หัวข้อ: ศีลไม่ถึงสมาธิ สมาธิไม่ถึงปัญญา คำนี้สำคัญอย่างยิ่ง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 09, 2011, 08:59:50 am อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พรหมชาลสูตร (http://j5.tagstat.com/image03/7/1b7f/002o001VNJ_.gif) ศีลยังไม่ถึงสมาธิ เป็นอย่างไร? คือว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ในปีที่ ๗ นับแต่ตรัสรู้ ได้ประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์ประมาณโยชน์หนึ่ง ในรัตนมณฑปประมาณ ๑๒ โยชน์ ณ ควงต้นคัณฑามพฤกษ์ ใกล้ประตูนครสาวัตถี เมื่อเทพยดากางกั้นทิพยเศวตฉัตรประมาณ ๓ โยชน์ ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ย่ำยีเดียรถีย์ซึ่งแสดงการทรงถือเอาเป็นส่วนพระองค์ ในบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ คือ ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์อันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ท่อไฟพวยพุ่งออกจากพระวรกายส่วนบน สายน้ำไหลออกจากพระวรกายส่วนล่าง ฯ ล ฯ ท่อไฟพวยพุ่งออกจากขุมพระโลมาแต่ละขุมๆ สายน้ำไหลออกจากขุมพระโลมาแต่ละขุม มีวรรณะ ๖ ประการ ดังนี้. พระรัศมีมีวรรณะดุจทองคำ พุ่งขึ้นจากพระสรีระอันมีวรรณะดังทองคำของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไปจนถึงภวัคพรหม เป็นประหนึ่งกาลเป็นที่ประดับหมื่นจักรวาลทั้งสิ้น. รัศมีอย่างที่สองๆ กับอย่างแรกๆ เหมือนเป็นคู่ๆ พวยพุ่งออกราวกะว่าในขณะเดียวกัน. (http://gallery.palungjit.com/data/540/budhavx2.gif) อันชื่อว่าจิตสองดวงจะเกิดในขณะเดียวกัน ย่อมมีไม่ได้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทรงมีการพักภวังคจิตเร็ว และทรงมีความชำนาญที่สั่งสมไว้โดยอาการ ๕ อย่าง ดังนั้น พระรัศมีเหล่านั้นจึงเป็นไปราวกะว่าในขณะเดียวกัน. แต่พระรัศมีนั้นๆ ยังมีอาวัชชนะ บริกรรมและอธิษฐาน แยกกันอยู่นั่นเอง คือ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์รัศมีสีเขียว ก็ทรงเข้าฌานมีนีลกสิณเป็นอารมณ์ มีพระพุทธประสงค์รัศมีสีเหลือง ก็ทรงเข้าฌานมีปีตกสิณเป็นอารมณ์ มีพระพุทธประสงค์รัศมีสีแดงและสีขาว ก็ทรงเข้าฌานมีโลหิตกสิณเป็นอารมณ์ โอทากสิณเป็นอารมณ์ มีพระพุทธประสงค์ท่อไฟ ก็ทรงเข้าฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ มีพระพุทธประสงค์สายน้ำก็ทรงเข้าฌานมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์. พระศาสดาเสด็จจงกรม พระพุทธนฤมิตก็ประทับยืน หรือประทับนั่ง หรือบรรทม.๑- ____________________________ ๑- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๒๘๔ บัณฑิตพึงอธิบายให้พิสดารทุกบท ด้วยประการฉะนี้. ในข้อนี้ กิจแห่งศีลแม้อย่างเดียวก็ไม่มี ทุกอย่างเป็นกิจของสมาธิทั้งนั้น. ศีลไม่ถึงสมาธิ เป็นอย่างนี้. (http://i1045.photobucket.com/albums/b453/alongkot_r/010653/f15.jpg) อนึ่งเล่า ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีมาสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแล้ว เมื่อกาลที่ทรงมีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา เสด็จออกจากที่ประทับอันเป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นสิริแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ผนวช ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงบำเพ็ญเพียรตลอด ๖ พรรษา. (http://i1045.photobucket.com/albums/b453/alongkot_r/010653/f17.jpg) ครั้นถึงวันวิสาขบุรณมี ดิถีเพ็ญเดือน ๖ เสวยมธุปายาสใส่ทิพยโอชาซึ่งนางสุชาดา บ้านอุรุเวลคามถวาย เวลาสายัณหสมัย เสด็จเข้าไปยังโพธิมัณฑสถานทางทิศทักษิณ และทิศอุดร ทรงทำปทักษิณพญาไม้โพธิใบ ๓ รอบ แล้วประทับยืน ณ เบื้องทิศอีสาน ทรงลาดสันถัตหญ้า ทรงขัดสมาธิสามชั้น ทรงทำกรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์อันประกอบด้วยองค์ ๔ ให้เป็นเบื้องต้น ทรงอธิษฐานความเพียร เสด็จขึ้นสู่บัลลังก์อันประเสริฐ ๑๔ ศอก ผินพระปฤษฎางค์สู่ลำต้นโพธิ์อันสูง ๕๐ ศอก ราวกะต้นเงินที่ตั้งอยู่บนตั่งทอง ณ เบื้องบนมีกิ่งโพธิ์กางกั้นอยู่ราวกะฉัตรแก้วมณี มีหน่อโพธิ์ซึ่งคล้ายแก้วประพาฬหล่นลงที่จีวรซึ่งมีสีเหมือนทอง (http://i1045.photobucket.com/albums/b453/alongkot_r/010653/f21.jpg) ยามพระอาทิตย์ใกล้จะอัสดงคต ทรงกำจัดมารและพลมารได้แล้ว ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณในปฐมยาม ทรงชำระทิพยจักษุในมัชฌิมยาม ครั้นเวลาปัจจุสสมัยใกล้รุ่ง ทรงหยั่งพระปรีชาญาณลงในปัจจยาการที่พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสั่งสมกันมา ยังจตุตถฌานมีอานาปานสติเป็นอารมณ์ให้บังเกิด ทรงทำจตุตถฌาณนั้นให้เป็นบาท ทรงเจริญวิปัสสนา ทรงยังกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยมรรคที่ ๔ ที่พระองค์ทรงบรรลุแล้ว ตามลำดับแห่งมรรค ทรงแทงตลอดพระพุทธคุณทั้งปวง. นี้เป็นกิจแห่งปัญญาของพระองค์. สมาธิไม่ถึงปัญญา เป็นอย่างนี้. ในข้อนั้น น้ำในมือยังไม่ถึงน้ำในถาด น้ำในถาดยังไม่ถึงน้ำในหม้อ น้ำในหม้อยังไม่ถึงน้ำในไห น้ำในไหยังไม่ถึงน้ำในตุ่ม น้ำในตุ่มยังไม่ถึงน้ำในหม้อใหญ่ น้ำในหม้อใหญ่ยังไม่ถึงน้ำในบ่อ น้ำในบ่อยังไม่ถึงน้ำในลำธาร น้ำในลำธารยังไม่ถึงน้ำในแม่น้ำน้อย น้ำในแม่น้ำน้อยยังไม่ถึงน้ำในปัญจมหานที น้ำในปัญจมหานทียังไม่ถึงน้ำในมหาสมุทรจักรวาล น้ำในมหาสมุทรจักรวาลยังไม่ถึงน้ำในมหาสมุทรเชิงเขาสิเนรุ น้ำในมือเทียบน้ำในถาดก็นิดหน่อย ฯ ล ฯ น้ำในมหาสมุทรจักรวาลเทียบน้ำในมหาสมุทรเชิงเขาสิเนรุ ก็นิดหน่อย ฉะนั้น น้ำในเบื้องต้นๆ ถึงมาก ก็เป็นน้ำนิดหน่อย โดยเทียบกับน้ำในเบื้องต่อๆ ไป ด้วยประการฉะนี้ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ศีลในเบื้องล่างก็มีอุปไมยฉันนั้นนั่นเทียว พึงทราบว่า มีประมาณน้อย ยังต่ำนัก โดยเทียบกับคุณในเบื้องบนๆ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคตจะพึงกล่าวด้วยประการใด นั่นมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีล ดังนี้. ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=09.0&i=1&p=3 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=09.0&i=1&p=3) อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=09&A=1&Z=1071 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=09&A=1&Z=1071) (http://img190.imageshack.us/img190/8885/ba24.gif) (http://i136.photobucket.com/albums/q184/foxii-bucket/thai-gift019.gif) มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ อาปูรติ ธีโร บุญฺญสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อยจักไม่มีมาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด ผู้มีปัญญาสั่งสมบูญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น ขุ.ธ. ๒๕/๓๑ หัวข้อ: Re: ศีลไม่ถึงสมาธิ สมาธิไม่ถึงปัญญา คำนี้สำคัญอย่างยิ่ง เริ่มหัวข้อโดย: Hero ที่ มีนาคม 09, 2011, 09:02:12 am สาูธุ เจริญธรรม ปัญญายามเช้า ครับ
:25: หัวข้อ: Re: ศีลไม่ถึงสมาธิ สมาธิไม่ถึงปัญญา คำนี้สำคัญอย่างยิ่ง เริ่มหัวข้อโดย: Be-boy ที่ มีนาคม 09, 2011, 09:15:46 am สาธุ กับพระธรรม ยามเช้า ครับ
:035: หัวข้อ: Re: ศีลไม่ถึงสมาธิ สมาธิไม่ถึงปัญญา คำนี้สำคัญอย่างยิ่ง เริ่มหัวข้อโดย: samapol ที่ มิถุนายน 13, 2011, 07:01:55 pm อ้างถึง ทรงทำประทักษิณพญาไม้โพธิใบ ๓ รอบ น่าสนใจมากครับ กิจทีี่เกิดขึ้นในคืนตรัสรู้ ทรงขัดสมาธิสามชั้น อยากถามส่วนนี้ครับ มีลักษณะอย่างไรครับ :smiley_confused1: หัวข้อ: Re: ศีลไม่ถึงสมาธิ สมาธิไม่ถึงปัญญา คำนี้สำคัญอย่างยิ่ง เริ่มหัวข้อโดย: pussadee ที่ มิถุนายน 13, 2011, 07:44:36 pm อ้างถึง ทรงทำกรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์อันประกอบด้วยองค์ ๔ ให้เป็นเบื้องต้น อยากทราบเนื้อหา ตรงนี้ด้วยคะ ใครแนะนำได้บ้างคะ :25: หัวข้อ: Re: ศีลไม่ถึงสมาธิ สมาธิไม่ถึงปัญญา คำนี้สำคัญอย่างยิ่ง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 13, 2011, 07:59:18 pm
ปางขัดสมาธิเพชร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/1/19/%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A32.jpg/200px-%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A32.jpg) ลักษณะพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ปางขัดสมาธิเพชร เป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปในอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิไขว้พระชงฆ์ (แข้ง) หงายฝ่าพระบาททั้งสองข้าง พระหัตถ์วางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย ประวัติ เป็นท่านั่งสมาธิที่พระบรมโพธิสัตว์ ประทับนั่งหลังจากที่ รับหญ้าคา 8 กำ จากนายโสตถิยพราหมณ์แล้ว ทรงนำไปปูใต้ต้นศรีมหาโพธิ์แล้วทรงประทับนั่ง ในท่าขัดสมาธิเพชรนี้ แล้วทรงอธิษฐานว่า "เนื้อและเลือดในสรีระนี้ แม้จะเหือดแห้งไปหมดสิ้น จะเหลือแต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที ถ้าเรายังไม่บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณก็จักไม่ทำลายบัลลังก์นี้" ด้วยพระหฤทัยที่แน่วแน่มั่นคง และทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา หรืออีกนัยหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จออกไปโปรดสัตว์ในเวลาเช้า เสวยแล้วทรงพักกลางวัน ทรงพระอิริยาบทนั่ง คือนั่งสมาธิ ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ (http://th.wikipedia.org/wiki/)ปางขัดสมาธิเพชร หัวข้อ: Re: ศีลไม่ถึงสมาธิ สมาธิไม่ถึงปัญญา คำนี้สำคัญอย่างยิ่ง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 14, 2011, 06:15:15 pm
ตอนนี้หาข้อมูลมาตอบไม่ได้ ถ้าจะเดาก็คงต้องเดาว่า องค์ ๔ อาจจะเป็น ๔ ทิศ เหนือใต้ออกตก คือ น่าจะเป็นการทำสมถกรรมฐาน แล้วแผ่เมตตาไปสี่ทิศใหญ่ ;) :welcome: |