ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความเพีียร แบบไหน ชื่อว่า ความเพียรพอดี  (อ่าน 4848 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีผู้บอกว่า เพียรมาก คือ ปฏิับัติตามกิจวัตร เกินพอดี เคร่งมาก ไม่ถึงธรรม

คำพูดนี้ตอนผมได้ไปบวชเป็นพระ มักจะโดนพระ หลวงพ่อ หลวงพี่ หลวงน้า ทั้งหลาย มักจะพูดกับผมอย่างนี้

ผมตั้งใจไว้ บวชน้อยก็จะรักษา ศีล กิจวัตร ของความเป็นพระให้ดีที่สุด

 คือ ผมทรง กิจวัตร ตลอด ที่บวชอยู่

 จนมาวันนี้ก็ยังไม่เข้าใจ อยู่ดีว่า ความเพียรที่ทำนั้น พอหรือ ไม่ หรือ ว่าเพียร มากเกินไป
แต่อย่างไร ผมก็พอใจในความเป็นพระช่วงนั้น จนถึงวันนี้ ผมนึกทุกครั้งก็จะรู้สึกพอใจในการพยายามเต็มที่

 จึงอยากให้เพือ่น ๆ ช่วยกันแสดงความคิดเห็น เรื่อง ความเพียรกันหน่อยว่า

 ความเพียรแบบไหน จึงเป็นความเพียร ที่เหมาะสม ไม่เคร่งกันเกินไป ความเพียร คืออะไรกันแน่ ?

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเพีียร แบบไหน ชื่อว่า ความเพียรพอดี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2011, 12:31:14 pm »
0
ตอนผมบวชพระ ก็มักจะได้ยินคำพูด เช่นนี้เหมือนกันว่า

 "อย่าทำตัวเคร่งมากนัก นิพพานนะไม่มีหรอก แค่อยู่ให้ได้วันๆ ก็เพียงพอแล้ว"

 คำพูดนี้ ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นคำพูด ของ พระที่เรียกว่า มหา ที่บวชกันหลายพรรษา ในขณะที่ผมเข้าไปบวชศึกษา
1 พรรษา ก่อนจะลาสิกขาออกมา

 ผมเชื่อว่า พระในปัจจุบันนี้ มีความเชื่อว่าการปฏิบัติที่ได้ผลจริง ไม่มี พระอรหัีนต์ ไม่มี มีแต่การสั่งสมบารมี ซึ่งแนวคิดอันนี้คล้าย ๆ กับ แนวมหายาน ดังนั้นที่เหลือคือใช้ชีวิตให้จบไปในวัน โดยที่ได้สั่งสมปัญญาบารมี ต่างๆ เพื่อการไปบรรลุธรรม ในพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป ก็ประมาณนี้ ดังนั้นจึงมีการสอนให้อธิษฐาน ขอให้ข้าพเจ้าได้บรรลุธรรม พบพระศรีอารย์ ในอนาคตกาลโน้นเทอญ ประมาณนี้ ครับ

 หัวข้อของความเพียร เป็นหัวข้อที่น่าสนใจมากครับ อย่างไรให้ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แสดงความเห็นก่อนดีกว่านะครับ

  :25: :25: :25:

 
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเพีียร แบบไหน ชื่อว่า ความเพียรพอดี
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2011, 10:48:24 pm »
0
มรรคมีองค์ ๘  หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ); องค์ ๘ ของมรรค (มัคคังคะ )  มีดังนี้
   ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท)
   ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป) 
   ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔)
   ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓)
   ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ)
   ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔)
   ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔)
   ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔)


มรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค

ปธาน ความเพียร,
       ความเพียรที่ชอบเป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ
           ๑. สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
           ๒. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
           ๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
           ๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์;
       สัมมัปปธาน ก็เรียก


ที่สุด หรือ อันตะ ๒ (ข้อปฏิบัติหรือการดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ผิดพลาดไปจากทางอันถูกต้อง คือมัชฌิมาปฏิปทา)
๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข)
๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง, การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อน )


ปฏิปทา ๔ (แนวปฏิบัติ, ทางดำเนิน, การปฏิบัติแบบที่เป็นทางดำเนินให้ถึงจุดหมาย คือความหลุดพ้นหรือความสิ้นอาสวะ)

๑. ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะ แรงกล้า ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นอยู่เนืองๆ หรือเจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ เช่น อสุภะ เป็นต้น อีกทั้งอินทรีย์ก็อ่อนจึงบรรลุโลกุตตรมรรคล่าช้า พระจักขุบาลอาจเป็นตัวอย่างในข้อนี้ได้ )

๒. ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะแรงกล้า ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นอยู่เนืองๆ หรือเจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ เช่น อสุภะ เป็นต้น แต่มีอินทรีย์แก่กล้า จึงบรรลุโลกุตตรมรรคเร็วไว บาลียกพระมหาโมคคัลลานะเป็นตัวอย่าง)

๓. สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสบาย แต่รู้ได้ช้า เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะ นั้น เนืองนิตย์ หรือเจริญสมาธิได้ฌาน ๔ อันเป็นสุขประณีต แต่มีอินทรีย์อ่อนจึงบรรลุโลกุตตรมรรคล่าช้า)

๔. สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสบาย ทั้งรู้ได้ไว เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นเนืองนิตย์ หรือเจริญสมาธิได้ฌาน ๔ อันเป็นสุขประณีต อีกทั้งมีอินทรีย์แก่กล้าจึงบรรลุโลกุตตรมรรคเร็วไว บาลียกพระสารีบุตรเป็นตัวอย่าง)


ที่มา พจนานุกรม พุทธศาสน์ แบบประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)


    ระดับความเพียรหรือรูปแบบการปฏิบัติของแต่ละคนต่างกัน ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ที่อบรมมาทั้งชาติปัจจุบันและในอดีตชาติ  ปัญหามีอยู่ว่า จะรู้ได้อย่างไรว่า ความเพียรของเราสุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง หรือพอดีแล้วไม่ตึงไม่หย่อนจนเกินไป เรื่องนี้เป็นเรื่องเฉพาะตัว ลอกเรียนกันไม่ได้ ต้องปฏิบัติเอาเอง ต้องลองผิดลองถูก หรือไม่ก็ต้องมีครูบาอาจารย์มาชี้แนะ

    สมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าได้บอกไว้แล้วว่า การบำเพ็ญทุกขกริยาเป็นความเพียรที่ผิด แต่ด้วยบารมีของท่าน จึงมีเทวดามาดีดพิณให้ฟัง แต่ก็อาจมีคนสงสัยว่า ทำไมพระพุทธเจ้า จึงอธิษฐานแบบสุดโต้งโดยจะไม่ยอมลุกไปไหนตราบใดที่ไม่ตรัสรู้ เหตุที่ท่านอธิษฐานแบบนี้ได้ เพราะท่านได้เสี่ยงถาดให้ลอยทวนน้ำ ท่านจึงมั่นใจเต็มที่ว่า อย่างไงก็ต้องตรัสรู้แน่นอน

    เรื่องนี้อยากให้เข้าใจว่า ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่บารมีเต็ม พร้อมที่จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านจึงมีสิ่งบอกเหตุ สิ่งที่บอกเหตุนั้นเป็นไปตามบารมีของท่าน ระดับสาวกอย่างเราๆคงยากที่จะมีสิ่งบอกเหตุอย่างนั้น

    ในส่วนของสาวก มีตัวอย่างให้ดูก็คือ พระโสณโกฬิวิสเถระ เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร พระเถระองค์นี้ เดินจงกรมจนเท้าแตก ลงคลานจงกรมก็คลานจนมือแตกเลือดออก สุดท้ายพระพุทธเจ้าก็มาชี้แนะว่า ความเพียรของพระเถระสุดโต้งเกินไป พระเถระก็ลดความเพียรลง ไม่ตึงไม่หย่อน จนบรรลุอรหันต์

    สาวกอีกองค์หนึ่งก็ คือ พระจักขุบาล พระเถระองค์นี้อธิษฐานสุดโต้ง คือ จะไม่ยอมนอนหากไม่บรรลุอรหันต์ ท่านนั่งจนตาบอด ท่านเป็นโรคตา การหยอดยาต้องนอนหยอด เมื่อไม่นอนก็หยอดไม่ได้ สุดท้ายตาก็บอด แต่เรื่องเป็นไปตามบุรพกรรมของท่าน ทีกระทำคนอื่นตาบอดมาแล้วในอดีตชาติ

   สรุปก็คือ ความเพียรที่ ไม่ตึงไม่หย่อน มีความความพอดี อยู่บนทางสายกลาง ระดับสาวกคงต้องหาเอาเอง
และขอให้ทำความเข้าใจเรื่อง "ปฏิปทา ๔" ให้ดีครับ (อย่าลืมอ่านข้อธรรมอื่นๆที่นำเสนอด้วย)
   คนเราต่างกันที่ จริต วาสนา บารมี อินทรีย์แก่อ่อนไม่เท่ากัน แต่สิ่งที่ทุกคนต้องมีก็คือ ความอดทน(ขันติ)
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
  "ขันติเป็นประธานเป็นเหตุแห่งคุณ คือ ศีลและสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น"

    :25:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 25, 2011, 10:53:37 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเพีียร แบบไหน ชื่อว่า ความเพียรพอดี
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2011, 11:03:42 pm »
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔


      คำว่า มีความเพียร ความว่า วิริยะเรียกว่า ความเพียร ได้แก่ การปรารภความเพียร ความก้าวออก ความก้าวหน้า ความย่างขึ้นไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมั่นคง ความทรงไว้ ความก้าวหน้ามิได้ย่อหย่อน ความไม่ปลงฉันทะ ความไม่ทอดธุระ ความประคองธุระไว้

      วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันเป็นไปทางจิต ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงเข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ ภิกษุนั้นเรียกว่า มีความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น.

ลิงค์แนะนำ  ทรงตรัสให้ "นอน ๔ ชั่วโมง ที่เหลือให้ปฏิบัติโดยการเดินจงกรมและนั่ง"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4331.msg16014#msg16014
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ความเพีียร แบบไหน ชื่อว่า ความเพียรพอดี
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2011, 07:45:31 am »
0
มีผู้บอกว่า เพียรมาก คือ ปฏิับัติตามกิจวัตร เกินพอดี เคร่งมาก ไม่ถึงธรรม คำพูดนี้ตอนผมได้ไปบวชเป็นพระ มักจะโดนพระ หลวงพ่อ หลวงพี่ หลวงน้า ทั้งหลาย มักจะพูดกับผมอย่างนี้

ตอนผมบวชพระ ก็มักจะได้ยินคำพูด เช่นนี้เหมือนกันว่า "อย่าทำตัวเคร่งมากนัก นิพพานนะไม่มีหรอก แค่อยู่ให้ได้วันๆ ก็เพียงพอแล้ว" คำพูดนี้ ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นคำพูด ของ พระที่เรียกว่า มหา ที่บวชกันหลายพรรษา ในขณะที่ผมเข้าไปบวชศึกษา 1 พรรษา ก่อนจะลาสิกขาออกมา



พระสงฆ์ในสายปริยัติร่ำเรียนธรรมไวยากรณ์บาลีนั้น มักย่อหย่อนในกิจภาวนาหรือไม่เอาเลย เรียกว่าปฏิเสธก็ว่าได้

ส่วนมากย่างก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เพียงเพื่อโอกาสทางการศึกษาเพื่อมุ่งสู่คฤหัสถ์เพศ ซึ่งมีแบบอย่างความ

สำเร็จของบุคคลไว้ให้มุ่งสู่ดาวกันคือ "อนุศาสตร์" อาชีพหนึ่งเดียวในสายราชการทหาร ที่ผมนึกชื่อออกก็มี

น.อ.อ อ่อน บุญญพันธุ์ และอีกหลายท่านที่ลางเลือนในความจำผม ในทัศนะผมอาจต้องขัดเคืองใจสำหรับ

หลายๆท่านอย่างในกรณีท่าน วุฒิช้ย วชิรเมธี วัดเบญจมพิตรดุสิตวนาราม เป็นแบบอย่างพระสงฆ์ฝ่ายปริยัติที่

สะท้อนภาพลักษณ์ของพระเมืองที่เฟื่องหลักธรรมนำออกสู่โลก แต่ห่างร้างเนื้อแท้แห่งธรรมเยื่องท่าน ประยุทธ

ปยุตฺโต ซึ่งเทียบกันยากไม่อาจกล่าว ดังนั้นสิ่งที่ผมอยากกล่าวคือ เราต้องแสวงหาครูอาจารย์ที่กล่าวสอนนำได้

จริงในแนวทางภาวนาเพื่อถึงแก่นแท้แห่งชีวิตที่ควรมุ่งเดิน ผมต้องการบอกกล่าวเพียงว่า เราอยากมีพระปฏิบัติ

จริงไม่ทิ้งเมือง "กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ" เป็นทางเลือกหนึ่งที่ผมเห็นเป็นไปได้ครับ ขอเพียงเปิดใจรับช่วย

กันนับหนึ่ง 




http://www.watmongkolberkeley.com/katonwatmongkol.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 26, 2011, 08:50:57 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเพีียร แบบไหน ชื่อว่า ความเพียรพอดี
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2011, 11:23:15 am »
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
จรวรรคที่ ๒


จารสูตร

   ตรัสว่า เมื่อภิกษุเดิน, ยืน, นั่ง, นอน
     ถ้าความตรึกในกาม, ในการพยาบาท,ในการเบียดเบียนเกิดขึ้น
     เธอรับไว้ไม่ละเสีย เธอก็ชื่อว่าไม่มีความเพียร เป็นผู้เกียจคร้าน
     แต่ถ้าไม่รับไว้ ละเสีย เธอก็จะชื่อว่ามีความเพียรไม่เกียจคร้าน.


 
อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  บรรทัดที่ ๓๐๖ - ๓๔๖.  หน้าที่  ๑๔ - ๑๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=306&Z=346&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=11
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ความเพีียร แบบไหน ชื่อว่า ความเพียรพอดี
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2011, 09:42:29 am »
0
  ความเพียร แบบไหน ชือว่า ความเพียรพอดี

  อันนี้ตอบไม่ได้ โดยส่วนรวมนะจ๊ะ เพราะ ความพอดี เป็นของเฉพาะตน

  ความเพียร ไม่ใช่ความขยัน แต่ ความเพียร หมายถึง การสร้างกุศลและรักษากุศลนั้นไว้ ต่างหาก

   พิจารณา จาก ปธาน 4

   1. ละจากอกุศล

   2. อกุศลให้พยายามนำออก

   3. สร้างกุศล
   
   4. รักษกุศลที่สร้างไว้ มิให้หายไป

   สรุป ทำข้อ 3 เพียงข้อเดียวเท่านั้น คือ สร้างกุศล เมื่อ สร้างกุศล อกุศลก็ย่อมหายไป และถูกนำออก การสร้างกุศล ก็คือ การรักษากุศล

    ดังนั้นการทำความเพียร ก็คือ การสร้างกุศล

    ส่วนความพอดี นั้นเป็นของ เฉพาะตน ความพอดี ก็คือ ความต้านทานเฉพาะบุคคล

    ตังนั้น บางคน เดินจงกรมได้เป็นวัน บางคนทำไม่ได้ บางคนกินข้าวได้มาก บางคนกินข้าวได้น้อย

   ดังนั้น ความพอดี ก็คือต้านทานเป็นรายบุคคล

    เราบอกว่า พระรูปนี้เคร่งมาก สามารถ อดหลับอดนอน ภาวนาได้ทั้งวันทั้งคืน ท่านเพียรมากเกินไป อันนี้ตอบยาก ก็ท่านมีความต้านทานในระดับนั้นได้ ก็คงจะไม่มากหรอกนะจ๊ะ

   เห็นหรือไม่ว่า ตอบยาก

    ดูอย่าง พระจักขุบาล ท่านเกินพอดี แต่ สำเร็จเป็นพระอรหันต์

            พระอานนท์ ยอมละกาำรภาวนา จะล้มตัวลงนอน สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ระหว่างที่นอน

      ความพอดี จะหมายถึง สิ่งใด กับ บุคคลได้

      ปัคคาหะ เพียรจัดเป็นอย่างไร เพียรน้อยเป็นอย่างไร ก็ต้องไปดูมาตรฐาน กัน

    อะไร เรียกว่า มาตรฐาน   

        พระอริยมรรค เรียกว่า มาตรฐาน ถ้าผิด จากพระอริยมรรค ก็ผิดจากมาตรฐาน

       ที่นี้ มาตรฐาน ส่วนนี้ จึงขนานนามว่า ทางสายกลาง หรือ เป็นกลาง

     ดังนั้น ตอบ ความเพียรที่พอดี ก็คือ ความเพียรใน พระอริยมรรค นะจ๊ะ

   เจริญธรรม

    ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระอานนท์ปรารภความเพียรมากเกินไป
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 06:16:31 pm »
0


อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
พรหมชาลสูตร

พระอานนท์บรรลุพระอรหัต 
             
               ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุมทำสังคายนา การที่เรายังเป็นพระเสขะอยู่ จะเข้าประชุมด้วยนั้น ไม่สมควรแก่เราเลย แล้วให้เวลาล่วงไปด้วยกายคตาสติกรรมฐาน ตลอดราตรีเป็นส่วนมากทีเดียว ในเวลาใกล้รุ่งของราตรีก็ลงจากที่จงกรมเข้าวิหาร เอนกายลงหมายจะนอน เท้าทั้งสองพ้นจากพื้นแล้ว แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน ในระหว่างนี้จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.

               พระอานนทเถระนี้ให้เวลาล่วงไปในภายนอกด้วยการจงกรม เมื่อไม่อาจให้คุณวิเศษเกิดขึ้นได้ ก็คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราไว้มิใช่หรือว่า(๑-)
               ดูก่อนอานนท์ เธอได้สร้างบุญไว้แล้ว จงหมั่นบำเพ็ญเพียรเถิด ไม่ช้าก็จะเป็นพระอรหันต์ดังนี้ ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ตรัสผิดพลาด แต่เราปรารภความเพียรมากเกินไป

               ฉะนั้น จิตของเราจึงฟุ้งซ่าน ทีนี้เราจะประกอบความเพียรพอดีๆ คิดดังนี้แล้วลงจากที่จงกรม ยืนในที่ล้างเท้า ล้างเท้าเข้าวิหาร นั่งบนเตียงคิดว่าจักพักผ่อนสักหน่อย แล้วเอนกายบนเตียง เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน ในระหว่างนี้จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.

____________________________
(๑- )ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๓๕

              ความเป็นพระอรหันต์ของพระอานนทเถระ เว้นจากอิริยาบถ ๔ ฉะนั้น เมื่อมีการกล่าวถามกันขึ้นว่า ในศาสนานี้ ภิกษุที่ไม่นอน ไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่เดินจงกรม แต่ได้บรรลุพระอรหัต คือภิกษุรูปไหน. ควรตอบว่า คือพระอานนทเถระ.

               ครั้งนั้น ในวันที่ ๒ จากวันที่พระอานนท์บรรลุพระอรหัต คือวันแรม ๕ ค่ำ พวกภิกษุชั้นพระเถระฉันเสร็จแล้ว เก็บบาตรและจีวรแล้วประชุมกันในธรรมสภา. สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม.

               ท่านไปอย่างไร.
               ท่านพระอานนท์มีความยินดีว่า บัดนี้ เราเป็นผู้สมควรเข้าท่ามกลางที่ประชุมแล้ว ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง มีลักษณะเหมือนลูกตาลสุกที่หล่นจากขั้ว มีลักษณะเหมือนทับทิมที่วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง มีลักษณะเหมือนดวงจันทร์เพ็ญที่ลอยเด่นในท้องนภากาศอันปราศจากเมฆ และมีลักษณะเหมือนดอกปทุมมีเกสรและกลีบแดงเรื่อกำลังแย้มด้วยต้องแสงอาทิตย์อ่อนๆ คล้ายจะบอกเรื่องที่ตนบรรลุพระอรหัตด้วยปากอันประเสริฐบริสุทธิ์ผุดผ่องมีรัศมีและมีสิริ ได้ไปสู่ที่ประชุมสงฆ์.


               ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะพอเห็นพระอานนท์ ดังนั้นได้มีความรู้สึกว่า ท่านผู้เจริญ พระอานนท์บรรลุพระอรหัตแล้ว งามจริงๆ ถ้าพระศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่ พระองค์ก็จะพึงประทานสาธุการแก่พระอานนท์ในวันนี้แน่แท้ บัดนี้ เราจะให้สาธุการซึ่งพระศาสดาควรประทานแก่พระอานนท์ดังนี้แล้ว ได้ให้สาธุการ ๓ ครั้ง.

               ส่วนพระมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวว่า พระอานนทเถระประสงค์จะให้สงฆ์ทราบเรื่องที่ตนบรรลุพระอรหัต จึงมิได้ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเมื่อนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตนๆ ตามลำดับอาวุโส ก็นั่งเว้นอาสนะของพระอานนทเถระไว้. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวกถามว่า นั่นอาสนะของใคร? ได้รับตอบว่า ของพระอานนท์. ภิกษุเหล่านั้นถามอีกว่า พระอานนท์ไปไหนเสียเล่า?

               สมัยนั้น พระอานนทเถระคิดว่า บัดนี้เป็นเวลาที่เราควรจะไป ต่อจากนั้น เมื่อจะแสดงอานุภาพของตน ท่านจึงดำดินแล้วแสดงตนบนอาสนะของตนทีเดียว. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระอานนท์ไปทางอากาศแล้ว นั่งบนอาสนะของตน ดังนี้ก็มี. อย่างไรก็ตาม การที่ท่านพระมหากัสสปะเห็นพระอานนท์แล้ว ให้สาธุการ เป็นการเหมาะสมโดยประการทั้งปวงทีเดียว.



อ้างอิง
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=09&A=1&Z=1071
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=1
ขอบคุณภาพจาก http://uc.exteenblog.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ