ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'การฝึกจิต' เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต  (อ่าน 3017 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


'การฝึกจิต' เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต
'การฝึกจิต'เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา

บ่ายวันศุกร์ ผมมีเครื่องดื่ม ๒ อย่าง วางรออยู่บนโต๊ะทำงาน คือ กาแฟดำ และน้ำจับเลี้ยง (สมุนไพรจีน ดื่มแก้ร้อนใน) เครื่องดื่มสองชนิดนี้ อาจจะมีสีดำเหมือนกัน แต่ที่ไม่เหมือนกัน คือ อย่างหนึ่งร้อน อีกอย่างหนึ่งเย็น, ด้วยความที่ใจกำลังจดจ่ออยู่กับงาน จนลืมที่จะดื่มน้ำทั้งสอง ผ่านไปหลายชั่วโมง กว่าผมจะคว้าแก้วมาดื่ม ไม่น่าเชื่อ เครื่องดื่มร้อนและเย็น ที่เคยมีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก กลับคืนสู่สมดุล เปลี่ยนไปมีอุณหภูมิเท่ากันเป๊ะ (อุณหภูมิห้อง) ตอนที่ผมดื่มมัน?

ท่านอาจจะว่า ไม่เห็นแปลกอะไร ก็แค่ปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ธรรมดา ซึ่งแม้แต่เด็กประถมยังรู้เลย จริงอยู่ครับ แม้จะเป็นวิทยาศาสตร์ธรรมดา แต่ผมว่า มันจะมีประโยชน์กับจิตวิญญาณเรามาก หากเราได้ลองโยนิโสมนสิการ ซึ่งก็คือการพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ทางพุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาท เมื่อพิจารณาอย่างแยบคายแล้วก็นำ ปรากฏการณ์นี้ไปใช้ในการควบคุมจิตใจของคนเรา!

     
 :welcome: :welcome: :welcome:
     
โดยการคิดเสียว่า 'อุณหภูมิที่ร้อน' (กาแฟร้อน) คือจิตคนเราเวลาที่แกว่งไปทางลบ เช่น เวลาโกรธเกรี้ยว ผิดหวัง เสียอกเสียใจ จิตใจมันแฟบ เศร้าซึม วิตกกังวล เป็นต้น ส่วน 'อุณหภูมิที่เย็น' (จับเลี้ยงเย็น) คือ จิตคนเรา เวลาที่แกว่งไปทางบวก เช่น ดีใจได้ปลื้ม, ภูมิใจได้รางวัล จิตใจมันฟูฟ่อง ลอยละล่อง เวลาสมหวังในความรัก เป็นต้น และ 'อุณหภูมิห้อง' (สมดุล) คือจิตใจคนเรายามที่เป็นปกติ คือ ไม่แกว่งไปทางบวกหรือลบ จิตสบายๆ หรือ อนุมานเรียกได้ว่า 'จิตว่างแบบชั่วคราว' นั่นเอง

ให้ลองสังเกตดูตัวท่านเองละกัน ไม่ว่า เวลาโกรธเกรี้ยวแค่ไหนก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป ความโกรธก็จะคลายจางไปเอง แม้อารมณ์โกรธก็เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปรไป, คนที่เคยฝึกจิตมาดี ความโกรธ ก็จะหายไปเร็วมาก ส่วนคนที่ไม่เคย เพราะมัวแต่ปล่อยจิตปล่อยใจตามอารมณ์ อาจใช้เวลาหลายชั่วโมง แต่สุดท้าย ก็หายไป เหมือนการแกว่งลูกตุ้ม หรือ ชิงช้า ให้มันสวิงแค่ไหน ก็ตาม 

 :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ท้ายที่สุด มันก็หยุดแกว่ง แล้วกลับมาอยู่จุดสมดุล ตรงกลางเช่นเดิมทุกที เฉกเช่นเดียว กับ อารมณ์ตรงข้าม คือ ดีใจมากๆ ตัวอย่าง เช่นคนถูกหวยรางวัลที่ ๑ จะดีใจขนาดไหนก็ตาม สุดท้ายก็จะผ่อนเพลา ลงมายังจุดสมดุล เช่นกัน นี้เป็นกลไกตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่เช่นนั้น คงเป็นบ้า เป็นโรคประสาทไปกันหมดแล้ว

การที่จิตใจ ปลดเปลื้องอารมณ์ทั้งบวกและลบ คืนสู่สมดุล แล้วกลับมาอยู่ตรงกลาง คือ ภาวะจิตปกติได้ เป็นเรื่องสำคัญนะครับ คนที่รักษาจิตให้เป็นปกติ หรือ ถ้ามันจะแกว่งไปทางบวกหรือลบ จะขึ้นหรือลง ก็ตาม เราพยายามควบคุม (Take control) ให้มันกลับสู่ปกติได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะเป็นสิ่งประเสริฐมากๆ ในชีวิตจริง
ตอนที่ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ จะกราบลาสิกขาต่อ ท่านพุทธทาสภิกขุ แล้วขอโอวาท ที่จะน้อมนำไปใช้เวลาต้องกลับไปมีชีวิตอย่างฆราวาสอีก ท่านยังให้โอวาทสั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย



 ans1 ans1 ans1


“ให้คุณทำจิตให้เป็นปกติอยู่เสมอ”

ท่านกล่าวมาแค่นั้น ทุกวันนี้ อาจารย์เนาวรัตน์ ยังพูดเปรยกับผมอยู่เลยว่า ฟังดูเรียบง่ายก็จริง แต่ทำได้ไม่ง่ายเลย ยังไง ผมก็ถือว่า คนเราโชคดีนะ ธรรมชาติของจิต คอยช่วยเราอยู่แล้ว ๕๐% คือมันพร้อมจะกลับสู่ความเป็นปกติของมันอยู่แล้ว ส่วนอีก ๕๐% นั้น พวกเราต้องฝึกเอาเองครับ จิตที่ไม่ได้รับการฝึก จะกลายเป็นจิตอนาถา ไร้ที่อยู่ ไม่มีบ้านกลับ เวลาร้อนรนจิตใจ คนพวกนี้จะคลุ้มคลั่ง อาการแทบเป็นบ้า

ทั้งๆ ที่ บางกรณี ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็เป็นแค่เรื่องเล็กๆ นิดเดียว จิตเป็นปกตินี้แหละ ใกล้เคียงกับจิตว่างครับ เพราะมันว่างจากการคิดปรุงแต่ง มันว่างจากอารมณ์ทุกชนิด มันว่างจากการยึดมั่นถือมั่นตัวตนของคนอื่น กระทั่ง บางที มันว่างจากการยึดมั่นในตัวตนของเราไปก็มี เรื่องแบบนี้ต้องฝึกนะครับ


 st12 st12 st12

'การฝึกจิต' เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิตของการเกิดเป็นคนเลยก็ว่าได้

ท่านโกเอ็นก้า ยังเคยปรารภไว้เลยว่า "Nothing is more dangerous than an untrained mind." (อันตรายใหญ่ยิ่ง เกินกว่า จิตที่ไม่ได้ฝึก เป็นไม่มี )... (ผมขออนุญาตแปล)

จิตว่างแล้ว ตัวตนเบา ร่างกายหายไปชั่วขณะ เรื่องราวเหล่านี้ นักเลงสมาธิเขารู้กันดีครับ, เพราะเวลาที่คนเรานั่งสมาธิ (ทำจิตภาวนา) นั้น เมื่อดิ่งลึกๆ ลงไปเข้า เราจะรู้สึกเบา อย่าว่าแต่ 'คำบริกรรม' ที่หายไปแล้วเลย แม้แต่ 'ลมหายใจ' ที่เรากำลังจดจ่ออยู่ ก็เบาแผ่วลง ราวกับไร้ลมไปซะงั้น อวัยวะต่างๆ ค่อยๆ หายไปทีละส่วน โดยมากมักจะเริ่มจากเท้า ขาท่อนล่าง ขาท่อนบน ลำตัว ไปถึงลำคอ ฯลฯ 

และเมื่อเราหมั่นฝึกจิตเป็นอาจิณแล้ว ช่วงเวลาแห่งการมีจิตเป็นปกติ หรือจิตว่างของเรา ก็จะต่อเนื่องยาวนานมากขึ้น แต่ก็เป็นธรรมดาของจิตคนธรรมดา อย่างเราๆ ท่านๆ ถึงจะมีบ้าง ที่จิตแกว่ง คือมีโกรธ หงุดหงิด หรือ มีหัวเราะ ดีใจ แต่การแกว่งของผู้ฝึกจิตมานั้น จะไม่รุนแรงเท่ากับคนที่ไม่เคยฝึกมาเลย และการกลับสู่สมดุล ก็ไวกว่ากันเยอะ เข้าทำนอง โกรธยาก-หายไว  วิเศษไหมล่ะครับ?


 gd1 gd1 gd1

หาจุดสมดุลของตัวท่านเองให้เจอนะครับ แล้วพัฒนาจิต (จิตภาวนา) ของท่านให้มีกำลังมากขึ้น จนพึ่งพาตัวเองได้ พาจิตกลับบ้านได้ทุกเมื่อ มีปัญญารู้ธรรม เป็นหลักเป็นแกนให้จิตได้ยึดเกาะ จะได้ไม่ต้องเป็นจิตอนาถา ที่มัวแต่ระหกระเหเร่ร่อน พเนจรไปเรื่อยเปื่อย พึ่งพาตัวเองไม่ได้สักที  จึงคอยแต่จะหาขอนไม้มาเกาะ คนประเภทนี้ บ่อยครั้งก็จะหลงทาง เฝ้าควานหาพระอรหันต์ตัวเป็นๆ มาช่วย แทนที่จะได้เจออรหันต์ตัวจริง ได้เกาะขอนไม้เป็นสรณะ กลับไปเจออรหันต์ปลอม พระลวงโลก กลายเป็นเผลอเกาะสุนัขขี้เรื้อนเน่าตาย ลอยน้ำมา ตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่รู้ตัว!

หันมาพึ่งตนเองกันเถิดครับ หา จุดสมดุล ให้ได้ เข้าใจเรื่องการมี จิตเป็นปกติ และทำ จิตว่าง ให้เป็น เอาตัวรอดได้ทุกคนครับ


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20130912/167969/การฝึกจิตเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต.html#.UjKVHn_KXHt
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: 'การฝึกจิต' เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 13, 2013, 02:49:08 pm »
0
หาจุดสมดุลของตัวท่านเองให้เจอนะครับ แล้วพัฒนาจิตให้มีกำลังพึ่งตัวเอง จิตที่เผลอเกาะสุนัขขี้เรื้อนเน่าตายลอยน้ำไม่รู้ตัว!

thk56    :25:    thk56    :25:    thk56    :25:    thk56   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 13, 2013, 02:56:24 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา