ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 657 658 [659] 660 661 ... 709
26321  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 'ศูนย์อภิบาลช้างภาคเหนือ' ติดอันดับ 1 แหล่งท่องเที่ยวของคนรักสัตว์ (ภาพประทับใจ) เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 09:56:47 am
'ศูนย์อภิบาลช้างภาคเหนือ' ติดอันดับ 1 แหล่งท่องเที่ยวของคนรักสัตว์


เว็บดังต่างชาติ ยก "ศูนย์อภิบาลช้างภาคเหนือ" ที่เชียงใหม่ติดอันดับ 1 สถานที่ท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวที่รักสัตว์

เมื่อเวลา 11.30 น. 5 ส.ค. นางแสงเดือน ชัยเลิศ ประธานศูนย์อภิบาลช้างภาคเหนือ และเป็นนักอนุรักษ์ช้างภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า สำนักข่าวต่างประเทศ ซีเอ็นเอ็น และเว็บไซต์ดังของโลก ได้เผยแพร่สถานที่ท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวที่รักสัตว์ จำนวน 15 ทริป โดยอันดับ 1 ที่ถูกแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวที่รักสัตว์คือ ศูนย์อภิบาลช้างภาคเหนือ หรือเอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวน่าสนใจที่สุดสำหรับคนรักสัตว์ จากเว็บไซต์ www.cnngo.com และนำเสนอภาพนักท่องเที่ยวเด็กพากันนอนเล่นกับช้างอย่างมีความสุข

ด้านนางแสงเดือน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ชื่อดัง www.cnngo.com ซึ่งเป็นเว็บที่ให้ข้อมูลแนะนำการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ที่สำคัญทั่วโลก ได้เลือกให้ศูนย์ภิบาลช้างภาคเหนือ หรือเอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค จ.เชียงใหม่ เป็นอันดับ 1 ของสถานที่ที่น่าไปมากที่สุด สำหรับนักท่องเที่ยวที่รักสัตว์



โดยการคัดเลือกและแนะนำนักท่องเที่ยวทางเว็บไซต์ และสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ได้ระบุว่า ศูนย์อภิบาลช้างภาคเหนือแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ ต.กึ๊ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่จะได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่แตกต่างจากการท่องเที่ยวทั่วไป สามารถเข้าร่วมประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นนี้โดยการเข้าเป็นนักท่องเที่ยวอาสาสามัคร

โปรแกรมที่ได้รับคือการดูแลช้าง อาบน้ำช้าง ป้อนอาหารช้าง และมีการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับช้างตลอดทริป โปรแกรมแนะนำเข้าเยี่ยมชมศูนย์ฯ 1 วัน, 2 วัน 1 คืน, 3 วัน 2 คืน, และ 1 สัปดาห์ ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร.053-272855, 053-818754

นอกจากนี้ นางแสงเดือน ยังได้กล่าวอีกว่า ถือเป็นเรื่องดีที่ศูนย์อภิบาลช้างภาคเหนือ ได้รับการแนะนำจากเว็บไซต์ดังกล่าวให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับ 1 สำหรับกลุ่มคนรักสัตว์ เพราะเมืองไทยถูกมองจากต่างชาติว่าเป็นเมืองหรือประเทศที่ทารุณสัตว์ แต่เมื่อตนมาสร้างศูนย์อภิบาลช้างขึ้น ก็ทำให้ภาพลักษณ์ของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเห็นเข้ามาสัมผัสได้เปลี่ยนไป

เราไม่เอาช้างมาบริการ ให้ขี่ หรือให้แสดงกายกรรม หรือให้วาดรูป เพราะการให้ช้างมาทำหรือแสดงท่าที่ผิดธรรมชาติของช้าง เป็นการทรมานช้างอย่างมาก ช้างต้องถูกฝึกทั้งเจ็บและปวด การที่ช้างจะแสดงท่าต่างๆ ได้นั้น ช้างทรมานที่ต้องฝืนตัวเองอย่างหนัก ช้างตัวใหญ่เมื่อยกขาหน้าขาหลัง

เมื่อถูกบังคับ กระดูกช้างจะถูกกดทับ งอไม่เป็นรูป และหากทำงานหนัก ต้องบรรทุกของหนัก หรือบริการให้นักท่องเที่ยวขี่หลังช้าง เดินท่องเที่ยวนานไป เมื่อช้างแก่ ก็จะอยู่ในสภาพที่ช่วยตัวเองไม่ได้



"ที่ศูนย์อภิบาลช้าง เราจะปล่อยให้ช้างมีอิสรภาพในพื้นที่ 200 ไร่ และให้อาสาสมัครหรือนักท่องเที่ยว เข้าไปสัมผัสช้างเสมือนเป็นเพื่อนกันตามธรรมชาติ ไม่มีการขี่หรือบังคับช้างแต่อย่างใด ทุกวันนี้ นักท่องเที่ยวที่ได้มาเห็น ต่างมีความสุข และเมื่อถูกแนะนำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับคนรักสัตว์อีก ตนดีใจและภูมิใจอย่างมากที่ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเริ่มเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น" นางแสงเดือน กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับศูนย์อภิบาลช้าง ที่อ.แม่แตง ช้างส่วนใหญ่ที่ถูกนำมาเลี้ยงไว้ เป็นช้างที่เคยผ่านการทำงานอย่างหนัก มีทั้ง ช้างติดยาบ้า ช้างพิการตาบอด ช้างชราภาพ ซึ่งนางแสงเดือนได้นำมาช่วยเหลือให้บั้นปลายชีวิตของช้างได้มีความสุขกับธรรมชาติ ฟื้นฟูสภาพจิตใจของช้างให้กลับคืนมา

จนอาสาชาวต่างประเทศพากันยกย่องว่าเป็นแม่พระของช้างอย่างแท้จริง และได้รับรางวัลระดับโลกจากสถาบันอนุรักษ์สัตว์หลายแห่ง รวมทั้งนิตยสารไทม์ เคยมอบรางวัล "ฮีโร่ ออฟ เอเชีย 2005" จากการต้องทำงานต่อสู้กับอุปสรรคเรื่องช้างมาตลอดชีวิต จนบางครั้งแทบเอาชีวิตไม่รอด ถูกขู่ฆ่าและถูกลอบปองร้ายมาแล้วหลายครั้ง

เพราะเคยออกมาเปิดโปงเรื่องการผ่าจ้านช้าง และเรื่องช้างเดินตามท้องถนน แต่ไม่เคยย่อท้อ ยังคงทำงานด้วยความแน่วแน่ในการอนุรักษ์และดูแลช้าง สร้างความประทับใจให้กับกลุ่มนักอนุรักษ์ช้างทั่วโลก รวมไปถึงผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติที่ชื่นชม และพากันเผยแพร่ข่าวสารนี้ออกไปทั่วโลก



อ้างอิง
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ทีมข่าวภูมิภาค
6 สิงหาคม 2554, 03:30 น.
http://www.thairath.co.th/content/region/191901
26322  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ๖. โคจรสูตร ว่าด้วยการเดินจิตในสมาธิ เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 06:53:42 am
โคจร, โคจร-
   [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.).ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไปของดวงอาทิตย์).

อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒



อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค สมาธิสังยุต

๖. โคจรสูตร
อรรถกถาโคจรสูตรที่ ๖ 
         
               บทว่า น สมาธิสฺมึ โคจรกุสโล ความว่า ไม่ฉลาดในอารมณ์ของกรรมฐาน และในที่ไม่โคจรเพื่อภิกษาจาร.

               
จบอรรถกถาโคจรสูตรที่ ๖

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=590


    คุณนิธิครับ  ผมว่าคำว่า "โคจร" ในพระสูตรนี้ไม่ได้หมายถึง "การเดิน"
    น่าจะหมายถึง "อารมณ์" มากกว่า อารมณ์ในสมาธิ ควรจะเป็นเรื่องขององค์ฌาณ
    คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัตคตา

    การเดินจิตไปตามฐานต่างๆของกรรมฐานมัชฌิมาฯ ในห้องพระลักษณะ ในเบื้องต้น เป็นการพิจาณาปิติ
    ซึ่งแต่ละฐานจิตมีปิติไม่เหมือนกัน

    อยากจะตอบให้ลึกกว่านี้ กลัวตอบผิด รอให้พระอาจารย์มาตอบจะดีกว่า

     :25:
26323  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สมถวิปัสสนา ... คือ ... ทางสายกลาง เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 06:09:26 am
ดังนั้นจึงต้องเดินทั้งสองอย่าง ใช่่หรือไม่คะ

 แต่อะไรเรียกว่า ภาวนา สมถะ

 และอะไรเรียกว่า ภาวนา วิปัสสนา

  :smiley_confused1:

    ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ

       1. การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ
           ๑. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ
           ๒. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง,


       อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ
           ๑. จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ
           ๒. ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์


       2. การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ
           ๑. บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือกำหนดอารมณ์กรรมฐาน
           ๒. อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือเกิดอุปจารสมาธิ
           ๓. อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือเกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน

       3. ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


     หนูกบครับ คำถามที่หนูถาม ผมเคยตอบไปแล้ว ผมจะให้หนังสือหนูเล่มหนึ่ง

     ฝากเป็นการบ้าน ไปอ่านให้เข้าใจด้วย มีประโยชน์มาก....ได้ไหมคะ

      :49: :) ;)
26324  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ใครมี อารมณ์ อย่างนี้บ้าง คือ เห็นและปล่อยชีวิตไปวัน ๆ ครับ เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 05:52:41 am
 

สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน)

๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง)
๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง )
๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง )




เสขะ ผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล
       โดยพิสดารมี ๗ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ในโสดาปัตติผล ในสกทาคามิมรรค
       ในสกทาคามิผล ในอนาคามิมรรค ในอนาคามิผล และในอรหัตตมรรค,
       พูดเอาแต่ระดับเป็น ๓ คือ พระโสดาปัน พระสกทาคามี พระอนาคามี


อเสขะ ผู้ไม่ต้องศึกษา เพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว
       ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์;  คู่กับ เสขะ

     


จรณะ ๑๕ (ความประพฤติ, ปฏิปทา, ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชาหรือนิพพาน)

๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล คือ ประพฤติถูกต้องดีงาม สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทเรียบร้อย ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย)

๒. อปัณณกปฏิปทา ๓ 
    ๒.๑ อินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์ คือระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ )
    ๒.๒โภชเน มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนาน มัวเมา)
    ๒.๓ ชาคริยานุโยค (การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือ ขยันหมั่นเพียรตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป )

 
๓. สัทธรรม ๗  
    ก. มีศรัทธา
    ข. มีหิริ
    ค. มีโอตตัปปะ
    ง. เป็นพหูสูต
    จ. มีความเพียรอันปรารภแล้ว
    ฉ. มีสติมั่นคง
    ช. มีปัญญา


๔. ฌาน ๔ 
    ๔.๑ ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑)  มีองค์ ๕ คือ  วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๔.๒ ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒)  มีองค์ ๓ คือ  ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๔.๓ ตติยฌาน (ฌานที่ ๓ )  มีองค์ ๒ คือ  สุข เอกัคคตา
    ๔.๔ จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔ )  มีองค์ ๒ คือ  อุเบกขา เอกัคคตา



อ้างอิง  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://image.dek-d.com/




    สำหรับผมแล้ว การภาวนา คือ การศึกษาในไตรสิกขา

    เสขะบุคคล หมายถึง ผู้ยังต้องศึกษาอยู่ (โสดา สกทาคามี อนาคามี)
    อเสขะบุคคล หมายถึง ผู้ไม่ต้องศึกษา(อีกแล้ว) คือ อรหันต์
    คุณสุทธิธรรม เป็นปุถุชน หรือ เสขะบุคคล หรือ อเสขะบุคคล

   
    การไม่ทำอะไรเลย อยู่เฉยๆ พระพุทธเจ้า เรียกว่า ประมาท
    ขอให้พิจารณา จรณะ ๑๕ คุณมีพร้อมแล้วหรือยัง


    อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง

     :welcome: :49: :25: ;)
   

26325  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: หลังจากนั่งกรรมฐาน แล้ว เกิดโรคอย่างหนึ่งแก่ดิฉันคะ.... เมื่อ: สิงหาคม 05, 2011, 11:51:20 am

เห็นชอบ  ไม่เห็นชอบ งดออกเสียง มีสามแบบนะคะ

  :88: :58: :bedtime2:

อ้างถึง
เห็นชอบ  ไม่เห็นชอบ งดออกเสียง มีสามแบบนะคะ

ไม่ได้แข่งกับ สภาในขณะนี้ นะครับ กำลังเลือกนายกกันอยู่ นะครับ
 :49:

   มีอีกสองอย่างครับ คือ "ไม่แสดงตน" และ "ไม่เข้าประชุม(ขาด หรือ ลา)"
   :08: :) ;)
26326  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ถ้าจะเริ่มฝึกสมาธิ ควรเริ่ม จาก สมาธิ แบบไหนดีคะ เมื่อ: สิงหาคม 05, 2011, 11:36:41 am
 
หนูเสาวลักษณ์ ลองใช้ความเพียรอ่านกระทู้ตามลิงค์ที่ให้มา...นะคะ

รับกรรมฐานให้ถูกกับจริตของตน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3660.0

สติปัฏฐาน แบ่งตาม "จ ริ ต" ?..และ อ า นิ ส ส ง ส์.. ๗ ๖ ๕ ๔..?
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3485.0

ปฏิบัติธรรม วัดผลอย่างไร
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4560.0

พิจารณา ที่ตัวเอง อย่างไร ว่า กิเลสดับได้ หรือ กิเลส ยังเหลือ อยู่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4760.msg17369#msg17369



    สิ่งแรกที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ การหากัลยาณมิตร มิตรคนแรกก็คือ ครูอาจารย์

   ขอแนะนำำให้มาที่สระบุรี ที่บ้านคุณจิตตรี วันที่ ๑๔ สิงหาคมที่จะถึง

   เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ภูเก็ต ไกลแค่ไหน สระบุรีไม่ไกลอย่างนั้น


   "เกรงใจ บ่ได้วิชา"

   :welcome: :49: :25: ;)
26327  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ถ้าเราโดนวิจารณ์ ด่า ต่อว่า ในทางเสียหาย ควรทำอย่างไรในการภาวนาคะ เมื่อ: สิงหาคม 05, 2011, 11:19:32 am
  "ผู้หญิงมักโกรธง่ายกว่าผู้ชาย"

   สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ ออกจากเหตุการณ์นั้น

   คิดเสียว่า "ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก" คำพูดที่เราได้ยิน เป็นพียงคลื่นเสียง ใยต้องใส่ใจ

   เสียงนั้นมันไม่ได้รบกวนเรา เราต่างหากที่เอาเสียง(คำพูด)นั้นมาใส่ใจเอง

   ทำใจให้สบายๆ ทำงานอดิเรกที่ชอบ ฟังเพลงที่ชอบ ทำกิจกรรมที่เป็นกุศล

   เมื่อใจเป็นกลางแล้ว ให้มาทบทวนเรื่องที่ผ่านมา ที่สำคัญอย่าเข้าข้างตัวเอง



   ถ้าพูดในทางธรรมแล้ว สิ่งที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาในทุกกรณี ก็คือ การเจริญสติ

   แต่ปุถุชน ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง อันนี้เห็นใจครับ ผมก็เป็นเหมือนกัน

   ในสังคมที่ต้องทำงานร่วมกัน การกระทบกระทั้งกันบ้างก็เป็นเรื่องปรกติ

   ข้อธรรมที่ต้องใช้ในการทำงานร่วมกัน ก็คือ พรหมวิหาร๔ และสังคหวัตถุ๔



   " จิตนี้ประภัสสร จิตนี้เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมาเป็นคราวๆ"

   การละอุปกิเลส ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จำเป็นต้องทำ

    :welcome: :49: ;)
26328  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ใครเคยโดน ผีหลอก บ้างคะ เมื่อ: สิงหาคม 05, 2011, 10:55:31 am

ขอให้คุณจินตนา ใช้ความเพียร อ่านกระทู้ต่างๆ ตามลิงค์ที่ให้มา

แฟนผมโดนผีเข้าบ่อย แก้ไขยังไงดีครับ เครียดมาก
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3027.0

ซีรีีย์ พระปริตร ตอน"คำนมัสการพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ จากอาฏานาฏินคร"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2518.0

สวดภาณยักษ์นี่เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธหรือเปล่าครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=135.0




   ขอให้ท่านอื่นๆแสดงความเห็นด้วยครับ ผมจะมาตอบให้อีก...ขอเวลาสักนิด
   :49: ;)
26329  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เข้าพรรษา แล้วห้ามบวชพระ หรือไม่ครับ เมื่อ: สิงหาคม 05, 2011, 10:40:54 am


บวชในช่วงเข้าพรรษาได้หรือไม่ครับ

นมัสการพระคุณเจ้า
กระผมได้รับคำถามจากหลาน ว่าหากเราต้องการบวชเรียนช่วงนี้(ในพรรษา) จะได้หรือไม่ มีข้อห้ามไม่ให้บวชหรือไม่ หรือว่าหากให้บวชได้แล้ว จะลาสิกขาก่อนออกบรรษาได้หรือไม่ครับ เพราะว่าหลานอยากจะบวชแต่ช่วงนี้งานไม่ค่อยมาก จึงเห็นว่าเป็นโอกาสดี โดยสามารถลางานได้ประมาณ 2 อาทิตย์ครับ


ความคิดเห็นที่ [1]

ขอตอบโยมจิระวัฒน์ การบวชในพรรษา หรือช่วงกึ่งกลางพรรษา ทางภาคเหนือไม่นิยมกัน เพราะถือว่าจะไม่ได้พรรษา นี้เป็นความเชื่อคตินิยมคนทางภาคเหนือ ถ้าจะบวชก็ต้องบวชก่อนเข้าพรรษา หรือออกพรรษาแล้ว แต่ทางภาคกลางบวชได้ทุกเวลา แล้วแต่ความสะดวก ทางเหนือเขาจะถือฤกษ์งามยามดีและความเชื่อที่ยึดถือสืบต่อๆกันมา การบวชจึงเป็นเรื่องใหญ่

สำหรับคนทางภาคเหนือ โดยเฉพาะกึ่งกลางพรรษา ทางภาคเหนือจะไม่นิยมบวชกัน มีข้อยกเว้นบางกรณี เช่น บวชเป็นสามเณร หรือบวชแก้บนบางอย่าง (พระอุปัชฌาย์)บางแห่งไม่อนุญาตเลย ขึ้นอยู่กับความเห็นและความเป็นไปได้ของพระอุปัชฌาย์แต่ละรูป แต่ถ้าถามว่าบวชได้ไหม....น่าจะได้...แต่ไม่นิยมทางภาคเหนือ ตอบแบบตุ๊ลุงแก่ๆก็แล้วกันเนาะ

ความคิดเห็นที่ [2]

ในพระวินัย ท่านไม่ได้ห้ามบวชกลางพรรษา เพราะการเจริญกุศลสามารถทำได้ทุกเมื่อ ทั้งพระพุทธองค์ยังทรงบัญญัติไม่ให้พระสงฆ์ตั้งกติกาในพรรษาว่าจะไม่บวชให้ผู้ใด โดยนัยยะนี้ จึงเป็นหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ในการอนุญาตให้บวช  ถ้าพระอุปัชฌาย์ท่านให้บวช คณะสงฆ์ก็มักไม่ขัดข้อง

ฉะนั้น ต้องไปปรึกษากับพระอุปัชฌาย์ก่อน ส่วนความเชื่อทางเหนือนั้น ก็อย่างที่ตุ๊ลุงข้างต้นได้บอกแล้ว แต่ไม่ใช่สาระสำคัญ ถ้าพระอุปัชฌาย์ให้บวช ก็ไม่มีปัญหาอย่างใด



อ้างอิง
http://www.watphrakaew-chiangrai.com/webboard2.php?id=52
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://statics.atcloud.com/
26330  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สมัยพุทธกาล "เกิดแผ่นดินไหวกี่ครั้ง"....(มากกว่าที่คิด) เมื่อ: สิงหาคม 05, 2011, 10:26:21 am

อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
พรหมชาลสูตร


 ในข้อนั้น พึงทราบแผ่นดินไหวด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ
                         ๑. ธาตุกำเริบ
                         ๒. อานุภาพของผู้มีฤทธิ์
                         ๓. พระโพธิสัตว์ก้าวลงสู่พระครรภ์
                         ๔. เสด็จออกจากครรภ์พระมารดา
                         ๕. บรรลุพระสัมโพธิญาณ
                         ๖. ทรงแสดงพระธรรมจักร
                         ๗. ทรงปลงอายุสังขาร
                         ๘. เสด็จดับขันธปรินิพพาน.

               วินิจฉัยเหตุแม้เหล่านั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวในคราววรรณนาพระบาลีที่มาในมหาปรินิพพานสูตรอย่างนี้ว่า๑-
               ดูก่อนอานนท์ เหตุ ปัจจัย ๘ เหล่านี้แลที่ให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ดังนี้ทีเดียว.
____________________________
๑- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๙๘

               ก็แผ่นดินใหญ่นี้ได้ไหวในฐานะ ๘ แม้อื่น คือ
                         ๑. คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์
                         ๒. คราวเสด็จเข้าสู่โพธิมัณฑสถาน
                         ๓. คราวรับผ้าบังสุกุล
                         ๔. คราวซักผ้าบังสุกุล
                         ๕. คราวแสดงกาลามสูตร
                         ๖. คราวแสดงโคตมกสูตร
                         ๗. คราวแสดงเวสสันดรชาดก
                         ๘. คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้


               ใน ๘ คราวนั้น คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์ และคราวเสด็จเข้าสู่โพธิมัณฑสถาน แผ่นดินได้ไหวด้วยกำลังแห่งพระวิริยะ คราวรับผ้าบังสุกุล แผ่นดินถูกกำลังความอัศจรรย์กระทบแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละมหาทวีป ๔ อันมีทวีปสองพันเป็นบริวาร ออกผนวชไปสู่ป่าช้า ถือเอาผ้าบังสุกุล ได้ทรงกระทำกรรมที่ทำได้ยากดังนี้ ได้ไหวแล้ว คราวซักผ้าบังสุกุล และคราวแสดงเวสสันดรชาดก

แผ่นดินได้ไหวด้วยความไหวมิใช่กาล คราวแสดงกาลามสูตรและคราวแสดงโคตมกสูตร แผ่นดินได้ไหวด้วยความเป็นสักขีว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอเป็นสักขี แต่คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้ เมื่อทรงแสดงสะสางคลี่คลายทิฏฐิ ๖๒ ประการอยู่ พึงทราบว่า ได้ไหวด้วยอำนาจถวายสาธุการ.

               อนึ่ง มิใช่แต่ในฐานะเหล่านี้อย่างเดียวเท่านั้นที่แผ่นดินไหว. ที่จริง แผ่นดินไหวแล้ว แม้ในคราวสังคายนาทั้ง ๓ วัน แม้ในวันที่พระมหินทเถระมาสู่ทวีปนี้ นั่งแสดงธรรมในชาติวัน และเมื่อพระบิณฑปาติยเถระกวาดลานพระเจดีย์ในกัลยาณีวิหาร แล้วนั่งที่ลานพระเจดีย์นั้นแหละ ยึดปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เริ่มสวดพระสูตรนี้ เวลาจบพระสูตร แผ่นดินได้ไหวไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด.

มีสถานที่ชื่ออัมพลัฏฐิกะอยู่ด้านทิศตะวันออกของโลหปราสาท พระเถระผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกายนั่งในสถานที่นั้น เริ่มสวดพรหมชาลสูตร แม้ในเวลาที่พระเถระเหล่านั้นสวดจบ แผ่นดินก็ได้ไหวไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุดเหมือนกัน ดังนี้แล.


               ด้วยอานุภาพแห่งพระสูตรอันประเสริฐใด ที่พระสยัมภูได้ทรงแสดงแล้ว
               แผ่นดินได้ไหวหลายครั้งอย่างนี้ ขอบัณฑิตทั้งหลายจงศึกษาโดยเคารพ
               ซึ่งอรรถธรรมของพระสูตรนั้น อันมีชื่อว่าพรหมชาลสูตรในพระศาสนานี้
               แล้วปฏิบัติโดยอุบายอันแยบคาย เทอญ.


               วรรณนาพรหมชาลสูตร อันดับที่ ๑               
               ในสุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย               
               จบแล้วด้วยประการฉะนี้.               
               --------------------               

.. อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พรหมชาลสูตร จบ.



อ้างอิง
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=09.0&i=1&p=6
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=09&A=1&Z=1071
ขอบคุณภาพประกอบจาก www.thaigold.info/,http://3.bp.blogspot.com/


    เพื่อนๆลองอ่านและช่วยกันนับ อาจจะมีคนนับผิดก็ได้ :67:
   :49:  :25: ;)
26331  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ทำไมต้องตัดต้นกล้วย หลังจากตัดเครือกล้วยแล้ว เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 01:16:35 pm


ถามว่า ทำไมต้องตัดต้นกล้วยหลังจากตัดเครือกล้วยแล้ว

ตอบว่า มันออกผลได้เพียงครั้งเดียวจึงต้องตัดทิ้ง อีกอย่างคือเพื่อไม่ให้ไปแย่งน้ำของหน่อกล้วยที่กำลังโตไงครับ


ที่มา  http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6ba73c5c85ef3419
ภาพประกอบจากwww.boonrarat.net/



   มีความลับมาบอก....เมื่อวานผมเพิ่งตัดเครือกล้วย และก็ตัดต้นกล้วยต้นนั้นทิ้งไป เป็นกล้วยหอมครับ ที่บ้านผมเอง

  :08: :) ;)
26332  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ในพระสูตร พระไตรปิฏก นั้นมีพระอรหันต์ รูปใดที่ลงไปโปรดสัตว์นรก บ้างคะ เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 01:00:59 pm

คุณดรุณี เก่งมากครับ ขอชื่นชมและอนุโมทนา

แต่ถ้าจะให้ดี ช่วยใส่ลิงค์ให้ด้วยครับ จะได้สะดวกในการอ้างอิง

อบายภูมิมี ๔ ประกอบด้วย นรก เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย

ผมขอนำเรื่อง พระมหาโมคคัลลานะ เห็นเปรต ในเขตพระนครราชคฤห์ มาแสดงสักสองเรื่อง

ความจริงมีหลายเรื่อง สนใจคลิกลิงค์นี้ครับ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=1&A=11103&w=%BE%C3%D0%C5%D1%A1%A2%B3%D0




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ 
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑


 เรื่องมังสเปสิเปรต
             โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่
พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหา-
*โมคคัลลานะ ...

             ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนคร-
*ราชคฤห์นี้ ได้เห็นมังสเปสิเปรต มีแต่ชิ้นเนื้อลอยไปในเวหาส ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม
พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทึ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้น ร้อง
ครวญคราง ...

             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ...  สัตว์นั้น เคย
เป็นคนฆ่าโค อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...



เรื่องมังสปิณฑเปรต
             โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่
พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหา-
*โมคคัลลานะ ...

             ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนคร-
*ราชคฤห์นี้ ได้เห็นมังสปิณฑเปรต มีแต่ก้อนเนื้อ ลอยไปในเวหาส ฝูงแร้ง เหยี่ยว และ
นกตะกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทึ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา
เปรตนั้นร้องครวญคราง ...

             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ...  สัตว์นั้น เคย
เป็นพรานนกอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=1&A=11103&w=%BE%C3%D0%C5%D1%A1%A2%B3%D0
26333  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เป็นไปได้หรือไม่ ที่ พระที่ตายไปแล้ว เช่น หลวงพ่อโต จะมาเข้าทรงในร่างทรง เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 12:05:33 pm
       ผมมีหนังสือ อยู่สองเล่ม ที่กล่าวถึงการเข้าทรงของสมเด็จโต เล่มแรก คือ "ธรรมะจากดวงวิญญาณบริสุทธิ์ สมเด็จโต" เป็นการรวบรวมคำเทศน์ที่ได้จากการเข้าทรงของสมเด็จโตของสำนักปู่สวรรค์ ผมเคยนำบทความในเล่มนี้มาโพสต์ อยู่ลิงค์นี้ครับ

    "อาชีพที่เสี่ยงต่อการตกนรก ตามกฎของโลกวิญญาณ"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3003.msg10528#msg10528

เล่มที่สอง คือ "พรสวรรค์" โดยคณะพรสวรรค์ เล่มนี้เป็นการเข้าทรงของพระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ และบุคคลสำคัญต่างๆ รวมทั้งสมเด็จโตด้วย  เล่มนี้ผมจะแนบไฟล์ไว้ใ้ห้นะครับ

  นอกจากนี้ผมขอแนะนำเว็บไซต์ของสำนักปู่สวรรค์ ที่มีการเข้าทรงของสมเด็จโต และได้นำคำสอนที่ได้
จากการเข้าทรง มารวบรวมเป็นเล่มขายอยู่ทั่วไป อยู่ลิงค์นี้ครับ
    http://www.poosawan.org/

  และที่ร้านซีเอ็ดก็มีวางขายครับ คลิกลิงค์นี้ได้เลย
http://www.se-ed.com/eShop/%28A%28DUWuulx8ywEkAAAAYzk0NTIzYmYtNjkwMy00M2FhLTk2OWUtYzdiYjdlZTk5ZTJhzmfiQzy75d5Lfp6A_5BrP-KoA6U1%29%29/Products/Detail.aspx?No=9789748134031

ผมขอนำ บทนำของหนังสือเล่มหนึ่งมาแสดงดังนี้ครับ



ปรัชญาธรรมจาก ดวงวิญญาณบริสุทธิ์
หลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมรังษี องค์อำนวยการสำนักปู่สวรรค์ ในโลกมนุษย์


บทนำจากหนังสือ โต พรหมรังษี สำนักโลกวิญญาณ โดย อ.เกหลง พานิช

หนังสือธรรมมะเล่มนี้ ทานอ่านแล้วอาจจะสงสัยว่าทำไมจึงตั้งชื่อหนังสือว่า “ โต พรหมรังษี สำนักโลกวิญญาณ” สืบเนื่องจากสำนักปู่สวรรค์ได้ก่อกำเนิดขึ้นในโลกมนุษย์ เมื่อสามสิบกว่าปีก่อน และคำเทศน์เหล่านี้ก็ได้บันทึก วันเดือน ปี ไว้ เรียกว่าเป็นเรื่องของวิญญาณมาทำงาน และในขณะนั้น อาจารย์ สุชาติ โกศลกิติวงศ์ ก็อายุเพียงยี่สิบกว่าปีเท่านั้น

แต่สามารถตอบปัญหาธรรมะของผู้ถาม ที่ล้วนแต่เป็นอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งด้านพระอภิธรรมและพระสูตร ท่านจะเชื่อว่าสมเด็จโตมาเทศน์หรือไม่ ก็เป็นสิทธิเสรีภาพของท่าน บังคับกันไม่ได้ แต่ขอให้ท่านอ่านสำนวนโวหารของการโต้ตอบนั้น ผู้รวบรวมคิดว่า ไม่ใช่คนธรรมดาจะตอบได้ คำเทศน์เหล่านี้เป็นเรื่องในอดีต ผู้รวบรวมติดตามงานของสำนักปู่สวรรค์มาตลอด เป็นเวลาสามสิบกว่าปีแล้ว


ที่มา  http://www.poosawan.org/thamma_to_1.html



   เรื่องที่ถามมา ตอบไม่ได้ครับ เรื่องนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล เป็นปัจจัตตัง และอจินไตย
   ขอให้ดูที่ผลที่ออกมาจะดีกว่า ถ้าเป็นบวกและก็สบายใจ ก็ควรดีใจและอนุโมทนากับทุกท่าน

  :welcome: :49: :25: ;)


  อย่าีลืมดาวน์โหลดหนังสือ "พรสวรรค์" ไปอ่านนะครับ
26334  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: หลังจากนั่งกรรมฐาน แล้ว เกิดโรคอย่างหนึ่งแก่ดิฉันคะ.... เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 10:41:25 am

  ผมเคยนอนท่องคาถาพญาไก่เถื่อนในใจ จนเกือบเช้า

  รู้ว่าจิตมันท่องไปเอง ส่วนกายมีลักษณะครึ่งหลับครึ่งตื่น

  พอเช้าลุกขึ้นมา คิดว่าตอนกลางวันจะง่วง แต่ก็ไม่มีอาการง่วง

  การแก้ไขให้นอนหลับนั้น ต้องออกกำลังกายให้เหงื่อ-ออกมากๆครับ

   :welcome: ;)
26335  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: มีญาตที่ป่วย อยู่โรงพยาบาล นอนอยู่ห้อง ICU เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 10:32:04 am
 
ถ้าไม่มีสติ ก็เหลือวิสัยที่ช่วยได้ การปลดอุปกรณ์ช่วยชีวิตเป็นบาปครับ ต้องหลีกเลี่ยง

 สถานกาารณ์เช่นนี้ต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต้องใช้สัจจะบารมีพร้อมกับอธิษฐานบารมี

 ต้องหาพระที่มีญาณบารมี มีบุญกรรมฐานที่เต็มเปี่ยม มาช่วยต่ออายุ หรือมาต่อรองกับพญายม

 ประการแรกที่สำคัญ ต้องให้คนไข้มีสติก่อน อย่างน้อยก็ให้ถวายสังฆทานได้


ผมมีหนังสือมาฝากญาติผู้ป่วย เรื่อง "นึกถึงความตายสบายนัก"

 หวังว่า หนังสือนี้จะช่วยสร้างสติให้กับทุกท่าน


  :58: :49: :25:

  :58: :49: :25:
26336  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ปฏิปทามรรคมี ๔ อย่าง เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 09:03:39 pm
น่าสนใจ คะ คำว่า  ธรรมุทธัจจะ คือ อะไร คะ พึ่งเคยได้ยินนี่คะ

  ใช่คำว่า ธรรม + อุทธัจจะ หรือไม่คะ ถ้าหมายถึงคำสองคำนี้ ละก็ คงจะแปลว่า ความฟุ้งซ่านในธรรม

 ก็แปลกนะคะ ธรรมเป็นเรื่อง ฟุ้งซ่านได้ด้วยหรือ คะ ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ เหมือนกัน กับความหมาย

ต้องรอผู้รู้หลาย ๆ ท่านร่วมวิจารณ์ แล้วคะ

  :13: :13: :13:

     จะคุยเป็นเพื่อนนะ...ขอรับ
     
     ความฟุ้งซ่านถือเป็น วิปัสสนูกิเลส

     อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน ) เป็นสังโยชน์ข้อที่ ๙ อรหันตผลเท่านั้นที่ตัดได้

     และอุทธัจจะ ก็อยู่ในนิวรณ์ ๕ ด้วย

     ขอให้ไปดูเรื่อง สติปัฏฐานข้อที่สุกท้าย  "ธัมมานุปัสสนา ในนีวรณบรรพ" คลิกลิงค์นี้เลย
     
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764

     อุทธัจจะ(นิวรณ์) อยู่ในธัมมานุปัสสนา แสดงว่า ธรรมะก็มีความฟุ้งซ่าน ใช่ไหมครับ

     อีกอย่าง เมื่อเกิดนิวรณ์ ก็สักแต่ว่ารู้ว่าเกิดนิวรณ์ รู้แค่นี้ก็นำมาเจริญ "จิตตานุปัสสนา" ได้เช่นกัน

     ขอคุยเท่านี้ เดี๋ยวฟุ้งซ่าน


      :49:
26337  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ทำไม_เวลาเทวดาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า_แล้วชอบยืน เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 08:30:49 pm

http://watkhungthaphao.googlepages.com/mongkolasutra_indianmusic.mp3



 
เชิญฟังเพลงมงคลสูตร
26338  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทำไม_เวลาเทวดาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า_แล้วชอบยืน เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 08:16:06 pm


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


มงคลสูตรในขุททกปาฐะ

             [๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไป
เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า


             [๖]    เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากัน
                          คิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๔๑ - ๗๒.  หน้าที่  ๓ - ๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=41&Z=72&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=5



อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ มงคลสูตรในขุททกปาฐะ

ถามว่า ก็เทวดานั้นยืนอย่างไร จึงชื่อว่าได้เป็นผู้ยืนอยู่ ส่วนข้างหนึ่ง.
               ตอบว่า ท่านโปราณาจารย์กล่าวว่า
                         น ปจฺฉโต น ปุรโต    นาปิ อาสนฺนทูรโต
               น กจฺเฉ โนปิ ปฏิวาเต                   น จาปิ โอณตุณฺณเต
               อิเม โทเส วิวชฺเชตวา                   เอกมนฺตํ ฐิตา อหุ.

                         ไม่ยืนข้างหลัง ไม่ยืนข้างหน้า ไม่ยืนใกล้และ
               ไกล ไม่ยืนที่ชื้นแฉะ ไม่ยืนเหนือลม ไม่ยืนที่ต่ำและ
               ที่สูง ยืนเว้นโทษเหล่านี้ ชื่อว่ายืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง ดังนี้.


               ถามว่า เพราะเหตุไร เทวดาองค์นี้ จึงยืนอย่างเดียว ไม่นั่ง
               ตอบว่า เพราะเทวดาประสงค์จะกลับเร็ว.


               จริงอยู่ เทวดาทั้งหลายอาศัยอำนาจประโยชน์บางอย่าง จึงมาสู่มนุษย์โลก เหมือนบุรุษผู้สะอาด มาเข้าส้วม. ก็โดยปกติ มนุษยโลกย่อมเป็นของปฏิกูล เพราะเป็นของเหม็นสำหรับเทวดาเหล่านั้น นับแต่ร้อยโยชน์ เทวดาทั้งหลายไม่อภิรมย์ในมนุษยโลกนั้นเลย ด้วยเหตุนั้น เทวดาองค์นั้นจึงไม่นั่ง เพราะประสงค์จะทำกิจที่มาแล้วรีบกลับไป. ก็มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมนั่งก็เพื่อบรรเทาความลำบากแห่งอิริยาบถมีเดินเป็นต้นอันใด ความลำบากอันนั้นสำหรับเทวดาไม่มี เพราะฉะนั้น เทวดาจึงไม่นั่ง.

               อนึ่ง พระมหาสาวกเหล่าใด ยืนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงนับถือตอบพระมหาสาวกเหล่านั้น [คือประทับยืน] แม้เพราะเหตุนั้น เทวดาจึงไม่นั่ง.

               อนึ่ง เทวดาไม่นั่ง ก็เพราะเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้า. จริงอยู่ ที่นั่งย่อมบังเกิดแก่เทวดาทั้งหลายผู้ประสงค์จะนั่ง เทวดาองค์นี้ไม่ปรารถนาที่นั่งนั้น ไม่คิดแม้แต่จะนั่ง จึงได้ยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง.


อ้างอิง
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=5&p=2
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=41&Z=72
ขอบคุณภาพจาก www.rmutphysics.com/
26339  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ตำนาน "มงคลสูตร" โดยพิสดาร เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 07:57:49 pm






26340  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ตำนาน "มงคลสูตร" โดยพิสดาร เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 07:57:30 pm




26341  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ตำนาน "มงคลสูตร" โดยพิสดาร เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 07:36:04 pm
ตำนาน "มงคลสูตร" โดยพิสดาร




อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ มงคลสูตรในขุททกปาฐะ

เรื่องมูลเหตุเกิดมงคลปัญหา    
                       
         ในการพรรณนามงคลสูตรนั้น เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าตั้งมาติกาหัวข้อไว้ว่า เมื่อจะพรรณนาความแห่งปาฐะ มีอาทิว่า เอวํ โดยประการต่างๆ จะกล่าวถึงสมุฏฐานมูลเหตุ ดังนี้ นี้เป็นโอกาสที่จะกล่าวถึงสมุฏฐานมูลเหตุนั้น ฉะนั้น จะกล่าวถึงสมุฏฐานมูลเหตุเกิดมงคลปัญหาเสียก่อนแล้วภายหลัง จึงจักพรรณนาความแห่งบทคาถาเหล่านี้.

               เล่ากันมาว่า ในชมพูทวีป มหาชนชุมนุมกันในที่นั้นๆ เช่น ใกล้ประตูเมือง สภาแห่งสถานราชการเป็นต้น มอบทรัพย์สินเงินทอง ให้เขาเล่าเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องนำนางสีดามาเป็นต้น. เรื่องหนึ่งๆ เล่าอยู่ถึง ๔ เดือนจึงจบ. ในสถานที่นั้น วันหนึ่ง เรื่องมงคลปัญหาก็เกิดขึ้นว่า อะไรเล่าหนอ เป็นมงคล. สิ่งที่เห็นหรือเป็นมงคล เรื่องที่ได้ยินหรือเป็นมงคล หรือเรื่องที่ทราบเป็นมงคล ใครหนอรู้จักมงคล ดังนี้.

               ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ชื่อทิฏฐมังคลิกะ [นับถือสิ่งที่เห็นเป็นมงคล] กล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้จักมงคล. สิ่งที่เห็นเป็นมงคลในโลก. รูปที่สมมติกันว่า เป็นมงคลยิ่ง ชื่อว่าทิฏฐะ. รูปอย่างไรเล่า.

คนบางคนในโลกนี้ ตื่นแต่เช้าเห็นนกกระเต็นบ้าง เห็นต้นมะตูมรุ่นบ้าง เห็นหญิงมีครรภ์บ้าง เห็นเด็กรุ่นหนุ่ม ตกแต่งประดับกาย เทินหม้อเต็มน้ำบ้าง ปลาตะเพียนแดงสดบ้าง ม้าอาชาไนยบ้าง รถเทียมม้าบ้าง โคผู้บ้าง โคเมียบ้าง โคแดงบ้าง ก็หรือว่าเห็นรูปแม้อื่นใด เห็นปานนั้น ที่สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่ง รูปที่เห็นนี้ เรียกว่าทิฎฐมงคล คนบางพวกก็ยอมรับคำของเขา บางพวกก็ไม่ยอมรับ พวกที่ไม่ยอมรับก็ขัดแย้งกับเขา

               ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ชื่อสุตมังคลิกะ ก็กล่าวว่า ท่านเอย ขึ้นชื่อว่า ตาย่อมเห็นของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง ของดีบ้างของไม่ดีบ้าง ของชอบใจบ้าง ของไม่ชอบใจบ้าง ผิว่า รูปที่ผู้นั้นเห็นพึงเป็นมงคลไซร้ ก็จะพึงเป็นมงคลทั้งหมดนะสิ เพราะฉะนั้น รูปที่เห็นไม่เป็นมงคล. ก็แต่ว่าเสียงที่ได้ยินต่างหากเป็นมงคล. เสียงที่สมมติว่าเป็นมงคลยิ่ง. ชื่อว่าสุตะ อย่างไรเล่า.

คนบางคนในโลกนี้ ลุกขึ้นแต่เช้า ได้ยินเสียงเช่นนี้ว่า เจริญแล้ว เจริญอยู่ เต็ม ขาว ใจดี สิริ เจริญด้วยสิริ วันนี้ ฤกษ์ดี ยามดี วันดี มงคลดี หรือเสียงที่สมมตว่ามงคลยิ่งอย่างใดอย่างหนึ่ง. เสียงที่ได้ยินนี้ เรียกว่าสุตมงคล. บางพวกก็ยอมรับคำของเขา บางพวกก็ไม่ยอมรับ พวกที่ไม่ยอมรับก็ขัดแย้งกับเขา.

               ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ชื่อมุตมังคลิกะ กล่าวว่า ท่านเอย แท้จริง ขึ้นชื่อว่าหู ย่อมได้ยินเสียงดีบ้างไม่ดีบ้าง ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง ผิว่า เสียงที่ผู้นั้นได้ยิน พึงเป็นมงคลไซร้ ก็จะเป็นมงคลทั้งหมดน่ะสิ. เพราะฉะนั้น เสียงที่ได้ยินจึงไม่เป็นมงคล. ก็แต่ว่าสิ่งที่ทราบแล้วต่างหากเป็นมงคล. กลิ่นรสและโผฏฐัพพะสิ่งที่พึงถูกต้อง ชื่อว่ามุตะ. อย่างไรเล่า.

คนบางคนลุกแต่เช้าสูดกลิ่นดอกไม้มีกลิ่นดอกปทุมเป็นต้นบ้าง เคี้ยวไม้สีฟันขาวบ้าง จับต้องแผ่นดินบ้าง จับต้องข้าวกล้าเขียวบ้าง มูลโคสดบ้าง เต่าบ้าง งาบ้าง ดอกไม้บ้าง ผลไม้บ้าง ฉาบทาด้วยดินขาวโดยชอบบ้าง นุ่งผ้าขาวบ้าง โพกผ้าโพกขาวบ้าง ก็หรือว่าสูดกลิ่น ลิ้มรส หรือถูกต้องโผฏฐัพพะ ที่สมมตว่าเป็นมงคลยิ่งอย่างอื่นใด เห็นปานนั้น สิ่งดังกล่าวมานี้ เรียกว่ามุตมงคล. บางพวกก็ยอมรับคำแม้ของเขา บางพวกก็ไม่ยอมรับ.

               ในสามพวกนั้น ทิฏฐมังคลิกบุรุษ ก็ไม่อาจทำให้สุตมังคลิกบุรุษและมุตมังคลิกบุรุษยินยอมได้ ทั้งสามฝ่ายนั้น ฝ่ายหนึ่ง ก็ทำอีกสองฝ่ายให้ยินยอมไม่ได้ บรรดามนุษย์เหล่านั้น พวกใดยอมรับคำของทิฏฐมังคลิกบุรุษ พวกนั้นก็ถือว่ารูปที่เห็นแล้วเท่านั้นเป็นมงคล. พวกใดยอมรับคำของสุตมังคลิกบุรุษและมุตมังคลิกบุรุษ พวกนั้นก็ถือว่าเสียงที่ได้ยินเท่านั้นเป็นมงคล สิ่งที่ได้ทราบเท่านั้น เป็นมงคล.



              เรื่องมงคลปัญหานี้ปรากฏไปทั่วชมพูทวีป ด้วยประการฉะนี้.
               ครั้งนั้น มนุษย์ทั่วชมพูทวีปถือกันเป็นพวกๆ พากันคิดมงคลทั้งหลายว่า อะไรกันหนอเป็นมงคล. อารักขเทวดาของมนุษย์พวกนั้น ฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็พากันคิดมงคลทั้งหลายเหมือนกัน. เหล่าภุมมเทวดาเป็นมิตรของเทวดาเหล่านั้น ฟังเรื่องจากอารักขเทวดานั้นแล้วก็พากันคิดมงคลอย่างนั้นเหมือนกัน.

อากาสัฏฐกเทวดาเป็นมิตรของเทวดาเหล่านั้น จตุมหาราชิกเทวดาเป็นมิตรของอากาสัฏฐกเทวดาเหล่านั้น โดยอุบายนี้ ตราบถึงอกนิฏฐเทวดาเป็นมิตรของสุทัสสีเทวดา ฟังเรื่องจากสุทัสสีเทวดานั้นแล้ว ก็ถือกันเป็นพวกๆ พากันคิดมงคลทั้งหลาย ด้วยอุบายอย่างนี้ การคิดมงคลได้เกิดไปในที่ทุกแห่งจนถึงหมื่นจักรวาล.

ก็การคิดมงคลเกิดขึ้นแล้ว แม้วินิจฉัยว่านี้เป็นมงคล นี้เป็นมงคลแต่ก็ยังไม่เด็ดขาด จึงตั้งอยู่ถึง ๑๒ ปี. ทั้งมนุษย์ทั้งเทวดาทั้งพรหมหมดด้วยกันเว้นพระอริยสาวกแตกเป็น ๓ พวก คือทิฏฐมังคลิกะ สุตมังคลิกะและมุตมังคลิกะ แม้แต่พวกหนึ่ง ก็ตกลงตามเป็นจริงไม่ได้ว่า นี้เท่านั้นเป็นมงคล มงคลโกลาหล การแตกตื่นเรื่องมงคลเกิดขึ้นแล้วในโลก.

               ขึ้นชื่อว่า โกลาหลมี ๕ คือ กัปปโกลาหล จักกวัตติโกลาหล พุทธโกลาหล มงคลโกลาหล โมเนยยโกลาหล.

               บรรดาโกลาหลทั้ง ๕ นั้น เหล่าเทวดาชั้นกามาวจร ปล่อยศีรษะ สยายผม ร้องไห้ เอาหัตถ์เช็ดน้ำตา นุ่งผ้าสีแดง ทรงเพศแปลกๆ อย่างยิ่ง เที่ยวไปในถิ่นมนุษย์ร้องบอกกล่าวว่า ล่วงไปแสนปี กัปจักปรากฏ โลกนี้จักพินาศ มหาสมุทรจักแห้ง มหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุ จักถูกไฟไหม้ จักพินาศ โลกพินาศจักมีจนถึงพรหมโลก.

ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ขอท่านทั้งหลายจงพากันเจริญเมตตาไว้เถิด จงพากันเจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขาไว้เถิด ท่านผู้นิรทุกข์จงบำรุงมารดาบิดา จงยำเกรงท่านผู้เป็นผู้ใหญ่ในตระกูล ตื่นกันเถิด อย่าได้ประมาทกันเลย.
               นี้ชื่อว่า กัปปโกลาหล.
               เทวดาชั้นกามาวจรนั่นแล เที่ยวไปในถิ่นมนุษย์บอกกล่าวว่า ล่วงไปร้อยปี พระเจ้าจักรพรรดิจักเกิดขึ้นในโลก. นี้ชื่อว่า จักกวัตติโกลาหล.

               ส่วนเทวดาชั้นสุทธาวาส ประดับองค์ด้วยอาภรณ์พรหม โพกผ้าของพรหมที่พระเศียรเกิดปีติปราโมทย์ กล่าวพระพุทธคุณ เที่ยวไปในถิ่นมนุษย์ บอกกล่าวว่าล่วงไปพันปี พระพุทธเจ้าจักอุบัติในโลก.
               นี่ชื่อว่า พุทธโกลาหล.


               เทวดาชั้นสุทธาวาสนั่นแหละ รู้จิตของพวกมนุษย์ เที่ยวไปในถิ่นมนุษย์บอกกล่าวว่า ล่วงไปสิบสองปี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจักตรัสมงคล.
               นี้ชื่อว่า มงคลโกลาหล.

               เทวดาชั้นสุทธาวาสนั่นแหละ เที่ยวไปในถิ่นมนุษย์ บอกกล่าวว่า ล่วงไปเจ็ดปี ภิกษุรูปหนึ่งสมาคมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า จักทูลถามโมเนยยปฏิปทา
               นี้ชื่อว่า โมเนยยโกลาหล.
               บรรดาโกลาหลทั้ง ๕ นี้ มงคลโกลาหลของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในโลก.



               ครั้งนั้น เมื่อเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พากันเลือกเฟ้นก็ยังไม่ได้มงคลทั้งหลาย ล่วงไป ๑๒ ปี เทวดาชั้นดาวดึงส์คบหาสมาคมกัน ก็ช่วยกันคิดอย่างนี้ว่า เจ้าของเรือนก็เป็นหัวหน้าของคนภายในเรือน เจ้าของหมู่บ้านก็เป็นหัวหน้าของชาวหมู่บ้าน พระราชาก็เป็นหัวหน้าของมนุษย์ทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมทวยเทพพระองค์นี้ ก็เป็นผู้เลิศประเสริฐสุดของพวกเรา คือเป็นอธิบดีของเทวโลกทั้งสอง [ชั้นจาตุมหาราชและดาวดึงส์] ด้วยบุญ เดช อิสริยะ ปัญญา. ถ้ากระไร เราจะพึงพากันไปทูลถามความข้อนี้กะท้าวสักกะจอมทวยเทพเถิด.

เทวดาเหล่านั้นก็พากันไปยังสำนักท้าวสักกะ ถวายบังคมจอมทวยเทพ ซึ่งมีพระสรีระมีสิริด้วยอาภรณ์ประจำพระองค์ อันเหมาะแก่ขณะนั้น มีหมู่อัปสร ๒๕๐ โกฏิห้อมล้อม ประทับนั่งเหนือบัณฑุกัมพลสิลาอาสน์อันประเสริฐ ภายใต้ต้นปาริฉัตตกะ แล้วยืน ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ทูลว่า ขอประทานพระวโรกาส พระองค์ผู้นิรทุกข์ โปรดทรงทราบเถิด.

บัดนี้ มงคลปัญหาตั้งขึ้นแล้ว พวกหนึ่งกล่าวว่า รูปที่เห็นเป็นมงคล พวกหนึ่งกล่าวว่า เสียงที่ได้ยินเป็นมงคล พวกหนึ่งกล่าวว่าสิ่งที่ทราบแล้วเป็นมงคล บรรดาท่านเหล่านั้น พวกข้าพระบาทและพวกอื่นยังไม่ได้ข้อยุติ สาธุ ขอพระองค์โปรดทรงพยากรณ์ตามเป็นจริง แก่พวกข้าพระบาทด้วยเถิด.

               ท้าวสักกะเทวราชแม้โดยปกติ ทรงมีปัญญา จึงตรัสว่า เรื่องมงคลนี้เกิดขึ้นที่ไหนก่อนเล่า.
               ทูลว่า ข้าแต่เทวราช พวกข้าพระบาทฟังคำของพวกเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ต่อจากนั้น พวกเทวดาจาตุมมหาราชก็ฟังคำของพวกอากาสัฏฐเทวดา พวกอากาสัฏฐเทวดาฟังคำของพวกภุมมเทวดา พวกภุมมเทวดาฟังคำของเทวดาผู้รักษามนุษย์ พวกเทวดาผู้รักษามนุษย์กล่าวว่า เรื่องมงคลเกิดขึ้นในมนุษยโลก.


               ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพตรัสถามจอมเทวดาเหล่านั้นว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน. เทวดาทั้งหลายทูลว่า ประทับอยู่ในมนุษยโลก พระเจ้าข้า.

               ตรัสถามว่า ใครได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแลหรือ. ทูลว่า ไม่มีใคร พระเจ้าข้า.
               ตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ทำไมหนอ ท่านทั้งหลายจึงมาทิ้งดวงไฟเสียแล้วมาตามไฟต่อจากแสงหิ่งห้อย ด้วยเหตุไร ท่านทั้งหลายจึงมาล่วงเลยพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงแสดงมงคลไว้ไม่เหลือเสียเล่า ยังเข้าใจว่าควรจะไต่ถามเรา มาเถิดท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เราจะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พวกเราคงจักได้การพยากรณ์ปัญหาอันมีสิริแน่แท้ จึงมีเทวโองการใช้เทพบุตรองค์หนึ่งว่า ท่านจงไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด.


               เทพบุตรองค์นั้นแต่งองค์ด้วยเครื่องอลังการ อันเหมาะแก่ขณะนั้น รุ่งโรจน์ดุจสายฟ้าแลบ มีหมู่เทพแวดล้อม ไปยังพระเชตวันมหาวิหาร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง
               เมื่อทูลถามมงคลปัญหา จึงกล่าวเป็นคาถาว่า พหู เทวา มนุสฺสา จ เป็นต้น.
               นี้เป็นมูลเหตุเกิดมงคลปัญหา



ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=5&p=3
ขอบคุณภาพจาก http://1.bp.blogspot.com
26342  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 01:25:28 pm


 เยี่ยมมากครับ คุณ TC9 ไม่ทราบเป็นครูอยู่ลำปาง รึเปล่า

 ผมมีตัวอย่างพระอรหันต์อีกรูปมาให้พิจาณาว่า "เป็นสุกขวิปัสสก" หรือไม่

 คือ "พระโลสกติสสะ" อ่านประวัติท่าน ดูเหมือนว่า ท่านไม่มีฤทธิ์ เลยสันนิษฐานว่า

 ท่านน่าจะเป็น ปัญญาวิมุตอรหันต์ อ่านชาดกได้ที่

 "ผู้มีลาภมาก vs ผู้มีลาภน้อย"
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3839.msg14219#msg14219

 หรือที่
     
   รับฟังเรื่องพระโลสกติสสเถร บรรยายโดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้ที่
   http://www.dhammahome.com/front/audio/show.php?tof=d&id=1047&PHPSESSID=8b1fd74f3743ecfc9800ac4fdb7a46ed




   :welcome: :49: :s_good: ;)
26343  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / วิปััสสนูกิเลส มีอยู่ในพระไตรปิฎกครับ เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 11:52:22 am

วิปััสสนูกิเลส มีอยู่ในพระไตรปิฎกครับ

   ที่ตอบว่า ไม่ปรากฏในพระสูตร แต่มีในคัมภีร์"พระวิสุทธิมรรค" นั้น ผมตอบผิดครับ

  เป็นเรื่องที่น่าอายมาก ที่ตอบโดยไม่แยบคาย พระพุทธเจ้าเรียกคนประเภทนี้ว่า "โมฆะบุรุษ"
ที่ถูกแล้ว อุปกิเลส หรือ วิปััสสนูกิเลส มีอยู่ในพระไตรปิฎกครับ รายละเอียดมีดังนี้




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา


[๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อ
ภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา
เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
ย่อมเกิดขึ้น


ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ
พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อม
ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์

 เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่ามีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ

                          จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ
                          สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจาก
                          ความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ


                          ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว
                          ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความนึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน
                          และย่อมไม่ถึงความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง
                          และเคลื่อนจากจิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง
                         
                          ภาวนาย่อมเสื่อมไปจิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง
                          ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง
                          และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วยฐานะ ๔ ประการนี้
                         
                          ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัด
                          แกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการฉะนี้แล ฯ
                                    จบยุคนัทธกถา

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๗๕๖๔ - ๗๘๖๑.  หน้าที่  ๓๑๓ - ๓๒๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7564&Z=7861&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534
26344  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ปฏิปทามรรคมี ๔ อย่าง เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 11:33:43 am

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

             [๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วย
มรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ



ศึกษารายละเอียดได้ที่นี่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๗๕๖๔ - ๗๘๖๑.  หน้าที่  ๓๑๓ - ๓๒๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7564&Z=7861&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534



บทย่อ "ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา" จากพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน(อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)

 ๑๑. ยุคนัทธะ ( ธรรมที่เทียมคู่ ) บทตั้งเป็นภาษิตของพระอานนท์ แสดงว่าภิกษุ ภิกษุณีจะพยากรณ์อรหัตตผลในสำนักของพระอานนท์ ก็มี ๔ ทาง คือ

   ๑. เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น(เจริญปัญญาโดยเจริญสมาธิก่อน ) 
   ๒. เจริญสมถะ มีวิปัสสนเป็นเบื้องต้น ( เจริญสมาธิโดยเจริญปัญญาก่อน )
   ๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
   ๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งสร้านในธรรม

 
( โปรดดูที่ย่อไว้แล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ หน้า ๔ ด้วย ) 

อ้างอิง http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/k21.html


   อ้างถึง( โปรดดูที่ย่อไว้แล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ หน้า ๔ ด้วย ) 

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๓)

พระอานนท์แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุภิกษุณีที่ พยากรณ์การบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ( พูดว่าได้บรรลุ ) ในสำนักของเรา ย่อมมีทางเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง รวม ๔ ทาง คือ

   ๑. เจริญวิปัสสนา ( ปัญญาอันเห็นแจ้ง ) มีสมถะเป็นหัวหน้า มรรคเกิดขึ้นเมื่เจริญมรรคก็ละสัญโญชน์ ( กิเลส ที่ร้อยรัดหรือผูกมัด ) ได้ กิเลสพวกอนุสัย ( แฝงตัวหรือนอนอยู่ในสันดาน ) ย่อมไปหมด
   ๒. เจริญสมถะ ( ความสงบใจ ) มีวิปัสสนาเป็นหัวหน้า แล้วหมดกิเลส
   ๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน แล้วหมดกิเลส
   ๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งสร้านในธรรม ( วิปัสสนูปกิเลส =เครื่องทำวิปัสสนาให้เศร้าหมอง เช่น สิ่งที่ทำให้หลงเข้าใจผิดมีแสงสว่าง เป็นต้น ) จิตสงบตั้งหมั่น ในภายในมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้วหมดกิเลส.


อ้างอิง http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/13.4.html


     เพื่อความกระจ่าง...ขอรับ พระสูตรนี้ผมนำมาอ้างอิงหลายครั้งแล้ว หลายคนอาจยังไม่ทราบ
      :25:
26345  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / คนพยาบาลไข้ที่ดี และไม่ดี เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 10:54:37 am


คนพยาบาลไข้ที่ดีและไม่ดี

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ไม่ควรที่จะพยาบาลคนไข้ คือ

              ๑. ไม่สามารถที่จะจัดยา

              ๒. ไม่รู้ของควร ของแสลง นำของแสลงเข้าไปให้ นำของไม่แสลงออก

              ๓. เป็นผู้เห็นแก่อามิสพยาบาลคนไข้ ไม่มีเมตตาจิต

              ๔. รังเกียจที่จะนำไปเทซึ่งอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน และเขฬะ

              ๕. ไม่สามารถที่จะชี้แจงชักจูง ปลุกใจ ปลอบใจคนไข้ด้วยธรรมิกถาเป็นครั้งคราว



              คนพยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ไม่ควรที่จะพยาบาลคนไข้.

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ควรที่จะพยาบาลคนไข้ คือ

              ๑. สามารถที่จะจัดยา

              ๒. รู้ของควร ของแสลง นำของแสลงออก นำของควรเข้าไปให้

              ๓. มีเมตตาจิตพยาบาลคนไข้ ไม่มุ่งอามิส

              ๔. ไม่รังเกียจที่จะนำไปเทซึ่งอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน หรือเขฬะ

              ๕. เป็นผู้สามารถที่จะชี้แจงชักชวน ปลุกใจ ปลอบใจคนไข้ด้วยธรรมิกถาเป็นครั้งคราว


              คนพยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ เหล่านี้แล ควรที่จะพยาบาลคนไข้."


อ้างอิง
ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๖๒
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/part2.3.html

อ่านรายละเอียดได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต(๔.อุปัฏฐากสูตรที่ ๒)
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๓๓๖๖ - ๓๓๘๓.  หน้าที่  ๑๔๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=3366&Z=3383&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=124

ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com/,http://t1.gstatic.com/
26346  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / คนไข้ที่ "พยาบาลยาก" และ "พยาบาลง่าย" เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 10:42:51 am


คนไข้ที่ "พยาบาลยาก" และ "พยาบาลง่าย"

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง เป็นผู้ที่พยาบาลยาก คือ

              ๑. มักทำสิ่งซึ่งไม่เป็นที่สบาย

              ๒. ไม่รู้ประมาณในสิ่งที่สบาย

              ๓. ไม่กินยา

              ๔. ไม่บอกอาการป่วยตามความจริงแก่ผู้พยาบาล ผู้ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ว่าอาการป่วยเพิ่มขึ้น ทุเลาหรือทรงอยู่

              ๕. ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นเวทนากล้าแข็ง เจ็บปวด ไม่เป็นที่พอใจถึงขนาดจะคร่าชีวิต



              คนไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล เป็นผู้ที่พยาบาลยาก"

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง เป็นผู้ที่พยาบาลง่าย คือ

              ๑. มักทำสิ่งอันเป็นที่สบาย

              ๒. รู้ประมาณในสิ่งอันเป็นที่สบาย

              ๓. กินยา

              ๔. บอกอาการป่วยตามความจริงแก่ผู้พยาบาล ผู้ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ว่าอาการป่วยเพิ่มขึ้น ทุเลาลง หรือทรงอยู่

              ๕. อดทนต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น อันเป็นเวทนากล้าแข็ง เจ็บปวด ไม่เป็นที่พอใจถึงขนาดจะคร่าชีวิต คนไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล เป็นผู้พยาบาลง่าย."



อ้างอิง
ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๖๑
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/part2.3.html

อ่านรายละเอียดได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต (อุปัฏฐากสูตร)
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๓๓๕๐ - ๓๓๖๕.  หน้าที่  ๑๔๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=3350&Z=3365&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=123

ขอบคุณภาพจาก www.professionalcare.co.th/,www.thaigood.com/

26347  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: คนที่ไม่มีแฟนอยู่เป็นโสดมา จน 60 ปีแล้วนี่ เป็นเพราะกรรมอะไรคะ เมื่อ: สิงหาคม 02, 2011, 01:42:14 pm


กรรมที่ทำให้ไม่เจอ หรือไม่มีคู่

กรรมเกิดจากการกระทำไม่ว่าจะดี หรือชั่วก็ตามไม่มีใครหนีพ้นจากผลกรรม คนเราเกิดมาหลายภพหลายชาติแล้ว เราไม่สามารถจะรู้ได้เลยว่า ในอดีตชาติเราได้สร้างกรรมไว้กับผู้ใดบ้าง เจ้ากรรมนายเวรของเราเป็นใคร หรือชาติที่แล้วเราได้เคยอธิษฐานจิต ไปสาบานขอติดตามคู่ ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าเราจะรักกันทุกชาติไป

ซึ่งกรรมของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ทำให้ชาติภพใหม่เราจึงมีกรรมแตกต่างกันไป อาจจะไม่ได้เกิดมาในภพชาติเดียวกัน หรือไม่ได้เจอกันแต่คำสาบานนั้นยังอยู่ อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คุณยังเป็นโสดอยู่ จึงอยากแนะนำให้ลองนำบทสวดมนต์บทนี้ ไปสวดกันดูอาจจะทำให้ดีขึ้น เพราะเป็นการสวดขอขมา ทุเลากรรมให้ลดน้อยลง ให้อธิษฐานหน้าพระพุทธรูป หรือสวดก่อนเข้านอนก็ได้เช่นกัน

บทสวดขอขมา ทุเลากรรม
(ตั้ง 3 จบ  นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ  )

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
‘หากข้าพเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกิน บิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร จะด้วย กาย วาจา ใจ ก็ดี ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย


หากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมา ขอ อนุญาติมีคู่ มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอถอนคำอธิษฐาน คำสาบานที่จะติดตามคู่ในอดีต ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระต่อกัน ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควร

ขอบุญบารมี ในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัว ตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้อง จงเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ

ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ สติ ปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ อุปสรรคใดๆ โรคภัยใดๆ ขอให้มลายสิ้นไป ขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่างทั้งทางโลก ทางธรรมตั้งแต่บัดนี้ตราบเข้าสู่พระนิพพานเทอญ

หากมีผู้ใดเคยสร้างเวร สร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะชาติใดภพใดก็ตาม ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้ ขอถอนความพยาบาท ความอาฆาต และคำสาปแช่งในทุกชาติทุกภพ


ขอให้ข้าพเจ้าพ้น จากคำสาปแช่งของปวงชนของเจ้ากรรมนายเวร

(คาถา บทนี้ เป็นคาถาที่ใช้สำหรับขอขมาพระรัตนตรัย และใช้เพื่อถอนคำสาปแช่ง ในอดีตชาติ  เพราะเราไม่รู้ว่าเคยได้ ล่วงเกินปรามาสใครไปบ้างก็ไม่รู้ ไม่เว้นแม้กระทั้งพระพุทธองค์ พระอรหันต์ พ่อ แม่ เป็นต้น เพราะบางคนทำการใดๆ มักมีอุปสรรค หรือถูกใส่ร้ายถูกโกงทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย)

คาถาขอความรักและเนื้อคู่ ใครอยากจะรู้ว่าคู่วาสนาของตนจะมี หรือไม่ให้ท่องคาถา ดังนี้
คาถาบทนี้เป็นของ ท่านอาจารย์เมืองคำ ปภากโร ผู้แก่กล้าในญาณแห่งวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ

ปุพเพวะ สันนิวา เสนะ
ปัจจะบันนะ หิเตนะ วา
เอวันตัง ชะยะเต เปมัง
อุปะลัง วะ ยะโส ธะเก ฯ


จุดธูป เทียน (เทียน 2 เล่ม ธูป 3 ดอก) ถ้าทำในวันพระขึ้น 15 ค่ำ ได้ยิ่งดี โดยตั้งน้ำสะอาด 1 ขัน แล้วสวดคาถานี้เท่าอายุ เช่น หากมีอายุ 30 ปี ก็สวด 30 จบ แล้วนำน้ำนั้นมาล้างหน้า

ถ้ามีวาสนาบารมีจะได้พบความรัก เป็นคาถาที่ใช้สำหรับผู้ที่มีอายุมากแล้วทั้งหญิงชาย แต่ไม่เคยพบความรักมาก่อน เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเป็นหม้าย หรือกำลังขาดความรัก หรือภาวนาให้รู้ว่าคู่วาสนาของตนจะมีหรือไม่ ยังไง ก็ลองนำไปทำกันดูนะคะ


บทความโดย อ. อมัณตาร์
http://www.horolive.com/astrology-hot/kam_love.html
ภาพประกอบจากhttp://content.mthai.com/
26348  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / สงวนสิทธิ์เฉพาะคนโสด เมื่อ: สิงหาคม 02, 2011, 01:27:56 pm


กรรมที่ทำให้เนื้อคู่ไม่ดีหรือไม่มีคู่ และวิธีแก้กรรมเรื่องคู่

เรื่องเนื้อคู่นั้นตามหลักความเป็นจริงทุกๆคนจะมีเนื้อคู่แท้เป็นของตัวเอง

แต่จะมีสักกี่คนที่จะได้เกิดมาร่วมกันเป็นเนื้อคู่แท้ และมีอีกหลายคนที่จะได้อยู่ร่วมกับคู่ครอง คู่กรรม คู่อื่นๆที่ยังไม่ใช่เนื้อคู่แท้
ต้องแจ้งให้ทราบว่า ดวงคนเราทุกคนนั้นตามหลักความจริงมีเนื้อคู่แท้กันทุกคน
แต่ใครจะได้เกิดมาอยู่ร่วมกับเนื้อคู่แท้ของตนเท่านั้นเอง ที่พิมพ์แจ้งอย่างนี้ก็เพราะกรรมแต่ละคนทำมาไม่เหมือนกัน
บางท่านทำกรรมกับคนอื่นที่ไม่ใช่คู่ของตนมามากมาหลายภพชาติ
ก็จะทำให้เกิดมาในชีวิตนี้จะไม่ได้เจอและอยู่ร่วมกับเนื้อคู่ของตน
และจะได้ใช้กรรมกับคู่กรรม คู่ครอง คู่อื่นๆที่ไม่ใช่เนื้อคู่แท้ทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานดั่งเช่นทุกวันนี้

วิธีแก้กรรมเรื่องเนื้อคู่

1. ความซื่อสัตย์ต่อคนรัก
2. ความมั่นคงในความรัก
3. การไม่คิดและนอกใจต่อคนรัก
4. การไม่ผิดคู่ ลูก สามี หรือภรรยาใคร
5. ไม่พูด ไม่ทำให้คนที่รักกันต้องแตกแยกจากกัน (รักกันด้วยความถูกต้องด้วยความดี)
6. และสุดท้ายที่ห้ามทำอย่างเด็ดขาดคือการเป็นพ่อสื่อ แม่สื่อให้กับใคร เพราะจะเป็นกรรม ทำให้เราเกิดมาต้องพลัดจากคู่ครอง คู่แท้ คู่รักของตน


และคุณรู้ไหมว่าที่คุณเกิดมาในชีวิตนี้เกิดมาแล้วไม่เจอเนื้อคู่ ไม่ได้ครองรักกับเนื้อคู่แท้
เพราะคุณต้องผิดในข้อใดข้อหนึ่งในเรื่องการแก้กรรมเรื่องเนื้อคู่ที่พิมพ์แจ้งดั่ง ข้างต้น 6 ข้อนี้ เอง
แต่ถ้าในชีวิตนี้คุณ มีพร้อมทั้ง 6 ข้อ แต่ยังโดนคนรักไม่ซื่อสัตย์ต่อคุณ คุณจงยินดีกับการที่ได้รับเช่นนั้น
เพราะคุณได้ใช้กรรมในอดีตที่เคยทำมา ไม่ว่ากรรมจะมาจากอดีตชาติใดก็ตาม เพราะกรรมเก่านั้นย่อมส่งผลตามมาทุกชาติ
ถ้าเราได้ใช้กรรมมากเท่าใด จะเป็นผลดีกับตัวเราเอง ดีกว่าไปใช้กรรมในชาติต่อๆไปซึ่งจะเป็นทุกข์ไม่สิ้นสุด
รีบใช้กรรมให้หมด และอย่าสร้างกรรมในชีวิตปัจจุบันนี้ให้มากละ เพราะมันจะส่งผลต่อๆกันไปทำให้กรรมมากยิ่งขึ้น
ทำกรรมในชีวิตปัจจุบันด้วยความดีความถูกต้อง แล้วศร ดวงของคุณจะชี้ไปในทางทีดี
เกิดในชาติ ภพใดก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ และมีคู่รักที่ดีอยู่เสมอ

และการแก้กรรม ถ้าทำได้ดั่งเช่นที่ได้พิมพ์แจ้งให้อ่านมา คุณจะแก้กรรมเรื่องความรักได้ถูกต้องอย่างแท้จริงนี้คือหลักกรรม ที่ต้องแก้ด้วยกรรม
คือการกระทำของตัวคุณเอง เคยทำอย่างไรต้องได้อย่างนั้น และกรรมไม่มีใครแก้ให้เราได้ นอกจากตัวเราเอง ด้วยเหตุ และผล
ถ้าไม่มีเหตุผลในปัจจุบันคงไม่เกิดขึ้นมา คิดด้วยปัญญาแล้วคุณจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรู้เท่าทันทีเดียว 

การแก้กรรมเรื่องคู่ต่างๆ

1. แก้กรรมร้างคู่
คนบางคนขาดคู่แท้ คู่ถาวรเพราะวิบากกรรม ชาติก่อนอาจเคยทำให้คู่รักต้องเลิกกันไปโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม หรืออาจเคยพรากคู่รักให้แยกจากกัน หรือเคยยุยงให้เขาแตกกัน หรือขัดขวางมิให้เขาได้ครองคู่กัน
การแก้กรรมดวงที่ร้างคู่ให้ปฏิบัติ ดังนี้

1.1 ถวายเทียนคู่หรือแจกันคู่
ถวายให้ครบ 9 วัดอย่างต่อเนื่อง จะทำบุญเดือนละ 1 วัดหรือ 2 วัดก็ได้ตามแต่สะดวก
ให้ถวายในวันเกิดของตน เช่น คนเกิดวันพุธ ก็ไปทำบุญวันพุธ อธิษฐานจิตขอทำบุญเพื่อแก้วิบากกรรม ตั้งจิตภาวนาขอพรเรื่องคู่ตามที่หวัง
(สามารถถวายสิ่งของอื่นแก่วัดได้ แต่ควรถวายสิ่งของที่ใช่เป็นคู่ เช่น เชิงเทียน)


2. แก้กรรมชีวิตคู่ไม่ราบรื่น
อาจเป็นเพราะชาติปางก่อน ทำบุญร่วมกันโดยไม่เต็มใจ
จึงเกิดมาเป็นคู่กัน แต่ความสัมพันธ์ไม่ราบรื่น
หรือเมื่อครั้งที่เคยเป็นคู่กันนั้น ขาดความปรองดองต่อกันหรือร่วมมือกัน จึงต้องมาทะเลาะเบาะแว้ง ให้แก้กรรมโดยปฏิบัติ ดังนี้

2.1 ร่วมใจกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์อย่างสม่ำเสมอ ต้องเป็นประจำสม่ำเสมอ ทุกกเช้า วันเว้นวัน หรือทุกอาทิตย์
2.2 ร่วมกันทำบุญถวายสังฆทานสม่ำเสมอ ทุกเดือน หรือ ทุก 3 เดือน
2.3 ร่วมกันสวดพระคาถาบท ทุกวันพระเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นสวดทุกวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ
2.4 เป็นเจ้าภาพหรือร่วมเป็นเจ้าภาพ เกี่ยวกับงานเลื้ยงวิวาห์ ออกแรงหรือออกเงินช่วยงานแต่งงานของคู่บ่าวสาวที่ไม่รวยนัก ไม่จำเป็นต้องเป็นคู่ที่เรารู้จักคุ้นเคยดี
2.5 ตั้งตนชอบอยู่ในจริยธรรมอันดี คิดดี พูดดี และทำดีต่อคู่รักทุกคู่ มิว่าจะรู้จักกันดีหรือไม่ ช่วยให้คู่รักเขาได้สมรักหรือได้เข้าใจกัน ไม่ทำให้เขาแตกร้าวกัน จะได้อานิสงค์แรงมาก



3. แก้กรรมคู่ไม่สมพงศ์ดวงกัน
คู่ที่มีดวงไม่ถูกโฉลกกัน หรือไม่สมพงศ์กันในทางพื้นเรือนชะตา เมื่อมาครองคู่ด้วยกันแล้ว
ชีวิตมักจะขรุขระไม่ราบรื่น มีอุปสรรคให้ฟันฝ่าจนเหนื่อยเสมอ หรืออาจมีความลุ่ม ๆ ดอน ๆ ก้าวหน้าช้า
มีความขัดสน หรือมีปัญหาอื่น ๆ ที่ทำให้หาความสุขสบายแท้จริงไม่ได้ ให้แก้กรรม ดังนี้

3.1 ร่วมกันทำบุญ ทำทานสม่ำเสมอ ทำบุญด้วยการออกแรงแทนเงินก็ได้ นำข้าวของไปบริจาคคนยากไร้ ไปอาสาช่วยงานบุญที่วัด
3.2 ร่วมกันตักบาตรพระสงฆ์
3.3 ไปไหว้พระ ทำบุญเติมน้ำมันตะเกียงร่วมกัน
3.4 ไปไหว้ศาลหลักเมืองด้วยกัน
3.5 ร่วมกันปล่อยนก ปล่อยปลาย ปล่อยหอยขม โดบไปซื้อปลาที่ตลาดสดมาปล่อย หรือไถ่ชีวิตสัตว์
3.6 ร่วมกันล้างบ้าน จัดบ้านใหม่ ไหว้พระที่บ้าน ไหว้เจ้าที่เจ้าทาง


4. อธิษฐานขอฟ้าให้พบหน้าคู่แท้
ต้องฟังผู้หลักผู้ใหญ่หรือคนในครอบครัวที่สูงวัย ที่ให้คำแนะนำ ตรงนี้เป็นบุญประการหนึ่ง บุญนี้จะหนุนนำให้ได้คู่ที่ดี ให้ได้ลูกที่ดีในลำดับต่อไป ต่อมาเป็นเรื่องของการทำบุญ คือไม่ทำให้คุณพ่อ คุณแม่เดือดร้อน ปู่ย่าตายายเดือดร้อน ร้อนกายร้อนใจว่าเราเอกเขรกเกเร ทั้งนี้จะเป็นบุญกุศลหนุนนำให้เราได้พบคู่รักอันเป็นคู่แท้ประการหนึ่ง อีกหลาย ๆ ประการที่กล่าวถึงดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นบุญกุศลในเรื่องที่จะให้สมหวังในความรักทั้งนั้น


การกตัญญูกตเวทิตาต่อบิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ในวงศ์ตระกูล ทำบ้านให้ร่มเย็นเป็นสุข การทำบุญกับบ้านเด็กกำพร้า การบริจาค หรือการทำบุญกับบ้านคนชรา การบริจาค หรือการทำบุญให้กับโรงพยาบาลสงฆ์ การบริจาคหรือการทำบุญกับมูลนิธิเพื่อนหญิง หญิงที่ถูกทำร้าย การบริจาคหรือการทำบุญกับโรงพยาบาล เป็นส่วนสำคุญที่จะเป็นบุญแรง เป็นบุญใหญ่ หนุนนำให้เกิดความสุขและความสำเร็จในเรื่องความรัก

เพราะสถานที่ที่ได้กล่าวถึง มีสื่อทางจิตวิญญาณอันสัมพันธ์เกี่ยวกับบุญวาสนาบารมี ที่จะเกื้อหนุนให้เกิดพลังของผลบุญที่เกื้อหนุนในเรื่องของความรักและชีวิตครอบครัว เมื่อทำบุญแล้วต้องมีการอธิษฐานบุญ ขอให้ตั้งจิตอธิษฐาน เมื่อท่านสงบนิ่งแล้วให้ระลึกถึงสิ่งที่เป็นผลบุญที่ได้กระทำอันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ท่านได้ทำบุญมา และให้อธิษฐานว่า

“ขอให้ข้าพเจ้า ชื่อ-นามสกุลของท่าน ขอให้ประสบความสุข ความสำเร็จโดยเฉพาะในเรื่องของชีวิตคู่ เรื่องของครอบครัวขอให้มีความสุข ขอให้ได้พบคู่แท้ดังที่ปรารถนา หากใครก็ตามที่เป็นคู่แท้ ก็ขอให้พบโดยเร็วพลัน ขอให้ได้เรียนรู้ ขอให้อย่าได้พบกับคนที่หลอกลวง แต่ถ้าหากใครคิดจะหลอกลวง ทำร้าย ทำลายน้ำใจให้มีความรู้สึกเจ็บช้ำ

จงอย่าได้กล้ำกลายเข้ามา ขอให้ห่างไกลหลีกลี้หนีไปจากบารมี หลีกลี้ไปจากเรา ขอให้มีบารมี บุญบารมีธรรมคุ้มครองเราด้วยเถิด หากใครเป็นคู่แท้แล้วไซร้ก็ขอให้จงมีโอกาสเข้ามาใกล้ ประดุจเทพอุ้มสม คือเทพหนุนนำ เทวดาชักพา ให้เกิดการพบหน้า มีจิตประภัสสรให้เกื้อหนุนกันต่อไป จากปัจจุบันถึงอนาคตด้วยเถิด สาธุ”

อะไรประมาณนี้ ท่านก็จะสมหวังตามที่ปรารถนา ส่วนอธิษฐานมีส่วนเหมือนกัน กล่าวคือ ท่านที่เกิดวันอาทิตย์นั้น การอธิษฐานควรจะอธิษฐานหรือทำบุญในวันอาทิตย์หรือวันพฤหัสบดี ท่านที่เกิดวันจันทร์ควรจะทำบุญอธิษฐานขอพรจากเทวดาฟ้าดิน ในวันจันทร์หรือวันพุธ

ส่วนท่านที่เกิดวันอังคารควรขอพรจากเทวดาฟ้าดินในวันอังคารและวันศุกร์ ท่านที่เกิดวันพุธกลางคืนควรอธิษฐานขอพรในวันพุธกลางคืนและวันเสาร์ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวของการอธิษฐานขอฟ้าให้พบหน้าคู่แท้ หวังว่าท่านคงไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อความสุขของท่านเองและคนรอบข้าง ให้สมหวังดังที่ปรารถนา พบรักในเร็ววัน



ที่มา  http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1153375
ขอขอบคุณภาพประกอบจากhttp://file.storythai.com/,http://img.kapook.com/
26349  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พรหมวิหาร 4 นั้นต้องปฏิบัติตามลำดับ หรือไม่ หรือว่า.... เมื่อ: สิงหาคม 02, 2011, 01:08:33 pm
เพราะเหตุไร พรหมวิหาร 4 จะเจริญได้ต้องได้ อุปจาระสมาธิ ขึ้นไป
คนธรรมดา เจริญพรหมวิหาร 4 มิได้หรือ ครับ

 :smiley_confused1:

    ทำไม ไม่ดาวน์โหลดหนังสือที่ผมแนบไฟล์มาให้ล่ะครับ ลองอ่านดูสักนิด

      :25: ;)
26350  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เพื่อน ๆ มีวิธีอย่างไรให้นึกถึง กุศล ตลอดเวลาได้อย่างไร เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 09:29:29 pm
   
"จิตนี้ประภัสสร จิตนี้เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมาเป็นคราวๆ"
 ประโยคนี้เคยได้ยินไหมครับ ใจเราบางครั้งก็สวย บางครั้งก็ไม่สวย


 ปุถุชนผู้มีอุปกิเลส คิดดีบ้างไม่ดีบ้าง เป็นเรื่องปรกติ
 จิตคนเราเป็นอนัตตา ควบคุมไม่ได้ การคิดดีหรือไม่ดีอย่างไร ห้ามกันไม่ได้
 แต่สิ่งที่ห้ามได้ก็คือ อย่าให้ล้นออกมาทางวาจา และทางกาย
 
"ศีลและสมาธิ" จะเป็นเครื่องกั้น ไม่ให้วาจาและกายที่ไม่เป็นกุศลแสดงออกมาได้
 การที่จะสร้างสมาธิให้มีตลอดเวลาได้นั้น ควรใช้คำบริกรรม เช่น การบริกรรมคำว่าพุทโธในใจตลอดเวลา


การสร้างสมาธิลักษณะนี้เรียกว่า "การสร้างวิหารธรรม" วิหารธรรมของผมก็ คือ คาถาพญาไก่เถื่อน
 กับการสัมปยุตธรรมลงศูนย์นาภี


  :welcome: ;)
26351  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: คนที่เสียชีวิต เพราะอุบัติเหตุ จะมีคติที่ไปอย่างไร คะ เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 08:56:33 pm
 
 คติของคนตาย พยากรณ์ไม่ได้ครับ มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวที่พยากรณ์ได้
 แม้จะมีสาวกที่มีตาทิพย์ ก็จะไม่พยากรณ์ กลัวถูกกล่าวหาว่า "อวดอุตรมนุษยธรรม" ผิดศีลครับ

 แต่ถ้าจะพูดในภาพรวม ก็ต้องบอกว่า จิตของคนเหล่านั้นก่อนตายเป็นกุศลหรืออกุศล
 เป็นกุศลก็ไปสุคติ ไม่เป็นกุศลก็ไปทุคติ ภาษาบาลีเรียกว่า "ชนกกรรม"(กรรมนำเิกิด)


 คุณนิธิ ถามเรื่องอจินไตย ตอบยากครับ ผมรู้สึกอึกอัดทุกครั้งที่พยายามอธิบาย

อุบัติเหตุในสมัยพุทธกาลนั้น ตอบยากครับ เพราะสมัยนั้นไม่มีคำว่า "อุบัติเหตุ"
 ถ้าถามว่า ถูกวัวขวิดตาย ถูกภัยธรรมชาติตาย อันนี้พอตอบได้


      ถูกวัวขวิดตาย ตัวอย่างเช่น พระพาหิยเถระ หรือ ทารุจีริยะ เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา คงไม่ต้องบอกนะครับ ว่าท่านปรินิพพาน

อ่านรายละเอียดเรื่องพระพาหิยเถระได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=18&p=2




      อีกตัวอย่าง "ถูกวัวขวิดตาย" คือ สาตกีเทพธิดา คนนี้้กำลังนำดอกบวบขมสีเหลือง ไปบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ยังไม่ทันได้ถวาย ก็ถูกวัวขวิดตาย แต่ด้วยจิตที่มุ่งต่อพระบรมสารีริกธาตุ ทำให้ไปเกิดเป็นนางฟ้าชั้นดาวดึงษ์

อ่านเรื่องนี้ได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=1643&Z=1675




      ถูกน้ำท่วมตาย ตัวอย่างคือ "พระเจ้าวิฑูฑภะ" คนนี้นำทัพไปฆ่าล้างโคตร ศากยะวงศ์ จนหมด
สุดท้ายในระหว่างนำทหารกลับ ถูกน้ำท่วมตายทั้งกองทัพ อ่านรายละเอียดได้ที่

       http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=3

      เรื่องนี้ คติของคนที่ตาย ในอรรถกถาไม่ได้บอก ถ้าให้เดา ก็คงไม่ไปสุคติหรอก เพิ่งฆ่าคนมาหมาดๆ

 
 :49: ;)
26352  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า สันโดษ คะ เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 07:50:53 pm

สันโดษ
   [-โดด] น. ความยินดีหรือพอใจเท่าที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่ เช่น เขาถือสันโดษ.(ปาก) ก. มักน้อย เช่น เขาเป็นคนสันโดษ. (ส. สํโตษ; ป. สนฺโตส).

อ้างอิง  พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


สันโดษ ความยินดี, ความพอใจ, ยินดีด้วยปัจจัย ๔ คือ ผ้านุ่งผ้าห่ม อาหารที่นอนที่นั่ง และยา ตามมีตามได้, ยินดีของของตน, การมีความสุขความพอใจด้วยเครื่องเลี้ยงชีพที่หามาได้ ด้วยความเพียรพยายามอันชอบธรรมของตน ไม่โลภ ไม่ริษยาใคร;

       สันโดษ ๓ คือ

           ๑. ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ คือได้สิ่งใดมาด้วยความเพียรของตน ก็พอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่เดือดร้อนเพราะของที่ไม่ได้ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น ไม่ริษยาเขา

           ๒. ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง คือพอใจเพียงแค่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและขอบเขตการใช้สอยของตน ของที่เกินกำลังก็ไม่หวงแหนเสียดาย ไม่เก็บไว้ให้เสียเปล่า หรือฝืนใช้ให้เป็นโทษแก่ตน

           ๓. ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร คือพอใจตามที่สมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนวทางชีวิต และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน เช่น ภิกษุพอใจแต่ของอันเหมาะกับสมณภาวะ หรือได้ของใช้ที่ไม่เหมาะกับตน แต่จะมีประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็นำไปมอบให้แก่เขา เป็นต้น;


       สันโดษ ๓ นี้เป็นไปในปัจจัย ๔ แต่ละอย่าง จึงรวมเรียกว่า สันโดษ ๑๒


สทารสันโดษ ความพอใจด้วยภรรยาของตน,
       ความยินดีเฉพาะภรรยาของตน (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม),
       จัดเป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอขอบคุณภาพประกอบจากwww.rakbankerd.com/


      คำว่า "สันโดษ" นี้ เมื่อก่อนมีการเข้าใจผิดว่า หมายถึง การอยู่คนเดียว ตามลำพัง ไม่ชอบยุ่งกับใคร
      ปัจจุบันก็ยังมีการเข้าใจอย่างนี้อยู่ และผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยเข้าผิดใจ

       :49: ;)
26353  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขอวิธีรับมือความฝัน กับ การภาวนา เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 04:37:10 pm
คุณ meditation เยี่ยมมาก..เยี่ยมจริงๆ..ค่ะ
:s_good: :c017: :88: :49:
26354  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ทำงานแล้วรู้สึกเบื่อ ๆ ไม่อยากทำ อยากจะลาออก ไม่อยากทำ เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 04:25:10 pm

๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ)

 การเบื่อหน่ายที่แท้จริงต้องเกิดจากภาวนาถึงญาณที่ ๘....ขอรับ จึงจะได้ชื่อว่า เบื่อจริงๆ
 คนทั่วไปมักเรียกว่า "เกิดนิิพพิทา"

ส่วนการเบื่อที่ไม่ได้เกิดจาก "ญาณที่ ๘" ล้วนเป็นไปตามกิเลสของตนเอง
 ซึ่งเป็นเรื่องปรกติของปุถุชน ที่เกิดอาการ "เบื่อๆอยากๆ"


 ส่วนตัวผมคิดว่า การไม่ประสบความสำเร็จทางโลก หรือ คิดอะไรแล้วไม่เป็นดังที่คิด คิดแล้วไม่ได้ดังใจ
 ไม่เป็นไปตามทิฏฐิของตนเอง ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเบื่อได้

  :41: :91: :03: :85: :) ;)

การแก้ไข มีทางเดียวครับ ต้องภาวนาเยอะๆ เบื่อมากก็หนีเข้าสมาธิก็ได้ หรือไม่ก็หากิจกรรมที่เป็นกุศลทำ
26355  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พรหมวิหาร 4 นั้นต้องปฏิบัติตามลำดับ หรือไม่ หรือว่า.... เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 04:11:45 pm
"พระพุทธองค์รักพระเทวฑัต เหมือนรักพระราหุล" คำนี้หลายคนคงเคยได้ยินได้เห็นมาบ้าง

 แต่หลายคนสงสัยว่า "ทำไมไม่ช่วยพระเทวฑัต เหมือนช่วยพระองคุลีมาร"

 พระพุทธเจ้าเลือกใช้ "เมตตาเป็นตัวนำ" ในการช่วยองคุลีมาร
 แต่พระพุทธเจ้าเลือกที่จะใช้ "อุเบกขาเป็นตัวนำ" ในการไม่ช่วยพระเทวฑัต

 ในกรณีพระเทวฑัต ในความห็นของผม พระพุทธเจ้ามีเมตตา กรุณา กับเวไนยสัตว์ทุกตัวตนอยู่แล้ว
 ซึ่งก็รวมทั้งพระเทวฑัตด้วย

 แต่เนื่องจากจิตของพระเทวฑัต ไม่เปิดรับคำสอนของท่าน คือ ขาดสัทธานั่นเอง
 และท่านคงเล็งแลด้วยพระญาณอันยิ่งแล้ว ว่าอย่างไงก็ช่วยไม่ได้ ท่านจึงจำเป็นต้องวางเฉย(อุเบกขา
)

 ที่พยายามอธิบายมานี่ ก็จะสรุปว่า อริยบุคคล ใช้พรหมวิหารทั้งสี่ไปพร้อมๆกัน ไม่ได้แบ่งลำดับก่อนหลัง

 แต่ในแง่ของปุถุชน ที่ยังละสังโยชน์ไม่ได้ ยังเลือกที่รัก มักที่ชัง
 ยังเลือกปฏิบัติกับบุคคลตามระดับความสัมพันธ์ พ่อแม่ก็แบบหนึ่ง พี่น้องก็อย่างหนึ่ง
 คนสวยคนหล่อก็อย่างหนึ่ง ไม่ชอบหน้าก็อย่างหนึ่ง ฯลฯ

สรุปก็คือ ใช้หลายมาตรฐาน ศัตรูมาขอความช่วยเหลือ ก็จะใช้อุเบกขา
 พี่น้องมาขอความช่วยเหลือ ก็จะกุลีกุจอช่วย มีเมตตากรุณาขึ้นมาทันที
 ปุถุชนใช้ทิฏฐิของตัวเอง เป็นเครื่องตัดสิน ไม่ได้มีพรหมวิหารอย่างแท้จริง

 ถึงตรงนี้ สามารถตอบคำถามได้ว่า ปุถุชนไม่ได้ปฎิบัติพรหมวิหารตามลำดับ
 แต่ปฏิบัติตามกิเลสของตนเอง

 ตอบคำถามที่ว่า เป็นการเจริญพรหมวิหารหรือไม่
 คำตอบคือ การเจริญพรหมวิหารสี ต้องได้ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ...ขอรับ


  :welcome: :49: :25: ;)
 ผมจะแนบหนังสือการเจริญพรหมวิหาร ๔ ให้สองเล่ม เชิญดาวน์โหลดครับ
26356  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขอทราบความหมายของคำว่า อัตตวาทุปาทาน คะ หมายถึงอย่างไร เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 01:57:41 pm
 อัตตวาทุปาทาน การถือมั่นวาทะว่าตน
       คือ ความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่า นั่นนี่เป็นตัวตน
       เช่น มองเห็นเบญจขันธ์เป็นอัตตา,
       อย่างหยาบขึ้นมา เช่น ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา พวกเขา และเกิดความถือพวก
       (ข้อ ๔ ในอุปาทาน ๔)[/color]

อุปาทาน ความยึดมั่น, ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ
       ๑. กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม
       ๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ
       ๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรต
       ๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะว่าตน


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


ขันธ์ ๕ เป็นของหนัก อย่าแบกไปเน้อ

คาถาในบทสวด...ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง บทที่ว่า

...อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจังฯ ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะ โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละ ภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขาฯ..
.

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

คัดมาจากhttp://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=8&t=23241&view=print
ภาพจากwww.dhammada.net/



    การละ "อัตตวาทุปาทาน" (ความถือมั่นวาทะว่าตน) ได้อย่างถาวรนั้น ผมว่าต้องเป็นอรหันตผล
    เพราะคำว่า"ตน" หมายถึง "ขันธ์ทั้ง ๕"

    การละอุปาทานขันธ์ ๕ ไ้ด้นั้น ต้องรู้แจ้งทุกขสัจ กล่าวโดยภาพรวมก็คือ "รู้แจ้งอริยสัจนั่นเอง"


    สำหรับปุถุชน ยังละโดยเด็ดขาดไม่ได้ จำเป็นต้องมีศีลป้องกันต้องสมาทานศีลบ่อยๆ
    โดยเฉพาะในข้อ "สัมมาวาจา" ที่สำคัญต้องลดการพูดคุย การคลุกคลีในหมู่ชน

    หากจำเป็นต้องพูด ขอให้พูดแต่น้อย ดังสำนวนที่ว่า
       "พูดไปสองไพ่เบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง" พูดไปแล้วไม่มีประโยชน์ ก็อย่าได้พูด

 
     :49: ;)
   
26357  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พิจารณา ที่ตัวเอง อย่างไร ว่า กิเลสดับได้ หรือ กิเลส ยังเหลือ อยู่ เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 01:24:16 pm
อยากทราบว่าในการภาวนา กรรมฐานวิปัสสนา นั้น

เราพึงพิจารณา ที่ตัวเอง อย่างไร ว่า กิเลสดับได้ หรือ กิเลส ยังเหลือ อยู่

ในขณะที่เราภาวนา หรือ หลังจากการภาวนา

 :c017:

  แนะนำใ้ห้อ่านลิงค์นี้ครับ

  "ปฏิบัติธรรม วัดผลอย่างไร"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4560.msg16662#msg16662

  :s_good::49: ;)
26358  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พิจารณา ที่ตัวเอง อย่างไร ว่า กิเลสดับได้ หรือ กิเลส ยังเหลือ อยู่ เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 01:16:20 pm
อยากทราบว่าในการภาวนา กรรมฐานวิปัสสนา นั้น

เราพึงพิจารณา ที่ตัวเอง อย่างไร ว่า กิเลสดับได้ หรือ กิเลส ยังเหลือ อยู่

ในขณะที่เราภาวนา หรือ หลังจากการภาวนา

 :c017:

ความเห็นผมก็คือ ปุถุชน ควรพิจารณา นิวรณ์ ๕ และ อุปกิเลส ๑๐ ว่าเบาบ้างไปแค่ไหนอย่างไร
 เครื่องวัดในเบื้องต้น ขอให้ดูที่สมาธิ เช่น เข้าสมาธิได้เร็ว มีความชำนาญแค่ไหน


 หรือจะดูจากอารมณ์ที่เป็นอกุศลก็ได้ เช่น โกรธแล้วหายเร็วไหม สติกลับมาได้เร็วไหม เป็นต้น

 สำหรับอริยบุคล ต้อง ดูสังโยชน์ ๑๐ เมื่อเจริญวิปัสสนาจนถึงญาณที่ ๑๖ จะเกิด "ปัจจเวกขณญาณ"
 ญาณนี้จะบอกได้ว่า กิเลสอะไรเหลือ  กิเลสอะไรดับ ซึ่งเรื่องนี้เป็น "ปัจจัตตัง"...ขอรับ


  :49: ;)

๑๖. ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่)
26359  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: วิธีทำจิตให้ร่าเริง มีปีติ ในการภาวนา ควรทำอย่างไร คะ เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 12:51:22 pm
อารมณ์ในฌานประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เรียกว่า องค์ฌาน
 หากหมายถึง ปิติ ตัวนี้ ก็ต้องเข้าฌานให้ได้ครับ


 ยังมีปิติอีกอย่าง คือ

 ปีติ ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ คือ

   ๑.ขุททกปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล
   ๒.ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลกๆ ดุจฟ้าแลบ
   ๓.โอกกันติกาปีติปีติเป็นระลอกรู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง
   ๔.อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ให้ใจฟูตัวเบาหรืออุทานออกมา
   ๕.ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์เป็นของประกอบกับสมาธิ


 ในกรรมฐานมัชฌิมาฯได้กำหนดฐานจิต ๕ ฐาน รองรับปิติทั้ง ๕ ไว้แล้ว
 หากปฏิบัติตามแนวของกรรมฐานมัชฌิมาฯได้ถูกต้องแ้ล้ว จะได้ปิติตามนั้นเลยครับ

 คำว่า "ท้อแท้ เบื่อหน่าย อยากหนี" ของคุณpamai ไม่ทราบว่าเกิดตอนไหน ก่อนหรือหลังภาวนา
 
หากเกิดก่อน ผมเรียกว่า "ขี้เกียจ" ผมเองก็เกิดอยู่บ่อยๆ ทางแก้ก็คือ ต้องอดทน พากเพียร
 พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร"

 การที่จิตของคนเราต่อสู้กับอุปกิเลสไม่ได้ ก็เป็นเรื่องปรกติ วิีธีที่จะรับมือกับกิเลสได้
 จำเป็นต้องหากุศโลบาย ส่วนตัวผมจะฟังเพลงทีเนื่องด้วยธรรมะ ฟังจนจิตเกาะกับเพลงนั้น
 และมีความสุขระดับหนึ่ง จากนั้นผมจะเข้าสมาธิได้ครับ


แต่ในกรณีที่เกิดขณะภาวนา อันนี้เรียกว่า นิวรณ์ การจะสู้กับนิวรณ์ได้นั้น กรรมฐานมัชฌิมาฯ
 จะใช้"อุเบกขานิมิต" วิธีการใช้อุเบกขานิมิต ผมอธิบายไว้ในลิงค์นี้ครับ

 "เวลาฟุ้งซ่าน มาก ๆ ควรทำอย่างไร ควรพิจารณาธรรม อย่างไรดีครับ"
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4733.0

 หากคุณpamai ยังไม่ได้ขึ้นกรรมฐานมัชฌิมาฯกับอาจารย์ท่่านใด
 วันที่ ๑๔ สิงหาคมที่จะถึง เชิญที่บ้านคุณจิตตรี สระบุรี เลยครับ


  :welcome: :49: ;)
26360  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ถามความเห็นเรื่อง อุปกรณ์ การฝึก กสิณ ครับ เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 11:55:51 am

 ผมเคยฝึก "กสิณไฟ" จนได้อุคหนิมิต
 โดยใช้เทียนไขครับ เป็นเทียนขนาดกลาง ไม่เคยใช้อุปกรณ์อื่นๆเลย

  :welcome: ;)
หน้า: 1 ... 657 658 [659] 660 661 ... 709