ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อานิสงส์ตามลำดับ การเกิดแห่งธรรม โดยไม่ต้องเจตนา  (อ่าน 3470 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อานิสงส์ตามลำดับ การเกิดแห่งธรรม โดยไม่ต้องเจตนา

อานนท์.! ด้วยอาการอย่างนี้แล
ศีลอันเป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
อวิปปฏิสาร มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
ความประโมทย์ มีปีติเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
ปีติ มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
ปัสสัทธิ มีสุขเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
สุข มีสมาธิเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
สมาธิ มียถาภูติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
นิพพาทา มีวิราคะเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย.
อานนท์.! ศีลอันเป็นกุศล ย่อมยังอรหัตตผลให้บริบูรณ์โดยลำดับด้วยอาการอย่างนี้แล.

_____________________
- เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๓๖/๒๐๘.

 :25: :25: :25: :25:


ภิกษุ ท.! เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "อวิปปฏิสารจงบังเกิดแก่เรา"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้วอวิปปฏิสารย่อมเกิด (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อไม่มีวิปปฏิสาร ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "ปราโมทย์จงบังเกิดแก่เรา"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อไม่มีวิปปฏิสารปราโมทย์ย่อมเกิด (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อปรามโมทย์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "ปีติจงบังเกิดแก่เรา"
ภิกษุท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อมีใจปีติแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "กายของเราจงรำงับ"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อมีใจปีติแล้ว กายย่อมรำงับ(เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อกายรำงับแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "เราจงเสวยสุขเถิด"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อกายรำงับแล้ว ย่อมได้เสวยสุข (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อมีสุข ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "จิตของเราจงตั้งมั่นเป็นสมาธิ"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เป็นสมาธิ (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "เราจงรู้จงเห็นตามที่เป็นจริง"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ย่อมเห็นตามที่เป็นจริง (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "เราจงเบื่อหน่าย"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "เราจงคลายกำหนัด"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมคลายกำหนัด (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อจิตคลายกำหนัดแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "เราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อคลายกำหนัดแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ (เอง)

_____________________
- เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๓๖/๒๐๙.
- อวิปปฏิสาร หมายถึง ความที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องร้อนใจ รังเกียจ เกลียดชัง อยู่ในใจของ ตนจนเสียสมาธิ.



ที่มา :-
หัวข้อกระทู้ : การรักษาสีล เป็นได้ถึง วิมุตติ เลยหรือ.?
ผู้โพสต์ :  BlackHospital [22 พ.ค. 2009, 20:33]
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=22465
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=22465&view=print
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2016, 11:16:12 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




ข้อธรรมที่นำมาโพสต์มาจากเว็บธรรมจักร มีการแสดงความเห็นต่างๆ เช่น พระพุทธองค์แสดง ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นไปตามลำดับของไตรสิกขา คือ อธิสีล อธิจิต และอธิปัญญา บางท่านก็ติงว่า ต้องอ่านพุทธพจน์ทุกประโยคทุกตัวอักษร เพราะข้อธรรมที่แสดงอาจทำให้เข้าใจผิดว่า ศีลอย่างอย่างเดียวทำให้บรรลุอรหันต์ได้ ข้อธรรมนั้นคือ "อานนท์.! ศีลอันเป็นกุศล ย่อมยังอรหัตตผลให้บริบูรณ์โดยลำดับด้วยอาการอย่างนี้แล"

 st12 st12 st12 st12

ข้อธรรมที่แสดงนั้นมาจาก ๒ พระสูตร คือ กิมัตถิยสูตร และเจตนาสูตร ทั้งสองสูตรอยู่ใน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
 
    สนใจอ่านได้ที่....
    - กิมัตถิยสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง
       http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=0&Z=45&pagebreak=0
    - กิมัตถิยสูตร พระไตรปิฎกฉบับจุฬา
       http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=1
    - เจตนาสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง
       http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=46&Z=76&pagebreak=0
    - เจตนาสูตร พระไตรปิฎกฉบับจุฬา
       http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=2

ask1 ans1 ask1 ans1

ส่วนตัวผมหลังจากอ่านทั้งสองพระสูตรแล้ว ก็เห็นจริงตามคำเห็นข้างต้น และขออธิบายศัพท์เพิ่มเติมดังนี้

๑. ศีลอันเป็นกุศล หมายถึง ศีลที่ไม่มีโทษ เป็นไปเพื่อความไม่เก้อเขิน ไม่ร้อนใจ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)
๒. ยถาภูตญาณทัสสนะ หมายถึง ตรุณวิปัสสนาคือวิปัสสนาที่ยังอ่อนกำลัง เป็นความรู้ขั้วต่อที่ตัดแยกระหว่างความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล ยังไม่ใช่ความรู้ขั้นสุดท้าย (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)
๓. นิพพิทา ในที่นี้หมายถึง พลววิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่มีพลัง (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)
๔. วิราคะ หมายถึง มรรคที่สืบเนื่องจากนิพพิทา ก่อนวิมุตติจะเกิดขึ้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)
๕. วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นความรู้ขั้นสุดท้าย แยกอธิบายได้ว่า วิมุตติ หมายถึงอรหัตตผลญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือ ญาณที่เกิดขึ้นถัดจากการบรรลุมรรคผลด้วยมัคคญาณและผลญาณเพื่อพิจารณามรรคผล พิจารณากิเลสที่ละได้และเหลืออยู่รวมทั้งพิจารณานิพพาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)
๖. ธรรมดา ในที่นี้หมายถึงสภาวธรรมที่เกิดเอง คำนี้มุ่งแสดงกฎแห่งเหตุผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒/๓๑๘)


 :s_good: :s_good: :s_good: :s_good:

อีกอย่างที่ผมติดใจก็คือ เจตนาสูตร ในพระไตรปิฎกฉบับจุฬา ใช้คำว่า "เจตนากรณียสูตร ว่าด้วยกรรมที่ไม่ต้องทำด้วยความตั้งใจ" อ่านแล้วทำให้เข้าใจว่า หากตั้งต้นได้ถูกทางแล้ว ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะไปไม่ถึง เพราะถ้าต้นทางถูกต้องแล้ว กลางทางกับปลายทางจะดำเนินไปเองโดยอัตโนมัติ

     บทสรุปของเจตนากรณียสูตร พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
     "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมให้ธรรมทั้งหลายบริบูรณ์ เพื่อออกจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น(คือนิพพาน) อย่างนี้แล"

     ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ ขอบพระคุณที่ติดตาม....

      :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

  ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา