรรมเป็นสมบัติของตน ทำกรรมอะไรไว้ก็จะได้รับผลของกรรมนั้น เริ่มด้วยพิจารณาตัวเองว่า เราโกรธแล้วไม่ว่าจะทำอะไรการกระทำของเรานั้นเกิดจากโทสะ ซึ่งเป็นอกุศลมูล กรรมของเราก็ย่อมเป็นกรรมชั่วซึ่งก่อให้เกิดผลร้าย มีแต่ความเสียหาย ไม่เป็นประโยชน์ และเราจะต้องรับผลของกรรมนั้นต่อไป

อนึ่ง เมื่อเราจะทำกรรมชั่วที่เกิดจากโทสะนั้น ก่อนเราจะทำร้ายเขา เราก็ทำร้ายแผดเผาตัวเราเองเสียก่อนแล้ว เหมือนเอามือทั้งสองกอบถ่านไฟจะขว้างใส่คนอื่น ก็ไหม้มือของตัวก่อน หรือเหมือนกับเอามือกอบอุจจาระจะไปโปะใส่เขา ก็ทำตัวนั่นแหละให้เหม็นก่อน

เมื่อพิจารณาความเป็นเจ้าของกรรมฝ่ายตน เองแล้ว ก็พิจารณาฝ่ายเขาบ้างในทำนองเดียวกัน เมื่อเขาโกรธเขาจะทำกรรมอะไรก็เป็นกรรมชั่ว และเขาก็จะต้องรับผลกรรมของเขาเองต่อไป กรรมชั่วนั้น จะไม่ช่วยให้เขาได้รับผลดีมีความสุขอะไร มีแต่ผลร้าย เริ่มตั้งแต่แผดเผาใจของเขาเองเป็นต้นไป

ในเมื่อต่างคนต่างก็มีกรรมเป็นของตน เก็บเกี่ยวผลกรรมของตนอยู่แล้ว เราอย่ามัวคิดวุ่นวายอยู่เลย ตั้งหน้าทำแต่กรรมที่ดีไปเถิด

ถ้าพิจารณากรรมแล้ว ความโกรธก็ยังไม่ระงับ พึงพิจารณาขั้นต่อไป

ขั้นที่ ๖
พิจารณาพระจริย วัตรในปางก่อนของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าของเรานั้น กว่าจะตรัสรู้ ก็ได้ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายมาตลอดเวลายาวนานนักหนา ได้ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยยอมเสียสละแม้แต่พระชนมชีพของพระองค์เอง เมื่อทรงถูกข่มเหงกลั่นแกล้งเบียดเบียนด้วยวิธีการต่างๆ ก็ไม่ทรงแค้นเคือง ทรงเอาดีเข้าตอบ ถึงเขาจะตั้งตัวเป็นศัตรูถึงขนาดพยายามปลงพระชนม์ ก็ไม่ทรงมีจิตประทุษร้าย บางครั้งพระองค์ช่วยเหลือเขา แทนที่เขาจะเห็นคุณเขากลับทำร้ายพระองค์ แม้กระนั้นก็ไม่ทรงถือโกรธ ทรงทำดีต่อเขาต่อไป

พุทธจริยาเช่นที่ว่ามานี้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปยากที่จะปฏิบัติได้ แต่ก็เป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งชาวพุทธควรจะนำมาระลึกตักเตือนสอนใจตน ในเมื่อประสบเหตุการร์ต่างๆว่าที่เราถูกกระทบกระทั่งอยู่นี้ เมื่อเทียบกับที่พระพุทธเจ้าทรงประสบมาแล้ว นับว่าเล็กน้อยเหลือเกิน เทียบกันไม่ได้เลย


ในเมื่อเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงประสบ นั้นร้ายแรงเหลือเกิน พระองค์ยังทรงระงับความโกรธไว้ มีเมตตาอยู่ได้ แล้วเหตุไฉนกรณีเล็กน้อยอย่างของเรานี้ ศิษย์อย่างเราจะระงับไม่ได้ ถ้าเราไม่ดำเนินตามพระจริยาวัตรของพระองค์ ก็น่าจะไม่สมควรแก่การที่อ้างเอาพระองค์เป็นศาสดาของตน
พุทธจริยาวัตร เกี่ยวกับความเสียสละอดทน และความมีเมตตากรุณาของพระพุทธเจ้า อย่างที่ท่านบันทึกไว้ในชาดก มีมากมายหลายเรื่อง และส่วนมากยืดยาว ไม่อาจนำมาเล่าในที่นี้ได้

จะขอยกตัวอย่างชาดกง่ายๆสั้นๆ มาเล่าพอเป็นตัวอย่าง
ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์อุบัติเป็นพระเจ้ากรุงพาราณสี มีพระนามว่าพระเจ้ามหาสีลวะ ครั้งนั้นอำมาตย์คนหนึ่งของพระองค์ทำความผิด ถูกเนรเทศ และได้เข้าไปรับราชการในพระเจ้าแผ่นดินแคว้นโกศล อำมาตย์นั้นมีความแค้นเคืองติดใจอยู่ ได้ให้โจรคอยเข้ามาปล้นในดินแดนของพระเจ้าสีลวะอยู่เนืองๆ เมื่อราชบุรุษจับโจรได้ พระเจ้าสีลวะทรงสั่งสอนแล้วก็ปล่อยตัวไป เป็นเช่นนี้อยู่เสมอ


ในที่สุด อำมาตย์ร้ายนั้นก็ใช้เหตุการณ์เหล่านี้ยุยงพระเจ้าโกศลว่า พระเจ้าสีลวะอ่อนแอ ถ้ายกทัพไปรุกรานคงจะยึดแผ่นดินพาราณสีได้โดยง่าย พระเจ้าโกศลทรงเชื่อ จึงยกทัพเข้าไปโจมตีพาราณสี พระเจ้าสีลวะไม่ทรงประสงค์ให้ราษฎรเดือดร้อน จึงไม่ทรงต่อต้าน ทรงปล่อยให้พระเจ้าโกศลยึดราชสมบัติจับพระองค์ไป พระเจ้าโกศลจับพระเจ้าสีลวะได้แล้ว ก็ให้เอาไปฝังทั้งเป็นในสุสานถึงแค่พระศอ รอเวลากลางคืนให้สุนัขจิ้งจอกมากินตามวิธีประหารในสมัยนั้น

ครั้นถึงเวลากลางคืน เมื่อสุนัขจิ้งจอกเข้ามา พระเจ้าสีลวะทรงใช้ไหวพริบและความกล้าหาญ เอาพระทนต์ขบที่คอสุนัขจิ้งจอกตัวที่เข้ามาจะกัดกินพระองค์ เมื่อสุนัขนั้นดิ้นรนรุนแรงทำให้สุนัขตัวอื่นหนีไป และทำให้ดินบริเวณหลุมฝังนั้นกระจุยกระจายหลวมออก จนทรงแก้ไขพระองค์หลุดออกมาได้

ในคืนนั้นเองทรงเล็ดลอดเข้าไปได้จนถึงห้องบรรทมของพระเจ้าโกศล พร้อมด้วยดาบอาญาสิทธิ์ของพระเจ้าโกศลเอง ทรงไว้ชีวิตพระเจ้าโกศล และพระราชทานอภัยโทษ เพียงทรงกู้ราชอาณาจักรคืน แล้วให้พระเจ้าโกศลสาบานไม่ทำร้ายกัน ทรงสถาปนาให้เป็นพระสหายแล้วให้พระเจ้าโกศลกลับไปครองแคว้นโกศลตามเดิม

อีกเรื่องหนึ่ง พระโพธิสัตว์อุบัติเป็นวานรใหญ่อยู่ในป่า ครานั้นชายผู้หนึ่งตามหาโคของตนเข้ามาในกลางป่า แล้วพลัดตกลงไปในเหวขึ้นไม่ได้ อดอาหารนอนแขม่วสิ้นหวังสิ้นแรง พอดีในวันที่สิบ พญาวานรมาพบเข้า เกิดความสงสาร จึงช่วยให้ขึ้มาจากเหวได้

ต่อมา เมื่อพญาวานรซึ่งเหนื่อยอ่อนจึงพักผ่อนเอาแรง และนอนหลับไปนั้น ชายผู้นั้นเกิดความคิดชั่วร้ายขึ้นว่า "ลิงนี้มันก็อาหารของคน เหมือนสัตว์ป่าอื่นๆนั่นแหละ อย่ากระนั้นเลย เราก็หิวแล้ว ฆ่าลิงตัวนี้กินเสียเถิด กินอิ่มแล้วจะได้ถือเอาเนื้อของมันติดตัวไปเป็นเสบียงด้วย จะได้มีของกินเดินทางผ่านที่กันดารไปได้"  คิดแล้วก็หาหินก้อนใหญ่มา ก้อนหนึ่ง ยกขึ้นทุ่มหัวพญาวานร ก้อนหินนั้นทำให้พญาวานรบาดเจ็บมาก แต่ไม่ถึงตาย

พญาวานรตื่นขึ้นรีบหนีขึ้นต้นไม้ มองชายผู้นั้นด้วยน้ำตานองหน้า แล้วพูดกับเขาโดยดีว่า ไม่ควรทำเช่นนั้น ครั้นแล้วยังเกรงว่าชายผู้นั้นจะหลงหาทางออกจากป่าไม่ได้ ทั้งที่ตนเองก็เจ็บป่วยแสนสาหัส ยังช่วยโดดไปตามต้นไม้นำทางให้ชายผู้นั้นออกจากป่าไปได้ในที่สุด

แม้พิจารณาอย่างนี้แล้ว ความโกรธก็ยังไม่ระงับ พึงลองพิจารณาวิธีต่อไป



ขั้นที่ ๗
พิจารณาความเกี่ยวข้องกันใน สังสารวัฏ

มีพุทธพจน์แห่งหนึ่งกล่าวว่า ในสังสาระ คือการเวียนว่ายตายเกิดที่กำหนดจุดเริ่มต้นมิได้นี้ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดา ไม่เคยเป็นบิดา ไม่เคยเป็นบุตร ไม่เคยเป็นธิดากัน ไม่ใช่หาได้ง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมีเหตุโกรธเคืองจากใครพึงพิจารณาว่า ท่านผู้นี้บางทีจะเคยเป็นมารดาของเรา ท่านผู้นี้บางทีจะเคยเป็นบิดาของเรา

ท่านที่เป็นมารดานั้นรักษาบุตรไว้ในท้อง ถึง ๑๐ เดือน ครั้นคลอดออกมาแล้ว เลี้ยงดู ไม่รังเกียจแม้แต่สิ่งปฏิกูลทั้งหลาย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น เช็ดล้างได้สนิทใจ ให้ลูกนอนแนบอก เที่ยวอุ้มไป เลี้ยงลูกมาได้

ส่วนท่านที่เป็นบิดา ก็ต้องเดินทางลำบากตรากตรำเสี่ยงภัยอันตรายต่างๆ ประกอบการค้าขายบ้าง สละชีวิตเข้าสู้รบในสงครามบ้าง แล่นเรือไปในท้องทะเลบ้าง ทำงานยากลำบากอื่นๆบ้าง หาทางรวบรวมทรัพย์มาก็ด้วยคิดที่จะเลี้ยงลูกน้อย

ถึงแม้ไม่ใช่เป็นมารดาบิดา ก็อาจเป็นพี่เป็นน้องเป็นญาติเป็นมิตร ซึ่งได้เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกันมา ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน การที่จะทำใจร้ายและแค้นเคืองต่อบุคคลเช่นนั้น ไม่เป็นการสมควร
ถ้าพิจารณาอย่างนี้แล้วก็ยังไม่หายโกรธ ก็อาจพิจารณาในข้อต่อไปอีก


ขั้นที่ ๘
พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา

ธรรมที่ตรงข้ามกับความโกรธ ก็คือ เมตตา ความโกรธมีโทษก่อผลร้ายมากมาย ฉันใด เมตตาก็มีคุณ ก่อให้เกิดผลดีมาก ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควรที่จะระงับความโกรธเสีย แล้วตั้งจิตเมตตาขึ้นมาแทน ให้เมตตานั้นแหละช่วยกำจัด และป้องกันความโกรธไปในตัว

ผู้มีเมตตาย่อมสามารถเอาชนะใจคนอื่น ซึ่งเป็นชัยชนะที่เด็ดขาด ไม่กลับแพ้ ผู้ตั้งอยู่ในเมตตา ชื่อว่าทำประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น เมตตาทำให้จิตสดชื่นผ่องใส มีความสุข ดังตัวอย่างในที่แห่งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสแสดงอานิสงส์ของเมตตาไว้ ๑๑ ประการ คือ หลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย เทวดารักษา ไฟ พิษ และศาสตรไม่กล้ำกราย จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้รวดเร็ว สีหน้าผ่องใส ตายก็มีสติไม่หลงฟั่นเฟือน เมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมที่สูงกว่าย่อมเข้าถึงพรหมโลก

ถ้ายังเป็นคนขี้โกรธอยู่ ก็นับว่ายังอยู่ห่างไกลจากการที่นะได้อานิสงส์เหล่านี้ ดังนั้น จึงควรพยายามทำเมตตาให้เป็นธรรมประจำใจให้จงได้ โดยหมั่นอบรมทำใจอยู่เสมอๆ

ถ้าจิตเมตตายังไม่เข้มแข็งพอ เอาชนะความโกรธยังไม่ได้ เพราะสั่งสมนิสัยมักโกรธไว้ยาวนาน จนกิเลสตัวนี้แน่นหนา พึงลองพิจารณาใช้วิธีต่อไป


ขั้นที่ ๙
พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ

วิธีการข้อนี้ เป็นการปฏิบัติใกล้แนววิปัสสนา หรือเอาความรู้ทางวิปัสสนามาใช้ประโยชน์ คือ มองดูชีวิตนี้ มองดูสัตว์ บุคคล เรา เขา ตามความเป็นจริงว่า ที่ถูกที่แท้แล้ว ก็เป็นแต่เพียงส่วนประกอบทั้งหลายมากมายมาประชุมกันเข้า แล้วก็สมมติเรียกกันไปว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นฉัน เป็นเธอ เป็นเรา เป็นเขา เป็นนาย ก. เป็นนาง ข. เป็นต้น

ครั้นจะชี้ชัดลงไปตรงไหนว่าเป็นคน เป็นเรา เป็นนาย ก. นาง ข. ก็หาไม่พบ มีแต่ส่วนที่เป็นธาตุแข็งบ้าง ธาตุเหลวบ้าง เป็นรูปขันธ์บ้าง เป็นเวทนาขันธ์บ้าง เป็นสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ หรือวิญญาณขันธ์บ้าง หรือเป็นอายตนะต่างๆ เช่น ตาบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง เป็นต้น

เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงแยกให้เป็น ส่วนๆได้อย่างนี้แล้ว พึงสอนตัวเองว่า "นี่แน่ะเธอเอ๋ย ก็ที่โกรธเขาอยู่น่ะโกรธอะไร โกรธผม หรือโกรธขน หรือโกรธหนัง โกรธเล็บ โกรธกระดูก โกรธธาตุดิน โกรธธาตุน้ำ โกรธธาตุไฟ โกรธธาตุลม หรือโกรธรูป โกรธเวทนา โกรธสัญญา โกรธสังขาร โกรธวิญญาณ หรือโกรธอะไรกัน"   ในที่ สุดก็จะหาฐานที่ตั้งของความโกรธไม่ได้ ไม่มีที่ยึดที่เกาะให้ความโกรธจับตัว

อาจพิจารณาต่อไปในแนวนั้นอีกว่า ในเมื่อคนเราชีวิตเราเป็นแต่เพียงสมมติบัญญัติ ความจริงก็มีแต่ธาตุหรือขันธ์  หรือนามธรรมและรูปธรรมต่างๆ มาประกอบกันเข้าแล้วเราก็มาติดสมมตินั้น ยึดติดถือมั่นหลงวุ่นวายทำตัวเป็นหุ่นถูกชักถูกเชิดกันไป การที่มาโกรธ กระฟัดกระเฟียดงุ่นง่านแค้นเคืองกันไปนั้น มองลงไปให้ถึงแก่นสาร ให้ถึงสภาวะความเป็นจริงแล้ว ก็เหลวไหลไร้สาระทั้งเพ ถ้ามองความจริงทะลุสมมติบัญญัติลงไปได้ถึงขั้นนี้แล้ว ความโกรธก็จะหายตัวไปเอง

อย่างไรก็ตาม คนบางคนจิตใจและสติปัญญายังไม่พร้อม ไม่อาจพิจารณาแยกธาตุออกไปอย่างนี้ได้ หรือสักว่าแยกไปตามที่ได้ยินได้ฟังได้อ่านมา แต่มองไม่เห้นความจริงเช่นนั้น ก็แก้ความโกรธไม่สำเร็จ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็พึงดำเนินการตามวิธีต่อไป

ขั้นที่๑๐
ปฏิบัติทาน คือ การให้หรือแบ่งปันสิ่งของ

ขั้นนี้เป็นวิธีการในขั้นลงมือทำ เอาของของตนให้แก่คนที่เป็นปรปักษ์ และรับของของปรปักษ์มาเพือตนหรืออย่างน้อยอาจให้ของของตนแก่เขาฝ่ายเดียว ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรมีปิยวาจา คือถ้อยคำสุภาพไพราะประกอบเสริมไปด้วย

การให้หรือแบ่งปันกันนี้ เป็นวิธีการแก้ความโกรธที่ได้ผลช ะงัด สามารถระงับเวรที่ผูกกันมายาวนานให้สงบลงได้ ทำให้ศัตรูกลายเป็นมิตร เป็นเมตตากรุณาที่แสดงออกในการกระทำท่านกล่าวถึงอานุภาพยิ่งใหญ่ของทานคือ การให้นั้นว่า

"การให้เป็นเตรื่องฝึกคนที่ยังฝึก ไม่ได้ การให้ยังสิ่งประสงค์ทั้ง ปวงให้สำเร็จได้ ผู้ให้ก็เบิกบานขึ้นมาด้วยการให้ฝ่ายผู้รับก็น้อมลงมาพบด้วยปิยวาจา"

เมื่อความโกรธเลือนหาย ความรักใคร่ก็เข้ามาแทน ความเป็นศัตรูกลับกลายเป็นมิตร ไฟพยาบาทก็กลายเป็นน้ำทิพย์แห่งเมตตา ความแผดเผาเร่าร้อนด้วยทุกข์ที่รุมเร้าใจ ก็กลายเป็นความสดชื่นผ่องใสเบิกบานใจด้วยความสุข



วิธีทั้ง ๑๐ ที่ว่ามาเป็นขั้นๆ นี้ ความจริงมิใช่จำเป็นต้องทำไปตามลำดับเรียงรายข้ออย่างนี้ วิธีใดเหมาะ ได้ผล สำหรับตน ก็พึงใช้วิธีนั้นวิธีการของท่านก็ได้แนะนำไว้อย่างนี้แล้ว เป็นเรื่องของผู้ต้องการแก้ปัญหา จะพึงนำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ แท้จริงต่อไป

ที่มา  http://www.tangboon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538680209
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/,http://i816.photobucket.com/,http://larnbuddhism.com/,http://www.suriyothai.ac.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความโกรธคืออะไร ? คุณเคยโกรธไหม ? ทำไมเราถึงโกรธกัน ?
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มิถุนายน 24, 2013, 09:21:28 am »
0
 st11 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

nongyao

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 380
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความโกรธคืออะไร ? คุณเคยโกรธไหม ? ทำไมเราถึงโกรธกัน ?
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มิถุนายน 24, 2013, 10:12:00 am »
0
โกรธเป็นบาป  เมตตาเป็นบุญ  หมั่นท่องไว้เราจะลดโกรธได้เอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2013, 11:29:19 am โดย nongyao »
บันทึกการเข้า
กราบนอบน้อมพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต แลปัจจุบัน ด้วยเศียรเกล้า
                 พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                       
                         ข้าพเจ้าจักขอทำเหตุที่ดี

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ก็แล้ว ทำไม ท่านถึงโกรธ ?
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2013, 07:21:46 am »
0
แล้วทำไมเราทุกคนถึงโกรธกันละ

ขอเชิญสนทนาธรรมกันต่อ

ลองธรรมะวิจยะกันดู

สำหรับตัวผู้เขียนแล้ว เมื่อรู้สึกว่ามันไม่เป็นไปตาม ที่เรามีความต้องการ เราจึงโกรธ

ทำให้เห็นว่า มันไม่มีอะไร ที่จะเป็นไปตามที่เราต้องการได้ ก็ยังมีความโกรธอยู่ แต่น้อยลง
บันทึกการเข้า