ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประเพณีเดือนยี่เพง-ประเพณยี่เป็ง  (อ่าน 4449 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ประเพณีเดือนยี่เพง-ประเพณยี่เป็ง
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 01:23:13 pm »
0



ประเพณีเดือนยี่เพง-ประเพณยี่เป็ง

            ประเพณีเดือนยี่เพง-ยี่เป็ง    คือ ประเพณีในเทศกาลวันเพ็ญ  เดือน  ๑๒ ซึ่งแต่เดิมนั้นพิธีสำคัญของเทศกาลนี้อยู่ที่พิธีกรรมตั้งธรรมหลวงหรือฟังเทศน์มหาชาติ  ชาว บ้านจะมีการประดับประดาวัดวาอารามบ้านเรือน ด้วยประทีปโคมไฟ โคมระย้า ทำอุบะดอกไม้ไปถวายวัด ทำซุ้มประตูป่าด้วยต้นกล้วย อ้อยก้านมะพร้าว เตรียมข้าวปลาอาหารเป็นพิเศษ เช่น ห่อนึ่ง แกงอ่อม แกงฮังเล ลาบ และขนมต่าง ๆ ไปทำบุญ บางแห่งมีพิธีกวนข้าวมธุปายาสหรือบ้างเรียก ข้าวพระเจ้าหลวง ถวายเป็นพุทธบูชาในตอนเช้ามืดของวันเพ็ญเดือน  ๑๒  นี้ ด้วย จากนั้นก็จะมีการทานขันข้าวหรือสำรับอาหารไปถึงบรรพชนคนตาย ถวายอาหารและกัณฑ์เทศน์แด่พระภิกษุสงฆ์ และมีการฟังธรรมมหาชาติตั้งแต่เช้าถึงกลางคืน บางแห่งก็จะมีการสืบชะตาด้วย   จะมีการปล่อยโคมลอย  เรียกว่า "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ในช่วงพลบค่ำจะมีการเทศน์ธรรมชื่อ  "อานิสงส์ผางประทีส" และชาวบ้านจะมีการจุดประทีสหรือประทีป โคมหูกระต่าย โคมแขวน  เป็นพุทธบูชากันทุกครัวเรือนสว่างไสว

ประวัติวันลอยกระทง

เขียนโดย Alex   

ลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะ พระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท



การ ลอยกระทงตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า "ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่ง บ้าง" ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุดที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคมบนท้องฟ้า พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามมากทีเดียว

วันลอยกระทง เป็นวันเทศกาลสำคัญ วันหนึ่ง ของคนไทย ซึ่งจะมีขึ้นใน วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นช่วงที่อากาศโปร่งใสสบาย และสิ้นสุดฤดูฝนแล้ว นอกจากนี้ ระดับน้ำ ในแม่น้ำ ลำคลอง ทั่วทั้งประเทศ ก็มีระดับสูงด้วย

คำว่า "Loy" ก็คือ "ลอย" และคำว่า "กระทง" นี้ หมายถึง กระทง รูปดอกบัว ทำด้วยใบตอง และในกระทง ส่วนใหญ่ ก็จะใส่ เทียนไข ธูป 3 ดอก ดอกไม้ และ เงินเหรียญ

ความ จริงแล้ว เทศกาลนี้ แต่เดิมเป็น พิธี ทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งประชาชนต้องการแสดง ความขอบคุณต่อเจ้าแม่คงคา ดังนั้น คืนเดือนเพ็ญ ประชาชนจึงจุดเทียนและธูป พร้อมกับ ตั้งจิตอธิษฐาน แล้วจึงลอยกระทง

ใน ลำคลอง แม่น้ำ หรือแม้แต่ สระน้ำเล็กๆ เป็นที่เชื่อกันว่า กระทงนี้ จะพาไปซึ่ง บาปและความโชคร้าย ทั้งมวลออกไป นอกจากนี้ การตั้งจิตอธิษฐาน ก็เพื่อปีใหม่ ที่กำลังจะมาถึง แน่นอนที่สุด ช่วงนี้เป็น เวลาแห่ง ความรื่นเริง และ สนุกสนาน เพราะได้ลอยความเศร้าโศกต่างๆ ออกไปแล้ว

เทศกาล ลอยกระทง จะเริ่มในช่วงเย็น เมื่อพระจันทร์เต็มดวง ประชาชนจาก ทุกสาขาอาชีพ จะนำกระทงของตน ไปยังแม่น้ำ ที่ใกล้ๆ หลังจาก จุดเทียนไข และธูปแล้ว จึงตั้งจิตอธิษฐาน ในสิ่งที่ ตนปรารถนา แล้วจึงค่อยๆ วางกระทงลงในน้ำ แล้วปล่อยให้ กระทงลอยไปจนสุดลูกตา

การประกวด สาวงาม ก็เป็น ส่วนสำคัญของ เทศกาลนี้ เช่นกัน แต่ว่า ในโอกาส เช่นนี้ เราเรียกว่า "ประกวดนางนพมาศ"Aeva Debug: 0.0006 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 15, 2010, 04:55:49 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ประเพณีเดือนยี่เพง-ประเพณยี่เป็ง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 04:57:06 pm »
0
ประเพณี กระทง ลอยฟ้า มีตำนานอย่างไร ก็วานเล่าเป็นธรรมทาน ด้วยนะ

ใครเป็นค้นคิด วิธีการ เพราะอะไร ทำไม ถ้าเป็นไปได้ แจงให้ รู้ก็ดี

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ประเพณีเดือนยี่เพง-ประเพณยี่เป็ง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 06:35:01 am »
0
พระราชพิธีจองเปรียงการลอยพระประทีปลอยโคมลงน้ำ



            แต่เดิมนั้นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จะมีพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม

ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ กระทำเพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม เป็นต้น

ครั้นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินไทยทรงนับถือพระพุทธศาสนาก็ทำพิธี ยกโคม เพื่อบูชา พระบรมสารีริกธาตุ พระ

จุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย


         ประเพณีลอยโคมยี่เป็ง เป็นประเพณีที่เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 15 ครั้งสมัยอาณาจักรหริ

ภุญชัย
เกิดโรคระบาดประชาชนจึงต้องหนีไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว หลังจากโรคระบาดสงบได้สูญเสียญาติพี่น้องไป

เป็นจำนวนมาก จึงทำการลอยโคมเพื่อเป็นการระลึกถึงญาติที่ได้เสียชีวิตลงไป

ในสมัยสุโขทัย เดิมมีความเชื่อกันว่า ประชาชนนิยมจัดประเพณีลอยโคม ถือเป็นประเพณีที่ให้ความสนุกสนาน

ตามแม่น้ำเห็นแสงไฟระยิบระยับอยู่ทั่วไปยามราตรี ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือตำรับทางนพมาศ ได้กล่าว

ว่า "พอถึงพระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือน 12 เป็นวันนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม บรรดาประชาชนชาย

หญิงต่างตกแต่งโคม ชักโคม แขวนโคม ลอยโคมทุกตระกูลทั่วทั้งพระนคร" พระร่วงเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสุโขทัย

ได้เสด็จประพาสตามลำน้ำเพื่อทอดพระเนตรประเพณีดังกล่าว โดยมีอัครมเหสีและพระสนมฝ่ายในตามเสด็จมาก

มาย เมื่อนางนพมาศได้เข้ารับราชการในราชสำนักมียศเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ จึงได้คิดทำกระทงเป็นรูปดอกบัว

เพื่อหวังจะเป็นเครื่องสักการะบูชารอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมทานที ตามที่เชื่อกันมา

พระร่วงเจ้า จึงทรงตรัสว่า "แต่ นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์

วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน"

สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการจัดพระราชพิธี "จองเปรียงลดชุดลอยโคม"

ดังระบุไว้ใน นิราศธารโศก ของ เจ้าฟ้ากุ้ง ว่า...

เดือนสิบสองถ่องแถวโคม       แสงสว่างโพยมโสมนัสสา

เรืองรุ่งกรุงอยุธยา         วันทาแล้วไปเห็น

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พิธีนี้ยังคงนิยมทำกันเป็นการใหญ่ มีหลักฐานปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตน

โกสินทร์ ซึ่ง เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) กล่าวไว้ว่า " ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำ

หนึ่ง พิธีจองเปรียงนั้นเดิมได้โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมากทำ

กระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง เป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10

- 11 ศอก ทำประกวดประชันกันต่าง ๆ กัน ฯ " การทำกระทงใหญ่ในลักษณะดังกล่าวมานี้ น่าจะมีมาตั้งแต่

รัชกาลที่ 1 จนถึง รัชกาลที่ 3 ครั้นมาถึง รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกเสีย และ

โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยพระประทีปแทนกระทงใหญ่ถวายองค์ละลำ เรียกว่า " เรือลอยพระ

ประทีป " ต่อมา รัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นอีก ในปัจจุบันนี้การลอยพระประทีป

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำ เป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย แต่พิธีของชาวบ้านยังทำ

กันอยู่เป็น ประจำ


สรุป

การลอยโคม ของชาวล้านนาทางภาคเหนือ ถือเป็นการบูชาองค์พระธาตุจุฬามณี ที่อยู่บนสรวงสวรรค์ ส่วนการ

ลอยกระทงในน้ำนั้น ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย โดยวัฒนธรรมการลอยกระทง เพื่อบูชา พระแม่คงคา ตามความ

เชื่อของคนไทยภาคกลาง






ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง

•   เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ

•   เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทาน

ที ในประเทศอินเดีย

•   เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ

•   ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุต

ทรงสามารถปราบพระยามารได้







อ้างอิง
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A1
http://www.thongteaw.com/Travel_tour_content_%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%87%20%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%87%20%E0%B8%AD.%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%20%E0%B8%88.%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88.html

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 21, 2010, 05:16:58 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ประเพณีเดือนยี่เพง-ประเพณยี่เป็ง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 06:56:41 am »
0
             
"แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน"



เพ็ยี่เป็ง

     วันเพ็ญเดือนเด่นคล้อย         ลอยโคม
น้ำอิ่มปริ่มชะโลม                     แม่ล้น
ตามประทีปที่โหม                   ลอยฝาก นาแม่
เพียงจิตน้อมถวายต้น            บาทเบื้องพระศาสดา.


                                                         ธรรมธวัช.!



       
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 21, 2010, 04:56:42 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ประเพณีเดือนยี่เพง-ประเพณยี่เป็ง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 06:58:55 am »
0
Yi peng festival











« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 21, 2010, 07:34:54 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา