ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ดร.อัมเบดการ์ (Dr.Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar)  (อ่าน 22469 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ดร.อัมเบดการ์ (Dr.Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar)
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 06:01:27 pm »
0
ดร.อัมเบดการ์ มหาบุรุษผู้นำพุทธศาสนากลับคืนสู่มาตุภูมิ






ความนำ
         
          พุทธศาสนาถือกำเนิดและเคยยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป แต่กลับสูญสลายไปจากดินแดนมาตุภูมิไปเกือบสิ้น

ในภายหลัง จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๙๙ ของไทย) [ในอินเดียเป็นปี ๒๕๐๐ อินเดียนับพุทธ

ศักราชเร็วกว่าไทย ๑ ปี เช่นเดียวกับพม่า และลังกา} ได้มีชาวอินเดียวรรณะต่ำประมาณ ๕ แสนคน ประกาศ

ตนมานับถือพระพุทธศาสนา ด้วยการนำของ ดร. อัมเบดการ์ (Dr. Babasaheb Bhimrao Ramji

Ambedkar) จึงได้มีชาวพุทธเกิดขึ้นในอินเดียอีกครั้ง เรียกว่า กลุ่มชาวพุทธใหม่ (New Buddhist) มีมากที่

สุดในเมืองนาคปูร์ ตอนกลางของอินเดีย จากนั้นก็ได้มีชาวอินเดียวรรณะต่ำได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาอย่าง

ต่อเนื่อง และได้มีการประกาศตนเป็นชาวพุทธอยู่หลายเมือง เช่น เมืองนาคปูร์, เมืองคยา, เมืองเดลี ฯลฯ


          ปัจจุบันมีชาวอินเดียที่หันมานับถือพระ พุทธศาสนาประมาณ ๒๐ ล้านคน ทั้งนี้ ยังไม่ได้นับรวมชาว

พุทธที่อพยพมาจากทิเบตในสมัยที่ถูกจีนรุกราน ซึ่งได้กระจายอยู่ในเมืองต่างๆ ของอินเดีย ผมจึงขอนำข้อมูล

เกี่ยวกับประวัติของ ดร.อัมเบดการ์ บางส่วนที่ปรากฏในหน้าเว็บของวัดดอนสาทรโดยปรับเปลี่ยนบ้างเล็กน้อย

เพื่อ ความเหมาะสม มานำเสนอให้ผู้อ่านได้ทราบถึงการต่อสู้ของท่าน


ประวัติของ ดร. อัมเบดการ์
         
          ดร. อัมเบดการ์ เกิดในวรรณะจัณฑาลที่ยากจนที่สุดตระกูลหนึ่งของอินเดีย ในเมืองนาคปูร์ รัฐมหา

ราษฏร์ ทางตอนกลางของอินเดีย เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๓๔ ท่านเกิดในหมู่บ้านคนอธิศูทร (คนวรรณะ

จัณฑาลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น หริจันทร์, จัณฑาล, อธิศูทร, ในที่นี้จะใช้คำว่า อธิศูทร) ชื่อว่า อัมพาวดี เป็น

บุตรชายคนสุดท้อง คนที่ ๑๔ ของ รามจิ สักปาล และนางพิมมาไบ สักปาล


          ก่อนที่ดร.อัมเบดการ์จะเกิดนั้น มีเรื่องเล่าว่า ลุงของพ่อของท่าน ซึ่งไปบวชเป็นสันยาสี(ผู้ถือสันโดษ

ตามแนวคิดเรื่องอาศรม ๔ ของฮินดู พรหมจรรย์ คฤหัสถ์ วนปรัส สันยาสี) อาศัยอยู่ตามป่าเขา ได้มา

พำนักในแถบละแวกบ้าน. รามจิได้ทราบจากญาติคนหนึ่งว่าหลวงลุงของตนมาพำนักอยู่ใกล้ๆ จึงไปนิมนต์ให้มา

รับอาหารที่บ้าน นักบวชสันยาสีนั้นปฏิเสธ แต่ได้ให้พรแก่รามจิว่า "ขอให้มีบุตรชาย และบุตรชายของเธอจงมีชื่อ

เสียง เกียรติ ในอนาคต ได้จารึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ชาติอินเดีย" ซึ่งพรนั้นก็มาสำเร็จสมปรารถนาในเวลาต่อ

มา เมื่อวันที่ ดร.อัมเบดการ์เกิดนั้นเอง บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้ว่า "พิม"


          แม้จะเกิดมาในครอบครัวอธิศูทรที่ยากจน แต่บิดาก็พยายามส่งเสียจนเด็กชายพิม สามารถเรียนจนจบ

ประถม ๖ ได้ เมื่อจบแล้ว บิดาก็ไม่ได้หยุดที่จะให้บุตรได้รับความรู้ พยายามอดมื้อกินมื้อ เงินที่ได้รับจากการ

รับจ้างแบกหามก็เอามาส่งเสียเป็นค่าเล่าเรียนให้กับเด็ก ชายพิม จนกระทั่งสามารถส่งให้เรียนจนจบมัธยมได้

สำเร็จ แต่ในระหว่างการเรียนนั้น พิมจะต้องเผชิญหน้ากับความดูหมิ่นเหยียดหยามของทั้งครู-อาจารย์ และนัก

เรียนซึ่งเป็นคนในวรรณะสูงกว่า


          เรื่องบางเรื่องที่กลายเป็น ความช้ำใจในความทรงจำของพิม เช่นว่า เมื่อท่านเข้าไปในห้องเรียน ทั้งครู

และเพื่อนร่วมชั้นต่างก็แสดงอาการขยะแขยง รังเกียจ ในความเป็นคนวรรณะต่ำของท่าน ท่านไม่ได้รับ

อนุญาตแม้แต่การที่จะไปนั่งบนเก้าอี้ในห้องเรียน ท่านต้องเลือกเอาที่มุมห้อง แล้วปูกระสอบ นั่งเรียนอยู่อย่าง

นั้น แม้แต่เวลาจะส่งงานต่ออาจารย์ อาจารย์ก็มีทีท่ารังเกียจ ไม่อยากจะรับสมุดของท่าน เวลาที่เขาถูกสั่งให้มา

ทำแบบทดสอบหน้าชั้นเรียน นักเรียนในห้องที่เอาปิ่นโต ห่ออาหารที่นำมากินที่โรงเรียน วางไว้บนกระดานดำ จะ

เร่งกรูกันไปเอามาไว้ก่อน เพราะกลัวว่าความเป็นเสนียดของพิมจะไปติดห่ออาหารของพวกเขาที่วางอยู่บน

กระดานดำ แม้แต่เวลาที่ท่านจะไปดื่มน้ำที่ทางโรงเรียนจัดไว้ ท่านก็ถูกห้ามอย่างเด็ดขาดที่จะไปจับต้องแท็งก์น้ำ

หรือแก้วที่วางอยู่ เพราะทุกคนรังเกียจว่าเสนียดของท่านจะไปติดที่แก้วน้ำ ท่านต้องขอร้องเพื่อนๆ ที่พอมีความ

เมตตาอยู่บ้าง ให้ตักน้ำแล้วให้พิมคอยแหงนหน้า อ้าปาก ให้เพื่อนเทน้ำลงในปากของพิม เพื่อป้องกันเสนียดใน

ความเป็นคนต่างวรรณะของท่าน ซึ่งเป็นความน่าเจ็บช้ำใจยิ่งนัก


          อย่างไรก็ตาม ในโลกนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ยักษ์มาร ครูคนหนึ่งซึ่งเป็นวรรณะพราหมณ์ แต่เป็นผู้มีเมตตา

ผิดกับคนในวรรณะเดียวกัน บางครั้งครูท่านนี้ก็จะแบ่งอาหาร ของตนให้กับพิม แต่เขาก็แสดงออกมากไม่

ได้ เพราะอาจจะถูกคนในวรรณะเดียวกันเกลียดชังไปด้วย ครูท่านนี้คิดว่า เหตุที่พิมถูกรังเกียจ เพราะความที่นาม

สกุลของท่านบ่งชัดความเป็นอธิศูทร คือนามสกุล "สักปาล" ครูท่านนั้นได้เอานามสกุลของตน เปลี่ยนให้กับพิม

โดยแก้ที่ทะเบียนโรงเรียน ให้เขาใช้นามสกุลว่า "อัมเบดการ์" พิมจึงได้ใช้นามสกุลใหม่นั้นเป็นต้นมา


          หลังจากอดทนต่อความยากลำบาก การถูกรังเกียจจากคนรอบข้าง ที่รู้ว่าท่านเป็นคนอธิศูทรแล้ว ท่านก็

ได้สำเร็จการศึกษาจบมัธยม ๖ ซึ่งนับว่าสูงมาก สำหรับคนวรรณะอย่างพิม แต่มาถึงขั้นนี้ พ่อของท่านก็ไม่

สามารถที่จะส่งเสียให้เรียนต่อไปได้อีกจนจบปริญญาตรี เคราะห์ดีที่ในขณะนั้น มหาราชาแห่งเมืองบาโรดา ซึ่ง

เป็นมหาราชาผู้มีเมตตา พระองค์ไม่มีความรังเกียจในคนต่างวรรณะ ปรารถนาจะยกระดับการศึกษาแม้คนระดับ

อธิศูทร พระองค์ได้ทรงพระราชทานเงินทุนในการศึกษาต่อของพิม โดยให้เป็นเงินทุนเดือนละ ๒๔ รูปี ทำให้พิม

สามารถเรียนจบปริญญาตรีได้


เรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กลับมาสอนในวิทยาลัยซิดนาห์ม
         
          ต่อมา มหาราชาแห่งบาโรดาได้ทรงคัดเลือกนักศึกษาอินเดีย เพื่อจะทรงส่งให้ไปเรียนต่อที่

มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพิมได้รับการคัดเลือกด้วย ท่านได้พบกับสิ่งที่เรียกว่า

อิสรภาพ และความเสมอภาค เพราะที่อเมริกานั้นไม่มีคนแสดงอาการรังเกียจท่านในความเป็นคนอธิศูทร เหมือน

อย่างในประเทศอินเดีย หลังจากจบการศึกษาถึงขั้นปริญญาเอกแล้ว ท่านจึงมีชื่อเรียกว่า ดร. พิม อัมเบดการ์

และได้เดินทางกลับมายังอินเดีย


          ดร.อัมเบดการ์ ได้ทำงานในหลายๆ เรื่อง หลังจากจบการศึกษาที่อเมริกาแล้ว ท่านได้เป็นอาจารย์

สอนในวิทยาลัยซิดนาห์ม เมืองบอมเบย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ต่อมาได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้าชายแห่งเมืองโครัก

ขปูร์ ซึ่งเป็นผู้มีพระทัยเมตตาเช่นเดียวกับมหาราชาแห่งบาโรด้า ซึ่งปรารถนาที่จะถอนรากถอนโคนความ

อยุติธรรม ที่สังคมฮินดู กีดกันคนในวรรณะอื่นๆ ได้ทรงอุปถัมภ์ให้คนอธิศูทร มารับราชการในเมืองโครักขปุร์ แม้

นายควาญช้าง พระองค์ก็เลือกจากคนอธิศูทร. เจ้าชายแห่งโครักขปุร์ ได้ทรงอุปถัมภ์ในการจัดทำหนังสือพิมพ์

"ผู้นำคนใบ้" ของ ดร.อัมเบดการ์ เช่นอุปถัมภ์ค่ากระดาษพิมพ์ และอื่นๆ ซึ่ง ดร.อัมเบดการ์ไม่ได้เป็น

บรรณาธิการเอง แต่อยู่เบื้องหลัง และเขียนบทความลงตีพิมพ์


          ในบทความชิ้นหนึ่งมีถ้อยคำที่น่าสนใจว่า "อินเดียเป็นดินแดนแห่งความเหลื่อมล้ำต่ำสูง สังคมฮินดู

นั้นช่างสูงส่งประดุจหอคอยอันสูงตระหง่าน มีหลายชั้นหลายตอน แต่ไม่มีบันไดหรือช่องทาง ที่จะเข้าไปสู่

หอคอยอันนั้นได้ คนที่อยู่ในหอคอยนั้นไม่มีโอกาสที่จะลงมาได้ และจะติดต่อกับคนในหอคอยเดียวกันในอีกชั้น

หนึ่งก็ทำไม่ได้ ใครเกิดในชั้นใดก็ตายในชั้นนั้น"


          ท่านได้กล่าวถึงว่า สังคมฮินดูมีส่วนประกอบอยู่สามประการ คือ พราหมณ์, มิใช่พราหมณ์, และอธิ

ศูทร. พราหมณ์ผู้สอนศาสนามักกล่าวว่า พระเจ้ามีอยู่ในทุกหนแห่ง ถ้าเช่นนั้น พระเจ้าก็ต้องมีอยู่ในอธิศูทร แต่

พราหมณ์กลับรังเกียจคนอธิศูทร เห็นเป็นตัวราคี นั่นแสดงว่าท่านกำลังเห็น พระเจ้าเป็นตัวราคีใช่หรือไม่


          ดร.อัมเบดการ์ มีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวหลายๆ อย่างในอินเดียขณะนั้น ท่านเป็นอธิศูทรคนแรก

ที่ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของอินเดีย หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราช เป็นผู้ร่วมร่างรัฐ

ธรรมนูญของอินเดีย ท่านเป็นผู้ที่ชี้แจงต่อที่ประชุมในโลกสภา โดยการอนุมัติของ ดร.ราเชนทรประสาท ให้ชี้

แจงอธิบายต่อผู้ซักถาม ถึงบางข้อบางประเด็นในรัฐธรรมนูญ หนังสือพิมพ์บางฉบับลงเหตุการ์ตอนนี้ว่า "ด.ร.อัม

เบดการ์ ทำหน้าที่ชี้แจงอธิบาย เรื่องร่างรัฐธรรมนูญต่อผู้ร่วมประชุม ประดุจพระอุบาลีเถรเจ้า วิสัชชนาข้อวินัย

บัญญัติ ในที่ประชุมปฐมสังคายนา ต่อพระสงฆ์ ๕๐๐ มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ฉะนั้น" และท่านเป็นผู้ต่อสู้

เพื่อทำลาย ความอยุติธรรมที่คนในชาติเดียวกันหยิบยื่นให้กับคนในชาติเดียวกัน แต่ต่างวรรณะกันเท่านั้น


ดร.อัมเบดการ์ กับการพบรัก และการประกาศตนเป็นชาวพุทธ
         
          ดร.อัมเบดการ์ ได้พบรักกับแพทย์หญิงในวรรณะพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อว่า ชาดา คาไบ ในโรงพยาบาล

ที่เขาไปรับการรักษาอาการป่วย และเป็นครั้งแรกที่คนในวรรณะต่ำเช่นท่านได้แต่งงานกับคนในวรรณะสูง คือ

วรรณะพราหมณ์ และมีคนใหญ่คนโต นักการเมือง พ่อค้า คนในวรรณะต่างๆ มาร่วมงานแต่งงานของท่านมาก

มาย.หลังจากนั้น ดร.อัมเบดการ์ ได้ลงจากเก้าอี้ทางการเมือง ท่านถือว่าท่านไม่ได้ชื่นชอบกับตำแหน่งทางการ

เมืองอะไรนัก ที่ท่านเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ก็เพราะท่านต้องการทำงานเพื่อเรียกร้องความถูกต้องให้แก่

คนที่อยู่ในวรรณะ ต่ำที่ได้รับการข่มเหงรังแกเท่านั้น


          เหตุการณ์สำคัญประการหนึ่ง ที่ ดร.อัมเบดการ์ได้กระทำ และเป็นสิ่งซึ่งมีคุณูปการมากต่อพระพุทธ

ศาสนาในประเทศอินเดียคือ การเป็นผู้นำชาวพุทธศูทรกว่า ๕ แสนคน ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ซึ่ง ดร.อัม

เบดการ์สนใจพระพุทธศาสนามานานแล้ว โดยเฉพาะจากการได้อ่านหนังสือพระประวัติของพระพุทธเจ้า ซึ่งเขียน

โดยพระธัมมานันทะ โกสัมพี ชื่อว่า "ภควาน บุดดา"(พระผู้มีพระภาคเจ้า) ท่านได้ศึกษาแล้วว่า พระพุทธศาสนา

เป็นศาสนาที่ไม่มีข้อรังเกียจในเรื่องวรรณะ ไม่ปิดกั้นการศึกษาพระธรรม ให้ความเสมอภาค และภราดรภาพ แก่

คนทุกชั้น ในจิตใจของ ดร.อัมเบดการ์ เป็นชาวพุทธอยู่ก่อนแล้ว แต่ท่านตั้งใจจะทำให้เป็นรูปเป็นร่างยิ่งขึ้นก็คือ

การปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธพร้อมกับพี่น้องชาวอธิศูทร ในงานฉลองพุทธชยันติ (Buddhajayanti)


          ดร.อัมเบดการ์ ได้กล่าวสดุดีพระพุทธศาสนา โดยเขียนหนังสือเผยแผ่พระพุทธธรรมหลายเล่ม เช่น

"พุทธธรรม" (Buddha and His Dhamma) "ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา" (The Essential of

Buddhism) และคำปาฐกถาอื่นๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์ภายหลัง เช่น "การที่พระพุทธศาสนาหมดไปจากอินเดีย"

(The down fall of Buddhism in india) เป็นต้น


          ก่อนหน้าที่จะมีงานฉลองพุทธชยันตี เป็นที่ทราบกันดีว่า อินเดียในขณะนั้น มีชาวพุทธอยู่แทบจะเรียก

ได้ว่าเป็น อัพโภหาริก คือน้อยจนเรียกไม่ได้ว่ามี แต่เหตุใดจึงมีงานฉลองนี้ขึ้น คำตอบนี้น่าจะอยู่ที่ ท่าน

ยวาห์ ราล เนรูห์ ซึ่งได้กล่าวคำปราศรัยไว้ในที่ประชุมโลกสภา (รัฐสภาของอินเดีย) เรื่องการจัดงานฉลองพุทธ

ชยันตี ว่า "พระพุทธเจ้า เป็นบุตรที่ปราดเปรื่องยิ่งใหญ่และรอบรู้ที่สุดของอินเดีย ในโลกนี้ซึ่งเต็มไปด้วยความ

วุ่นวาย เคียดแค้น และรุนแรง คำสอนของพระพุทธเจ้าส่องแสงเหมือนดวงอาทิตย์ที่รุ่งโรจน์ ไม่มีคนอินเดียคนใด

ที่จะนำเกียรติยศ เกียรติภูมิ กลับมาสู่อินเดียได้เท่ากับพระพุทธองค์ หากเราไม่จัดงานฉลองท่านผู้นี้แล้ว เราจะ

ไปฉลองวันสำคัญของใคร"


          ในงานฉลองพุทธชยันตินั้น รัฐบาลอินเดียได้จัดสรรงบประมาณการจัดงาน ฉลองตลอด ๑ ปีเต็ม

โดยวนเวียนฉลองกันไปตามรัฐต่างๆ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ อย่างเช่น ทำการตัดถนนเข้าสู่พุทธสังเวชนีย

สถานต่างๆให้ดีขึ้น สร้างธรรมศาลา อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาร่วมงานพุทธชยันตีจากประเทศต่างๆ จัดพิมพ์

หนังสือสดุดีพระพุทธศาสนา จัดทำหนังสือวิชาการพระพุทธศาสนา โดยนักปราชญ์หลายท่านเขียนขึ้น

ประธานาธิบดีราธกฤษนัน เขียนคำนำสดุดีพุทธคุณ ให้ชื่อว่า "2500 years of Buddhism" (๒๕๐๐ ปีแห่ง

พระพุทธศาสนา) ทั่วทั้งอินเดีย ก้องไปด้วยเสียง พุทธัง สรณัง คัจฉามิ


นำการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
         
          ส่วนในการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ นั้น ดร.อัมเบดการ์ได้นำชาววรรณะศูทร ปฏิญาณตนเป็น

พุทธมามกะที่เมืองนาคปูร์ สาเหตุที่ท่านเลือกเมืองนี้แทนที่จะเป็นเมืองใหญ่ๆ อย่าง บอมเบย์ หรือเดลี ท่านได้ให้

เหตุผลว่า "ผู้ที่ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตอนแรกๆ นอกจากพระสงฆ์คือพวกชนเผ่านาค ซึ่งถูกพวกอารยัน

กดขี่ข่มเหง ต่อมาพวกนาคได้พบกับพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมจนพวกนาคเหล่านั้นเลื่อมใส

ปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธและเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่ว เมืองนาคปูร์นี้ เป็นเมืองที่พวกนาคตั้งหลักแหล่งอยู่"

(คำกล่าวของท่านอัมเบดการ์มีมูลอยุ่ไม่น้อย และจะว่าไปแล้ว หลังจากพระพุทธศาสนาเริ่มถูกทำลายจาก

อินเดีย เมืองนาคปูร์เป็นเมืองที่มีชาวพุทธอาศัยอยู่มาก และเป็นเมืองที่มีชนชั้นศูทร หรือคนวรรณะต่ำอยู่มาก

อีกด้วย ดังนั้นศูนย์กลางพุทธศาสนิกชนในอินเดียปัจจุบันที่เป็นคนวรรณะศูทร จึงอยู่ที่นาคปูร์)


          ในการปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ ๕ แสนคน เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ (๒๔๙๙ของไทย)นั้น

มีพระภิกษุอยู่ในพิธี ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย ๓ รูป คือ พระสังฆรัตนเถระ (Ven. M.

Sangharatana Thera) พระสัทธราติสสะเถระ (Ven. S. Saddratissa Thera) และพระปัญญานันทะ

เถระ (Ven. Pannanand Thera) ในพิธีมีการประดับธงธรรมจักรและสายรุ้งอย่างงดงาม ในพิธีนั้น ผู้ปฏิญาณ

ตนได้กล่าวคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ และ คำปฏิญญาน ๒๒ ข้อ ของ ดร.อัมเบดการ์ ดังนี้


๑. ข้าพเจ้าจะไม่บูชาพระพรหม พระศิวะ พระวิษณุต่อไป

๒. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่าพระราม พระกฤษณะ เป็นพระเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่เคารพต่อไป

๓. ข้าพเจ้าจะไม่เคารพบูชาเทวดาทั้งหลายของศาสนาฮินดูต่อไป

๔. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อลัทธิอวตารต่อไป

๕. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าคืออวตารของพระวิษณุ การเชื่อเช่นนั้น คือคนบ้า

๖. ข้าพเจ้าจะไม่ทำพิธีสารท และบิณฑบาตแบบฮินดูต่อไป

๗. ข้าพเจ้าจะไม่ทำสิ่งที่ขัดต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า

๘. ข้าพเจ้าจะไม่เชิญพราหมณ์มาทำพิธีทุกอย่างไป

๙. ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้มีศักดิ์ศรีและฐานะเสมอกัน

๑๐. ข้าพเจ้าจะต่อสู้เพื่อความมีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน

๑๑. ข้าพเจ้าจะปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ โดยครบถ้วน

๑๒. ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ โดยครบถ้วน

๑๓. ข้าพเจ้าจะแผ่เมตตาแก่มนุษย์และสัตว์ทุกจำพวก

๑๔. ข้าพเจ้าจะไม่ลักขโมยคนอื่น

๑๕. ข้าพเจ้าจะไม่ประพฤติผิดในกาม

๑๖. ข้าพเจ้าจะไม่พูดปด

๑๗. ข้าพเจ้าจะไม่ดื่มสุรา

๑๘. ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญตนในทาน ศีล ภาวนา

๑๙. ข้าพเจ้าจะเลิกนับถือศาสนาฮินดู ที่ทำให้สังคมเลวทราม แบ่งชั้นวรรณะ

๒๐.ข้าพเจ้าเชื่อว่าพุทธศาสนาเท่านั้นที่เป็นศาสนาที่แท้จริง

๒๑. ข้าพเจ้าเชื่อว่าการที่ข้าพเจ้าหันมานับถือพระพุทธศาสนานั้นเป็นการเกิดใหม่ที่แท้จริง

๒๒. ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตนตามคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด


          หลังจากปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะแล้ว ท่านกล่าวว่า "ข้าพเจ้าเกิดมาจากตระกูลที่นับถือศาสนาฮินดู

แต่ข้าพเจ้าจะขอตายในฐานะพุทธศาสนิกชน"


          คำปราศรัยในที่ประชุมปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ของ ดร.อัมเบดการ์ นั้น เป็นการแสดงถึงความ

เข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ต่อมาได้มีผู้พิมพ์คำปราศรัยนี้ลงเป็นหนังสือ เป็นคำปราศรัยที่ยาว

ถึง ๑๒๖ หน้า ขนาด ๘ หน้ายก มีตอนหนึ่งที่ควรกล่าวถึง เช่น "พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

มาจากตระกูลต่างๆ กัน ย่อมมีความเสมอกันเมื่อมาสู่ธรรมวินัยนี้แล้ว เหมือนมหาสมุทร ย่อมเป็นที่รวมของน้ำที่

ไหลมาจากแม่น้ำและทะเลต่างๆ เมื่อมาสู่มหาสมุทรแล้ว ก็ไม่สามารถจะแยกได้ว่าน้ำส่วนไหนมาจากที่ใด"


          "พระพุทธศาสนาเท่านั้นที่ปฏิเสธระบบวรรณะ และคนบางคนไม่มีเหตุผลจะโจมตีพระพุทธศาสนา

หรือไม่มีเหตุผลมาหักล้างคำสอนได้ ก็อ้างเอาอย่างหน้าด้านๆ ว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของพวกนอกวรรณะ"

"ถ้าหากจะมีพระนามใด ที่โจษขานกันนอกประเทศอินเดียที่โด่งดัง และกล่าวกันด้วยความเคารพสักการะแล้ว จะ

มิใช่พระนามของพระราม หรือพระกฤษณะ แต่จะเป็นพระนามของพระพุทธเจ้า เท่านั้น "


          เมื่อนักหนังสือพิมพ์ถามถึงเหตุผลในการนับถือพระพุทธศาสนา ท่านกล่าวว่า "เพราะการกระทำอัน

ป่าเถื่อนของชาวฮินดูที่มีต่อคนวรรณอธิศูทรเช่นเรามา นานกว่า ๒๐๐๐ ปี" พร้อมกันนั้นท่านกล่าวต่อว่า "พอเรา

เกิดมาก็ถูกตราหน้าว่าเป็นวรรณะอธิศูทร ซึ่งมีค่าต่ำกว่าสุนัข อะไรจะดีเท่ากับการผละออกจากลัทธิป่าเถื่อน ปลีก

ตัวออกจากมุมมืดมาหามุมสว่าง พุทธศาสนาได้อำนวยสุขให้ทุกคนโดยไม่เลือกหน้า โดยไม่เลือกว่าเป็นวรรณะ

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ความจริงข้าพเจ้าต้องการ เปลี่ยนศาสนาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ แต่เหตุการณ์ยังไม่

อำนวย ข้าพเจ้าขอกล่าวว่าระบบวรรณะควรจะสูญไปจากอินเดียเสียที แต่ตราบใดที่ยังมีผู้นับถือพระเวทอยู่ ระบบ

นี้ก็ยังคงอยู่ กับอินเดียตลอดไป อินเดียก็จะได้รับความระทมทุกข์ ความเสื่อมโทรมตลอดไปเช่นกัน พวก

พราหมณ์พากันจงเกลียดจงชังพระพุทธศาสนา แต่หารู้ไม่ว่าพระสงฆ์ในพุทธกาล ๙๐ % เป็นคนมาจากวรรณะ

พราหมณ์ทั้งสิ้น ข้าพเจ้าอยากจะถามพวกพราหมณ์ในปัจจุบันว่าเกิดอะไรขึ้น กับพวกเขาหรือ"


          เป็นที่น่าเสียดายว่า หลังจากพิธีปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธได้ ๓ เดือน ดร.อัมเบดการ์ ก็ได้ถึงแก่กรรม

ลง ด้วยโรคร้าย ในวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ (ในอินเดียเป็นปี ๒๕๐๐ อินเดียนับพุทธศักราชเร็วกว่า

ไทย ๑ ปี เช่นเดียวกับพม่า และลังกา) สร้างความยุ่งเหยิงให้กับชาวศูทรมากมาย เพราะยังไม่ทันพาพวกเขาไป

ถึงจุดหมาย ท่านก็มาด่วนถึงแก่กรรมไปเสียก่อน เหมือนเรือที่ขาดหางเสือ


ดร.อัมเบดการ์ ถึงแก่กรรม
         
          เมื่อ ดร.อัมเบดการ์ ถึงแก่กรรมนั้น มีหลายท่านแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง เมื่อข่าวการมรณะกรรม

ของท่านแพร่สะพัดออกไป มีทั้งรัฐมนตรี นักการเมือง เดินทางมาเคารพศพและแสดงความเสียใจแก่ภรรยาของ

ดร.อัมเบดการ์ นายกรัฐมนตรีเนรูห์ได้กล่าวอย่างเศร้าสลดว่า "เพชรของรัฐบาลหมดไปเสียแล้ว" ในวันต่อมา

นายกรัฐมนตรีเนรูห์ได้กล่าวไว้อาลัย ดร.อัมเบดการ์ และสดุดีความดีของท่านอย่างมากมาย ตอนหนึ่งท่านได้

กล่าวว่า "ชื่อของอัมเบ็ดการ์ จะต้องถูกจดจำต่อไปอีกชั่วกาลนาน โดยเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อลบล้าง

ความอยุติธรรมในสังคมฮินดู อัมเบดการ์ต่อสู้กับสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องต่อสู้ อัมเบดการ์ได้เป็นคน

ปลุกให้สังคมของฮินดูได้ตื่นจากความหลับ". นอกจากนี้ยังได้ให้มีการหยุดประชุมโลกสภา เพื่อไว้อาลัยแด่

ดร. อัมเบดการ์ ด้วย


          หลังจากนั้น ได้มีคนสำคัญต่างๆ และผู้ทราบข่าวการมรณกรรมของ ดร.อัมเบดการ์มากมาย ได้ส่ง

โทรเลขไปแสดงความเสียใจต่อภรรยาของ ดร.อัมเบดการ์ มุขมนตรีของบอมเบย์ คือนาย ชะวาน ถึงกับประกาศ

ให้วันเกิดของ ดร.อัมเบดการ์ เป็นวันหยุดราชการของรัฐ เพื่อเป็นเกียรติแก่ดวงวิญญาณของ ดร.อัมเบดการ์


          ภรรยาของท่านต้องการจะนำศพของดร.อัมเบดการ์ ไปทำพิธียังบอมเบย์ รัฐบาลก็ได้จัดเที่ยวบินพิเศษ

ให้ เมื่อเครื่องบินนำศพมาถึงบอมเบย์ ประชาชนหลายหมื่นคนได้มารอรับศพของ ดร.อัมเบดการ์ หลายคน

ที่ไม่สามารถอดกลั้นความเศร้าไว้ได้ต่างก็ร้องไห้ไปตามๆ กัน


ท้ายเรื่อง
         
          ดร.อัม เบดการ์ ผู้เกิดมาจากสังคมอันต่ำต้อย ต่อสู้เพื่อตัวเอง เพื่อสังคม และเพื่อประเทศชาติอันเป็น

ส่วนรวม ตั้งแต่เกิดจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต บัดนี้ท่านได้จากไปแล้ว ทิ้งแต่ความดีเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้จดจำ

และสรรเสริญ. ชาวพุทธในอินเดียเชื่อว่า วิญญาณของ ดร.อัมเบดการ์คงยังไม่ไปไหน จะคงอยู่กับพวกเขา คอย

ช่วยพวกเขา เพราะ ดร.อัมเบดการ์ไม่เคยทิ้งคนจน ไม่เคยลืมคนยาก ช่วยเหลือพวกเขาอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น

ต่อท้ายจากบทสวดสังฆรัตนะ พวกเขาจึงอ้างเอา ดร.อัมเบดการ์ เป็นสรณะด้วย โดยสวดว่า


พิมพัง (ขื่อเดิมของ ดร.อัมเบดการ์) สรณัง คัจฉามิ อยู่จนทุกวันนี้.

(หมายเหตุ: "พิมพัง" เป็นขื่อเดิมของ ดร.อัมเบดการ์)






อ้างอิงที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=inthedark&month=31-07-2007&group=22&gblog=15
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2010, 01:44:16 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อนาคาริก ธรรมปาละ (Anagarika Dhammapala)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 10:24:34 pm »
0
อนาคาริก ธรรมปาละ รัตนบุรุษผู้นิวัติพุทธธรรมสู่มาตุภูมิ






ตอนที่ 1

บทนำ

          อนาคาริก ธรรมปาละ (Anagarika Dhammapala) ; เกิด17 กันยายน พ.ศ. 2407 มรณภาพ

29 เมษายน พ.ศ. 2476 ) เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้ง

สมาคมมหาโพธิ์ และเป็นผู้เรียกร้องเอาพุทธสถานในอินเดียกลับคืนมาเป็นของชาวพุทธ

          ท่านเกิดในครอบครัวผู้มั่งคั่ง บิดาชื่อว่า เดวิด เหววิตรเน เมื่อได้อ่านหนังสือเรื่องประทีปแห่งเอเชียของ

ท่านเซอร์ เอ็ดวิล อาร์โนล ก็เกิดความซาบซึ้ง มีความคิดอยากอุทิศชีวิตถวายต่อพระพุทธองค์ในการฟื้นฟูพุทธ

ศาสนาที่อินเดีย จึงออกเดินทางสู่อินเดีย เมื่อได้เห็นเจดีย์พุทธคยาที่ชำรุดทรุดโทรมถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความ

ครอบครองของพวกมหันต์ จึงเกิดความสังเวชใจ ที่ได้พบเห็นเช่นนั้น จึงทำการอธิษฐานต่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่า

จะถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนา ในอินเดียและนำพุทธคยากลับคืนมาเป็นสมบัติของชาวพุทธทั่ว

โลกให้ได้

เนื้อหา:

1. ผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์

2. ปัจฉิมวัย

3. ประวัติ

4. พันเอก เฮนรี่ สตีล โอลคอตต์

5. ตำนานแห่งพระมหาเจดีย์พุทธคยา และพราหมณ์มหันต์

6. มูลเหตุในการก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์

7. ออกบรรพชา

8. บั้นปลายชีวิต อุปสมบทเป็นภิกษุ

9. ผลงาน

10. บทสรุป


1. ผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์

          จากนั้นจึงเดินทางกลับลังกาและก่อตั้ง สมาคมมหาโพธิ์ ขึ้นที่โคลัมโบ หลังจากนั้นท่านก็ได้ส่งสมณทูต

มาที่พุทธคยา แต่ธรรมทูตทั้ง 4 กลับถูกมหันต์ที่ยึดครองพุทธคยา รังแกจนบางรูปบาดเจ็บและบาง

ท่านมรณภาพ ท่านต้องเดินทางกลับอินเดียอีก แล้วรณรงค์เพื่อให้พุทธคยากลับเป็นของชาวพุทธเช่นเดิม ท่าน

เดินทางไปพุทธคยาและก็โดนมหันต์ห้ามเข้าพุทธคยา แต่ท่านดื้อแพ่งจนที่สุดถูกทำร้ายจนเรื่องขึ้นศาล สุดท้าย

ศาลชั้นต้นชี้ขาดให้ชาวพุทธชนะ แต่มหันต์ไม่ยอมจึงฟ้องฎีกา ศาลฎีกา กลับให้มหันต์ชนะ จึง'ทำให้มหันต์ยึดคืน

อีกครั้งหนึ่ง

          ดังนั้นท่านและพระสงฆ์จึงโดนขับออกจากพุทธคยา แม้ว่าจะแพ้แต่ท่านก็ไม่ยอมแพ้ ยังรณรงค์แจก

จ่ายบรรยายเขียนหนังสือแจกจ่ายให้ชาวอินเดียทั่วไปอ่าน ทำให้ชาวอินเดียคนสำคัญ ทั้งคานธี ราธกฤษณัน

(อดีตประธานาธิบดีคนแรกของอินเดีย) ท่านรพินทรนาถ ฐากูร เห็นใจแล้วกล่าวสนับสนุนท่านธรรมปาละ ทำให้

พวกมหันต์เสียงอ่อนลง ต่อมาท่านเดินทางไปสหรัฐอเมริกา เพื่อรณรงค์และบรรยายธรรมและทำให้นางแมรี่ อี

ฟอสเตอร์ที่ฮาวายเลื่อมใส ศรัทธา และได้ยอมตนเป็นพุทธมามกะ และบริจาคหนึ่งล้านรูปีแก่ท่านธรรมปาละ ต่อ

มาท่านธรรมปาละได้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ขึ้นหลายแห่งในอินเดีย


2. ปัจฉิมวัย

          ในปัจฉิมวัยท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่สารนาถพาราณสี ก่อนมรณภาพท่านอธิษฐานว่า ขอให้

ข้าพเจ้าได้ตายไวๆ แล้วขอให้เกิดมาเผยแพร่ธรรมของพระพุทธองค์ตลอดไป

          ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ความพยายามในการโอนพุทธคยาจากมหันต์ให้เป็นของชาวพุทธยังไม่

สำเร็จ จนได้เอกราช ท่านเนห์รูและรัฐบาลของท่าน จึงร่างกฎหมายโอนพุทธคยาเป็นของรัฐบาล แล้วแต่งตั้ง

คณะกรรมการ 8 ท่านเป็นผู้บริหาร โดยเป็นฝ่ายฮินดู 4 และพุทธ 4 ส่วน ประธานเป็นนายอำเภอเมืองคยา แม้

จะไม่สามารถทำให้ชาวพุทธเป็นผู้บริหารทั้งหมด แต่ก็นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อชาวพุทธทั่วโลก กฎหมายนี้

สร้างความไม่พอใจให้มหันต์เป็นอย่างมาก จึงฟ้องร้องทางศาลให้ถือว่า กฎหมายนี้เป็นโมฆะ แต่ประธานาธิบดี

ของอินเดียและนักการเมืองหลายท่าน ได้ห้ามปรามให้มหันต์ถอนฟ้อง เพราะจะเป็นที่อับอายแก่อินเดียทั้งชาติ

และมหันต์อาจจะเสียมากกว่านี้หลายเท่า มหันต์เชื่อฟังเพียงแต่ยับยั้งกฎหมายไว้แต่ก็ยังไม่ถอนฟ้อง ปัจจุบัน

พุทธคยายังใช้กฎหมายนี้อยู่ ในบั้นปลายชีวิตท่านได้อุปสมบท ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สารนาถ เมือง

พาราณสี และมรณภาพที่นั้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2476 รวมอายุ 69 ปี


3. ประวัติ

3.1. ชาติกำเนิด

          ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ เดิมนามว่า ดอน เดวิด เหวะวิตารเน เกิดในตระกูลชาวพุทธผู้มั่งคั่ง ซึ่งทำ

ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ในเมืองโคลัมโบ ตำบลเปตตาห์ เป็นบุตรของดอน คาโรลิส เหวะวิตารเน และนางมัลลิกา เหวะวิ

ตารเน (นามสกุลเดิม - ธรรมคุณวัฒนะ)

          ตระกูลของฝ่ายบิดาท่าน เป็นชาวพุทธผู้ทำเกี่ยวกับการกสิกรรมในเมืองมาตะระ ทางตอนใต้ของศรี

ลังกา ปู่ของท่านมีนามว่า ทินคิรี อัปปุฮามี มีบุตรสองคนคนหนึ่งออกบวชเป็นพระภิกษุนามว่า หิตตะติเย อัตถ

ทัสสี เป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดหิตตะติยะมหาวิหาร ส่วนลูกคนที่สอง คือบิดาของท่านธรรมปาละ ได้เดินทางมาทำ

งาน ตั้งรกรากในกรุงโคลัมโบ ต่อมาได้สมรสกับนางมัลลิกา ธรรมคุณวัฒนะ ซึ่งเป็นตระกูลชาวพุทธผู้มั่งคั่ง ใน

กรุงโคลัมโบ และตระกูลนี้ ได้อุทิศที่ดินแปลงหนึ่ง สร้างมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ให้ชื่อว่า วิทโยทัยปริ

เวณะ ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยวิทโยทัย

บิดาและมารดาของท่าน ในตอนแรกตั้งใจจะได้ลูกชาย แต่จุดหมายต่างกัน บิดาปรารถนาจะได้ลูกชาย ไว้สืบ

สกุลและสืบทอดกิจการ ส่วนมารดา อยากได้ลูกชายเพราะปรารถนาจะเห็นพระภิกษุผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ที่จะ

นำดวงประทีบแห่งพระธรรม ฉายส่องทางสว่างให้แก่ประชาชาติชาวศรีลังกาในขณะนั้น ทุกๆเช้านางจะเก็บ

ดอกไม้มา บูชาพระรัตนตรัย และนิมนต์พระภิกษุมาเพื่อเจริญพระพุทธมนต์ และถวายทานกุศลทุกๆวันพระ

ปรารถนาขอให้มีบุตรชายที่เกิดมาเป็นผู้ที่มีปัญญาแจ่มใส มีจิตใจใฝ่ในพระธรรม และเป็นผู้ที่จะนำประชาชาติให้

พ้นจาก ความมืดมลจากการปกครองอันอยุติธรรมของคนต่างชาติต่างศาสนาในยุคนั้น

เมื่อครบกำหนดเวลา นางมัลลิกา เหวะวิตารเน ได้ให้กำเนิดบุตรชายที่แข็งแรง และมีใบหน้าผ่องใส ในคืนวันที่

17 กันยายน พ.ศ.2407 ซึ่งเด็กทารกคนนั้น ต่อมาคือ ดอน เดวิด เหวะวิตารเน หรือท่านอนาคาริก ธรรมปาละ

นั่นเอง

          สภาวะสังคมศรีลังกายุคนั้น นับว่าเป็นยุคเสื่อมโทรมที่สุดของพระพุทธศาสนา เนื่องจากภัยต่างชาติต่าง

ศาสนาเข้ามารุกราน คือภัยจากพวกโปรตุเกส ฮอลันดา และอังกฤษ ครั้งหลังสุดก็หนักมาก พระพุทธศาสนาถูก

เบียดเบียน พระภิกษุสามเณรถูกกลุ่มคนมิจฉาทิฎฐิรับจ้างด่าทอ ชาวพุทธถูกกดขี่ข่มเหง ถูกเรียกเก็บภาษีแพงๆ

จากผู้ปกครองประเทศต่างชาติในยุคนั้น ชาวพุทธบางคน เวลารับราชการ หรือทำงานทั่วไป หากเป็นชาวพุทธ จะ

ไม่ได้รับเข้าทำงานในตำแหน่งสูง เด็กเมื่อเกิดมาก็ถูกยัดเยียดให้มีชื่อแบบต่างชาติ เช่นเดวิด ไมเคิล ท่านธรรม

ปาละ หรือ ดอน เดวิด เหวะวิตารเน เติบโตขึ้นมาในสังคมแบบนี้

3.2. ชีวิตผลิกผัน สละเรือนเพื่องานพระศาสนา

          ตลอดเวลา ตั้งแต่ดอน เดวิด เกิดมา พ่อแม่จะอบรมสั่งสอนให้อยูในศีลในธรรม สอนให้ศรัทธาในพระ

รัตนตรัย ในพระพุทธศาสนา เด็กชายเดวิด จึงเติบโตมาท่ามกลางฝ่ายธรรมะ คือพ่อแม่ของตน ที่สอนให้อยู่ใน

หลักธรรมะ และฝ่ายอธรรม คือสังคมรอบข้าง และครูอาจารย์ที่โรงเรียน ที่มักพูดดูหมิ่นพระพุทธศาสนา และพูด

โน้มน้าวให้หันมานับถือศาสนาคริสต์ บางครั้งอาจารย์ที่โรงเรียนของเดวิด ถึงกับกล่าวว่า "ที่ฉันมาที่ประเทศนี้ ไม่

ใช่เพื่อสอนภาษาอังกฤษให้เธอ แต่มาเพื่อเปลี่ยนศาสนาของเธอ" แต่ท่านธรรมปาละ หรือเด็กชายเดวิดในขณะ

นั้นก็ยังมั่นคงในพระพุทธศาสนาเช่นเดิม เพราะการอบรมเลี้ยงดูอย่างดีในพระพุทธศาสนานั่นเอง บางครั้ง เพราะ

ความมั่นคงในพระพุทธศาสนานี้เอง ท่านถึงกับต้องถูกลงโทษจากอาจารย์ที่โรงเรียน เพียงเพราะลาหยุดไปเพื่อ

ประกอบพิธีกุศลในวันวิสาขบูชา

          เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ท่านธรรมปาละ หรือ ดอน เดวิด เหวะวิตารเน ต้องหันเหชีวิตจากเดิมไปสู่ความ

เป็นผู้มีบทบาทอย่างสูง ในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย คือ การโต้วาทะธรรมที่เมืองปานะดุรา ..เป็นการ

โต้วาทีเกี่ยวกับหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนา และศาสนาคริสต์ ซึ่งมี พระมิเคตตุวัตเต คุณานันทะ นักบวชใน

พระพุทธศาสนา ได้รับคำท้าทาย จากนักบวชที่เรียกกันว่า ศิษยาภิบาล ของศาสนาคริสต์ ให้มาโต้วาทะธรรมกัน

ซึ่งฝ่ายคริสต์ เห็นท่านคุณานันทะ เป็นศัตรูตัวฉกาจ เพราะเวลาที่นักสอนศาสนาไปด่าว่าร้ายพระพุทธศาสนาที่

ไหน พระคุณานันทะ ก็จะไปโต้วาทะ แก้ข้อกล่าวหา อย่างถึงพริกถึงขิง และท่านคุณานันทะนี้ เป็นวีรบุรุษในดวง

ใจของเด็กน้อยเดวิด หรือท่านธรรมปาละ มาโดยตลอด และเมื่อการโต้วาทะธรรมครั้งสุดท้าย ที่เมืองปานะดุรา

ระหว่างท่านคุณานันทะ และ ศิษยาภิบาลเดวิด เดอ สิลวา ปรากฏว่า ฝ่ายพระพุทธศาสนา คือท่านคุณานันทะได้

รับชัยชนะ ฝ่ายศาสนาคริสต์ก็เริ่มเข็ดขยาด และไม่กล้าต่อขาน ว่าร้ายพระพุทธธรรมในที่สาธารณะอีกเลย

และผลการโต้วาทะธรรมครั้งนี้ ได้มีผู้แปลการโต้วาทะเป็นภาษาต่างประเทศ ก็ปรากฏมีชาวต่างประเทศสองท่าน

เกิดได้อ่านและมีความศรัทธาในความมีเหตุผลของหลักธรรมในพระพุทธศาสนา จึงได้เดินทางมายังศรีลังกา สอง

ท่านนี้คือ พันเอก เฮนรี่ สตีล โอลคอตต์ และ มาดาม เอช.พี. บลาวัตสกี ทั้งสองท่านได้มาปฏิญาณตนเป็น

พุทธมามกะ ที่เมืองกอลล์ ทางภาคใต้ของศรีลังกา และเด็กน้อยเดวิด ได้มีโอกาสทำความรู้จักกับทั้งสองท่านนี้

ด้วย ต่อมาทั้งสองท่าน ได้ตั้งสมาคม ที่ดำเนินงานด้านศาสนสัมพันธ์ (โดยส่วนใหญ่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องทาง

พระพุทธศาสนา) คือ สมาคมธีออสโซฟี่ ตั้งสาขาขึ้นที่อัทยา ใกล้ ๆ กับเมืองมัทราสทางตอนใต้ของอินเดีย

ทางด้านท่านธรรมปาละ ซึ่งตอนนี้หัวใจของท่านเต็มไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา พอถึง

ราว พ.ศ. 2427 ขณะนั้นท่านธรรมปาละ ได้มีอายุครบ 20 ปีพอดี ท่านได้ขอร้องบิดามารดาเพื่อที่จะเดินทางไป

ร่วมงานของ สมาคมธีออสโซฟี่ อัทยา ซึ่งท่านก็ได้ไปตามความปรารถนา ที่นั่นท่านธรรมปาละได้ศึกษาพระพุทธ

ศาสนา และภาษาบาลีเพิ่มมากขึ้น ตามคำแนะนำช่วยเหลือของนางบลาวัตสกี

          ต่อมา นางบลาวัตสกี ถูกพวกคณะเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในอินเดียใส่ร้ายป้ายสีต่าง ๆ นานา เพราะการที่

มีสมาคมธีออสโซฟี่ ทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา และมีพันเอกโอลคอตต์ และนางบลาวัตสกีอยู่ ทำให้การเผยแผ่

ศาสนาคริสต์ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ทำให้นางบลาวัตสกีต้องเดินทางกลับยุโรป

          ถึงขณะนี้ ดอน เดวิด เหวะวิตารเน ก็จำเป็นต้องอยู่ที่สมาคมธีออสโซฟี่ต่อไป ได้เขียนจดหมาย ถึงพ่อ

แม่ และญาติ ๆ ที่ศรีลังกา ว่าขอประกาศสละงานบ้านเรือน เพื่อถือเพศ เป็นอนาคาริก เป็นผู้ถือพรหมจรรย์ (ถึง

ตอนนี้ แสดงว่า ท่านได้ชื่อว่า เป็น อนาคาริก ธรรมปาละ อย่างสมบูรณ์แล้ว) และขอทำงานที่สมาคมธีออสโซฟี่

ต่อไปอีกสักพัก ทางฝ่ายบิดา ก็ทัดทานอยู่บ้าง กล่าวว่า หากลูกชายคนโตทิ้งบ้านเรือนไปแล้ว ใครจะดูแลน้องๆ

ท่านธรรมปาละได้ตอบบิดาด้วยหัวใจที่เด็ดเดี่ยว อันเป็นปกตินิสัยของท่าน ว่า "ทุกคนมีกรรมเป็นของตน และ

กรรมนั่นแหละ จะดูแลรักษาพวกเขาเอง" ทางฝ่ายมารดาเองก็มีศรัทธา และปรารถนาที่จะเห็นบุตรของตนเป็น

เช่นนี้อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ได้ให้ศีลให้พรและบอกว่า ไม่ต้องเป็นห่วงทางบ้าน หากตัวของมารดาเองไม่มีภาระที่

ต้องดูแลลูก ๆ ของท่านอีกสองคน เธอเองก็คงจะได้ร่วมด้วยในชีวิตใหม่ของท่านธรรมปาละ เป็นแน่

          ต่อมา ในปี พ.ศ. 2429 ขณะนั้นท่านธรรมปาละกำลังทำงานรับราชการเป็นเสมียน ชั้นผู้น้อยในกรม

ศึกษาธิการ ในกรุงโคลัมโบอยู่ และได้สอบเลื่อนชั้นในตำแหน่งที่สูงกว่า ในช่วงนั้น พันเอกโอลคอตต์และเพื่อน

ต้องการที่จะเดินทางจาริกทั่วศรีลังกา เพื่อพบปะพี่น้องชาวพุทธ และท่านต้องการล่าม ท่านธรรมปาละอาสาจะ

เป็นล่าม ท่านธรรมปาละ ในตอนนั้น กิจอื่นที่จะทำ นอกจากพระพุทธศาสนา ไม่มีอีกแล้ว ท่านได้ขอยื่นใบลา

ออกจากราชการ โดยให้เหตุผลว่า "เพื่อทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา" และท่านได้พบปะชาวพุทธมากมาย ทำให้

ทราบปัญหาความเดือดร้อนที่ถูกกดขี่ ทั้งด้านการศาสนา และการทำงาน หรืออื่นๆ ซึ่งเรื่องที่ท่านทำไว้ในประเทศ

ศรีลังกามีมากมาย เช่น การทำให้เกิดมีตั้ง โรงเรียนสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และโรงเรียนสอนภาษา

อังกฤษด้านพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมากลายเป็นวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง คือ อานันทะคอลเลจ


4. พันเอก เฮนรี่ สตีล โอลคอตต์

          พันเอก เฮนรี่ สตีล โอลคอตต์ ได้เดินทางไปยังประเทศพระพุทธศาสนาอื่น ๆ อีก ในปี พ.ศ. 2432

พันเอกโอลคอตต์ได้เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อพบปะกับชาวพุทธที่นั่น และท่านได้พาพระภิกษุจากประเทศ

ญี่ปุ่น ที่ปรารถนาจะมาศึกษาพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่ศรีลังกามาด้วย ซึ่งได้รับการต้อนรับจากชาวศรีลังกา

อย่างเอิกเกริก

          ในปี พ.ศ. 2434 พันเอกโอลคอตต์เดินทางมายังประเทศพม่า เพื่อพบปะชาวพุทธที่พม่า และหารือ

เกี่ยวกับงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในขณะนั้นท่านธรรมปาละ ได้เดินทางมายังอินเดียเพื่อนมัสการพุทธสถาน

และสังเวชนียสถานที่อินเดีย โดยเดินทางมากับ พระภิกษุชาวญี่ปุ่น คือพระโกเซน คุณรัตนะ โดยเดินทางมายัง

อัทยา จากอัทยาไปบอมเบย์ จากบอมเบย์ไปที่สารนาถ ซึ่งเป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า สมัย

พุทธกาล เรียกว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และจากสารนาถ เดินทางไปยังพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระ

พุทธองค์ และทั้งชีวิตของท่านก็หมดไปกับการฟื้นฟูพระพุทธสถานที่พุทธคยานี้เอง


5. ตำนานแห่งพระมหาเจดีย์พุทธคยา และพราหมณ์มหันต์

          มหาเจดีย์พุทธคยา อันเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธองค์นั้น มีการสร้างพระมหา

เจดีย์มาตั้งแต่สมัย พระเจ้าอโศกมหาราช และสร้างเติมต่อๆมา โดยกษัตริย์ชาวพุทธในอินเดีย พระองค์ต่อๆมา

จนกระทั่ง เมื่อกองทัพมุสลิม ได้บุกเข้ามาโจมตีอินเดีย พุทธคยาก็ถูกปล่อยให้รกร้างไม่มีผู้คอยเฝ้าดูแล

          ราวปี พ.ศ. 2133 นักบวชฮินดูรูปหนึ่ง ชื่อ โคเสนฆมัณฑิคีร์ ได้เดินทางมาถึงที่พุทธคยา และเกิดชอบ

ใจในทำเลนี้ จึงได้ตั้งสำนักเล็กๆใกล้ๆกับ พระมหาเจดีย์พุทธคยา และพออยู่ไปนานๆ ก็คล้ายๆกับเป็นเจ้าของที่

ไปโดยปริยาย และพวกมหันต์นี้ ก็คือนักธุรกิจการค้าที่มาในรูปนักบวชฮินดูนั่นเอง กล่าวกันว่า เป็นพวกที่ติด

อันดับ มหาเศรษฐี 1 ใน 5 ของรัฐพิหาร ผู้นำของมหันต์ปัจจุบัน ก็มีการสืบทอดมาตั้งแต่ โคเสณฆมัณฑิคีร์ ตอน

นี้เป็นองค์ที่ 15 การที่พวกมหันต์มาครอบครองพุทธคยานั้น ก็ไม่ได้ดูแลพุทธคยาแต่อย่างไรทั้งสิ้น เพียงใช้

พื้นที่เพื่อหาประโยชน์เท่านั้นเอง

          ปี พ.ศ. 2417 พระเจ้ามินดงมิน แห่งพม่า ได้ส่งคณะทูตมายังอินเดีย เพื่อขอบูรณะ ปฏิสังขรณ์พระ

วิหารและจัดการบางประการเพื่อดูแลรักษาพุทธสถานแห่งนี้ เมื่อได้รับ ความยินยอมจากพวกมหันต์และรัฐบาล

อินเดีย จึงได้เริ่มทำการบูรณะ ทางรัฐบาลอินเดีย ได้ส่งเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม กับ ด.ร.ราเชนทรลาล

มิตระ เข้าเป็นผู้ดูแลกำกับการบูรณะ หลังจากนั้นคณะผู้แทนจากพม่าจำเป็นต้องเดินทางกลับ ทางรัฐบาลอินเดีย

จึงรับงานบูรณะ ทั้งหมดมาทำแทน และเสร็จสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2427 จนเป็นดังที่เห็นในปัจจุบัน







อ้่างอิงที่มา : http://wapedia.mobi/th/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81_%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B0
•   พระราชธรรมมุนี (เกียรติ สุกิตฺติ) , จดหมายเล่าเรื่องอนาคาริกธรรมปาละ. กรุงเทพ 2543
•   พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ , ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพ : บริษัทพิมพ์สวย จำกัด, 2546
•   หนังสือประทีปแห่งเอเชีย (อังกฤษ)
•   buddhanet (อังกฤษ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2010, 11:21:21 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อนาคาริก ธรรมปาละ (Anagarika Dhammapala)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 11:56:45 pm »
0
อนาคาริก ธรรมปาละ รัตนบุรุษผู้นิวัติพุทธธรรมสู่มาตุภูมิ





ตอนที่ 2

6. มูลเหตุในการก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์

          ก่อนหน้าที่ท่านธรรมปาละจะเดินทางมาที่พุทธคยานั้น ท่านได้อ่านบทความของท่านเซอร์ เอดวินด์ อา

โนลด์ ( Sir Edwin Arnold) ผู้เรียบเรียงหนังสือพุทธประวัติภาษาอังกฤษ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และกล่าวกันว่า

เป็นพุทธประวัติฉบับภาษาอังกฤษ ที่มีความไพเราะ และน่าเลื่อมใสมาก คือ ประทีบแห่งทวีปเอเซีย (The

Light of Asia) ซึ่งท่านเซอร์ ได้เดินทางไปที่พุทธคยา ได้พบกับความน่าเศร้าสลดใจหลายประการ ท่านได้

เขียนบทความไว้ตอนหนึ่งว่า (แปลจากภาษาอังกฤษ)

ตะวันตกและวันออก โอกาสแจ่มจรัส โอกาสแห่งความรุ่งโรจน์

( EAST and West ; A Splendid Opportunity)

เขียนโดย ท่านเซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์

          ในความเป็นจริง ไม่มีข้อกังขาสงสัยใดๆ ในความเป็นจริง ของสถานที่ สังเวชนียสถาน 4 ตำบลของ

ชาวพุทธ คือ กบิลพัสดุ์ (ปัจจุบัน Bhuila) ซึ่ง เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ, ป่าอิสิปตนะ ภายนอกเมืองพาราณสี ซึ่ง

พระพุทธองค์ได้แสดงธรรมเทศนา กุสินารา ที่พระพุทธองค์ได้ปรินิพพาน และสถานที่ตรัสรู้ซึ่งมี ต้นโพธิ์เป็น

เครื่องหมาย ในวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อ 2383 ปี มาแล้ว พระองค์ได้บำเพ็ญเพียรทางจิตและมีศรัทธาเป็นอย่าง

มาก ซึ่งพระองค์ได้นำความเจริญทางอารยธรรมมาสู่เอเชีย บรรดาสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่

พุทธคยา คือสิ่งที่มีค่าและศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธทั่วทั้งเอเชีย ทำไมหรือ เพราะว่า ปัจจุบันตกอยู่ในมือของนัก

บวชพราหมณ์ ผู้ไม่ได้ดูแลวัดเลย นอกจากว่าจะถือเอาเป็นกรรมสิทธิ์เท่านั้น และพวกเขาได้ตักตวงเอาผล

ประโยชน์เป็นอย่างมาก

          ความจริงในเรื่องนี้ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 กล่าวคือ 1400 ปีมาแล้ว สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พิเศษ

สุดและชาวพุทธรักษาไว้ แต่ได้ทรุดโทรมลงและถูกปล่อยปละละเลย เหมือนกับวัดพุทธศาสนาแห่งอื่น ๆ จาก

การอันตรธานสูญหายของพุทธศาสนาจากอินเดีย 300 ปีต่อมา นักบวชศาสนาพราหมณ์ที่นับถือพระศิวะมาถึงที่

นี้ และตั้งหลักปักฐาน ณ ที่ตรงนี้ ได้เริ่มครอบครองสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ซึ่งได้เห็นและก่อตั้งโรงเรียนสอนศาสนาขึ้น

มา พวกเขามีกำลังมากจึงเข้ายึดครองเป็นเจ้าของวัดพุทธคยา ซึ่งรัฐบาลเบงกอลได้เข้ามาบูรณะ และพื้นที่รอบ

พุทธคยา ในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) และได้ขอส่วนหนึ่งของรั้วเสาหินสมัยพระเจ้าอโศก จากพวกมหันต์

ซึ่งพวกเขาได้นำไปสร้างบ้าน เพื่อนำกลับมาตั้งไว้ ณ ที่เดิม แต่พวกมหันต์ไม่ให้คืนมา และท่านเซอร์ อาชเลย์

เอเดน (Sir Ashley Eden) ก็ไม่สามารถผลักดันการบูรณะให้แล้วเสร็จได้

ชาวพุทธทั่วโลกได้ลืมคืนที่ดี และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นศูนย์กลางที่ยิ่งใหญ่ของศรัทธา ดังเช่นนครเมกกะ

และเยรูซาเลม (Mecca and Jeruzaiem) เป็นศูนย์กลางศรัทธาของผู้ศรัทธานับล้านคน-เมื่อข้าพเจ้าได้พักที่

โรงแรมที่พุทธคยาปีสองปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้ารู้สึกเศร้าใจที่เห็นเครื่องบูชา สาร์ท (Shraddh) ของพวกฮินดูใน

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นนี้ และวัตถุโบราณที่มีค่าจำนวนมากหลายพันชิ้น ซึ่งจารึกด้วยภาษาสันสกฤตได้ถูกทิ้งจมอยู่

ในดิน ข้าพเจ้าได้ถามนักบวชฮินดูว่า

“ข้าพเจ้าจะขอใบโพธิ์จากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ได้หรือไม่”

“เจ้านาย จงหักเอาเท่าที่คุณชอบ มันไม่มีค่าอะไรสำหรับเรา” นี้เป็นคำตอบจากพวกเขา

ไม่มีความละอายจากอาการที่พวกเขาไม่สนใจใยดี ข้าพเจ้าเก็บใบโพธิ์ 3-4 ใบอย่างเงียบ ๆ ซึ่งพวกมหันต์ได้หัก

มาจากกิ่งบนหัวของพวกเขา และข้าพเจ้าได้นำใบโพธิ์ไปยังศรีลังกา เมื่อได้คัดลอกจารึกที่เป็นภาษาสันสกฤต ที่

นั้น (ศรีลังกา) ข้าพเจ้าได้พบว่า ใบโพธิ์เป็นสิ่งมีค่าสำหรับชาวพุทธที่ศรีลังกา ซึ่งต้อนรับด้วยความกระตือรือร้น

และศรัทธา ใบโพธิ์ที่ข้าพเจ้าถวายได้ถูกนำไปที่เมืองแคนดี้ และได้ใส่ไว้ในผอบที่มีค่าและได้รับการบูชาทุกๆวัน”

(และอีกตอนหนึ่งที่ท่านเซอร์อาร์โนลด์เขียนถึงพวกมหันต์ที่พุทธคยา มีดังต่อไปนี้)

“แต่ 2-3 ปีผ่านไป ในขณะที่ความคิดได้แผ่ขยายไปทั่วเอเชีย และสมาคมอย่างมากมายได้ก่อตั้งขึ้น ด้วยจุด

ประสงค์พิเศษ เพื่อเรียกร้องดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืนมา พวกมหันต์ได้เรียกร้องเอาทรัพย์สินมากเกินไป และเข้ายึด

ครองวัดมากขึ้นทุกที จดหมายที่ข้าพเจ้าได้รับจากทางตะวันออก แสดงว่า พวกรัฐบาลได้นึกถึงคำขู่ของพวก

พราหมณ์และผู้บริหารท้องถิ่น ได้มีท่าทีเปลี่ยนไปในการเจรจา

ข้าพเจ้าคิดว่า พวกมหันต์เป็นคนดี ข้าพเจ้าไม่ได้ปรารถนาอย่างนี้มาก่อนเลย แต่มิตรภาพและความพอใจที่พวก

เขามีให้ ถ้าคุณเดินเข้าไปในสถานที่ซึ่งผู้คนที่ศรัทธานับล้านเลื่อมใสศรัทธาอยู่ คุณอาจสังเกตเห็นสิ่งที่น่าอดสู

และระทมใจในสวนมะม่วง ด้านตะวันออกของแม่น้ำ ลิลาจัน (Lilajan) พระพุทธรูปสมัยโบราณได้ถูกนำมาติด

ไว้ที่คลองชลประทานใกล้กับหมู่บ้านมุจลินท์ คือ สระมุจลินท์ และได้เห็น พระพุทธรูปใช้เป็นฐานรองรับบันไดที่

ท่าตักน้ำ

ข้าพเจ้าได้พบชาวนาในหมู่บ้านรอบ ๆ วิหารพุทธคยา พวกเขาใช้แผ่นสลักที่มีความงดงามจากวิหาร มาทำเป็นขั้น

บันไดของพวกเขา ข้าพเจ้าได้พบภาพสลักสูง 3 ฟุต ซึ่งมีสภาพดีเยี่ยม จมอยู่ใต้กองขยะด้านตะวันออกของวัง

มหันต์ อีกส่วนหนึ่ง ติดอยู่กับผนังด้านตะวันออกของสวนมะม่วงริมแม่น้ำ และรั้วเสาหินพระเจ้าอโศกซึ่งเป็นสิ่งที่มี

ค่าสูงสุดของอินเดีย ซึ่งล้อมวิหาร แต่ปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของห้องครัวพวกมหันต์”

ทันทีที่บทความของท่านเซอร์เอดวิน อาโนลด์ ได้ตีพิมพ์ ท่านธรรมปาละได้มีโอกาสอ่าน ก็เกิดแรงบันดาลใจยิ่ง

ขึ้น ที่จะมาดูพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อท่านเดินทางมาถึงพุทธคยา พร้อมกับพระโกเซน คุณ

รัตนะ วันที่ท่านมาถึงพุทธคยานั้น เป็นวันที่ 22 มกราคม 2434 ท่านธรรมปาละได้บันทึกเหตุการณ์ตอนนี้ไว้เอง

ว่า

“หลังจากขับรถออกมาจากคยา 6 ไมล์ (ประมาณ 10 กม.) พวกเราได้มาถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ภายในระยะทาง

1 ไมล์ ท่านสามารถเห็นซากปรักหักพังและภาพสลักที่เสียหายเป็นจำนวนมาก ที่ประตูทางเข้าวัดของพวกมหันต์

ตรงหน้ามุข ทั้งสองด้าน มีพระพุทธรูปปางสมาธิและปฐมเทศนาติดอยู่ จะแกะออกได้อย่างไร พระวิหารที่

ศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่บนบัลลังก์งดงามมาก ซึ่งแผ่ไปในใจของพุทธศาสนิกชนสามารถทำให้หยุด

นิ่งได้ ช่างอัศจรรย์จริงๆ ทันใดนั้นเอง ข้าพเจ้าได้มานมัสการพระพุทธรูป ช่างน่าปลื้มอะไรเช่นนี้ เมื่อข้าพเจ้าจด

หน้าผาก ณ แท่นวัรชอาสน์ แรงกระตุ้นอย่างฉับพลันก็เกิดขึ้นในใจ แรงกระตุ้นดังกล่าวนั้นกระตุ้นให้ข้าพเจ้าหยุด

อยู่ที่นี่ และ ดูแลรักษาพุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นสถานที่ตั้งแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเจ้าชายศากยะสิงหะ

(พระสิทธัตถะ) ได้ประทับตรัสรู้ และเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์อย่างไม่มีที่แห่งใดในโลกมาเทียมเท่านี้ ( As

soon as I touched with my forehead the Vajrasana a sudden impulse came to my

mind to stop here and take care of this sacred spot, so sacred that nothing in the

world is equal to this place where Prince Sakya Sinha attained enlightenment under

the Bodhi Tree ) เมื่อมีแรงบันดาลใจ ข้าพเจ้าถามท่านโกเซน คุณรัตนะ ว่า ท่านจะร่วมมือกับข้าพเจ้าหรือ

ไม่ และท่านได้ตอบตกลงอย่างเต็มใจ และมากไปกว่านั้นท่านเองก็มีความคิดเช่นเดียวกัน เราทั้งสองสัญญากัน

อย่างลูกผู้ชายว่า พวกเราจะพักอยู่ที่นี้ จนกระทั่งมีพระสงฆ์บางรูปมาดูแลสถานที่แห่งนี้”

ท่านธรรมปาละและพระโกเซน ได้พักอยุ่ที่พุทธคยาชั่วคราวที่ศาลาพักของพม่า ซึ่งคณะทูตของพระเจ้ามินดงมิน

ได้สร้างไว้เป็นที่พัก เรียกเสียง่าย ๆ ว่า วัดพม่า จากนั้นท่านธรรมปาละก็เริ่มงานของท่าน โดยการเขียนจดหมาย

บอกเล่าสภาพของพุทธคยา ส่งไปยังบุคลลแทบทุกวงการของพม่า ลังกา อินเดีย และเรียกร้อง ชักชวนให้ร่วม

มือกัน เพื่องานฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และพุทธสถาน

6.1. การก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์

          ท่านได้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของจังหวัดคยาเพื่อจุดประสงค์ที่จะฟื้นฟูพุทธคยา ได้รับการชี้แจงว่า พระ

วิหารมหาโพธิพร้อมกับรายได้ที่เกิดขึ้นนั้น ตอนนี้กลายเป็นของมหันต์ แต่ว่าด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลก็อาจ

มีทางเป็นไปได้ที่จะขอซื้อพระวิหาร และบริเวณดังกล่าวจากมหันต์ (น่าแปลกอยู่เหมือนกันที่ว่า เราต้องขอซื้อ

ขอมีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ที่ควรจะเป็นของพวกเราชาวพุทธเอง)

          ท่านธรรมปาละได้เดินทางกลับมายังโคลัมโบ เพื่อที่จะไปจัดตั้งสมาคมขึ้น เพื่อการนำ พุทธคยากลับ

คืนมาสู่ชาวพุทธ และในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2434 พุทธสมาคม เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว ในชื่อว่า "พุทธ

คยามหาโพธิโซไซเอตี้" ก็ได้รับการตั้งขึ้น ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา มีท่านประธานนายกะ เอช. สุมัง

คลมหาเถระ เป็นนายกสมาคม พันเอกโอลคอตต์เป็นผู้อำนวยการ ท่านธัมมปาละเป็นเลขาธิการ นอกนี้ก็มีผู้แทน

จากประเทศและกลุ่มชาวพุทธต่างๆเข้าร่วมในการก่อตั้งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีผู้แทนจากประเทศไทยของเรา

เข้าร่วมด้วย คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า จันทรทัตจุฑาธร (His Royal Highness Prince

Chandradat Chudhadharn) ชื่อของสมาคมนี้ ต่อมาได้ตัดคำว่า พุทธคยาออก คงไว้แต่ มหาโพธิโซไซเอ

ตี้ ดังในปัจจุบัน

จุดประสงค์ของสมาคมมหาโพธิ ที่ได้จัดตั้งขึ้นในคราวนั้น คือ

" เพื่อสร้างวัดพระพุทธศาสนาและก่อตั้งพุทธวิทยาลัย กับส่งคณะพระภิกษุซึ่งเป็นผู้แทนของประเทศพระพุทธ

ศาสนาคือ จีน ญี่ปุ่น ไทย เขมร พม่า ศรีลังกา จิตตะกอง เนปาล ธิเบต และอารกัน ไปประจำอยู่ ณ พุทธคยา "

" เพื่อจัดพิมพ์วรรณคดีพระพุทธศาสนาขึ้นในภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่นของอินเดีย "

หลังจากนั้น ในวันอาสาฬหปุรณมี ท่านอนาคาริกธรรมปาละได้กลับไปยังพุทธคยา พร้อมกับพระภิกษุศรีลังกา

อีก 4 รูป ที่พร้อมจะมาร่วมด้วยกับท่าน และท่านได้ขอติดต่อกับมหันต์อย่างยากลำบาก จนกระทั่งพวกมหันต์

ซึ่งขณะนั้นเป็นยุคของ เหมนารยันคี มหันต์ ยอมตกลงให้เช่าที่แปลงเล็กๆ ส่วนหนึ่งในพุทธคยา เพื่อทำเป็นที่

พัก ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2434 ท่านธรรมปาละได้จัดให้มีการประชุมชาวพุทธระหว่างชาติขึ้นที่พุทธคยา

โดยมีผู้แทนชาวพุทธจากศรีลังกา จีน ญี่ปุ่น และจิตตะกอง เข้าร่วมประชุม ซึ่งได้มีการประชุมกันในวันที่ 31

ของเดือนตุลาคม ผู้แทนจากญี่ปุ่นกล่าวว่า ชาวพุทธญี่ปุ่นยินดีที่จะสละทรัพย์ เพื่อขอซื้อพุทธคยาคืนจากมหันต์

คำกล่าวนี้เป็นที่อนุโมทนาในที่ประชุมอย่างมาก ท่านธรรมปาละได้ให้มีการประดับธงชาติญี่ปุ่นไว้ข้าง ๆ ธงพระ

พุทธศาสนา เพื่อเป็นเกียรติแก่ชาวพุทธญี่ปุ่น แต่กลับไม่เป็นผลดีอย่างที่คิด เมื่อข้าหลวงเบงกอลเดินทางมา ถัด

จากวันที่มีการประชุม เพื่อจะมาเยี่ยมชมพุทธคยา แต่เมื่อเห็นธงชาติญี่ปุ่น ก็เกิดระแวงขึ้นมาทันที เพราะขณะนั้น

อินเดีย และอังกฤษที่ปกครองอินเดีย ยังวิตกกับท่าทีทางการเมืองของญี่ปุ่นอยู่ ทำให้ข้าหลวงเบงกอล เดิน

ทางกลับทันที และปฏิเสธที่จะพบกับผู้แทนชาวพุทธอย่างไม่มีข้อแม้ และยังบอกผ่านเจ้าหน้าที่ไปยังท่านธรรมปา

ละอีกว่า พุทธคยาเป็นของมหันต์ รัฐบาลจึงไม่ประสงค์จะไปยุ่งเกี่ยวใดๆกับเรื่องนี้ ในการที่ชาวพุทธได้เรียกร้อง

นั้น สรุปว่าหนทางที่จะได้พุทธคยาคืนมาเป็นของชาวพุทธก็กลับมืดมลไปอีก

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2435 สมาคมมหาโพธิ ก็ได้ย้ายจากโคลัมโบมาอยู่ที่กัลกัตตา ที่อินเดีย และได้ออก

วารสารสมาคมมหาโพธิ ( Mahabodhi Review ) ซึ่งยังคงอยู่จนปัจจุบันนี้ ถึง 111 ปี แล้ว และเป็นวารสารที่

โด่งดังในทั้งตะวันออก และตะวันตก ในช่วงแรกๆว่ากันว่าท่านธรรมปาละและทีมงานต้องอดมื้อกินมื้อเพื่อนำเงิน

ไปซื้อแสตมป์มาส่งหนังสือกันทีเดียว

6.2. อุปสรรคจากพวกมหันต์

          วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 ท่านธรรมปาละ และพันเอกโอลคอตต์ เดินทางจากศรีลังกามาที่พุทธ

คยา ก็ได้รับข่าวทันที่ว่า พระภิกษุที่จำพรรษาประจำอยู่ที่พุทธคยา ขณะกำลังนั่งสนทนาธรรมกันอย่างสงบในที่

พักวัดพม่า ก็ถูกพวกมหันต์ยกพวกมารุมทุบตี รูปหนึ่งอาการสาหัสต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล พันเอก

โอลคอตต์เข้าพบมหันต์ทันที เพื่อเจรจาและขอเหตุผลกับเรื่องที่เกิดขึ้น ปรากฏว่าพวกมหันต์ไม่ยอมรับการเจรจา

ใดๆ และยังปฏิเสธไม่ยอมขายที่ ไม่ยอมให้เช่า ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ไม่ยอมให้สร้างแม้แต่ที่พักสำหรับชาวพุทธ

ผู้มาแสวงบุญ เป็นอันว่าเรื่องของพุทธคยาก็ยังตกอยู่ในภาวะยุ่งยากลำบากเช่นเคย

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2436 ท่านธรรมปาละได้รับเชิญในฐานะผู้แทนชาวพุทธ ให้เข้าร่วมการประชุมสภา

ศาสนา (parliament religion) ที่เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา การที่ท่านธรรมปาละได้เดินทางไปครั้งนี้ นับว่า

เกิดผลอย่างมากต่อพระพุทธศาสนา และต่อศาสนาทั้งหลาย ท่านธรรมปาละได้กล่าวปราศัยในหลายๆเรื่อง ทำ

ให้ที่ประชุมรู้สึกทึ่ง ในคำสอนของ พระพุทธศาสนา ถึงกับมีนักการศาสนา และปรัชญาท่านหนึ่ง คือ มิสเตอร์

ซี. ที. เสตราส์ ประกาศปฏิญาณตนเป็น พุทธมามกะ นับถือพระพุทธศาสนา ท่านธรรมปาละจึงได้จัดให้มีการ

ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะที่ สมาคมธีออสโซฟี่ แห่งชิคาโก นับว่าเป็นอุบาสกคนแรก ในประเทศอเมริกาทีเดียว

เมื่อท่านธรรมปาละ เดินทางกลับจากการประชุมสภาศาสนาครั้งนี้ ท่านได้ผ่าน ฮอนโนลูลู และสมาชิกสมาคม

ธีออสโซฟี่ แห่งฮอนโนลูลู ได้มาต้อนรับท่าน ซึ่งท่านได้พบกับ นางแมรี่ มิกาฮาลา ฟอสเตอร์ นางเป็นเชื้อสาย

เจ้าผู้ครองฮาวาย นางเป็นคนโทสะจริต มีอารมณ์ขุ่นมัวเสมอ มักทำให้ทั้งเธอ และคนรอบข้างเกิดความเดือด

ร้อน จะเอาหลักศาสนาไหนๆมาปฏิบัติก็ไม่หาย ได้มาปรึกษาท่านธรรมปาละ ท่านธรรมปาละจึงแนะนำหลักธรรม

ทางพระพุทธศาสนาอย่างง่ายๆให้เธอนำไปปฏิบัติ ปรากฏว่า เธอนำไปปฏิบัติได้ไม่นานก็หายจากอาการเจ้าโทสะ

อารมณ์ร้าย เธอจึงเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา และท่านธรรมปาละมาก นางแมรี่ ฟอสเตอร์ นี่เอง ที่เป็นผู้

อุปถัมภ์ท่านธรรมปาละ ด้านทุนทรัพย์ในการฟื้นฟูพุทธคยา ด้วยจำนวนเงินรวมๆแล้วกว่าล้านรูปี มีคนถึงกับขนาน

นามเธอว่า " วิสาขาที่ 2 " ทีเดียว

          หลังจากนั้นท่านได้เดินทางผ่านประเทศญี่ปุ่น จีน ไทย สิงคโปร์ และศรีลังกา เพื่อพบปะ กับผู้นำฝ่าย

ศาสนาและบ้านเมือง ขอความร่วมมือด้านกิจกรรมฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ที่ท่านกำลังทำอยู่ ที่เมืองไทยเรา ท่าน

ได้เฝ้า กรมหมื่นเทววงศ์วโรปการ ซึ่งทรงเป็นเสนาบดี กระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น และพบกับเจ้านายอีก

หลายพระองค์ ท่านอยู่ในเมืองไทย 3 อาทิตย์ จึงเดินทางกลับ (หลังจากนั้นท่านได้เดินทางมาอีก เพื่อมาขอรับ

ส่วนแบ่งพระบรมธาตุ ซึ่งพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับทูลถวายจากรัฐบาลอินเดีย ซึ่งเป็นส่วนพระบรมธาตุที่

ขุดได้จากบริเวณกรุงกบิลพัสดุ์แถบเนปาล พระองค์ทรงประกาศไปยังประเทศพระพุทธศาสนาอื่นๆว่าพระองค์ทรง

ยินดีจะแบ่งพระบรมธาตุให้กับชาวพุทธในประเทศอื่นๆ ท่านธรรมปาละ ได้เดินทางมาขอรับพระราชทานส่วนแบ่ง

พระบรมธาตุ ในฐานะตัวแทนชาวพุทธศรีลังกา ในปี พ.ศ. 2443)

          หลังจากนั้นท่านได้เดินทางผ่านประเทศญี่ปุ่น ได้รับพระพุทธรูปเก่าแก่ถึง 700 ปี จากชาวพุทธญี่ปุ่น

ซึ่งมีความประสงค์จะขอให้ท่านนำพระพุทธรูปนี้ไปประดิษฐานที่พุทธคยาด้วย และพระพุทธรูปนี้เอง ต่อมาเป็น

ชนวนการขัดแย้งครั้งประวัติศาสตร์ ระหว่างท่านธรรมปาละ และมหันต์

          ท่านธรรมปาละได้เดินทางกลับมายังอินเดีย ได้ติดต่อขอนำพระพุทธรูปที่ได้รับมาจาก ชาวญี่ปุ่นมา

ประดิษฐานยังพุทธคยา ซึ่งคงไม่ต้องบอกว่า มหันต์ไม่ยอมอย่างแน่นอน ทางมิสเตอร์แมคเฟอร์สัน เจ้าหน้าที่

ฝ่ายปกครองของอังกฤษประจำคยา ได้ขอให้ท่านธรรมปาละ ลองหาเสียงสนับสนุนจากชาวฮินดูทั่วๆไปก่อน แต่

ท่านก็ได้รับคำตอบจากพราหมณ์ชั้นบัณฑิตที่พาราณสี อย่างข้างๆคูๆก็คือ พระพุทธเจ้าเป็นปางหนึ่งของพระ

นารายณ์ ดังนั้นพระวิหารพุทธคยาจึงเป็นของฮินดู ชาวพุทธไม่มีสิทธิอะไรในวิหารนั้น พวกมหันต์เองก็ยืนยันว่าจะ

ไม่ยอมให้นำพระพุทธรูปเข้าไปยัง วิหารพุทธคยาเป็นอันขาด และยังประกาศว่า หากยังขืนดึงดันจะนำเข้ามา ก็จะ

จ้างคนห้าพันคน มาคอยดักฆ่า และได้เตรียมเงินไว้ถึงแสนรูปีเพื่อการนี้แล้วด้วย เป็นอันว่า เรื่องการนำพระพุทธ

รูป มาประดิษฐานยังวิหารพุทธคยาก็ยังต้องพักไว้ก่อน

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2438 ท่านธรรมปาละก็ได้นำพระพุทธรูปมายังวิหารพุทธคยา โดยไม่กลัวการขู่จากพวก

มหันต์ แต่ผลก็คือว่า เมื่อท่านได้นำพระพุทธรูปญี่ปุ่นองค์นั้นไปถึงองค์พระเจดีย์พุทธคยา พร้อมกับพระภิกษุอีก

4 รูป ซึ่งประจำอยู่ที่นั่น กำลังจะยกพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐาน ปรากฏว่าพวกมหันต์ หลายสิบคนกรูกันเข้ามา

บังคับสั่งให้ท่านธรรมปาละเอาพระพุทธรูปออก และทำการทุบตีทำร้ายอีกด้วย ท่านธรรมปาละกล่าวไว้ในบันทึก

ของท่านว่า “มันช่างเจ็บปวดเหลือแสน ชาวพุทธถูกห้ามไม่ให้บูชาในวิหารที่เป็นสิทธิ์ของตนเอง”

ศาลประจำจังหวัดคยา ได้ตัดสินความผิดกับพวกมหันต์ ในขณะที่ศาลสูงของกัลกัตตา กลับตัดสินให้พวกมหันต์

ชนะคดี แต่ทางศาลสูงของกัลกัตตาก็มีความเห็๋นใจชาวพุทธ ได้พิจารณาว่าอย่างไรก็ตาม พุทธคยานั้นเป็นพุทธ

สถานและสมบัติของชาวพุทธอย่างชัดเจน

6.3. ความสำเร็จ

          หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินทางไปยังจังหวัด เขตตำบลต่างๆในอินเดีย เพื่อชี้แจงเรื่องปัญหาของชาวพุทธ

กับกรรมสิทธิ์ของชาวพุทธในพระเจดีย์พุทธคยา ชาวอินเดียที่มีการศึกษา และประเทศใกล้เคียง ต่างก็ให้ความ

สนใจ หลายฝ่ายเทคะแนนให้กับชาวพุทธและเห็นว่า พุทธคยานั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของชาวพุทธอย่างไม่ต้องสงสัย

แม้แต่นักปราชญ์ที่ได้รับการยกย่องในอินเดีย เช่น ท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักวรรณคดีชาวอินเดียก็เห็น

ว่า พระวิหารพุทธคยานั้น เป็นกรรมสิทธิ์ของชาวพุทธอย่างแน่นอน

          ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2437 เป็นต้นมา ท่านก็ได้ดำเนินการเรียกร้องทั้งในอินเดียและศรี

ลังกา เรื่องของพุทธคยา ก็เป็นประเด็นที่ชาวอินเดียต่างให้ความสนใจ เรียกว่าเป็น Talk of The Town เลยที

เดียว

          ท่านธรรมปาละได้เดินทางไปยังประเทศอื่นๆอีก เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อไปเปิดสาขามหาโพธิ

สมาคมขึ้นที่นั่น เนื่องจากการตรากตรำทำงานอย่างไม่หยุดหย่อน สุขภาพท่านจึงไม่ค่อยดีนัก

          ในปี พ.ศ 2458 ท่านธรรมปาละได้ทำงานที่ปรารถนาจะทำให้สำเร็จมานานได้เรียบร้อย คือการที่จะให้

มีพุทธวิหาร หรือวัดแห่งแรกในอินเดีย หลังจากพระพุทธศาสนาถูกทำลายไปกว่า 700 ปี ที่กัลกัตตา และการจด

ทะเบียน สมาคมมหาโพธิ เป็นสมาคมที่ถูกต้องสมบูรณ์ด้วย

          การสร้างพระวิหารนั้น ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2461 และสร้างแล้ว

เสร็จในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 รัฐบาลอินเดียได้มอบพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระธาตุของพระ

พุทธองค์ ซึ่งขุดค้นพบในอินเดีย ให้ประดิษฐานในพระวิหาร ส่วนตึกอาคารสมาคมมหาโพธินั้น สร้างเสร็จและ

เปิดในเดือนกันยายน พ.ศ. 2463 สิ้นเงินการสร้างทั้งสองแห่ง ราวๆ 2 แสนรูปี พุทธวิหารที่จัดสร้างขึ้นนี้ ให้ชื่อ

ว่า "ศรีธรรมราชิกเจติยวิหาร"

          ในปี พ.ศ. 2469 ท่านธรรมปาละได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และร่วมจัดงานวิสาขบูชาขึ้นที่กรุง

ลอนดอนด้วย

          ในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2473 มิสซิสฟอสเตอร์ ซึ่งคอยช่วยเหลือท่านธรรมปาละในด้านเงินทุน

ตลอดมา ได้ถึงแก่กรรมลง ซึ่งเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ตาม นางได้ฝากมรดกเป็นเงินก้อนสุดท้าย

จำนวน 5 หมื่นดอลลาร์ ให้กับ ท่านธรรมปาละ


7. ออกบรรพชา

          ท่านธรรมปาละ ได้ตั้งใจไว้ตั้งแต่ต้นว่า หากท่านจะตายขอตายในเพศบรรพชิต ดังนั้น ท่านจึงได้รับการ

บรรพชา (บวชเป็นสามเณร) ที่ วัดมูลคันธกุฎิวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นในบริเวณห่างจากสารนาถ ซึ่งเป็นสถานที่

แสดงปฐมเทศนา ของพระพุทธองค์ ในวันที่ 13 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2474 โดยมีพระเรวตเถระ จากศรีลังกา มา

บวชให้ (วัดมูลคันธกุฎิวิหารนั้น ท่านธรรมปาละริเริ่มการสร้างขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444)

          ถึงบัดนี้ สุขภาพของท่านธรรมปาละก็เริ่มเจ็บหนักขึ้น เพราะการตรากตรำทำงานหนัก มากเกินไป แต่

ท่านก็ปรารถนา ที่จะได้บวชเป็นพระภิกษุให้ได้ และ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 วัดมูลคันธกุฎิวิหารก็

ได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ และมีการผูกพัทธสีมาเป็นวัดโดยสมบูรณ์ โดยคณะสงฆ์ศรีลังกา สิ้นเงินการสร้าง

วัด ตลอดจนเงินค่าจ้าง ช่างชาวญี่ปุ่น คือ โกเซทซุ โนสุ มาเขียนภาพฝาผนังพุทธประวัติ รวมทั้งหมด

130,000 รูปี

          ในวันเปิดมูลคันธกุฎิวิหาร มีชาวพุทธและข้าราชการรัฐบาลอินเดียหลายท่าน และชาวพุทธจากต่าง

ประเทศมากมาย ได้มาร่วมงานกว่าพันคน รัฐบาลอินเดียได้มอบ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ให้กับผู้

แทนสมาคม ได้มีการนำพระธาตุขึ้นสู่หลังช้าง แห่รอบพระวิหารสามรอบ แล้วจึงนำขึ้นประดิษฐานยังยอดพระ

เจดีย์ในพระวิหาร

          ท่านธรรมปาละได้กล่าวปราศัยในงานเปิดวันนั้น ความตอนสุดท้ายที่น่าประทับใจ ว่า

"...หลังจากที่พระพุทธศาสนาได้ถูกเนรเทศออกไปเป็นเวลานานถึง 800 ปี ชาวพุทธทั้งหลายก็ได้กลับคืนมา ยัง

พุทธสถานอันเป็นที่รักของตนนี้อีก ... เป็นความปรารถนาของสมาคมมหาโพธิ ที่จะมอบพระธรรมคำสอนอัน

เปี่ยมด้วยพระมหากรุณาของพระพุทธองค์ ให้แก่ประชาชนชาวอินเดียทั้งมวล ไม่เลือกชาติชั้นวรรณะ และลัทธิ

นิกาย.. ข้าพเจ้ามั่นใจว่าท่านทั้งหลาย จะพร้อมใจกันเผยแผ่ " อารยธรรม " (ธรรมอันประเสริฐ) ของพระ

ตถาคตเจ้า ไปให้ตลอดทั่วทั้งอินเดีย... "


8. บั้นปลายชีวิต อุปสมบทเป็นพระภิกษุ

          ในปลายปี พ.ศ. 2475 (ตรงกับปีที่ไทยเปลี่ยนระบอบการปกครอง) ท่านธรรมปาละได้ล้มเจ็บหนักอีก

ครั้ง เมื่อพอสบายดีขึ้น ท่านรู้ว่าใกล้จักถึงวาระสุดท้ายของท่านแล้ว ท่านจึงได้คิดที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุเสีย

ที จึงได้นิมนต์ พระเถระชั้นผู้ใหญ่จากศรีลังกา 10 รูป มีท่านพระสิทธัตถะอนุนายกเถระ คณะสยามนิกาย วัดมัล

วัตวิหาร เป็นประธาน และเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ทำการอุปสมบทท่านธรรมปาละ ได้รับภิกษุฉายาในทางศาสนา

ว่า "ภิกฺขุ ศรี เทวมิตฺร ธมฺมปาล"

          เมื่อท่านได้อุปสมบท ก็ปรากฏว่าท่านได้มีกำลังกายกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง แต่เป็นการ กลับคืนมา

เหมือนกับเปลวเทียนที่กำลังจะหมดไส้ ซึ่งจะสว่างได้ไม่นาน ดังนั้นในเดือนเมษายน ของปี พ.ศ. 2476 ท่านจึง

ได้ล้มเจ็บลงอีก โดยมีนายเทพปริยะ วาลีสิงหะ ซึ่งเป็นทั้งศิษย์และสหายของท่านได้คอยรักษาและดูแลอยู่

8.1. ตั้งปณิธานเผยแผ่พระพุทธศาสนาแม้ในวาระสุดท้าย

          จนถึงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2476 (ประวัติบางแห่งว่า วันที่ 27) อาการโรคหัวใจ ของท่านเพียบ

หนักถึงที่สุด แต่ท่านก็ยังพอจะพูดได้บ้าง และสิ่งที่ท่านกล่าวย้ำบ่อยๆ ในขณะเวลา ที่เหลืออีกไม่นานก็คือ " ขอ

ให้ข้าพเจ้าได้มรณะเร็วๆเถิด แต่ข้าพเจ้าจักกลับมาเกิดใหม่อีก 25 ครั้ง เพื่อเผยแผ่ประกาศพระธรรมของพระ

พุทธเจ้า " และในเวลาเช้าของวันที่ 29 เมษายน ท่านแทบไม่รู้สึกตัวอะไรอีก พูดออกมาได้เพียงคำว่า "เทพปริ

ยะ" ราวจะฝากฝังให้นายเทพปริยะ จับงานของสมาคมให้ดำเนินต่อไป เพราะพุทธคยายังไม่กลับมาเป็น

กรรมสิทธิ์ของชาวพุทธโดยสมบูรณ์ จนถึงบ่าย 2 โมง อุณหภูมิในตัวของท่านสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 104.6 ถึงที่

สุดแล้ว ทุกคนที่อยู่รอบๆก็ทราบว่า ท่านกำลังจะมรณภาพ พระภิกษุสามเณรจากศรีลังกาและอินเดียที่อยู่ที่นั่น

ได้ล้อมรอบท่าน พร้อมกับสวดพระพุทธมนต์ไปเรื่อยๆ พอสิ้นเสียงสวด ....'วิญญาณของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง

ผู้เกิดมาเพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนรวม และเชิดชูพระศาสนาของพระพุทธองค์ ก็ดับวูบลง ละร่างกาย อันเก่า

คร่ำคร่าเกินเยียวยา เหลือเพียงใบหน้าอันยิ้มแย้มและเป็นสุขไว้เท่านั้น ในเวลา บ่าย 3 ของวันที่ 29 เมษายน

พ.ศ 2476 นั่นเอง.......


9. ผลงาน

          ท่านธรรมปาละ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสูง ต่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย ประโยชน์ที่ท่านฝากไว้

ในพระพุทธศาสนา พอสรุปได้ดังนี้

          เป็นผู้จุดประกายการศึกษาพระพุทธศาสนาในอินเดีย ทำให้ชาวอินเดีย ซึ่งแทบจะลืมเลือนพระพุทธ

ศาสนาจนหมดสิ้นแล้ว หันกลับมาแนวทางแห่งอริยมรรคแห่งพระพุทธองค์อีกครั้ง

          ท่านได้สร้างอนุสรณ์สถาน ปูชนียสถาน เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไว้มากมาย ตามสถานที่ต่างๆ ที่เป็นที่

ระลึกถึง พระพุทธองค์ เช่น วัดมูลคันธกุฎวิหาร ใกล้ๆกับสถานที่แสดงปฐมเทศนา ที่สารนาถ

          ท่านได้เป็นผู้จุดประกายริเริ่มให้ชาวพุทธ และชาวอินเดีย หันมาเอาใจใส่และฟื้นฟูพุทธสถาน ที่สำคัญ

ของพระพุทธองค์ โดยเฉพาะพุทธคยา แม้ในสมัยของท่าน อาจจะยังไม่ทำให้พุทธคยา คืนสู่กรรมสิทธิ์ของชาว

พุทธ และอยู่ในการดูแลคุ้มครองของชาวพุทธได้ แต่ต่อมา การกระทำของท่านก็เป็นกระแสผลักดันสังคมชาว

อินเดียหลายฝ่าย นักปราชญ์หลายท่าน ก็ได้แสดงความเห็นควรว่าพุทธคยาเป็นสิทธิ์ของชาวพุทธอย่างแน่นอน

ต่อมา ในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2499 รัฐบาลแห่งรัฐพิหาร ได้ผ่านพระราชบัญญัติวิหารพุทธคยา ซึ่งให้ส่วน

หนึ่งอยู่ในการดูแลของชาวพุทธ โดยมีกรรมการชาวพุทธ 4 ท่าน ชาวฮินดู 4 ท่าน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดคยา

เป็นประธาน


10. บทสรุป

          ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ รัตนบุรุษแห่งศรีลังกา ผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยมหาปณิธานอันยิ่งใหญ่ อุทิศชีวิต

ทั้งชีวิตเพื่อเรียกร้องสิทธิ์อันชอบธรรมกลับคืนมาสู่ชาวพุทธ ด้วยการจัดตั้งองค์กรต่อสู้เคลื่อนไหวสร้างผลงาน

ทางพระพุทธศาสนาให้แพร่กระจอนกระจายไปสู่มหาภารตะชนได้ร่วมรับรู้และสนับสนุนข้อคิดเห็นในอันที่จะ

ผลิกฟื้นพุทธธรรมกลับมาสู่ผืนแผ่นดินมาตุภูมิ ตลอดชีวิตที่ตรากตรำไม่ย่นย่อท้อต่ออุปสรรคใดใด ถวายชีวิต

เพื่องานพระศาสนาตราบสิ้นวาระสุดท้ายของท่าน ท่านเป็นบุคคลแบบอย่างที่โลกต้องจารึกไว้ อันอนุชนรุ่นหลัง

ควรศึกษาและชาวพุทธควรรับรู้ถึงคุณูปการที่ท่านมีต่อพระพุทธศาสนาไม่ควรเลยที่จะหลงลืมหรือเลือนหายไป

จากความทรงจำ ท่านได้ละสังขารธาตุขันธ์จากไปในเวลา บ่าย 3 ของวันที่ 29 เมษายน พ.ศ 2476 สิริรวมอายุ

ได้ 69 ปี 7 เดือน 7 วัน








อ้างอิงที่มา : http://wapedia.mobi/th/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81_%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B0
•   พระราชธรรมมุนี (เกียรติ สุกิตฺติ) , จดหมายเล่าเรื่องอนาคาริกธรรมปาละ. กรุงเทพ 2543
•   พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ , ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพ : บริษัทพิมพ์สวย จำกัด, 2546
•   หนังสือประทีปแห่งเอเชีย (อังกฤษ)
•   buddhanet (อังกฤษ
                 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2010, 11:16:22 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
ในประเทศอินเดีย ยังไม่ประสพความสำเร็จจริง เพราะชาวอินเดียที่นับถือ พระพุทธศานานั้น

นับสถิติ มีเพียง 2 ล้านคนจากประชากรมากมายของอินเดีย และ ผู้ที่นับถือนั้นก็เป็นแต่พวก

วรรณะจัณฑาล และ ศูทร เป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ จริง ๆ แล้ว พระพุทธศาสนา นั้นน่าจะนับถือ

กันมากกว่าจำนวนเท่านี้ เนื่องด้วยประเทศอินเดียเศรษฐกิจหมุนไป และ ได้รับความช่วยเหลือ

จาก พุทธศาสนิกชน ทั่วโลก แต่ก็ไม่ประสพความสำเร็จ ทำไมถึงเสื่อมไปมากมายขนาดนี้



เทียบกับประเทศไทย แล้ว ศาสนามี เสื่อม มี เฟื่องฟู แต่ศาสนาพุทธ ก็ไม่เสื่อมไปจากหัวใจ คนไทย

เพราะอะไร หรือ



จากการวิเคราะห์ ของฟ้าใส นั้น ระบบการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดียนั้นมุ่งไปที่คนชั้นต่ำ

คือวรรณะ จัณฑาล และ ศูทร ซึ่งขัดจากหลักการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จะเลือก

เผยแผ่ที่ บุคคลหลัก เช่น พราหมณ์ ปัญจวัคคีย์ 5 / เศรษฐี ยส กุลบุตร สหาย 30 / ชฏิล 3 พี่น้อง 1000

พระัเจ้าพิมพิสาร  เป็นต้น ดังนั้นถ้าหากการเผยแผ่ พระพุทธศาสนานั้น มุ่งไปที่คนที่เป็นตาสี ตาสา ธรรมดา

ก่อนแล้ว การเผยแผ่ก็ไม่สามารถ ทำได้

ส่วนนี้จึงเกิดเป็น ค่านิยม ในการศึกษาของพระสงฆ์ในปัจจุบัน ที่ต้องศึกษา ใ้้ห้ได้ปริญญา และ ทิ้งการศึกษา

ภาคปริยัติ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ผู้ที่มาเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในยุคนี้ ทุกคนก็จะยอมรับ ผู้ที่มีการศึกษาสูงเป็น

หลัก อันนี้ก็เป็นค่านิยมพื้นฐาน



ทางตันของการเผยแผ่ ยุคนี้ มาถึงแล้ว ในสายตาและมุมมอง ของฟ้าใส

เพราะส่วนตัวเอง ก็วิ่งไปปฏิบัติธรรม เรียกว่า ทั่วประเทศเหมือนกัน

พระพุทธศาสนาในยุคนี้ รุ่งเรืองมาก ๆ กว่ายุคใด ๆ ทั้ง วัฒนธรรม และ  ค่านิยม เทคโนโลยี

และวิ่งถึงที่สุด แล้ว เพราะธรรมะ วิ่งเข้าถึง บ้าน ถึงห้อง ถึงที่นอน แล้ว ด้วยสื่อการเผยแผ่ต่าง ๆ



ทางตัน ที่ฟ้าใส หมายถึงนั้น ก็คือในยุคนี้ หาพระสุปฏิปันโน ยากมาก ๆ

หาพระัที่เป็น พระอรหันต์ พระอริยะบุคคล ต่าง ๆ ได้ยาก และ พระที่ปฏิบัติจริง ๆ ก็หายาก

ดังนั้น ยุคนี้ แม้สื่อเผยแผ่ จะมีมากเพียงใด ก็ยังแตกต่างจากสมัยครั้งพุทธกาลมาก ๆ

เพราะสมัยครั้ง พุทธกาลนั้น มีพระอริยบุคคล อยู่มาก

การสอนของพระสงฆ์ ในสมัยนั้นไม่ขัดแย้ง ซึ่งกันและกัน เหมือนในสมัยปัจจุบัน

สำนักนั้น สำนักนี้ ต่างก็โจมตีกันด้วยหลักการปฏิบัติ ทำให้เกิดแบ่งฝ่าย แบ่งพวก

อย่างชัดเจน แม้การตีความพระธรรมวินัย ก็ยังมีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน

บางทีก็บอก ว่า มีพระพุืทธรูป ดี บางทีก็บอกว่า พระพุทธรูป มีไม่ดีเป็นบาป

พระสงฆ์ ส่วนใหญ่ 80 % เห็นแก่ลาภสักการะ ไสยศาสตร์ ไม่ศึกษา และ ไม่สนการภาวนา

ฟ้าใส ไปทำบุญในเขต กาญจนบุรี ไม่ต่ำกว่า 150 วัด แต่สนทนาธรรมได้ก็ไม่กี่วัด

และ ในวัดมีภาวนาก็ไม่กี่วัด



รอบนี้ พูดมากไป แต่ต้องการเปรียบเทียบให้เห็นที่ อินเดีย กับ ประเทศไทย

นั้น ประเทศไทย มีพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ ครั้งพระพุทธเจ้า เผยแผ่ มาจนถึงปัจจุบัน

แต่ที่อินเดีย นั้นหายสาปสูญกันเป็น 1000 ปีทีเดียว อันนี้ที่แตกต่างเพราะอะไร

พระพุทธศาสนา นั้นเป็นสายเลือดของคนไทย สิคะให้ ภูมิใจ

ดังนั้น ฟ้าใส จึงได้อธิษฐานว่า ขอให้เกิดมาได้ฟังพระสัทธรรมในพระพุทธศาสนาฝ่ายเุถรวาท ถ้าหากยัง

ต้องเกิดอีก


 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ดร.อัมเบดการ์ (Dr.Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 09:43:40 am »
0
คุณฟ้าใส กล่าวได้ดีครับ ผมรู้สึกว่า คุณฟ้าใสมี"ความสำราญ"กับการได้พูดคุยเรื่องนี้ ยินดีกับคุณฟ้าใสด้วย
 ;) :) :49: :08: :s_good:

ขอเสริมคุณฟ้าใสนิดหนึ่ง "ใดๆในโลก ล้วนอนิจจัง"

เราไม่อาจหาความเที่ยงในโลกนี้ได้ ยกเว้น "สัทธรรม"ที่เป็นอกาลิโก ของพระพุทธองค์


อีกอย่าง ในโลกนี้ไม่มีเรื่องบังเอิญ "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"

ทุกคนเข้าใจและเชื่อพุทธภาษิตบทนี้ แต่หาคนทำใจยอมรับได้ยากมาก

ยามที่ตนได้รับวิบากกรรม หากมีใครเอ่ยพุทธภาษิตบทนี้ขึ้นมา

ก็จะมองคนพูดว่า แช่งบ้างละ ไม่เห็นใจบ้างละ ปากเสียบ้างละ

อย่าลืมนะครับ คนที่เป็นเจ้าของคำพูดนี้ก็คือ พระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าท่านปรารถนาดีกับสัตว์โลกทุกตัวตน จึงได้ตรัสเช่นนั้น




ผมมีซีดี "ตามรอยพระพุทธเจ้า" เนื้อหาครอบคลุมเรื่องบนกระทู้นี้ทั้งหมด

ท่่านใดสนใจ แจ้งความประสงค์มาได้ครับ

ขอให้ธรรมคุ้มครอง
 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ดร.อัมเบดการ์ (Dr.Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2010, 12:28:52 am »
0
ไปหามาได้ยังไงครับเนี้ย  แต่ก็สาธุด้วยครับที่นำมาให้อ่าน
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ดร.อัมเบดการ์ (Dr.Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2010, 12:30:43 am »
0
ไปหามาแต่ไหน  ดีจังครับ :25:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม