ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เราควรทำอย่างไร เมื่อเขากำลัง ด่าเราให้ได้ยิน อย่างเสียหาย  (อ่าน 6171 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

   เพื่อน ๆ ที่ทำงาน คะ ชอบนินทาเสียงดังคะ ( พูดให้ได้ยิน ) กันเป็นกลุ่มคะ เรื่องการเป็นที่โปรดปราน เจ้านายประมาณนี้ คะ
 
   เราควรทำอย่างไร เมื่อเขากำลัง ด่าเราให้ได้ยิน อย่างเสียหาย ในที่ซึ่งหน้า ซึ่งปกติก็ใช้ธรรมะ เป็นเครื่องอดกลั้นมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว แต่การกระทำอย่างนี้ กับรุนแรงขึ้นเพราะเขาเห็นว่าเราไม่โต้ตอบ คะ

   :c017:

บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
   เพื่อน ๆ ที่ทำงาน คะ ชอบนินทาเสียงดังคะ ( พูดให้ได้ยิน ) กันเป็นกลุ่มคะ เรื่องการเป็นที่โปรดปราน เจ้านายประมาณนี้ คะ
 
   เราควรทำอย่างไร เมื่อเขากำลัง ด่าเราให้ได้ยิน อย่างเสียหาย ในที่ซึ่งหน้า ซึ่งปกติก็ใช้ธรรมะ เป็นเครื่องอดกลั้นมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว แต่การกระทำอย่างนี้ กับรุนแรงขึ้นเพราะเขาเห็นว่าเราไม่โต้ตอบ คะ

เมื่อก่อนผมนั้นเป็นคนที่ค่อนข้างจริงจังกับงานมาก ไม่ค่อยจะเกรงใจใคร แม้มีเพื่อนหญิงพอใจชอบพอก็กระด้างวางเฉย ผมนั้นมีนิสัยชอบคนพูดจาไพเราะ ยิ้มง่าย ใจเย็น แต่เรื่องงานมักใจร้อนกับคนอื่น นี่จึงเป็นปมด้อยที่สำคัญผิดคิดว่าเป็นปมเด่นของตัวเอง จนกระทั่งวันหนึ่งที่ผมเองสามารถขว้างงานกระเบื้องในมือใส่คุณเธอที่ปากกล้าใส่ผม รุ่งขึ้นเธอมาขอโทษผม แต่ผมเสียงแข็งไม่ไมตรีด้วย เธอคนนั้นโกรธด่าว่าผมเสียๆหายๆทุกวันเป็นปีครับ ความที่เป็นคนสันโดษและวางตัวเข้าสังคมไม่เป็น พูดน้อย ชอบทำงานคนเดียว จึงเริ่มที่จะเรียนรู้มองตนเอง กระทั่งพบพระอาจารย์เรียนภาวนาก็หัดใจเย็นขึ้น มีเมตตาเยอะๆ มองคนอื่นในแง่ดีไว้ เราอยู่ได้ ศัตรูเวรภัยไม่มี ชีวิตก็สวัสดี ครับ!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 19, 2013, 10:10:24 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29299
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โกธวรรคที่ ๑๗

๗. เรื่องอตุลอุบาสก [๑๘๐]
   
           
ข้อความเบื้องต้น              
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสก ชื่ออตุละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โปราณเมตํ" เป็นต้น.

อตุละโกรธพระเรวตะเพราะท่านไม่พูดด้วย               
ความพิสดารว่า อตุละนั้นเป็นอุบาสกชาวกรุงสาวัตถี มีอุบาสกเป็นบริวาร ๕๐๐ คน วันหนึ่ง พาพวกอุบาสกเหล่านั้นไปวิหาร เพื่อต้องการฟังธรรม ใคร่จะฟังธรรมในสำนักพระเรวตเถระ ไหว้พระเรวตเถระแล้วนั่ง.

ก็ท่านผู้มีอายุนั้น เป็นผู้ยินดีในการหลีกเร้น เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนราชสีห์ ฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวอะไรกับอุบาสกนั้น เขาโกรธว่า "พระเถระนี้ไม่กล่าวอะไร" จึงลุกขึ้น ไปยังสำนักพระสารีบุตรเถระ ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง

เมื่อพระเถระกล่าวว่า "พวกท่านมาด้วยต้องการอะไร?" จึงกล่าวว่า "ท่านขอรับ ผมพาอุบาสกเหล่านี้เข้าไปหาพระเรวตเถระ เพื่อต้องการฟังธรรม พระเถระไม่กล่าวอะไรแก่ผมนั้นเลย ผมนั้นโกรธท่าน จึงมาที่นี้ ขอท่านจงแสดงธรรมแก่ผมเถิด."

ลำดับนั้น พระเถระกล่าวว่า "ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงนั่งเถิด อุบาสกทั้งหลาย" แล้วแสดงอภิธรรมกถาอย่างมากมาย.





อตุละโกรธคนผู้พูดมาก               
อุบาสกโกรธว่า "ชื่อว่าอภิธรรมกถา ละเอียดยิ่งนัก สุขุมยิ่งนัก, พระเถระแสดงอภิธรรมอย่างเดียวมากมาย, พวกเราต้องการอะไรด้วยพระอภิธรรมนี้" ดังนี้แล้ว ได้พาบริษัทไปยังสำนักพระอานนทเถระ;

แม้เมื่อพระเถระกล่าวว่า "ทำไม? อุบาสก" จึงกล่าวว่า "ท่านขอรับ พวกผมเข้าไปหาพระเรวตเถระ เพื่อต้องการฟังธรรม ไม่ได้แม้แต่การสนทนาและปราศรัยในสำนักของท่าน เลยโกรธ แล้วจึงมายังสำนักของพระสารีบุตรเถระ แม้พระเถระนั้น ก็แสดงอภิธรรมอย่างเดียวละเอียดนัก มากมายแก่พวกผม พวกผมโกรธแม้ต่อพระเถระนั่นว่า ‘พวกเราต้องการอะไรด้วยอภิธรรมนี้’ แล้วจึงมาที่นี้ ขอท่านจงแสดงธรรมกถาแก่พวกผมเถิด ขอรับ."

     พระเถระ. ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านจงนั่งฟังเถิด.
     พระเถระแสดงธรรมแก่พวกเขาแต่น้อยๆ ทำให้เข้าใจง่าย.


อตุละโกรธคนผู้พูดน้อย              
พวกเขาโกรธแม้ต่อพระเถระแล้ว ก็ไปยังสำนักพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพวกเขาว่า "อุบาสกทั้งหลาย พวกท่านมาทำไมกัน."
   พวกอุบาสก. เพื่อต้องการฟังธรรม พระเจ้าข้า.
   พระศาสดา ก็พวกท่านฟังธรรมแล้วหรือ?
   พวกอุบาสก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เบื้องต้น พวกข้าพระองค์เข้าไปหาพระเรวตเถระ ท่านไม่กล่าวอะไรกับพวกข้าพระองค์ พวกข้าพระองค์โกรธท่านแล้ว จึงไปหาพระสารีบุตรเถระ, พระเถระนั้นแสดงอภิธรรมแก่พวกข้าพระองค์มากมาย พวกข้าพระองค์กำหนดอภิธรรมนั้นไม่ได้ จึงโกรธ แล้วเข้าไปหาพระอานนทเถระ พระเถระนั้นแสดงธรรมแก่พวกข้าพระองค์น้อยนัก พวกข้าพระองค์โกรธแม้ต่อท่าน แล้วมาในที่นี้.




    การนินทาสรรเสริญเป็นของเก่า              
    พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของเขาแล้ว จึงตรัสว่า
     "อตุละ ข้อนั้น เขาเคยประพฤติกันมาตั้งแต่โบราณทีเดียว,
     ชนทั้งหลายติเตียนทั้งคนนิ่ง ทั้งคนพูดมาก ทั้งคนพูดน้อยทีเดียว ด้วยว่าผู้อันเขาพึงติเตียนอย่างเดียวเท่านั้น หรือว่าผู้อันเขาพึงสรรเสริญอย่างเดียวไม่มีเลย;
     แม้พระราชาทั้งหลาย คนบางพวกก็นินทา บางพวกก็สรรเสริญ,
     แผ่นดินใหญ่ก็ดี พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ดี ธาตุมีอากาศเป็นต้นก็ดี, คนบางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ,

     แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประทับนั่งแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท ๔ บางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ;
ก็การนินทาและสรรเสริญของพวกอันธพาลไม่เป็นประมาณ แต่ผู้ที่ถูกบัณฑิตผู้มีปัญญาติเตียน จึงชื่อว่าเป็นอันติเตียน ผู้อันบัณฑิตสรรเสริญแล้ว ชื่อว่าเป็นอันสรรเสริญ"

               
     ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
           ๗.    โปราณเมตํ อตุล        เนตํ อชฺชตนามิว
                  นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสีนํ       นินฺทนฺติ พหุภาณินํ
                  มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ       นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต
                  น จาหุ น จ ภวิสฺสติ       น เจตรหิ วิชฺชติ
                  เอกนฺตํ นินฺทิโต โปโส       เอกนฺตํ วา ปสํสิโต
                  ยญฺเจ วิญฺญู ปสํสนฺติ       อนุวิจฺจ สุเว สุเว
                  อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ       ปญฺญาสีลสมาหิตํ
                  เนกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว       โก ตํ นินฺทิตุมรหติ
                  เทวาปิ นํ ปสํสนฺติ       พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต.

     อตุละ การนินทาและสรรเสริญนั่น เป็นของเก่า,นั่นไม่ใช่เป็นเหมือนมีในวันนี้,
     ชนทั้งหลายย่อมนินทาผู้นั่งนิ่งบ้าง, ย่อมนินทาผู้พูดมากบ้าง, ย่อมนินทาผู้พูดพอประมาณบ้าง๑-,
     ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก คนผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือว่าอันเขาสรรเสริญโดยส่วนเดียวไม่ได้มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีอยู่ในบัดนี้,
     หากว่าวิญญูชนใคร่ครวญแล้วทุกๆ วัน สรรเสริญผู้ใด ซึ่งมีความประพฤติไม่ขาดสาย มีปัญญา ผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล, ใครเล่าย่อมควร เพื่อติเตียนผู้นั้นผู้เป็นดังแท่งทองชมพูนุท๒- แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็สรรเสริญเขา ถึงพรหมก็สรรเสริญแล้ว.


____________________________
๑- ตามพยัญชนะว่า ผู้พูดพอนับได้.
๒- ทองพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งได้มาจากแม่น้ำชมพู.


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=27&p=7
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก  http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=862&Z=894
ขอบคุณภาพจาก http://www.watpaphanlam.com/,http://sphotos-a.xx.fbcdn.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29299
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่า

    [๖๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ฯ
     อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พราหมณ์ภารทวาชโคตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระสมณโคดมแล้ว ดังนี้ โกรธ ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ด่าบริภาษพระผู้มีพระภาคด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษ ฯ


     [๖๓๒] เมื่ออักโกสกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของท่าน ย่อมมาบ้างไหม ฯ
     อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า พระโคดมผู้เจริญ มิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของข้าพระองค์ย่อมมาเป็นบางคราว ฯ
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านจัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มต้อนรับมิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างหรือไม่ ฯ
     อ. พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์จัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มต้อนรับมิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างในบางคราว ฯ


     พ. ดูกรพราหมณ์ ก็ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้นจะเป็นของใคร ฯ
     อ. พระโคดมผู้เจริญ ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้น ก็เป็นของข้าพระองค์อย่างเดิม ฯ
     พ. ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้ก็อย่างเดียวกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่านโกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับเรื่องมีการด่า เป็นต้น ของท่านนั้น
     ดูกรพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้น ก็เป็นของท่านผู้เดียว
     ดูกรพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้น ก็เป็นของท่านผู้เดียว



    แล้วตรัสต่อไปว่า
     ดูกรพราหมณ์ ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่ หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่
     ดูกรพราหมณ์ ผู้นี้เรากล่าวว่า ย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อมกระทำตอบกัน เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบด้วยท่านเป็นอันขาด
     ดูกรพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้น เป็นของท่านผู้เดียว
     ดูกรพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้น เป็นของท่านผู้เดียว ฯ

     อ. บริษัทพร้อมด้วยพระราชาย่อมทราบพระโคดมผู้เจริญอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระโคดมผู้เจริญ จึงยังโกรธอยู่เล่า ฯ

   [๖๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
   ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ สงบ คงที่อยู่ ความโกรธจักมีมาแต่ที่ไหน
   ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าบุคคลนั้นแหละ
   เพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบ บุคคลผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าย่อมชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก
   ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและแก่บุคคลอื่น
   เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและของบุคคลอื่น
   ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า เป็นคนเขลา
ดังนี้ ฯ

    [๖๓๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุย่อมเห็นรูปได้ฉะนั้น
    ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ

________________________________________________________
อักโกสกสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=5185&Z=5246
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2013, 10:57:11 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29299
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1

   เพื่อน ๆ ที่ทำงาน คะ ชอบนินทาเสียงดังคะ ( พูดให้ได้ยิน ) กันเป็นกลุ่มคะ เรื่องการเป็นที่โปรดปราน เจ้านายประมาณนี้ คะ
 
   เราควรทำอย่างไร เมื่อเขากำลัง ด่าเราให้ได้ยิน อย่างเสียหาย ในที่ซึ่งหน้า ซึ่งปกติก็ใช้ธรรมะ เป็นเครื่องอดกลั้นมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว แต่การกระทำอย่างนี้ กับรุนแรงขึ้นเพราะเขาเห็นว่าเราไม่โต้ตอบ คะ

   :c017:




     ans1 ans1 ans1
     
     เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ทุกที่ ใครก็หนีไม่พ้น "ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก"
     หากมีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน ควรชื้แจ้งเท่าที่จำเป็น
     การถูกนินทา ทำให้ขุ่นใจ ขัดเคือง ก็ขอให้มีสติ หยุดตรงนั้น
     อย่าให้จิตคิดเลยไปถึง พยาบาท ปองร้าย คิดแก้แค้น


     หนูกบ..มีความเข้าใจพื้นฐานธรรมะ อยู่ระดับหนึ่งแล้ว
     ใช้ความเข้าใจนั้น ไตร่ตรองให้ดี คนมันพาล ก็ปล่อยมันไป เราเปลี่ยนมันไม่ได้
     แก้ที่ใจของเราดีกว่า โกรธ..ให้รู้ว่าโกรธ พยาบาท..ให้รู้ว่าพยาบาท
     ขอให้หยุดที่คิดในใจ อย่าให้ล้นออกมาเป็น "วจีทุจริต หรือ กายทุจริต"
     ขอให้หนูกบเจริญในธรรม..ขอรับ

      :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

nongyao

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 380
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คุุณมองว่าเหตุการณ์นี้เป็นอย่างไร  ทำไมมันถึงต้องเกิดกับเรา เราเคยทำสิ่งใดไว้ เมื่อไร และคุณต้องการจะหยุดมันหรือไม่  หรือว่าคุณต้องการต่อยอด หรือว่าคุณต้องการชดใช้  ถ้าคุณต้องการจบและไม่่อยากสร้างกรรมต่อกันอีก จงมองและยอมรับผลของการกระทำที่เราได้เคยสร้างไว้มันอาจจะเนินนานจนเราไม่สามารถที่จะมองย้อนกลับไปได้  จะมีก้อแค่เพียงใจของเราเท่านั้นที่จะตัดสินใจได้  มองให้ออกแล้วคุณจะค้นพบสิ่งที่ควรทำ

ขอให้คุณโชคดี เช่นเดียวกับดิฉัน

สาธุ ;)
บันทึกการเข้า
กราบนอบน้อมพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต แลปัจจุบัน ด้วยเศียรเกล้า
                 พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                       
                         ข้าพเจ้าจักขอทำเหตุที่ดี

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อีก วิธี ที่ได้ผลมาก ๆ ครับ คือ เอาสำลี หรือ กระดาษ ทิชชู่ อุดหู ครับ รับรองได้ผลมากครับ คือไม่ได้ยินเลย

  :035: :035: :035: :97:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ