ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตามหาแก่นธรรม  (อ่าน 5849 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mahajaroon

  • 1.บรรพชิต
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • ข้างนอกต้องแก้ไข ข้างในต้องปล่อยวาง
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ตามหาแก่นธรรม
« เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 09:56:50 am »
0

ถึงท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ

ผมเป็นคนสนใจธรรมะ แต่ยังไม่เข้าใจ ธรรมะ เพราะยังใหม่กับเรื่องนี้มาก

ได้ยินว่าความไม่ประมาทเป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวงก็จริง แต่ผมไม่เข้าใจอยู่เรื่องหนึ่ง คือ

๑ ไม่ประมาทในทุกข์ เป็นอย่างไร  ?

๒ กำหนดรู้ทุกข์ อย่าละทุกข์ ยิ่งงงมากเลยขอคำอธิบายจากผู้รู้ครับ ว่าเป็นเช่นไร ?

๓ ทุกข์ในพระไตรลักษณ์ กับทุกข์ในอริยสัจ ๔ ทุกข์เหมือนกัน และต่างกันอย่างไร ?

เรียนมาก็พอสมควรแต่อ่อนประสบการณ์ ตั้งใจว่าหากมีโอกาสจะเข้าปฏิบัติวิปัสสนาบ้าง
                                                                                                    :25:      :character0029:
บันทึกการเข้า
พุทธะนับหมื่นอยู่ที่ใจ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ตามหาแก่นธรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 11:05:25 am »
0
ผมเป็นคนสนใจ ธรรมะ แต่ยังไม่เข้าใจ ธรรมะ เพราะยังใหม่กับเรื่องนี้มาก ได้ยินว่าความไม่ประมาทเป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวงก็จริง แต่ผมไม่เข้าใจอยู่เรื่องหนึ่ง คือ

ผมขออนุญาติตอบพระคุณท่านมหาจำรูญจากประสบการณ์ชีวิตคฤหัสถ์อย่างนี้ครับ!


๑ ไม่ประมาทในทุกข์ เป็นอย่างไร  ?

การใช้ชีวิตที่ข้องอยู่ด้วยอารมณ์ขุ่นเนืองๆนั้น เป็นทุกข์ที่สัมผัสเห็นได้เที่ยงแท้ แต่อย่าหลงไปปะทะเอาชนะใคร เวรไม่จบด้วยการขึ้นเหยียบอกใครทั้งสิ้น กล่าวคือ "เลี่ยงอย่าคบคนพาล อย่าหักหาญคนเลว" ที่สุดชีวิตตายทุกคน อดทนกระทำดีมีสติอย่าหลงให้จมอบาย ครับ!


๒ กำหนดรู้ทุกข์ อย่าละทุกข์ ยิ่งงงมากเลยขอคำอธิบายจากผู้รู้ครับ ว่าเป็นเช่นไร ?

ทุกวันนี้ ทุกข์ เพราะปรารถนาใคร่ได้มาอยู่เนืองๆ รักไม่สมหวัง "ก็โกรธผูกเวร" / ได้ไม่คุ้มทุนแรง "เห็นแก่ตัวเอาแต่ได้ขึ้นมา" / เคืองขุ่นโกรธใคร "ก็คุณไสยเข้าเล่นของ" ชีวิตเยื่องนี้อย่างนี้ทุกวัน ความปรารถนาหนึ่งที่ชัดเจนแก่ตนก็คือ อยากเลี่ยงหนี อยากล้าง อยากวาง ไม่อยากขวางใคร ดังนั้น การภาวนาจึงเป็นหนทางที่อยากลองเผื่อสุขใจได้บ้าง

๓ ทุกข์ในพระไตรลักษณ์ กับทุกข์ในอริยสัจ ๔ ทุกข์เหมือนกัน และต่างกันอย่างไร ?

"ทุกข์" เป็น สามัญลักษณะ ไม่ต้องหาค่าความหมายใดใด เสมอในคำ ถ้วนทั่วในความ ครับ!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 25, 2011, 11:48:55 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ตามหาแก่นธรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 12:56:16 pm »
0
  ท่านมหาจรูญ เคยสวดมนต์บทนี้ไหมครับ "สังเวคปริกิตตนปาฐะ" มีตอนหนึ่งกล่าวว่า
 
  สังขิตเนะ ปัญจุปาทานักขันทา ทุกขา แปลว่า ว่าโดยย่อ อุปทานขันธ์ทั้ง๕ เป็นตัวทุกข์

  ถาม  ๑ ไม่ประมาทในทุกข์ เป็นอย่างไร  ?
  ตอบ  ไม่ประมาทก็คือ มีสติ ขอให้พิจารณา สติปัฏฐาน ๔
         ธรรม ๔ ประการนี้เป็นการสอนให้รู้ทุกข์ทั้งสิ้น คือ ให้พิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
         การรู้ทุกข์ ก็เพื่อให้เข้าใจในทุกข์ ไม่ยึดทุกข์ สุดท้ายก็วางทุกข์ลงได้


  ถาม  ๒ กำหนดรู้ทุกข์ อย่าละทุกข์ ยิ่งงงมากเลยขอคำอธิบายจากผู้รู้ครับ ว่าเป็นเช่นไร ?

  ตอบ ต้องเจริญสติปัฏฐาน  กำหนดรู้ทุกข์ ก็คือ สติปัฏฐาน
        อย่าละทุกข์ ก็คือ เมื่อมีทุกข์ คนส่วนใหญ่จะหนีไปหาความสุขทางโลก ไม่เจริญสติปัฏฐาน(ไม่เจริญวิปัสสนา)             อย่าละทุกข์ ก็คือ ให้อยู่กับทุกข์โดยการเจริญสตินั่นเอง
        หากเราเจริญวิปัสสนาได้ถูกต้อง เราจะรู้สึกว่า ทุกข์ กับผู้รู้ทุกข์ มันคนละส่วนกัน
        เรื่องนี้ต้องไปทำความเข้าใจเรื่องวิปัสสนาญาณให้ดี

             
  ถาม  ๓ ทุกข์ในพระไตรลักษณ์ กับทุกข์ในอริยสัจ ๔ ทุกข์เหมือนกัน และต่างกันอย่างไร ?
  ตอบ  โดยอรรถมีความหมายเหมือนกัน แต่การเห็นไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
        ไม่จำเป็นต้องเห็นทุกข์เสมอไป อาจจะเห็น อนิจจัง หรือ อนัตตาก็ได้
         ขอให้พิจารณาวิปัสสนาญาณ(โสฬสญาณ)ข้อ ๓
         ๓. สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน)
         ดังนั้น การเห็นทุกข์ในพระไตรลักษณ์ ต้องเห็นในวิปัสสนาญาณ(สัมมสนญาณ)เท่านั้น


    ทีี่่กล่าวมาเป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ แค่คุยเป็นเพื่อนเท่านั้น อย่านำไปอ้างอิงกับคนอื่น

   :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ตามหาแก่นธรรม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 06:41:26 pm »
0
แก่นจะมีได้ ต้องเกิด ตามองค์ประกอบพร้อมกัน ศีล เป็นกระพี้ สมาธิ เป็นเปลือก ปัญญา เป็นแก่น

ทั้งสามสภาวะหาได้แยกออกจากกัน ในนามว่า มรรค หรือ อริยะมรรค อันประกอบด้วยองค์ 8

 แต่ ทั้งสามอย่างจะเข้าถึงได้ ต้องอาศัย รูปแบบ ๆ เป็นทั้ง กระพี้ เปลือก และ แก่น

 ไร้รูปแบบ หาได้เป็นไปตามมรรค

   :49:
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ตามหาแก่นธรรม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 29, 2011, 09:08:32 am »
0
ตามหาแก่น  หาไม่เจอ หรอกครับ

  เพราะพระธรรมไม่ใช่ต้นไม้ จึงหาแก่นมิได้ เป็นแต่ข้อเปรียบเทียบครับ

  สำหรับหัวใจ พระธรรม ก็น่าจะเป็นหลักการดำเนินชีิวิตนะครับ

    1. ไม่ทำอกุศล  ( จัดเป็นกระพี้ ได้ หรือ ไม่ หรือ เป็น เปลือก หรือ เป็นแก่น )
 
    2. สร้างกุศล    ( จัดเป็นกระพี้ ได้ หรือ ไม่ หรือ เป็น เปลือก หรือ เป็นแก่น )

    3. ทำจิตให้บริสุทธิ์   ( จัดเป็นกระพี้ ได้ หรือ ไม่ หรือ เป็น เปลือก หรือ เป็นแก่น )

   ถ้าจะว่าเป็น โอวาทปาฏิโมกข์ ก็น่าจะมีเท่านี้นะครับ

   :s_hi:

     
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 29, 2011, 12:51:32 pm »
0


อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา

              สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ปิงคลโกจฉะ เข้าไปเฝ้า เมื่อได้กล่าวทักทายปราศรัยพอสมควรแล้ว พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า

              "พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นคณาจารย์ มีคนรู้จักมาก มีเกียรติยศเป็นเจ้าลัทธิ อันชนหมู่มากเข้าใจกันว่าเป็นคนดี เช่น ปูรณะ กัสสป, มักขละ โคสาล, อชิตะ เกสกัมพล, ปกุธะ กัจจายนะ, สัญชัย เวลัฏฐบุตร, และ นิครนถนาฏบุตร(๑) สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือว่าไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลย หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้"

              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลยเป็นต้นนั้น ขอจงยกไว้ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังให้ดีเถิด"

              เมื่อพราหมณ์ทูลรับคำแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
   "ดูก่อนพราหมณ์ มีข้ออุปมาว่า บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหากแก่นไม้อยู่
   เมื่อมีต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ ละเลยแก่น, กะพี้, เปลือก, และสะเก็ดไม้เสีย
   ตัดเอากิ่งและใบไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้า ก็จะพึงกล่าวว่า

   บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกะพี้, เปลือก, สะเก็ด, กิ่งและใบไม้ เมื่อต้องการแก่นไม้ จึงละเลยแก่นเป็นต้น ตัดเอาแต่กิ่งและใบไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น ทั้งจะไม่ได้รับประโยชน์จากกิ่งและใบไม้นั้นด้วย"


              "มีอุปมาอื่นอีก บุรุษต้องการแก่นไม้ แต่ถากสะเก็ดไม้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น หรือถากเปลือกไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น หรือถากกะพี้ไม้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น ก็จพึงถูกหาว่า ไม่รู้จักแก่นไม้เป็นต้น และไม่ได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ถากไปนั้นเช่นเดียวกัน"

              "อีกอุปมาหนึ่ง บุรุษต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไป ด้วยรู้จักแก่นไม้ คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้าก็จะพึงกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น กะพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบไม้ ต้องแก่นไม้ก็ตัดเอาแต่แก่นไป ด้วยรู้จักแก่นไม้ ทั้งจะได้รับประโยชน์จากแก่นไม้นั้นด้วย"

              "ดูก่อนพราหมณ์ ข้ออุปไมยก็ฉันเดียวกันนั่นแหละ คือกุลบุตรบางคนในศาสนานี้ มีศรัทธาออกบวชไม่ครองเรือน ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และความคับแค้นใจ เข้าถึง(๒) ตัวแล้ว อันความทุกข์เข้าถึงตัวแล้ว มีความทุกข์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ไฉนหนอการทำที่สุดแห่งทุกข์(๓) ทั้งหมดนี้จะปรากฏ

   ผู้นั้นออกบวชแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็อิ่มใจ เต็มความปรารถนาด้วยลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น ว่าเราเป็นผู้มีลาภ สักการะ ชื่อเสียง ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านั้นไม่มีใครรู้จักเป็นผู้มีศักดาน้อย คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าลาภ สักการะ และชื่อเสียง ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม"

              "ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือน ผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่น, กะพี้, เปลือก, และสะเก็ดเสีย ตัดเอากิ่งและใบไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"

              "อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วย ลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะสิ่งนั้น ทั้งยังปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม

    ผู้นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะสีลสัมปทานั้นว่า เราเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลว คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสีลสัมปทา ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม

    ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่น กะพี้ และเปลือกเสีย ถากเอาสะเก็ดไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"

              "อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ประพฤติสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ยังไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเป็นต้นเพราะสีลสัมปทานั้น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสีลสัมปทานั้น ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ ไม่มีความประพฤติยอ่หย่อนหละหลวม

   ผู้นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ (ความตั้งมั่นหรือความสงบแห่งจิต) ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะสมาธิสัมปปทานั้นว่า เราเป็นผู้ตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ เป็นผู้ไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่า สมาธิสัมปทานั้น ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติหย่อนหละหลวม

   ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นและกะพี้เสีย ถากเอาเปลือกไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"



              "อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธินั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะสมาธิสัมปทานั้น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสมาธิสัมปทา ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ ไม่เป็นผู้มีความประพฤติยอ่หย่อนหละหลวม

   ผู้นั้นได้ญาณทัสสนะ (ความเห็นด้วยญาณหรือปัญญา) ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยญาณทัสสนะ หรือปัญญานั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสนะนั้น ว่าเราอยู่อย่างรู้เห็น ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ อยู่อย่างไม่รู้เห็น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม

   ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นเสียถากเอากะพี้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"

              "อนึ่ง บุคคลบางคนอออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจแต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น ได้ญาณทัสสนะ (หรือปัญญา) ก็อิ่มใจ

   แต่ไม่เต็มปราถรนาด้วยญาณทัสสนะนั้น ไม่ยกตน ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสะนั้น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม

   ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมอะไรบ้าง ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ
   ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
   เข้าปฐมฌาน(๔) (ฌานที่ ๑) เข้าทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) เข้าตติยฌาน (ฌานที่ ๓) เข้าจตุตถฌาน (ฌานที่ ๔)
 
   เข้าอากาสานัญจายตนะ (อรูปฌาน กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) เข้าวิญญาณัญจายตนะ (อรูปฌาน กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) เข้าอากิญจัญญายตนะ (อรูปฌาน กำหนดว่าไม่มีอะไรแม้แต่นิดหน่อย) เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ (อรูปฌาน ที่มีสัญญาความจำได้หมายรู้ ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่)

   เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อเข้าแล้วทำให้ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนาความเสวยอารมณ์สุขทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขได้) อาสวะของภิกษุนั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา คุณธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ

   ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไม้ไปฉะนั้น"

              "ด้วยประการฉะนี้แหละพราหมณ์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะชื่อเสียงเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบอันใด พรหมจรรย์นี้ มีความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบนั้นแหละเป็นที่ต้องการ นั้นเป็นแก่นสาร นั้นเป็นที่สุดโดยรอบ"

              เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ปิงคลโกจฉพราหมณ์กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต.

ที่มา จูฬสาโรปมสูตร ๑๒/๓๗๔



สรุปความ

              ๑. ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเหมือนกิ่งไม้ใบไม้

              ๒. ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเหมือนสะเก็ดไม้

              ๓. ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเหมือนเปลือกไม้

              ๔. ญาณทัสสนะ หรือปัญญา เปรียบเหมือนกะพี้ไม้

              ๕. ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบ ซึ่งใช้คำภาษาบาลี "อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ" เปรียบเหมือนแก่นไม้



(๑.) พราหมณ์ปิงคลโกจฉะถามถึงครูทั้งหกซึ่งเป็นเจ้าลัทธิมีชื่อเสียงในครั้งนั้น แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงวิพากษ์วิจารณ์ จึงทรงแสดงธรรมให้ฟังตามที่ทรงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์กว่าการวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น
(๒.) คำว่า เข้าถึงตัว แปลจากคำว่า โอติณฺโณ ซึ่งโดยพยัญชนะ แปลว่า ก้าวลง
(๓.) คำว่า การทำที่สุดแห่งทุกข์ เป็นสำนวนบาลี หมายถึงกำจัดทุกข์ได้หมด สำนวนบาลีนี้พอดีตรงกับสำนวนภาษาอังกฤษว่า to put an end to suffering
(๔.) ในการแปลตอนนี้ ได้แปลลัดแต่ใจความของเรื่องว่า เข้าฌานที่ ๑ ที่ ๒ เป็นต้น เพราะรายละเอียดของแต่ฌานมีแล้วในที่อื่น


อ้างอิง
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/part1.html
อ่านรายละเอียดได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๑๐. จูฬสาโรปมสูตร "อุปมานักบวชกับผู้แสวงหาแก่นไม้"
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  บรรทัดที่ ๖๕๐๕ - ๖๖๙๕.  หน้าที่  ๒๖๔ - ๒๗๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6505&Z=6695&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=353
ขอบคุณภาพจาก http://1.bp.blogspot.com,http://img.ryt9.com,www.tops.co.th
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ekkasit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 14
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ตามหาแก่นธรรม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 30, 2011, 09:53:27 pm »
0
เข้ามานั่งอ่านได้ความรู้มากมาย




Great Neck Impact Wrench
บันทึกการเข้า

Mahajaroon

  • 1.บรรพชิต
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • ข้างนอกต้องแก้ไข ข้างในต้องปล่อยวาง
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ตามหาแก่นธรรม
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2011, 03:46:04 pm »
0

ถึงท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ

ผมเป็นคนสนใจธรรมะ แต่ยังไม่เข้าใจ ธรรมะ เพราะยังใหม่กับเรื่องนี้มาก

ได้ยินว่าความไม่ประมาทเป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวงก็จริง แต่ผมไม่เข้าใจอยู่เรื่องหนึ่ง คือ

๑ ไม่ประมาทในทุกข์ เป็นอย่างไร  ?

๒ กำหนดรู้ทุกข์ อย่าละทุกข์ ยิ่งงงมากเลยขอคำอธิบายจากผู้รู้ครับ ว่าเป็นเช่นไร ?

๓ ทุกข์ในพระไตรลักษณ์ กับทุกข์ในอริยสัจ ๔ ทุกข์เหมือนกัน และต่างกันอย่างไร ?

เรียนมาก็พอสมควรแต่อ่อนประสบการณ์ ตั้งใจว่าหากมีโอกาสจะเข้าปฏิบัติวิปัสสนาบ้าง
                                                                                                    :25:      :character0029:


ครับผม...ไม่เสียแรงที่ได้เข้ามาโพสต์ถาม ได้รับคำตอบจากสหธรรมิก ทั้งทึ่เป็นพระภิกษุและอุบาสกอุบาสิกา
ทุกท่านที่ใช้ความเพียรพยายามค้นหาหลักธรรมมาตอบ เพื่อความเข้าใจธรรมะ และความไม่ผิดเพี้ยนมากไปกว่านี้
สัจธรรมจะตั้งมั่งคงอยู่ในจิตใจของมนุษย์ได้ก็ด้วยความเมตตาจากมนุษย์  แม้ว่าอ่านไปบางครั้ง บางเรื่อง เข้าใจ
ได้น้อยเหลือเกิน แต่จะพยายามครับผม ขอขอบพระคุณที่เมตตา
 :25:                                                      :25:                                          :25:
บันทึกการเข้า
พุทธะนับหมื่นอยู่ที่ใจ

Mahajaroon

  • 1.บรรพชิต
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • ข้างนอกต้องแก้ไข ข้างในต้องปล่อยวาง
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ตามหาแก่นธรรม
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2011, 02:14:20 pm »
0
น้ำท่วมครั้งนี้เห็นแก่นธรรม แต่บางครั้งยังไม่เจอแก่นธรรม
เพราะเหตุอะไรจึงได้พูดเช่นนี้
ประการแรก

๑ การให้ทานบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมยังเคลื่อนจากธรรมของพระสัมมา
๒ การรักษากายวาจาในขณะประสบภัยพิบัติ ยังคิดว่าคนรวยเอาเปรียบคนจน ยังมีเขามีเรา
๓ จิตใจไม่มีวันสงบเพราะมองข้ามคุณค่าของการให้ทานและรักษากายวาจาของตน
 
ประการที่๒

๑ ตอนนี้หลายพื้นที่ทางภาคกลางกำลังประสบภัยพิบัติมีใครบ้างไหมที่ใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส
๒ เมื่อผู้นำผู้มีอำนาจสามารถรู้สาเหตุที่แท้จริงว่าเพราะเหตุอะไรเมื่องไทยจึงประสบภ้ย
๓ ในอนาคต ลูกหลานเหลน คงได้รับความอุ่นใจว่าประวัติศาสตร์คงไม่ซ้ำลอยเดิมแน่นอน
๔ ประวัติศาสตร์จะจารึกไว้ให้คนทั้งโลกรู้ว่าเราแก้ปัญหาให้กับตนเองได้ ยิ้มได้เมื่อภัยมา

ธรรมะนั้นมีหลากหลายตามจริตของคนแต่ที่พระพุทธเจ้าแสดงมากที่สุดก็คือ
อนุปุพพีกถา
ทาน  การให้อย่างฉลียวฉลาด
ศีล   การควบคุมกายวาจาให้ปกติ
สวรรค์ รู้จักคุณค่าของศีลทาน
กามาทีนวะ  ของดีมีประโยชน์หากไม่รู้จักใช้จะเกิดโทษได้ภายหลัง
เนกขัมมะ   ของดีมีประโยชน์มีคุณอันเลิศหรูแต่เป็นเพียงของนอกกายเท่านั้น

เมื่อผู้ใดเข้าใจธรรมะ ๕ ข้อข้างต้นดีแล้ว พระองค์จึงแสดงสัจจธรรมล้วนๆ เรียกว่า
ทุกข์  ควรกำหนดรู้
สมุทัย ควรกำหนดละ
นิโรจน์ ควรทำให้แจ้ง
มรรค   ควรเจริญให้ถึงพร้อม

 :25:
อ้างอิงจากดวงใจน้อยๆ
อธิบายตามความเข้าใจของกระผม หากผิดพลาดประการใดขอน้อมรับด้วยเกล้าทุกประการ
สุดท้ายนี้ผู้รู้ท่านใดที่สามารถอธิบายธรรมโดยใช้ประสบการณ์ปัจจุบันมาเสนอ ขอเชิญนะครับ
บันทึกการเข้า
พุทธะนับหมื่นอยู่ที่ใจ