หัวข้อ: ปริวาส เริ่มหัวข้อโดย: jeeb ที่ มกราคม 21, 2011, 09:19:35 pm อยากรู้จริงๆค่ะ พี่ๆที่รู้ ช่วยตอบที่
ปริวาส คืออะไรคะ ปฎิบัติปริวาส ทำอย่างไร เพืออะไร ปริวาส มานัตต์ อำพาน ต่างกันอย่างไร บุคคลธรรมดาสามารถเข้าปริวาส มานัต อำพาน ได้ไหมคะ หัวข้อ: Re: ปริวาส เริ่มหัวข้อโดย: prachabeodee ที่ มกราคม 21, 2011, 11:13:41 pm อยากรู้จริงๆค่ะ พี่ๆที่รู้ ช่วยตอบที่ หัวข้อ: Re: ปริวาส เริ่มหัวข้อโดย: udom ที่ มกราคม 22, 2011, 12:56:34 am คำตอบย่อ ๆ อยู่ลิงก์นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2791.msg9765#msg9765 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2791.msg9765#msg9765) :08: หัวข้อ: Re: ปริวาส เริ่มหัวข้อโดย: jeeb ที่ มกราคม 22, 2011, 01:56:01 am คำตอบย่อ ๆ อยู่ลิงก์นี้ครับ อ่านแล้วมีคำที่ยังไม่เข้าใจอยู่ค่ะ 1, ปริวาสกรรม คือ สงฆ์ที่ต้องสังฆาทิเสส คำว่าต้อง หมายถึงอะไรคะ จะต้องทำ จำเป็นต้องทำ จึงจะมีสิทธิ เข้าปริวาสใช่ไหมคะ ไม่เข้าใจคำว่า้ต้อง ค่ะ 2, สังฆาทิเสส คืออะไร ดียังไง ความคิดส่วนตัว สังฆาทิเสส น่าจะดีไม่งั้นไม่มีสิทธิเข้าปริวาส ฆารวาส สามาถทำสังฆาทิเสส ได้ไหมคะ ไม่เข้าใจจริงๆค่ะช่วยขยายความให้ที หัวข้อ: Re: ปริวาส เริ่มหัวข้อโดย: udom ที่ มกราคม 22, 2011, 02:09:26 am อย่าไปสนใจเลยครับ เป็นเรื่องของพระ เราเป็นผู้หญิง รู้ไปก็ไม่มีประโยชน์ครับ
หน้าที่ของเราทำบุญครับ อุปัฏฐากครับ “การประพฤติวุฏฐานวิธี” หรือ "อยู่ปริวาสกรรม" หรือ "มาชำระมลทินการละเมิดวินัยของพระ" วุฏฐานวิธี คือ กฎระเบียบเป็นเครื่องออกจากอาบัติ หมายถึง ระเบียบวิธีปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้จะเปลื้องตนออกจาก ครุกาบัติสังฆาทิเสส มีทั้งหมด ๔ ขั้นตอน คือ ๑. ปริวาส หรือ อยู่ประพฤติปริวาส หรือ อยู่กรรม (โดยสงฆ์เห็นชอบที่ ๓ ราตรี) ๒. มานัต ประพฤติมานัต ๖ ราตรี หรือ นับราตรี ๖ ราตรีแล้วสงฆ์สวดระงับอาบัติ ๓. อัพภาน หรือ การเรียกเข้าหมู่ โดยพระสงฆ์ ๒๐ รูป สวดให้อัพภาน ๔. ปฏิกัสสนา ประพฤติมูลายปฏิกัสสนา (ถ้าต้องอันตราบัติในระหว่างหรือการชักเข้าหาอาบัติเดิม) ทั้ง ๔ ขั้นตอนนี้รวมกันเข้าเรียกว่า “การประพฤติวุฎฐานวิธี” แปลว่าระเบียบหรือขั้นตอนปฏิบัติตน เพื่อออกจากอาบัติ อันได้แก่ “สังฆาทิเสส” ข้อดีคือเราได้ทำบุญ กับพระสงฆ์ ที่มาประพฤติ วัตรแสดงความบริสุทธิ์ เรียกว่ามาอยู่ใช้กรรม ที่ตนเองก่อไว้ ทั้งที่แน่ใจ และ ไม่แน่ใจ ซึ่งเป็นการละเมิดศีลวินัย จัดเป็นอาบัติที่มีโทษขั้นกลางครับ เช่น จับต้องกายหญิง เกี้ยวพาราสี (จีบแม่หญิง ) ชักสื่อชายหญิง ยังสงฆ์ให้แตกแยก เป็นต้น มี 13 ข้อ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ดีของพระที่ปฏิบัติล่วงผิดวินัย ที่นี้พระที่เข้าปริวาสกรรมในปัจจุบัน บางท่านก็ไม่มีอาบัติหรอก แต่อาศัยช่วงที่เปิดเข้าปริวาสนั้น ได้มาบำเพ็ญ บุญโดยการภาวนา เข้ารับกา่รฝึกปฏิบัติ ท่องเที่ยวจาริก ในช่วงนี้ไปด้วย ดังนั้นในปัจจุบัน จึงระบุไม่ได้ว่ามี ว่าพระภิกษุที่เข้าปริวาสนั้นต้องอาบัติ ( ละเมิดศีลข้อไหนใน 13 ข้อ มาบ้าง ) เพราะไม่มีการสอบถามเป็นข้อ มีแต่การสอบว่า บริสุทธิ กับ ไม่บริสุทธิ เท่านั้น หัวข้อ: Re: ปริวาส เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 28, 2011, 11:21:17 am ปริวาส การอยู่ชดใช้ เรียกสามัญว่า อยู่กรรม, เป็นชื่อวุฏฐานวิธี (ระเบียบปฏิบัติสำหรับออกจากครุกาบัติ) อย่างหนึ่ง ซึ่งภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ จะต้องประพฤติเป็นการลงโทษตนเองชดใช้ให้ครบเท่าจำนวนวันที่ปิดอาบัติ
ก่อนที่จะประพฤติมานัตอันเป็นขั้นตอนปกติของการออกจากอาบัติต่อไป, ระหว่างอยู่ปริวาส ต้องประพฤติวัตรต่างๆ เช่น งดใช้สิทธิบางอย่าง ลดฐานะของตน และประจานตัวเป็นต้น; ปริวาส มี ๓ อย่าง คือ ปฏิจฉันนปริวาส สโมธานปริวาส และ สุทธันตปริวาส; มีปริวาสอีกอย่างหนึ่งสำหรับนักบวชนอกศาสนา จะต้องประพฤติก่อนที่จะบวชในพระธรรมวินัย เรียกว่า ติตถิยปริวาส ซึ่งท่านจัดเป็น อปริจฉันนปริวาส ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต) ปฏิจฉันนปริวาส ปริวาสเพื่อครุกาบัติที่ปิดไว้, ปริวาสที่ภิกษุผู้ปรารถนาจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสอยู่ใช้เพื่ออาบัติที่ปิดไว้ ซึ่งนับวันได้เป็นจำนวนเดียว สโมธานปริวาส ปริวาสแบบประมวลเข้าด้วยกัน คือ ปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสต่างคราว มีจำนวนวันปิดต่างกันบ้าง ไม่ต่างบ้าง ปรารถนาจะออกจากอาบัตินั้น จึงอยู่ปริวาสโดยประมวลอาบัติและราตรีเข้าด้วยกันจำแนกเป็น ๓ อย่างคือ ๑.โอธานสโมธาน สำหรับอาบัติมากกว่าหนึ่ง แต่ปิดไว้นานเท่ากัน เช่น ต้องอาบัติ ๒ คราว ปิดไว้คราวละ ๕ วัน ประมวลเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาส ๕ วัน ๒.อัคฆสโมธาน สำหรับอาบัติมากกว่าหนึ่งและปิดไว้นานไม่เท่ากัน เช่น ต้องอาบัติ ๓ คราว ปิดไว้ ๓ วัน ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้าง ประมวลเข้าด้วยกันอยู่ปริวาสเท่าจำนวนวันที่มากที่สุด (คือ ๗ วัน) ๓.มิสสกสโมธาน สำหรับอาบัติที่ต่างวัตถุกัน (เช่น กายสังสัคคะก็มี ทุฏฐุลลวาจาก็มี สัญจริตตะก็มี) มีวันปิดเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง ประมวลเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาสรวมเป็นคราวเดียว สุทธันตปริวาส ปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องการจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสอยู่ไปจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์ หมายความว่า ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปิดไว้หลายคราวจนจำนวนอาบัติและจำนวนวันที่ปิดไม่ได้ หรือจำได้แต่บางจำนวน ท่านให้ขอปริวาสประมวลจำนวนอาบัติและจำนวนวันที่ปิดเข้าด้วยกันแล้วอยู่ใช้ไปจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์ มี ๒ อย่างคือ จูฬสุทธันตปริวาสและมหาสุทธันตปริวาส ติตถิยปริวาส วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา กล่าวคือ นักบวชในลัทธิศาสนาอื่น หากปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาสก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจ จึงจะอุปสมบทได้ ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต) พระไตรปิฎก เล่ม ๘ พระวินัยปิฎก ปริวาร ปริวาสมี ๒ คือ ปฏิจฉันนปริวาส ๑ อัปปฏิจฉันนปริวาส ๑. ปริวาสแม้อย่างอื่นมีอีก ๒ คือ สุทธันตปริวาส ๑ สโมธานปริวาส ๑. ปริวาสมี ๓ คือ ปฏิจฉันนปริวาส ๑ อัปปฏิจฉันนปริวาส ๑ สุทธันตปริวาส ๑. ปริวาสมี ๔ คือ ปฏิจฉันนปริวาส ๑ อัปปฏิจฉันนปริวาส ๑ สุทธันตปริวาส ๑ สโมธานปริวาส ๑. ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน หามาเสริมให้เพื่อนๆได้อ่านครับ เพื่อความเข้าใจที่กว้างขวางยิ่งขึ้น :25: |