ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: QA "ขึ้นกรรมฐาน กับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำอย่างไร ?"  (อ่าน 5617 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
QA  ใครช่วยตอบได้ ก็ช่วยตอบกัน ด้วยนะ จะนำคำถามมาลงก่อน ก็แล้วกันนะ ส่วนคำตอบจะทะยอยตอบ

ปุจฉา
QA "ขึ้นกรรมฐาน กับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำอย่างไร ?"

วิสัชชนา


 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

paisalee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 382
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้ ทีมงานมัชฌิมา แบบลำดับ / เว็บมาสเตอร์ น่าจะตอบกันได้ นะครับ
คำถามนี้เห็นถามนานแล้วนะครับ


 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
บุญที่้ข้าพเจ้าได้ทำวันนี้ ขออุทิศให้แก่ บิดาและน้องชายที่ล่วงลับ มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
     





    เมื่อจะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ
    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน
    โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    มาขึ้น(กรรมฐาน)ในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้


อ้างอิง
คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) 
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  รวบรวม เรียบเรียง


   กระทู้แนะนำ เชิญคลิกได้เลย
  "ฝึกกรรมฐาน ไม่ต้องขึ้นกรรมฐาน ก็ได้"
  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5013.msg18244#msg18244




การขึ้นกรรมฐาน ของกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เป็นการไหว้ครู เป็นการแสดงตนว่า ต้องการเป็นลูกศิษย์ ต้องการให้ครูสั่งสอนหรือว่ากล่าวได้ เป็นการแสดงออกถึง การยอมรับทั้ง กาย วาจา และใจ หากไม่มีพิธีกรรมนี้ ครูอาจารย์อาจลำบากใจ ไม่กล้าที่จะพูดอะไรกับเราตรงๆ การปฏิบัติอาจมีปัญหา
การนับถือซึ่งกันและกัน การกำหนดว่าใครควรจะอยู่ในฐานะใด สำหรับสังคมไทยแล้ว จำเป็นมากๆ

  มีขั้นตอนโดยทั่วไป ดังนี้(เปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์)

    ๑.การจัดเตรียมถาดกรรมฐาน เรียกว่า การจัดถาดขันธ์ ๕(ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น)
    ๒.กล่าวคำบูชา(อามิสบูชา คือ ถาดพระกรรมฐาน) กับพระรัตนตรัย
    ๓.กล่าวคำเจริญพระไตรสรณคมน์
    ๔.กล่าวคำสวด ทำวัตรพระอย่างย่อ
    ๕.ถือพานดอกไม้หรือเทียนแพ กล่าวคำขมาต่อพระรัตนตรัย
    ๖.กล่าวคำอธิษฐาน อาราธนาพระกรรมฐาน
    ๗.นั่งกรรมฐาน ครั้งแรกเรียนกรรมฐาน ฟังพระอาจารย์สอนตามลำดับ

     :s_good: :49: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2012, 04:39:10 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ขั้นตอนการขึ้นกรรมฐาน กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 16, 2012, 08:03:27 am »
0

ขั้นตอนการขึ้นกรรมฐาน กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

     เข้าไปหากัลยาณมิตร คือ อาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน แจ้งเจตจำนง กำหนดวันจะขึ้นกรรมฐานกับพระอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน ส่วนใหญ่จะเป็นวันพฤหัสบดี

๑.จัดเตรียมถาดกรรมฐาน เรียกว่า การจัดถาดขันธ์ ๕
   ๑.๑ ดอกไม้ ๕ สี
   ๑.๒ เทียน ๕ เล่ม
   ๑.๓ ธูป ๕ ดอก
   ๑.๔ ข้าวตอก ๕ ถ้วย
   ๑.๕ พานดอกไม้ หรือ เทียนแพ

   จัดเป็นชุดเรียงกันตามแนว ๑ ชุด เรียกว่า ๑ ขันธ์ ไม่ควรใช้ของเวียน ผู้ขึ้นกรรมฐาน ควรจัดหาหรือเตรียมมาเอง


๒. กล่าวคำบูชา อามิสบูชา คือ ถาดพระกรรมฐานกับพระรัตนตรัย
        ๒.๑ คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย
             โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
             อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามะ (ให้ใช้ มะ เลย ในครั้งเดียว)
             โยโส สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
             อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง  อะภิปูชะยามะ
             โยโส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
             อิเมหิ สักกาเรหิ  หัง สังฆัง อะภิปูชะยามะ


        ๒.๒ ถวายถาดพระกรรมฐานบูชาพระรัตนตรัย และกราบ ๑ ครั้ง
             ขันธ์ที่ ๑ บูชา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
             ขันธ์ที่ ๒ บูชา พระธรรมเจ้า
             ขันธ์ที่ ๓ บูชาพระสงฆ์
             ขันธ์ที่ ๔ บูชาพระกรรมฐาน
             ขันธ์ที่ ๕ บูชาพระอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน



๓. กล่าวคำเจริญพระไตรสรณคมน์     
   อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา  พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
   สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม  ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
        สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ  สังฆังนะมามิ (กราบ)



๔. กล่าวคำสวด ทำวัตรพระอย่างย่อ
   นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทโธ (๓ จบ)
   พุทธัง ชีวิตตัง ยาวะนิพพานัง สะระนัง คัจฉามิ
   อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จรณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
   เย จะ พุทธา อตีตา จะ   เย จะ พุทธา อะนาคะตา
   ปัจจุปปันนา จะ เย พุทธา   อะหัง วันทามิ สัพพะทา
   พุทธานาหัสสะมิ ทาโส วะ   พุทธา เม สามิกิสสะรา
   พุทธานัญเจ สิเร ปาทา   มัยหัง ติฏฐันตุ สัพพะทา
   นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง   พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
   เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ   โหตุ เม ชะยะมังคะลัง
   อุตตะมังเคนะ วันเทหัง   ปาทะปังสุง วะรุตตะมัง
   พุทเธ โย ขะลิโต โทโส   พุทโธ ขะมะตุ ตัง มะมัง (กราบ)


        ธัมมัง ชีวิตตัง ยาวะ นิพพานัง สะระนัง  คัจฉามิ
        สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วัญญูหีติ
        เย จะ ธัมมา อตีตา จะ   เย จะ ธัมมา อะนาคะตา
        ปัจจุปปันนา จะ เย ธัมมา   อะหัง วันทามิ สัพพะทา
   ธัมมานาหัสสะมิ ทาโส วะ   ธัมมา เม สามิกิสสะรา
   สัพพา ธัมมาปิ ติฏฐันตุ   มะมัง สิเรวะ สัพพะทา
   นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง   ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
   เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ   โหตุ เม ชะยะมังคะลัง
   อุตตะมังเคนะ วันเทหัง   ธัมมัญ จะ ทุวิธัง วะรัง
   ธัมเม โย ขะลิโต โทโส   ธัมโม ขะมะตุ ตัง มะมัง (กราบ)


        สังฆัง ชีวิตตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
        สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสปุคลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ  อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
        เย จะ สังฆา อตีตา จะ   เย จะ สังฆา อะนาคะตา
        ปัจจุปปันนา จะ เย สังฆา   อะหัง วันทามิ สัพพะทา
   สังฆานาหัสสะมิ ทาโส วะ   สังฆา เม สามิกิสสะรา
   เตสัง คุณาปิ ติฏฐันตุ มะมัง   สิเรวะ สัพพะทา
   นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง   สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
   เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ   โหตุ เม ชะยะมังคะลัง
   อุตตะมังเคนะ วันเทหัง   สังฆัญ จะ ทุวิโทตตะมัง
        สังเฆ  โย ขะลิโต โทโส   สังโฆ ขะมะตุ ตัง มะมัง (กราบ)



๕. ถือพานดอกไม้ หรือเทียนแพ กล่าวคำขอขมาต่อพระรัตนตรัย       
   อุกาสะ วันทามิ ภันเต,
   สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต,
   มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
   สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง,
   ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
   สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต

   (ถวายพานดอกไม้หรือเทียนแพ ต่อพระอาจารย์กรรมฐาน และกราบ ๑ ครั้ง)
   สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต,
   อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง
   สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต,
   อุกาสะ ขะมามิ ภันเต (กราบ ๑ ครั้ง)

   (นั่งพับเพียบ ฟังการแนะนำเบื้องต้น โดยอาการเคารพ)



๖. กล่าวคำอธิษฐานอาราธนาพระกรรมฐาน
   (บัดนี้)ข้าพเจ้าขอภาวนา ”พระพุทธเจ้า” เพื่อจะขอเอายัง “พระลักษณะ” “พระขุททกาปิติธรรมเจ้า” นี้จงได้
        ขอพระพุทธเจ้า จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด
        ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด
        ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าตั้งแรกแต่ พระมหาอัญญาโกณฑัญญะเถระเจ้าโพ้นมา ตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด
        ขอพระอริยะสงฆ์องค์ต้น อันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด
        ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด
        อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าพเจ้าขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า
        เพื่อจะขอเอายัง “พระลักษณะ” “พระขุททกาปิติธรรมเจ้า” นี้จงได้
        ขอจงเจ้ากูมาปรากฏบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าพเจ้านี้เถิด
        อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จรณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
        สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง
        อะระหัง อะระหัง อะระหัง

        (กราบ ๑ ครั้ง เตรียมนั่งกรรมฐาน)

หมายเหตุ
   คำที่ขีดเส้นใต้ ในเบื้องต้นผู้ที่เริ่มต้นฝึกกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จะต้องอธิษฐานอย่างนี้ก่อน ภายหลังมีความชำนาญแล้ว พระอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน จะบอกให้เปลี่ยนคำอธิษฐานไปโดยลำดับ ตามขั้นตอนในหลักสูตรของกรรมฐานต่อไป



๗. นั่งกรรมฐาน ครั้งแรกเรียนพระกรรมฐานฟังพระอาจารย์สอนตามลำดับ


หลักสูตรของกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แบ่งเป็น ๓ ส่วนใหญ่ๆดังนี้
      ๑.อุปจารภาวนา (เฉียดฌาน)
      ๒.อัปปนาภาวนา (ฌาน)
      ๓.วิปัสสนาภาวนา



อ้างอิง
หนังสือประกอบขึ้นกรรมฐาน กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ฉบับที่ ๑. ขึ้นพระกรรมฐานและปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้น
เรียบเรียงโดย พระอาจารย์สนธยา ธัมมะวังโส
ขอบคุณภาพจาก http://board.palungjit.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 07, 2012, 12:06:37 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อนุโมทนา กับ ภาพถาดขึ้นกรรมฐาน
  นับว่าเป็น ถาดที่ เป็น อามิสบูชา อันปราณีต

    เรื่อง อามิสบูชา มีลูกศิษย์ถามกันมาก ว่ามีความจำเป็นมากน้อยขนาดไหน ?
   

     ลองหาคำตอบดูสิ.. ว่า อะไร สมควร อะไร ไม่สมควร
                             อะไร คือ ความตั้งใจ

   
   ศิษย์ จีนคนแรก ของ ท่านตั๊กม้อ ตัดแขน ถวายเพื่อเป็นศิษย์ เรียนธรรม กรรมฐาน อันเป็น อามิสบุชา หรือไม่ ? ตอบกันอย่างไร ?

    สมัยพระพุทธเจ้า สอนธรรม ไม่ค่อยมีเรื่อง การบูชาด้วย อามิสบูชา มากล่าวไว้ ทั้ง ๆ ที่มีเรื่องบันทึก ที่พระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าพิมพิศาร นางวิสาขา โฆสกเศรษฐี ได้ส่งคนซ์้อดอกไม้ ไปถวายพระพุทธเจ้าทุกวัน เหมือน สาวใช้ของ พระนางสามาวดี ทีโกงค่าดอกไม้ทุกวัน แต่ไปทุกวัน ฟังธรรมจนเห็นธรรม ก็เลิกโกงค่าดอกไม้  อันนี้มีเรื่องปรากฏในพระสูตร มากมายหลายตอน

     คำถาม ทำไมพระพุทธเจ้า ไม่ได้ทรงตรัสห้ามการถายสักการะ ด้วยเครื่องหอม มีดอกไม้ ธูป เทียน ต่าง ๆ เหล่านี

      แต่วันนี้หลายท่าน กล่าวให้อาตมาฟัง เป็นเรื่อง เฝือและไม่ได้ บุญ บุญจริง อยู่ที่ภาวนา

      ????????

      ท่านทั้งหลาย คิดว่า ถูกหรือผิด

     ฝากไว้ ให้ท่านทั้งหลาย ได้ พิจารณากันด้วยนะจ๊ะ

     ;)

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เรื่อง อามิสบูชา

    ส่วนตัวแล้ว เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะกว่าจะสำเร็จได้นั้น บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ  ต้องอาศัยทั้งความอดทน ความพยายาม ทำให้เห็นได้ ในส่วนหนึ่งเลยว่า ผู้นั้น ๆ มีความอดทน มีความเพียรพยายาม มีความนอบน้อม มีความเคารพมากแค่ไหน

        เริ่มจากการหาซื้อวัสดุอุปกรณ์  ไหนจะตกแต่ง ให้ปราณีต เหล่านี้ ก็เป็นบุญมิใช่น้อยเลย ขนาด นางอะไรแล้วนะ ( :smiley_confused1: ลืม) ที่ได้จัดเตรียมไว้แล้ว แต่ไม่ทันได้ถวาย มีอุบัติเหตุ นางตายเสียก่อน แต่ก็ยังได้ไปเกิดในสวรรค์เลย

    เคยได้รู้มาว่า  จากการถวายถาดขึ้นกรรมฐานนั้น จะสามารถบอกความลับอะไร ๆ ของคนที่ขึ้นกรรมฐานได้ ซึ่งจะทำให้พระอาจารย์ผู้บอกกรรมฐานเรา  สามารถที่จะรู้ได้ตั้งแต่วินาทีแรกเลย ว่าเราจะปฏิบัติกรรมฐานออกมาเป็นแบบไหน แต่ก็เป็นความลับ บางอย่างก็พอจะพูดบอกกันได้ บางอย่างก็ต้องเก็บไว้ ข้อดีก็คือ เมื่อพระอาจารย์รู้ว่าเราเป็นอย่างไรแล้ว ก็สามารถที่จะช่วยบอก ช่วยแก้กรรมฐานให้ปฏิบัติได้  หลายคนที่ไม่ได้ขึ้นกรรมฐาน จึงพลาดโอกาศเหล่านี้

     

     
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม