ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รู้สึก ว่าตนเอง มีกรรมมาก คะ ถ้าปฏิบัติกรรมฐานจะช่วยให้เราดีขึ้นได้อย่างไรคะ  (อ่าน 3030 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

malee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 52
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำอะไร ก็มีอุปสรรค ชีวิตครอบครัวก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ หวั่นต่อการจากกันมาก คะ จนรู้สึกพะวง กังวลกับทุกเรื่อง ถ้าเราได้ฝึกกรรมฐาน แล้วจะชำระกรรมส่วนนี้ได้ใช่หรือไม่คะ
 
   มีตัวอย่างของคนที่ฝึกกรรมฐาน และ ลดวิบากกรรมได้ ให้อ่านบ้างหรือไม่คะ

   ขอบคุณมากคะ

   :c017: :25:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องการปฏิบัติเพื่อลดกรรม มันไม่มีจริงครับ กรรมคือเจตนาที่จะทำ หากกุศลกรรมมีมาก บุญย่อมแสดงก่อน หากอกุศลกรรมมีมากบาปย่อมแสดงก่อน ดังนั้นให้คุณตั้งมั่นปฏิบัติใน กุศลจิต มีสติ ศีล พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี พิจารณาในอริยะสัจ๔ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่เป็นประจำรับรองได้ครับว่า จะไม่มีสิ่งใดทำให้คุณต้องมาทุกข์ใจอีก แม้มีอยู่ก็น้อยลงอย่างแน่นอน

ลองเริ่มต้นกระทำในใจพิจารณาในสัจธรรมนี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดังนี้ครับ

๒. การยอมรับความจริงที่เป็นสัจจะธรรม

การยอมรับความจริงได้นั้น เราต้องรู้ตามหลักสัจจะธรรมดังนี้ว่า
- คนเราย่อมเป็นไปตามกรรม เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เป็นผู้ติดตาม เป็นที่พึ่งพาอาศัย (กรรม คือ การกระทำทาง กาย วาจา ใจ) หากเราทำดี คือ คิดดี พูดดี ทำดี เราย่อมมีความสุขกาย สบายใจ ที่เรียกว่า บุญ หากเรากระทำสิ่งไม่ดีย่อมเจ็บเดือดร้อนใจ คับแค้นกายใจ ทุกข์ใจ กลัวคนอื่นเขาจะมาว่ามาฆ่าแกง ด่า ว่า โมโห โทโส ใส่ตน ดังนั้นเราทั้งหลายต้องประสบพบเจอดั่งนี้ว่า
- คนเรามีความไม่สมหวังปารถนา-ยินดีใคร่ได้ดั่งใจไปทุกอย่าง เราย่อมมีความปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปไม่ได้
- คนเรามีความพรักพรากเป็นที่สุด เราจะต้องพรัดพรากไปไม่ด้วยเหตุใดก็เหตุหนึ่ง เราจะล่วงพ้นความพรัดพรากนี้ไปไม่ได้
- คนเรามีความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก-ที่พอใจเป็นแท้จริง เราจะต้องเจอกับสิ่งที่ไม่ปารถนาใคร่ได้ต้องการ เจอสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่อยากได้ ไม่พอใจยินดี เจอการพรัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจทั้งหลาย เจอความผิดหวัง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นชื่อว่า ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่-พอใจทั้งหลาย จนอยากจะผลักหนีให้ไกลตน เราจะพ้นสิ่งนี้ไปเป็นไม่ได้

ก็สิ่งทั้งหลายเหล่านี้แลคือ ทุกข์ ทำให้เกิดความ โศรกเศร้า ร่ำไรรำพัน ไม่สาบกาย ไม่สบายใจ อึดอัด อัดอั้น คับแค้นกาย-ใจ ทั้งหลาย

ยกตัวอย่าง

1.1 เราทุกคนย่อมมีสิ่งที่ปารถนา อยาก ใคร่ได้ หรือ สิ่งที่อยากทำ-อยากให้เป็นไปตามที่ต้องการ (ความคิดต้องการแบบนี้คนทุกคนเป็นเหมือนกันหมดครับไม่ว่าใคร ไม่มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น) เช่น อยากได้บ้าน รถ ผู้ชายหล่อๆ แฟนสวยๆ รวยๆ นิสัยดี อยากกินอาหารหรูๆ อยากไปเที่ยว 9 วัดบ้าง อยากให้มีแต่คนมาพูดเพราะๆกับตนบ้าง อยากให้มีแต่คนรักตนบ้าง อยากสอบได้ที่ 1 อยากรวยมีเงิน ความอยากมีอยากเป็นอยากได้นี้เราก็ต้องมีทุกคนใช่ไหมครับ
1.2 แต่เราย่อมไม่ได้ตามที่ปารถนายินดี-ใคร่ได้ต้องการทะยานอยากนั้น เราย่อมไม่สมดั่งความปารถนาที่ตั้งความพอใจยินดีสำคัญมั่นไว้ในใจไปทั้งหมดทุกอย่างใช่มั้ยครับ

2.1 เราทุกคนย่อมมีความรักใคร่ยินดี ไม่อยากจะพรัดพรากจากสิ่งที่รัก-ที่จำเริญใจทั้งหลายใช่มั้ยครับ เช่น คนที่เรารัก ลูก เมีย สามี ญาติ เพื่อน  หมา แมว รถ บ้าน ทีวี ตู้เย็น ที่ดิน เป็นต้น เราทุกคนย่อมไม่อยากพรัดพรากจากสิ่งทั้งหลายนี้ใช่ไหมครับ
2.2 แต่สุดท้ายคนเราย่อมมีความพรัดพรากเป็นที่สุด ไม่เหตุใดก็เหตุหนึ่ง ไม่ว่าจะชำรุด ทรุดโทรม เลือนหาย สูญสลาย ตายจาก จะช้าหรือเร็วอยู่ที่การดูแลรักษาและสภาพแวดล้อมทั้งหลายใช่มั้ยครับ

3.1 เราย่อมมีสิ่งที่ไม่ชอบไม่ต้องการ ไม่อยากได้ ไม่อยากพานพบอยู่ด้วยใช่มั้ยครับ เช่น ไม่อยากให้คนเกลียด ไม่ชอบให้คนมาด่าโวยวาย ไม่ชอบให้คนมาดูแคลน ไม่อยากจน ไม่อยากกินข้าวคลุกน้ำปลา ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากพรัดพรากจากสิ่งที่รัก-ที่จำเริญใจทั้งหลาย อยากจะผลักหนีให้ไกลตน สิ่งเหล่านี้เราทุกคนก็ต้องมีใช่ไหมครับ
3.2 แต่อย่างไรเราก็หนีไม่พ้นสิ่งนี้ เราทุกคนต้องประสบพบเจอกับสิ่งที่ไม่อยากได้ต้องการ ไม่อยากจะพบเจอ ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ไม่อยากผิดหวัง ไม่อยากพรักพราก อยากจะผลักหนีให้ไกลตน เราทั้งหลายต้องเจอกับการประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก-ที่พอใจทั้งหลายนี้ใช่มั้ยครับ

- เมื่อเราเข้าใจตามสัจจะธรรมนี้แล้วใจเราย่อมยอมรับตามความเป็นจริง ไม่มีใจติดข้องเกาะเกี่ยวสิ่งใดๆ เพราะจะมองเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างติดข้องใจไปก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆกับตนเองหรือคนอื่นๆ แต่กลับจะเบียดเบียนตนเองและคนอื่นจนก่อเกิดแต่ความทุกข์เท่านั้นที่จะตามมา
- ไม่ว่าเราจะพอใจยินดี หรือ ไม่พอใจยินดีก็มีแต่ก่อให้เกิดทุกข์ เพราะว่าหากติดข้องพอใจยินดี ก็หลง ติดในอารมณ์นั้นๆ ตั้งเป็นความสำคัญมั่นหมายของใจแล้วหวังปารถนาใคร่ได้ ต้องการทะยานอยาก พอไม่เป็นดั่งหวัง หรือ เกิดการพรัดพรากจากของรักของจำเริญใจทั้งหลาย ก็ก่อเกิดเป็นความไม่พอใจยินดีโทมนัสแก่ตน แล้วก็ทุกข์ คับแค้น อัดอั้นใจ แล้วพอมาติดข้องในความไม่พอใจยินดี ก็ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็ร้อนรน คับแค้นกาย-ใจ อัดอั้นกาย-ใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ทุกข์ทรมาณกายใจ
- สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ มันไม่มีสิ่งใดๆที่เป็นของเรา มันไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับ จับต้อง ยึดถือ ยื้อดึง ฉุดรั้ง ให้มันเป็นดั่งที่ใจเราต้องการได้ เราไม่อาจบังคับให้มันอยู่กับเรา-คงอยู่กับเราตลอดไปได้ ทุกๆอย่างมีความเสื่อมโทรมเป็นธรรมดาช้าเร็วขึ้นอยู่กับกาลเวลา การดูแลรักษา และ สภาพแวดล้อม ไม่มีตัวตนอันเราจะบังคับให้เป็นดั่งใจปารถนาต้องการได้ ยิ่งพยายามฉุดรั้ง จับยึด ยื้อดึงให้มันเป็นไปตามที่ใจต้องการมากเท่าไหร่ ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น

               ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเกิดความพรัดพราก คือ เลิกรา ร้างลากับคนที่รักสุดหัวใจ ลองพิจารณาดูนะครับว่าเราสามารถไป บังคับ ยื้อยึด ฉุดรั้ง ให้เขาคงอยู่กับเราไม่จากไปไหน ไม่ให้เขาทิ้งเราไปได้ไหมครับ คงไม่ได้ใช่ไหมครับ เพราะความคงอยู่มันไม่เที่ยงย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อม ไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับให้มันเป็นไปดังใจเราต้องการได้ เพราะเขาไม่ใช่ของเรา ยิ่งเราปารถนาให้เขาคงอยู่กับเรามากเท่าไหร พยายามจะบังคับให้เป็นดั่งใจต้องการมากเท่าไหร่ แต่เมื่อมันไม่เป็นไปตามความหวังปารถนาใคร่ได้นั้น เราก็จะยิ่งทุกข์มากตามความปารถนาที่มากมายนั้นๆของเรา // เพราะเรามีความพอใจยินดีให้เขาคงอยู่กับเรา...แต่พอไม่เป็นไปตามที่หวังปารถนาใคร่ได้ ไม่เเป็นไปตามที่เราพอใจยินดีนั้น มันจึงเป็นทุกข์ใช่ไหมครับ  และ เพราะเรามีความไม่พอใจยินดีที่จะขาดเขา ไม่พอใจยินดีที่จะไม่มีเขา...แต่พอสิ่งที่เราไม่รัก ไม่ต้องการ ไม่พอใจยินดีเกิดขึ้นและเข้ามาหาเรา มันจึงเป็นทุกข์ใช่ไหมครับ // ดังนั้นให้พิจารณาจนเห็นในสัจธรรมว่า คนเรามีความพรัดพรากเป็นที่สุด จะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปไม่ได้ จะช้าหรือเร็วก็ต้องพรัดพรากอยู่ดี เมื่อจิตเริ่มคลายความคับแค้น-เสียใจลงแล้ว ก็ให้ตั้งจิตระลึกว่า...ปล่อยเขาไปพบเจอสิ่งที่ดีที่เขาชอบเสีย ถือเสียว่าเป็น "ทาน" ให้เขาอยู่กับสิ่งที่ขอบใจพอใจยินดี ดั่งเราจับนกในป่ามาขังไว้ นกมันย่อมคับแค้นกาย-ใจ โศรกเศร้าเสียใจ ร่ำไรรำพัน ตะเกียกตะกายอยากออกไปอยู่ในป่าตามเดิม อยู่ตามวิถีชีวิตของมัน ก็ถือเสียว่าคุณได้ปล่อยนกตัวนั้นไปแม้จะรักและหวงมากแค่ไหน เพื่อให้ทานที่เป็นอิสระสุขเออนุเคราะห์แก่นกตัวนั้น ก็เท่ากับว่าเราได้บำเพ็ญทานบารมีอันประเสริฐแล้ว

ดูอุบายวิธีการเจริญเมตตาจิตในการสวดมนต์แผ่เมตตาให้แก่บุคคลทั้งหลาย ตาม Link นี้ได้เลยครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8226.0

วิธีการปฏิบัติและเจริญใน ทาน ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.msg27478#msg27478
ในข้อที่ ๓. การระลึกปฏิบัติ ทำไปเพื่อการให้ที่เรียกว่า ทาน

- ดังนั้นเมื่อเรารู้สัจธรรมและพิจารณาตามจริงเช่นนี้เป็นต้น...จิตเราย่อมเข้าถึงอุเบกขาซึ่งมีสภาพเป็นใจกลางๆ ความวางใจกลางๆไม่หยิบจับเอาความชอบ ไม่ชอบ พอใจยินดี ไม่พอใจยินดี มีความเป็นอัพยกตา คือ มีความเป็นกลางๆ จึงทำให้ไม่มีความทุกข์-สุขจากสิ่งที่พอใจ ไม่พอใจนี้ มีแค่ความสงบ อบอุ่น จิตผ่องใส เบาสบาย ไม่ติดข้องต้องใต ขุ่นเคืองใจใดๆ เพราะเข้าใจในสภาพความเป็นจริงตามสัจธรรมทั้งหลายนี้

บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ทำอะไร ก็มีอุปสรรค ชีวิตครอบครัวก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ หวั่นต่อการจากกันมาก คะ จนรู้สึกพะวง กังวลกับทุกเรื่อง ถ้าเราได้ฝึกกรรมฐาน แล้วจะชำระกรรมส่วนนี้ได้ใช่หรือไม่คะ

ชีวิต ชะตา วิบาก ทุกข์ เปลี่ยนแปลงได้ยาก ภาวนาก็เพียงระงับวางจากนิวรณ์ สุขได้มีได้เพราะใจวางก็เท่านี้ ครับ!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 19, 2012, 09:47:04 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
กิเลส เป็นเหตุ ให้เกิด กรรม 

กรรม เป็นเหตุ ให้เกิด วิบาก

วิบาก เป็นเหตุ ให้เกิด กิเลส

วนกันไป กันมาอย่างนี้ ถ้าจะหยุด ก็ต้องหยุดให้เป็น

 ถ้า วัฏฏะ ชุดใหญ่ ก็จะเริ่มจาก

  อวิชชา เป็นเหตุให้เกิด  สังขาร  ............... ทุกข์ เป็นเหตุ ให้เกิด อวิชชา

ดังนั้นอยากสิ้นสุด ทุกข์ หรือ วิบาก ก็ต้องรู้จัก เปลี่ยน กรรม ตัวเดียว ชุดเดียว เท่านั้น

 กรรม ก็คือ อริยะมรรค มีองค์ 8 ซึ่ง มีอยู่ใน กรรมฐาน หรือ พระธรรม เท่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแสดงไว้ดีแล้ว นั่นเอง

 เมื่อรู้จักเปลี่ยน กรรม  ก็จะเปลี่ยน เป็น กิจแห่งพรหมจรรย์

 ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า กิจอื่น ยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว นั่นเอง

ดังนั้นอยากพ้นวิบาก ก็ต้อง ปฏิบัติธรรม ภาวนากรรมฐาน นั่นเอง

 เจริญพร / เจริญธรรม

  ;)

 


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ