ว่าด้วยที่จงกรมมีโทษ ๕ อย่าง
คำว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ (เว้นจากโทษ ๕ อย่าง) ความว่า ขึ้นชื่อว่า โทษแห่งที่จงกรมเหล่านี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. เป็นที่แข็งและขรุขระ (ถทฺธวิสมตา)
๒. มีต้นไม้ภายใน (อนฺโตรุกฺขตา)
๓. เป็นที่ปกปิดด้วยชัฏ (คหนจฺฉนฺนตา)
๔. ที่แคบเกินไป (อติสมฺพาธนตา)
๕. ที่กว้างเกินไป (อติสาลตา).
จริงอยู่ ที่จงกรมที่มีภูมิภาคแข็งขรุขระ เท้าทั้งสองของผู้จงกรมย่อมเจ็บ เท้าย่อมบวม จิตย่อมไม่ได้เอกัคคตา กรรมฐานย่อมวิบัติ. แต่ในพื้นที่อ่อนสม่ำเสมอกัน โยคีอาศัยที่อาศัยอยู่อันผาสุกแล้ว ก็ทำกรรมฐานให้สมบูรณ์ได้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบที่จงกรม เพราะเป็นภูมิภาคแข็งและขรุขระ ว่าเป็นโทษที่หนึ่ง.
เมื่อต้นไม้มีอยู่ภายในที่จงกรม หรือมีอยู่ในท่ามกลาง หรือในที่สุดแห่งที่จงกรม ผู้จงกรมอาศัยความประมาทแล้ว ย่อมกระทบกับหน้าผากหรือศีรษะ เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมมีต้นไม้ภายใน พึงทราบว่าเป็นโทษที่สอง.
เมื่อจงกรมในที่จงกรมอันรกด้วยชัฏมีหญ้าและเครือไม้เถาเป็นต้น ย่อมเหยียบสัตว์มีงูเป็นต้น ในเวลามืดให้ตาย หรือถูกสัตว์มีงูเป็นต้น ขบกัดเอา เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมปกคลุมด้วยชัฏ พึงทราบว่าเป็นโทษที่สาม.
เมื่อเดินจงกรมในที่จงกรมแคบเกินไป โดยกว้างหนึ่งศอก หรือครึ่งศอก เล็บก็ดี นิ้วเท้าก็ดี ย่อมแตก เพราะลื่นไปในที่จำกัด เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมแคบเกินไป พึงทราบว่าเป็นโทษที่สี่.
เมื่อจงกรมในที่จงกรมกว้างเกินไป จิตย่อมพล่าน ย่อมไม่ได้เอกัคคตา เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมกว้างเกินไป พึงทราบว่าเป็นโทษที่ห้า.
ว่าด้วยที่จงกรมอันไม่มีโทษ
ก็ที่จงกรมขนาดเล็ก (อนุจงฺกมํ)
- โดยส่วนกว้างหนึ่งศอกหนึ่งคืบ
- ที่ข้างทั้งสองประมาณหนึ่งศอก
- ด้านยาวประมาณ ๖๐ ศอก
- มีพื้นอ่อนเกลี่ยทรายไว้เรียบเหมาะสม
เพราะฉะนั้น ที่นั้นเช่นนั้น ได้เป็นเหมือนที่จงกรมของพระมหามหินทเถระผู้ยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ชาวเกาะในเจติยคีรี ด้วยเหตุนั้น สุเมธบัณฑิตจึงกล่าวว่า เราสร้างที่จงกรมเว้นโทษ ๕ อย่าง ที่อาศรมบทนั้นดังนี้.อ้างอิง :-
อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ มาติกา ติกมาติกา ๒๒ ติกะ
www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=1&p=2#ว่าด้วยที่จงกรมมีโทษ_๕_อย่าง อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=34&A=1&Z=103อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการ
๙. จังกมสูตร
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑
ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑
อาหารที่กินดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑
สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๙เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๖๒๙ - ๖๓๕. หน้าที่ ๒๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=629&Z=635&pagebreak=0อรรถกถาจังกมสูตรที่ ๙
พึงทราบวินิจฉัยในจังกมสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อทฺธานกฺขโม โหติ ได้แก่ เมื่อเดินทางไกลก็เดินได้ทน คืออดทนได้.
บทว่า ปธานกฺขโม ได้แก่ เพียรได้ทน.
บทว่า จงฺกมาธิคโต จ สมาธิ ได้แก่ สมาธิแห่งสมาบัติ ๘ อย่างใดอย่างหนึ่งอันผู้อธิษฐานจงกรมถึงแล้ว.
บทว่า จิรฏฐิติโก โหติ แปลว่า ตั้งอยู่ได้นาน.
ด้วยว่านิมิตอันผู้ยืนอยู่ถือเอาเมื่อนั่งก็หายไป นิมิตอันผู้นั่งถือเอาเมื่อนอนก็หายไป ส่วนนิมิตอันผู้อธิษฐานจงกรม ถือเอาในอารมณ์ที่หวั่นไหวแล้วเมื่อยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี ย่อมไม่หายไป.
จบอรรถกถาจังกมสูตรที่ ๙ ที่มา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=29