อานิสงส์ตามลำดับ การเกิดแห่งธรรม โดยไม่ต้องเจตนาอานนท์.! ด้วยอาการอย่างนี้แล
ศีลอันเป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
อวิปปฏิสาร มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
ความประโมทย์ มีปีติเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
ปีติ มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
ปัสสัทธิ มีสุขเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
สุข มีสมาธิเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
สมาธิ มียถาภูติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
นิพพาทา มีวิราคะเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย.
อานนท์.! ศีลอันเป็นกุศล ย่อมยังอรหัตตผลให้บริบูรณ์โดยลำดับด้วยอาการอย่างนี้แล._____________________
- เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๓๖/๒๐๘.

ภิกษุ ท.! เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "อวิปปฏิสารจงบังเกิดแก่เรา"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้วอวิปปฏิสารย่อมเกิด (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อไม่มีวิปปฏิสาร ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "ปราโมทย์จงบังเกิดแก่เรา"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อไม่มีวิปปฏิสารปราโมทย์ย่อมเกิด (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อปรามโมทย์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "ปีติจงบังเกิดแก่เรา"
ภิกษุท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อมีใจปีติแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "กายของเราจงรำงับ"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อมีใจปีติแล้ว กายย่อมรำงับ(เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อกายรำงับแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "เราจงเสวยสุขเถิด"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อกายรำงับแล้ว ย่อมได้เสวยสุข (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อมีสุข ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "จิตของเราจงตั้งมั่นเป็นสมาธิ"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เป็นสมาธิ (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "เราจงรู้จงเห็นตามที่เป็นจริง"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ย่อมเห็นตามที่เป็นจริง (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "เราจงเบื่อหน่าย"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "เราจงคลายกำหนัด"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมคลายกำหนัด (เอง)
ภิกษุ ท.! เมื่อจิตคลายกำหนัดแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "เราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ"
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อคลายกำหนัดแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ (เอง)_____________________
- เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๓๖/๒๐๙.
- อวิปปฏิสาร หมายถึง ความที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องร้อนใจ รังเกียจ เกลียดชัง อยู่ในใจของ ตนจนเสียสมาธิ.ที่มา :-
หัวข้อกระทู้ : การรักษาสีล เป็นได้ถึง วิมุตติ เลยหรือ.?
ผู้โพสต์ : BlackHospital [22 พ.ค. 2009, 20:33]
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=22465http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=22465&view=print