ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "กระดูกของอรหันต์ทุกองค์" ต้องเป็นพระธาตุเหมือนกันทั้งหมด หรือไม่.?  (อ่าน 4342 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เรื่องพระวังคีสเถระ 
             
ข้อความเบื้องต้น               
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระวังคีสะเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "จุตึ โย เวทิ" เป็นต้น.

 :sign0144: :sign0144: :sign0144:

วังคีสพราหมณ์เป็นนักทำนาย              
 ได้ยินว่า พราหมณ์ในกรุงราชคฤห์คนหนึ่ง ชื่อวังคีสะ เคาะ (กะโหลก) ศีรษะของพวกมนุษย์ที่ตายแล้วก็รู้ได้ว่า "นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในนรก, นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน, นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในเปรตวิสัย, นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในมนุษยโลก, นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในเทวโลก."

พวกพราหมณ์คิดว่า "พวกเราอาศัยวังคีสพราหมณ์นี้ ก็สามารถหากินกะชาวโลกได้" จึงให้เขานุ่งผ้าแดง ๒ ผืนแล้วพาเที่ยวไปชนบท กล่าวกะพวกมนุษย์ว่า "พราหมณ์ชื่อวังคีสะนั่น เคาะ (กะโหลก) ศีรษะ ของพวกมนุษย์ที่ตายแล้ว ก็รู้จักที่เกิด, พวกท่านจงถามถึงที่พวกญาติของตนๆ เกิดแล้วเถิด."

     พวกมนุษย์ให้กหาปณะ ๑๐ บ้าง ๒๐ บ้าง ๑๐๐ บ้าง ตามกำลังแล้ว จึงถามถึงที่พวกญาติเกิดแล้ว.
     พราหมณ์เหล่านั้นถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับแล้ว ยึดเอาที่พักในที่ไม่ไกลแห่งพระเชตวัน





พวกเขาเห็นมหาชนผู้บริโภคอาหารเช้าแล้ว มีมือถือของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น กำลังเดินไปเพื่อฟังธรรม จึงถามว่า "พวกท่านไปไหนกัน?"
   เมื่อมหาชนนั้นบอกว่า "ไปสู่วิหาร เพื่อฟังธรรม."
   จึงกล่าวว่า "พวกท่านจักไปในที่นั้นทำอะไร? บุคคลผู้ทัดเทียมกับวังคีสพราหมณ์ของพวกเรา ย่อมไม่มี, เขาเคาะ (กะโหลก) ศีรษะของพวกมนุษย์ที่ตายแล้ว ก็รู้ที่เกิดได้, พวกท่านจงถามถึงที่พวกญาติเกิดเถิด."

   มนุษย์เหล่านั้นกล่าวว่า "วังคีสะจะรู้อะไร? บุคคลผู้ทัดเทียมกับพระศาสดาของพวกเรา ไม่มี."
   เมื่อพวกพราหมณ์แม้นอกนี้ กล่าวว่า "บุคคลผู้ทัดเทียมกับวังคีสะ ไม่มี, เถียงกันแล้ว ๑-
   กล่าวว่า "มาเถิดบัดนี้ พวกเราจักรู้ว่าวังคีสะของพวกท่าน หรือพระศาสดาของพวกเรา มีความรู้" แล้วได้พราหมณ์เหล่านั้นไปสู่วิหาร.

____________________________
๑- กถํ วฑฺเฒตฺวา ยังถ้อยคำให้เจริญ.




เขายอมจำนนพระศาสดา               
พระศาสดาทรงทราบว่าชนเหล่านั้นมา จึงรับสั่งให้นำ (กะโหลก) ศีรษะมา ๕ ศีรษะ คือ
    "ศีรษะของสัตว์ผู้เกิดในฐานะทั้ง ๔ คือ ‘ในนรก ในกำเนิดดิรัจฉาน ในมนุษยโลก ในเทวโลก’ ๔ ศีรษะ และ (กะโหลก) ศีรษะของพระขีณาสพ" รับสั่งให้วางไว้ตามลำดับ
    ในเวลาที่วังคีสะมาแล้ว จึงตรัสถามวังคีสะว่า
    "ทราบว่า ท่านเคาะ (กะโหลก) ศีรษะแล้ว รู้ที่เกิดของสัตว์ทั้งหลายผู้ตายแล้วหรือ?"
    วังคีสะ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ได้.
    พระศาสดา. นี้ (กะโหลก) ศีรษะของใคร?
    เขาเคาะ (กะโหละ) ศีรษะนั้นแล้ว กราบทูลว่า "ของสัตว์ผู้เกิดในนรก."

    ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่เขาว่า "ดีละ"
    จึงตรัสถามถึงศีรษะทั้ง ๓ นอกนี้ ในขณะที่เขากราบทูลแล้วๆไม่ผิด ก็ประทานสาธุการเหมือนอย่างนั้น
    จึงทรงแสดง (กะโหลก) ศีรษะที่ ๕ ตรัสถามว่า
    "นี้ (กะโหลก) ศีรษะของใคร.?"
   เขาเคาะ (กะโหลก) นั้นแล้ว ไม่รู้ที่เกิด.
   ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า "วังคีสะ ท่านไม่รู้หรือ?"
   เมื่อเขากราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่รู้"
   จึงตรัสว่า "ฉันรู้."
   วังคีสะ. พระองค์ทรงทราบด้วยอะไร?
   พระศาสดา. ทราบด้วยกำลังมนต์.

   ลำดับนั้น วังคีสะทูลวิงวอนพระองค์ว่า "ขอพระองค์จงประทานมนต์นี้แก่ข้าพระองค์.
   พระศาสดาตรัสว่า "เราไม่สามารถจะให้มนต์แก่บุคคลผู้ไม่บวชได้."





วังคีสะบวชเพื่อเรียนพุทธมนต์              
เขาคิดว่า "เมื่อเราเรียนมนต์นี้แล้ว เราก็จักเป็นผู้ประเสริฐในชมพูทวีปทั้งสิ้น" จึงส่งพราหมณ์เหล่านั้นไป ด้วยคำว่า "พวกท่านจงอยู่ในที่นั้นนั่นแหละสิ้น ๒-๓ วัน ฉันจักบวช" แล้วได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระศาสดา ได้เป็นผู้มีนามว่าวังคีสเถระ.

     ลำดับนั้น พระศาสดาประทานกัมมัฏฐานมีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์แก่เธอแล้ว ตรัสว่า
     "เธอจงสาธยายบริกรรมมนต์."


พระเถระบรรลุพระอรหัต               
พระวังคีสเถระนั้นสาธยายมนต์อยู่ ถูกพวกพราหมณ์ถามในระหว่างๆ ว่า "ท่านเรียนมนต์ได้แล้วหรือยัง?"
    จึงบอกว่า "พวกท่านจงรอก่อน, ฉันกำลังเรียน."
    ต่อกาล ๒-๓ วันเท่านั้นก็ได้บรรลุพระอรหัต ถูกพราหมณ์ทั้งหลายถามอีก
    จึงกล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุ บัดนี้ ฉันไม่ควรเพื่อจะไป."

    พวกภิกษุได้ยินคำนั้นแล้ว จึงกราบทูลแด่พระศาสดาว่า
    "พระเจ้าข้า พระวังคีสเถระนี้ พยากรณ์พระอรหัตผล ด้วยคำไม่จริง."
    พระศาสดาตรัสว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากล่าวอย่างนั้น. ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ บุตรของเราฉลาดในการจุติและปฏิสนธิแล้ว"


     ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
     จุตึ โย เวทิ สตฺตานํ   อุปปตฺติญฺจ สพฺพโส
     อสตฺตํ สุคตํ พุทฺธํ    ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
     ยสฺส คตึ น ชานนฺติ    เทวา คนฺธพฺพมานุสา
     ขีณาสวํ อรหนฺตํ    ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.

     ผู้ใด รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายโดยประการทั้งปวง, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่ข้อง ไปดีรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์. เทพยดา คนธรรพ์และหมู่มนุษย์ ย่อมไม่รู้คติของผู้ใด, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีอาสวะสิ้นแล้วผู้ไกลกิเลสว่า เป็นพราหมณ์.

_______________________________________                                                  
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=36&p=36
ภาพจาก http://i1.ytimg.com/, http://www.ee43.com/http://forums.apinya.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 13, 2013, 11:35:42 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ภาพจาก http://www.konjaiboon.com/


'พระธาตุ' มีลักษณะอย่างไร ปรากฏในพระไตรปิฎกหรือไม่.?

ask1 ถามว่า ลักษณะของพระธาตุเป็นอย่างไร ในพระไตรปิฎกบอกไว้หรือไม่.?
ans1 ตอบว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย(ฉบับหลวง) ไม่ปรากฏ แต่ได้อธิบายไว้ในชั้นอรรถกถาของมหาปรินิพพานสูตร มีข้อความดังนี้

     บทว่า สรีราเนว อวสิสฺสึสุ ความว่า เมื่อก่อนได้ชื่อว่าสรีระ ก็เพราะตั้งอยู่ด้วยโครงร่างอันเดียวกัน บัดนี้ ท่านกล่าวว่าสรีระทั้งหมดกระจัดกระจายไปแล้ว.
     อธิบายว่า พระธาตุทั้งหลายก็เสมือนดอกมะลิตูม เสมือนแก้วมุกดาที่เจียรนัยแล้ว และเสมือนจุณทองคำยังเหลืออยู่.
     จริงอยู่ สรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืนทั้งหลาย ย่อมติดกันเป็นพืดเช่นกับแท่งทองคำ.
     ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานพระธาตุให้กระจายว่า เราอยู่ได้ไม่นานก็จะปรินิพพาน ศาสนาของเรายังไม่แพร่หลายไปในที่ทั้งปวงก่อน เพราะฉะนั้น เมื่อเราแม้ปรินิพพานแล้ว มหาชนถือเอาพระธาตุแม้ขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดทำเจดีย์ในที่อยู่ของตนๆ ปรนนิบัติ จงมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

     ถามว่า พระธาตุอย่างไหนของพระองค์กระจัดกระจาย อย่างไหนไม่กระจัดกระจาย.
     ตอบว่า พระธาตุ ๗ เหล่านี้ คือ
                         - พระเขี้ยวแก้ว ๔
                         - พระรากขวัญ ๒
                         - พระอุณหิส ๑
     ไม่กระจัดกระจาย นอกนั้นกระจัดกระจาย.

     บรรดาพระธาตุเหล่านั้น พระธาตุเล็กๆ ทั้งหมดได้มีขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด.
     พระธาตุใหญ่ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหักกลาง
     พระธาตุขนาดใหญ่ยิ่งมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวหักกลาง.

__________________________________________________
ที่มา มหากสฺสปตฺเถรวตฺถุวณฺณนา อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=5

ans1 ในอรรถกถาพักกุลสูตรได้กล่าวถึง"พระธาตุของพระพักกุลเถระ ที่มีลักษณะดังดอกมะลิตูม" ดังนี้
   "พระเถระดำริว่า แม้เรามีชีวิตอยู่อย่าได้เป็นภาระแก่ภิกษุเหล่าอื่น
    สรีระของเราแม้ปรินิพพานแล้ว อย่าให้ภิกษุสงฆ์ต้องเป็นกังวลเลย
    จึงเข้าเตโชธาตุ ปรินิพพานแล้วเปลวไฟลุกขึ้นท่วมสรีระ
    ผิวหนัง เนื้อและโลหิตถูกเผาไหม้สิ้นไป เหมือนเนยใส.
    ยังคงเหลืออยู่แต่ธาตุ ที่มีลักษณะดังดอกมะลิตูม"

________________________________________________
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=380


ภาพจาก http://www.watdevaraj.com/


ans1 แต่ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า) ได้ระบุไว้ใน"ธาตุภาชนียกถา" ว่าด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เป็นพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก ขอยกมาแสดงดังนี้

     [๖] พระบรมสารีริกธาตุ ๗ อย่าง คือ พระอุณหิส ๑ พระทาฐธาตุทั้ง ๔ และพระรากขวัญ ๒ ข้าง ไม่แตก
พระบรมสารีริกธาตุที่เหลือแตกออกจากกัน
     [๗] พระบรมสารีริกธาตุขนาดใหญ่เท่ากับเมล็ดถั่วเขียว ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก ขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีสีต่าง ๆ กัน
     [๘] พระบรมสารีริกธาตุขนาดใหญ่มีสีเหมือนทองคำ ขนาดกลางมีสีเหมือนแก้วมุกดา และขนาดเล็กมีสีเหมือนดอกมะลิ รวมทั้งหมดมีประมาณ ๑๖ ทะนาน
     [๙] พระบรมสารีริกธาตุเหล่านั้นทุกขนาด คือ ขนาดใหญ่มี ๕ ทะนาน ขนาดกลางมี ๕ ทะนาน ขนาดเล็กมี ๖ ทะนานเท่านั้น
     [๑๐] พระบรมสารีริกธาตุเหล่านี้แม้ทั้งหมด ประดิษฐานอยู่ในที่ต่าง ๆ กัน คือ พระอุณหิสอยู่ที่เกาะสีหล
พระรากขวัญเบื้องซ้ายอยู่ที่พรหมโลก และพระรากขวัญเบื้องขวาอยู่ที่เกาะสีหล

________________________________________________
ที่มา http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd33.htm


ภาพจาก http://www.watthamfad.com/


ask1 ถามว่า แล้วจะเชื่อพระไตรปิฎกเล่มไหนดี.?
ans1 ตอบว่า เรื่องนี้จนด้วยเกล้าครับ ปัญญาไปไม่ถึง แต่ขอยกเอาบาลีใน "พระไตรปิฎก ภาษาบาลี (ฉบับสยามรัฐ) เล่มที่ ๓๓ สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๒๕ ขุทฺทกนิกายสฺส อปทานํ ภาค ๒ พุทฺธวํโส จรยาปิฏกํ" ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่และได้รับการยอมรับมากที่สุด มาแสดงดังนี้

ธาตุภาชนียกถา
[๒๘] มหาโคตโม ชินวโร  กุสินารมฺหิ นิพฺพุโต
ธาตุวิตฺถาริกํ อาสิ  เตสุ เตสุ ปเทสโต ฯ
เอโก อชาตสตฺตุสฺส  เอโก เวสาลิยา ปุเร
เอโก กปิลวตฺถุสฺมึ  เอโก จ อลฺลกปฺปเก ฯ
เอโก จ รามคามมฺหิ เอโก จ เวฏฺฐทีปเก
เอโก ปาเวยฺยเก มลฺเล เอโก จ โกสินารเก ฯ
ตุมฺพสฺส (๑) ถูปํ กาเรสิ  พฺราหฺมโณ โทณสวฺหโย
องฺคารถูปํ กาเรสุํ  โมริยา ตุฏฺฐมานสา ฯ
อฏฺฐ สารีริกา ถูปา  นวโม ตุมฺพเจติโย (๒)
องฺคารถูโป ทสโม  ตทาเยว ปติฏฺฐิโต ฯ (๓)
เอกา ทาฐา ติทสปุเร  เอกา นาคปุเร อหุ
เอกา คนฺธารวิสเย  เอกา กาลิงฺคราชิโน ฯ


จตฺตาฬีสสมา ทนฺตา  เกสา โลมา จ สพฺพโส
เทวา หรึสุ เอเกกํ  จกฺกวาฬปรมฺปรา ฯ
วชิรายํ ภควโต  ปตฺโต ทณฺโฑ จ จีวรํ
นิวาสนํ กุลฆเร (๑)  ปจฺจตฺถรณํ สิลวฺหเย (๒) ฯ
ปาฏลีปุตฺตนคเร  กรกํ กายพนฺธนํ
จมฺปายํ อุทกสาฏกา(๓) อุณฺณโลมญฺจ โกสเล ฯ
กาสาวกํ (๔) พฺรหฺมโลเก เวฐนํ ติทเส ปุเร
[ปาสาณเก (๕) ปทํ เสฏฺฐํ ยถาปิ กจฺฉตํ ปุรํ]
นิสีทนํ อวนฺตีสุ (๖) เทวรฏฺเฐ (๗) อตฺถรณํ ตทา ฯ
อรณิ จ มิถิลายํ วิเทเห (๘) ปริสาวนํ
วาสี สูจิฆรญฺจาปิ  อินฺทปตฺถปุเร (๙) ตทา ฯ
ปริกฺขารา (๑๐) อวเสสา  ชนปทนฺตเก (๑๑) ตทา
ปริภุตฺตานิ มุนินา  มเหสฺสนฺติ มนุชา ตทา ฯ
ธาตุวิตฺถาริกํ อาสิ  โคตมสฺส มเหสิโน
ปาณีนํ อนุกมฺปาย  อหุ โปราณิกํ ตทาติ ฯ


ธาตุภาชนียกถา นิฏฺฐิตา ฯ
พุทฺธวํโส นิฏฺฐิโต ฯ


#๑ ม. ยุ. กุมฺภสฺส ฯ  #๒ ม. ยุ. กุมฺภเจติโย ฯ  #๓ ม. อุณฺหีสํ จตสฺโส ทาฐา ฯเปฯ สพฺพาเปตา ปติฏฺฐิตา ฯ
#๔ ยุ. กุสฆเร ฯ #๕ ม. ยุ. กปิลฺหเย ฯ #๖ ม. จมฺปายุทกสาฏิยํ ฯ ยุ. จมฺปายํ #อุทกสาฏิกา ฯ
#๗ ม. ยุ. กาสาวญฺจ พฺรหฺมโลเก ฯ #๘ ยุ. ปาสาณเก ปทํ เสฏฺฐํ #ยญฺจาปิ อจฺจุติ ปทํ ฯ #๙ ยุ. อวนฺติปุเร ฯ
๑๐ ม. ยุ. รฏฺเฐ ... ฯ #๑๑ ยุ. เวเทหิ ... ฯ ๑๒ ย. อินฺทรฏฺเฐ ฯ
๑๓ ยุ. ปริกฺขารํ อวเสสํ ฯ #๑๔ ม. ยุ. ชนปเท อปรนฺตเก ฯ
___________________________________________________________
ที่มา http://etipitaka.com/compare?utf8=%E2%9C%93&lang1=thai&volume=33&p1=368&lang2=pali&commit=%E2%96%BA#
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 13, 2013, 11:36:05 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 ans1 ans1 ans1

เพื่อนๆครับ ขอให้อ่านบทความทั้งสองกระทู้อย่างระมัดระวัง ทำความเข้าใจให้ดี จะเห็นว่าในอรรถกถาหนึ่งระบุว่า กระดูกของอรหันต์ยังคงรูปเป็นกะโหลก อีกอรรถกถาหนึ่งเห็นต่างออกไป ลองมาดูรายละเอียด

ในอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖ เรื่องพระวังคีสเถระ ตอนหนึ่งกล่าวว่า
    พระศาสดาทรงทราบว่าชนเหล่านั้นมา จึงรับสั่งให้นำ (กะโหลก) ศีรษะมา ๕ ศีรษะ คือ
    "ศีรษะของสัตว์ผู้เกิดในฐานะทั้ง ๔ คือ
     ‘ในนรก ในกำเนิดดิรัจฉาน ในมนุษยโลก ในเทวโลก’ ๔ ศีรษะ
      และ (กะโหลก) ศีรษะของพระขีณาสพ"
รับสั่งให้วางไว้ตามลำดับ

______________________________________
พระขีณาสพ คือ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว, ผู้หมดกิเลส, พระอรหันต์


อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร มหากสฺสปตฺเถรวตฺถุวณฺณนา ตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า
     ถามว่า พระธาตุอย่างไหนของพระองค์กระจัดกระจาย อย่างไหนไม่กระจัดกระจาย.
     ตอบว่า พระธาตุ ๗ เหล่านี้ คือ
                         - พระเขี้ยวแก้ว ๔
                         - พระรากขวัญ ๒
                         - พระอุณหิส ๑
     ไม่กระจัดกระจาย นอกนั้นกระจัดกระจาย.


     บรรดาพระธาตุเหล่านั้น พระธาตุเล็กๆ ทั้งหมดได้มีขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด.
     พระธาตุใหญ่ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหักกลาง
     พระธาตุขนาดใหญ่ยิ่งมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวหักกลาง.

_________________________________
พระเขี้ยวแก้ว คือ ฟันส่วนที่เป็นเขี้ยว
พระรากขวัญ คือ ไหปลาร้า
พระอุณหิส คือ พระอัฐิเบื้องบนพระเศียร



 ans1 ans1 ans1

  เมื่อเปรียบเทียบทั้งสองอรรถกถาจะเห็นว่า มีความเห็นที่แย้งกัน กะโหลกของอรหันต์ตามเรื่องพระวังคีสะเถระ ยังคงรูปร่างไว้ชัดเจน จะเห็นได้จากข้อความในเรื่องนี้ใช้คำว่า "(กะโหลก)ศีรษะของพระขีณาสพ" และไม่ใช้คำว่าพระธาตุ

   แต่ในอรรถกถาของมหาปรินิพพานสูตร ระบุว่า พระธาตุแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งไม่กระจัดกระจาย(เป็นแท่ง) อีกส่วนหนึ่งแตกเป็นชิ้นเล็กๆเหมือนเมล็ดของพืชต่างๆ
   ในอรรถกถานี้ระบุว่า พระอุณหิส(พระอัฐิเบื้องบนพระเศียร) ไม่กระจัดกระจาย(เป็นแท่ง)
   ปรกติกะโหลกคนเรา จะต้องประกอบด้วยกระดูกต่างๆและฟันอยู่ครบถ้วนเป็นแท่งดียวกัน
   แต่อรรถกถานี้ระบุว่า ส่วนที่เป็นแท่งมีเพียงกระดูกบนหัวเท่านั้น
   ซึ่งขัดแย้งกับเรื่องพระวังคีสะเถระในอีกอรรถกถาหนึ่ง


   เราลองมาวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "อุณหิส"
   อุณหิส [อุนนะหิด] น. คือ กรอบหน้า, มงกุฎ. (ป. อุณฺหีส; ส. อุษฺณีษ).
   แต่อรรถกถาจารย์บางท่านบอกว่า พระอุณหิส คือ พระนลาฏ
   นลาฏ คือ [นะลาด] (ราชา) น. หน้าผาก. (ป.; ส. ลลาฏ).
   ทั้งอุณหิสและนลาฏ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของศีรษะ ยังไม่ใช่กะโหลก

    :96: :96: :96:

   เรื่องข้อขัดแย้งนี้ บางท่านฟันธงเลยว่า
   พระธาตุที่เป็นชื้นเล็กๆ ไม่มีหรอก ที่เห็นๆกันอยู่เป็นของปลอม(ของจริงควรเป็นแท่ง เช่น กะโหลก)
   ส่วนตัวผมขอตั้งขอสังเกตว่า พระธาตุของอรหันตสาวก กับพระธาตุของพระพุทธเจ้า อาจมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนกัน ในอรรถกถากล่าวไว้ว่า พระธาตุของพระพุทธเจ้าปรกติจะมีลักษณะเสมือนดังแท่งทองคำ ที่กระจัดกระจายออกไปเป็นส่วนเล็กๆนั้น ก็เนื่องด้วยคำอธิษฐาน(ให้กระจายออกไป)

   พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มี พุทธวิสัยที่ต่างกัน ผมได้อ่านประวัติพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ในพระสูตรแล้ว พบว่า บางพระองค์จะมีสถูปบรรจุพระธาตุเพียงที่เดียว บางพระองค์สถูปจะกระจายออกไป(มีหลายสถูป) เมื่อพิจารณาจากจำนวนสถูปแล้ว น่าจะแสดงว่า บางพระองค์มีพระธาตุเป็นแท่ง บางพระองค์ไม่เป็นแทง(กระจัดกระจายออกไป)


   ถามว่า อรหันตสาวกจะอธิษฐาน ให้พระธาตุมีลักษณะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งได้หรือไม่.?
   ตอบว่า มีความเป็นไปได้ แต่เป็นไปได้แค่ไหนอย่างไรนั้น เรื่องนี้จนปัญญาครับ


   เรื่องนี้คุยกันไม่จบครับ เหนื่อยมาก ปวดหัว มันเป็นอจินไตย คุยมากจะฟั่นเฟือน
   คุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

    :25: :25: :25:
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 13, 2013, 11:36:29 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้เกินวิสัย ของพวกเราที่จะเข้าใจ ครับ เอาเป็นว่า ถ้าเรานับถือพระพุทธรูป ได้ก็นับถือส่วนที่ว่าพระธาตุ นั้นได้ครับ เพราะจิตเราเคารพบูชา พระพุทธเจ้า ครับ มีหลายท่านที่ผมได้พบประสบมา รวมทั้งผมด้วย ได้พระธาตุมาองค์หนึ่งแล้ว จำนวนพระธาตุเพิ่มขึ้น เป็นที่น่าอัศจรรย์แก่ตนเองครับ


 st11 st12 st12 กับเนื้อหาที่นำมาให้อ่าน
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เรื่องนี้เกินวิสัย ครับ เอาเป็นว่า เรานับถือพระพุทธรูป บูชาพระพุทธเจ้า ผมได้พระธาตุมาองค์หนึ่งจำนวนพระธาตุเพิ่มเป็นที่น่าอัศจรรย์แก่ตนเองครับ

                                       



ผมมีลักษณะแบบนี้ ครับ! ได้มาจากวัดสังฆทาน จ.นนทบุรี อยากขอชมจากทุกท่านบ้าง ?



http://board.postjung.com/639268.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 13, 2013, 06:05:48 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ st11 st12
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา