ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระท้องเสีย เพราะสาเหตุมาจาก นมเปรี้ยว ที่ไปถวาย ไม่ทราบเป็นบุญหรือบาปคะ  (อ่าน 4022 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระท้องเสีย เพราะสาเหตุมาจาก นมเปรี้ยว ที่ไปถวาย ไม่ทราบเป็นบุญหรือบาปคะ
คือมีความศรัทธา ทำบุญ กับพระสงฆ์ ได้ถวายนมเปรี้ยวไป แต่ปกติพระท่านไม่เคยฉันนมเปรียวไม่ทราบมาก่อน แต่ท่านก็รับฉันตามศรัทธา ปรากฏว่าหลังจากฉันไป 3 ชม.ท่านก็มีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว หลายหน จนถึงเช้า เห็นท่านไม่ได้ลงทำวัตรเช้า จึงได้สอบถามไป จึงทราบว่า พระท่านท้องเสีย สามเณรมากระซิบว่า อาจารย์ท้องเสียเพราะฉันนมเปรี้ยวตั้งแต่เมื่อคืน จึงทราบอย่างนี้

  กรณีอย่างนี้ ไม่ทราบว่า เราได้บุญ หรือ ได้บาป กันแน่คะ

   :'( :'( :'(

  ตอบกันด้วยนะคะ
   :c017:
บันทึกการเข้า

มหายันต์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 154
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
บาป สิครับ เพราะตอนนี้ คุณใจเศร้าหมองแล้ว นะครับ
ต่อไป ก็เป็นบทเรียน นะครับ ว่านมเปรี้ยวสำหรับ พระที่ฉันมื้อเดียวไม่เหมาะสมครับ และไม่เหมาะบริโภคในยามท้องว่างนะครับ

ถ้าจะถวายนม ให้ถวายเป็นนมผง ครับ ประเภท แอนลีน นะครับ พวกนี้จะดีกว่า นมข้นเพราะนมข้น ผมเห็นมาครับพระอาจารย์ ที่ผมเคยไปดูแล ท่านฉันบ้างไม่ฉันบ้าง นมหลังจากเปิดแล้ว ก็ 4 วันก็เสียแล้วครับ

ถ้าจะถวาย ก็ประเภท แอนลีน แลคโตเย่น พวกนี้ครับ จะดีกว่ามาก ๆ ครับ

 ให้ไปขอขมาก่อนนะครับ เพราะเราไม่ได้เจตนา ควรจัดหายา ดูแล ตอนอาพาธ ทำบุญแก้ตัวครับ

  :13:
บันทึกการเข้า

bomp

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีเหตุการณ์ เหมือนกัน คล้าย ๆ คุณ วันหนึ่ง เรามีอยากใส่บาตรพระสงฆ์ ก็เลย ซื้อขนม แกง หน้าวัดใส่บาตร พระสงฆ์ ท่านก็นำไว้ฉันตอนเพล ปรากฏว่า ขนมซึ่งคือ บัวลอย เสียเป็นฟองฟอดเลย เด็กวัดเล่าให้ฟังมาอย่างนี้ แต่ดีที่พระท่านเห็นเสีย ก็ไม่ฉันอยู่แล้ว แต่ก็เสียดายนะเพราะท่านตั้งใจจะฉันให้อยู่แล้ว ปรากฏว่าขนมเสีย เปรี้ยวท่านเลยไม่ได้ฉัน พึ่งทราบว่า ขนมพวกนี้แม่ค้า เขาทำขายหลายวัน ถ้าวันไหนขายไม่หมด เขาจะเก็บเข้าแช่เย็น แล้วอุ่นใส่ถุงขายในตอนเช้า

  คิดว่า ต้องระวัง คะ เรื่องพวกนี้ ถ้าถวายอาหารเป็นพิษ เราเองก็จะได้รับกุศลที่ไม่ดีนะคะ

  :s_hi:
บันทึกการเข้า

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ไม่น่าจะบาป นะครับ เพราะเราไม่ได้ มีเจตนา ให้พระท้องเสีย นะครับ
 
แต่ผลกรรม ที่เกิดจากการฉันนมเปรี้ยวนั้น อาจจะส่งผลให้เรา ลงหรือไม่ นั้น ไม่แน่ใจ นะครับ

 เป็นเรื่องที่ควรแจกธรรม นะครับ เรื่องนี้ผมไม่คิดว่าเป็นธรรมดา

 เหมือนกับเราถวายปัจจัยให้พระไป แล้วพระไปซื้อบุหรี่ สูบ อย่างนี้ แล้วเราจะได้บุญ หรือ ได้บาป ประมาณนี้เลยนะครับ

  :c017: :49:
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 1032

         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เพราะเหดุนั้นแล  เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุทั้งหลาย   อาศัยอำนาจประโยชน์  ๑๐  ประการ  คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก  ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก  ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน  ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต  ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส  ๑   
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑   
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑   
เพื่อถือตามพระวินัย  ๑       
             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้  ว่าดังนี้:-
                                      พระบัญญัติ
        ๔๒.  ๓.  อนึ่ง  มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ  คือ  เนยใส
เนยข้น  น้ำมัน  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย  ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว   พึงเก็บ
ไว้ฉันได้  ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง  ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป  เป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์.                                                                 
                          เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ  จบ   
                                  สิกขาบทวิภังค์
        ๑๔๑  คำว่า  มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ  เป็นต้น  มี
อธิบายดังต่อไปนี้:-

 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 1033

        ที่ชื่อว่า  เนยใส  ได้แก่  เนยใสที่ทำจากน้ำมันโคบ้าง  น้ำนมแพะ
บ้าง  น้ำมันกระบือบ้าง   มังสะของสัตว์เหล่าใดเป็นของควร    เนยใสที่ทำ
จากน้ำนมสัตว์เหล่านั้น  ก็ใช้ได้
        ที่ชื่อว่า  เนยข้น  ได้แก่  เนยข้นที่ทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้นแล
        ที่ชื่อว่า  น้ำมัน   ได้แก่   น้ำมันอันสกัดออกจากเมล็ดงาบ้าง  จาก
เมล็ดพันธุ์ผักกาดบ้าง     จากเมล็ดมะซางบ้าง    จากเมล็ดละหุ่งบ้าง   จาก
เปลวสัตว์บ้าง       
        ที่ชื่อว่า   น้ำผึ้ง   ได้แก่   รสหวานที่แมลงผึ้งทำ           
        ที่ชื่อว่า  น้ำอ้อย  ได้แก่  รสหวานที่เกิดจากอ้อย
        คำว่า     ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว  พึงเก็บไว้ฉันได้  ๗  วัน
เป็นอย่างยิ่ง  คือเก็บไว้ฉันได้  ๗ วันเป็นอย่างมาก
        คำว่า    ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป  เป็นนิสสัคคีย์   ความว่า เมื่อ
อรุณที่ ๘ ขึ้นมา  เภสัชนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์
คณะ  หรือบุคคล   
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็เเลภิกษุพึงเสียสละเภสัชนั้นอย่างนี้:-
                                         วิธีเสียสละ
                                    เสียสละแก่สงฆ์
        ภิกษุรูปนั้น   พึงเข้าไปหาสงฆ์    ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า   กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า  นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ  กล่าวอย่างนี้ว่า
        ท่านเจ้าข้า   เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วง  ๗  วัน  เป็นของจำจะสละ
ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่สงฆ์

ปานะ เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก
       ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ
           ๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง
           ๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
           ๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด
           ๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
           ๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)
           ๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น
           ๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล
           ๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
        นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
        วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุก  เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า เติมน้ำลงให้พอดี  (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร)  แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดี
       ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ
           ๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ
               (ข้อนี้พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ)
           ๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล
               (ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล)
           ๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้
               (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)


คำว่า “น้ำปานะ”  หมายถึง น้ำคั้นผลไม้ จากที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติได้แก่ น้ำคั้นจากผลไม้ ๘  ชนิด (น้ำอัฏฐบาน) คือ น้ำมะม่วง, น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า, น้ำกล้วยมีเมล็ด,  น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด, น้ำมะขางเจือจาง, น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น,  น้ำเหง้าอุบล, น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่        นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังทรงอนุญาต น้ำใบไม้ (ปัตตรส) ทุกชนิด เว้นน้ำผักต้ม  อนุญาตน้ำจากดอกไม้ (บุปผรส) ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะขาง และอนุญาตน้ำอ้อยสด  (อุจฉุรส) อีกด้วย น้ำนมไม่เรียกน้ำปานะ



น้ำนม จัดอยู่ใน เภสัช เนยข้น น้ำนม ทธิ
พึงอ่านข้ออนุโลมด้วย ว่าอนุญาต ไว้เพียงใด ว่าแต่ จิตปริวิตกเรื่องพวกนี้มาก เพราะมีวินิจฉัย จากมหาเถระสมาคม ก็อนุญาต พึงทานได้ไม่เป็นการผิด ในฝ่าย มหานิกาย ก็จะรับดื่มได้เป็นปกติ หลังจากเที่ยงไปแล้ว


จะบอกว่าถูก หรือ ผิด ก็ดูวินิจฉัย บริโภคเพื่ออะไร ในปัจจเวกขณ เรื่องของอาหาร และ เภสัช


ผู้ถวายได้บุญแล้วเมื่อถวาย ส่วนผู้รับเมื่อรับแล้ว จะบริโภค หรือ ไม่บริโภค ก็เป็นส่วนของผู้รับ
ดังนั้นอย่าพึงตามคิดถึงทานที่ได้นำถวายแล้ว ว่าผู้รับจะนำไปอย่างไร จะทิ้ง จะขว้าง จะใช้ ก็ไม่พึงไปติดตาม
เพราะบุญสำเร็จ ตามที่เราตั้งใจแล้ว พึงมั่นใจผู้รับ ถ้าเป็นผู้ทรงศีล มีธรรม ท่านก็จะให้เกิดเป็นประโยชน์เอง


ที่มาของเนื้อหา
ถวาย นม หลังจากเที่ยงไปแล้ว เป็นบุญ หรือ บาป ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1817.0
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระท้องเสีย สาเหตุจาก นมเปรี้ยว ที่ถวาย ไม่ทราบเป็นบุญหรือบาปคะ   ตอบกันด้วยนะคะ

อย่าได้กังวลใจไปกับเรื่องนมเปรี้ยวเลยครับ! ในอดีตครั้งพุทธกาลปลายพระชนม์ชีพแห่งพระบรมศาสดาสัมมา

สัมพุทธเจ้านั้น นายจันทสูกริก มีศรัทธาที่จะถวายภัตต์แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมหมู่สงฆ์ด้วยตนมีอาชีพฆ่า

ค้าเนื้อหมูจึงทำเนื้อนั้นถวายสงฆ์ แต่หารู้ไม่ว่าเนื้อนั้นเจือพิษ พระพุทธองค์ทรงรู้วาระนั้นตรัสมิให้แจกแก่หมู่สงฆ์

ทรงรับเสวยเนื้อนั้นเพียงลำพังพระองค์เดียวส่วนที่เหลือให้ฝังดิน ที่สุดหลังจากทรงเสวยเนื้อก็ทรงอาพาธอาเจียร

เป็นเลือด หากจะถามว่านายจันทสูกริกได้บุญหรือไม่ พระพุทธองค์ทรงกล่าวอนุโมทนาว่าบุญสำเร็จตามนั้นไม่

บาป อาการปักขันธิกาพาธ(อาเจียรเป็นเลือด)นั้น เป็นด้วยวิบากกรรมของพระองค์เอง(แต่ครั้งเป็นแพทย์เยียวยา

ผู้ป่วยถึงชีวิตชาติหนึ่ง) คราวๆแค่นี้พอให้สบายใจนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2012, 10:22:00 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา