พระวาจาตรัสเรื่องคาถาชินบัญชร
โดย สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ตุลาคม ๒๕๑๘
คาถาชินบัญชร เป็นที่นับถือสวดกันอย่างแพร่หลาย กล่าวกันว่าเป็นของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ เคยได้นำมาขอให้แปล เพื่อพิมพ์ในหนังสือประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ครั้งหนึ่ง เมื่อนานปีมาแล้ว
แต่ก็ยังสงสัยในถ้อยคำและประโยคหลายแห่ง เพราะไม่อาจจับความได้ ทั้งเมื่อได้พบจากหลายสำนักเข้า ก็ได้พบคำที่ผิดเพี้ยนบ้างเกือบทุกฉบับ ไม่อาจตัดสินได้ว่าที่ถูกต้องเป็นอย่างได้ ได้เคยนึกสงสัยมานานแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เรียบเรียงขึ้นเอง หรือได้ต้นฉบับมาจากไหน
เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีผู้นำหนังสือมาให้เล่มหนึ่ง เป็นหนังสือขนาดเล็ก พิมพ์ในประเทศศรีลังกา ชื่อหนังสือ The Mirror of The Dhamma (กระจกธรรม)โดยท่านนารทมหาเถระ และท่านกัสสปเถระ ฉบับที่ได้มานี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ (ของศรีลังกา ตรงกับ พ.ศ. ๒๕๐๓ ของไทย) ค.ศ.๑๙๖๑
เป็นแบบหนังสือคู่มือธรรมที่จะใช่สวดและปฏิบัติเป็นประจำได้ เริ่มแต่ นโมพุทฺธ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ คำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบูชา คำสมาธิภาวนาต่าง ๆ บทสวดมี พาหุง ชินบัญชร มงคลสูตร รัตนสูตร เป็นต้น ตัวบาลีพิมพ์ด้วยอักษรสีหฬและอักษรโรมัน มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ
@@@@@@@
เมื่อได้อ่านชินบัญชรในหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็ได้พบคำและประโยคที่เคยสงสัยในฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ซึงจับความได้ หายความข้องใจ จึงได้คิดว่าจะคัดฉบับลังกามาพิมพ์เพื่อผู้ที่ต้องการทราบจะได้อ่านพิจารณา และคิดจะปรับปรุงฉบับที่สวดกันในเมืองไทย อนุวัตรฉบับลังกา เฉพาะที่เห็นว่าสมควรจะปรับปรุงด้วย
ทั้งสองฉบับนี้ เมื่อเทียบกันแล้ว ก็รู้สึกว่า ต้นฉบับเดิมนั้นเป็นอันเดียวกันแน่
- ฉบับลังกานั้นมี ๒๒ บท ส่วนฉบับที่สวดกันในเมืองไทย มี ๑๔ บท ก็คือ ๑๔ บทข้างต้นของฉบับลังกานั่นเอง เพราะความเดียวกัน ถ้อยคำก็เป็นอันเดียวกันโดยมาก
- ส่วนคำอธิษฐานท้ายบทที่ ๑๔ ของฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ย่อตัดมาอย่างรวบรัดดีมาก
- คาถาบทที่ ๙ ของฉบับไทย บรรทัดที่ ๒ น่าจะเกินไป แต่จะคงไว้ก็ได้
- ส่วนคาถาบทที่ ๑๒ และ ๑๓ สับบรรทัดกัน เมื่อแก้ใหม่ตามฉบับที่ปรับปรุงแล้วนี้ จะถูกลำดับดี
ในการพิมพ์ครั้งนี้ เรียงชินบัญชรฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ปรับปรุงขึ้นใหม่ อนุวัตรแบบลังกา เฉพาะที่เห็นว่าสมควร และมีคำแปลเป็นภาษาไทย ที่แปลขึ้นใหม่ในคราวนี้เช่นเดียวกัน ในการแปลครั้งนี้ ไม่ได้เทียบกับคำแปลเก่าที่เคยแปลไว้ เพราะไม่พบฉบับที่แปลไว้
บทสวด พาหุง และชินบัญชร เป็นที่นิยมสวดกันในเมืองไทยมาช้านาน แต่บทสวดพาหุง มีถ้อยคำที่ยุติแน่นอน ส่วนบทสวดชินบัญชร แต่ละฉบับ แต่ละสำนัก ยังผิดแผกกันอยู่ ถ้าอาจทำให้ยุติเป็นแบบเดียวกันได้ ก็จะเป็นการดี
หมายเหตุ : ผู้โพสต์ได้ตรวจสอบแล้ว บทความนี้นำมาจาก หนังสือ "ประวัติคาถาชินบัญชร" พระนิพนธ์ของเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ขอขอบคุณ :-
บทความ : บอกกล่าวเล่าขาน คำสอนจากแดนไกล , บทสวดมนต์ มนตราแห่งความเป็นมงคล ตอนที่ 23 คาถาชินบัญชร มนตราที่ทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ (คัดมาบางส่วน) | Posted on February 11, 2015 by lapas168
website :
https://khunatham.wordpress.com/2015/02/11/a023/
สอบที่มาคาถาชินบัญชร
เฉกเช่นเดียวกับวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ธรรมยุตที่มุ่งเน้นการศึกษาคัมภีร์ดั้งเดิมมาแต่ต้นสมเด็จพระญาณสังวรยังได้อุตสาหะสอบสวนเรื่องคาถาชินบัญชรด้วย เรื่องนี้มีปรากฏเป็น “คําชี้แจง” เมื่อมีการจัดพิมพ์คาถาชินบัญชรฉบับของลังกาและฉบับของไทยเปรียบเทียบกันเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. ๒๕๑๘
คาถาชินบัญชรเป็นที่นับถือสวดกันแพร่หลาย กล่าวกันว่าเป็นของเจ้าพระคุณสมเด็จพระ พุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ครั้งหนึ่ง นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ได้เคยนํามาขอให้ ท่านแปลเพื่อพิมพ์ในหนังสือประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ แต่ในฐานะที่สมเด็จฯ เชี่ยวชาญด้านปริยัติ
@@@@@@@
ท่านพิจารณาแล้ว ยังเกิด
“สงสัยในถ้อยคําและประโยคหลายแห่ง เพราะไม่อาจจับความได้ ทั้งเมื่อได้ พบจากหลายสำนักเข้า ก็ได้พบคําที่ผิดเพี้ยนบ้างเกือบทุกฉบับ ไม่อาจตัดสินได้ว่าที่ถูกต้องเป็นอย่างใด ได้เคยนึกสงสัยมานานแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เรียบเรียงขึ้นเอง หรือได้ต้นฉบับมาจากไหน”
จนเมื่อกาลต่อมา (ราว พ.ศ. ๒๕๑๘ หรือก่อนนั้นไม่นานนัก) ดร. เกษม ศิริสัมพันธ์ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้นําหนังสือ The Mirror of The Dhamma (กระจกธรรม) มาถวาย หนังสือเล่มนั้นเป็นหนังสือขนาดเล็กๆ เรียบเรียงโดยภิกษุนารทมหาเถระ และกัสสปเถระ พิมพ์ ในประเทศศรีลังกา ฉบับที่ได้มานั้นพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ (ของศรีลังกา ซึ่งนับปีพุทธศักราชเร็วกว่า ไทยไปปีหนึ่ง จึงตรงกับ พ.ศ. ๒๕๐๓ ของไทย)
เป็นแบบหนังสือคู่มือธรรมที่จะใช้สวดและปฏิบัติเป็น ประจําได้ เริ่มแต่ นโม พุทธ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ คําสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คําบูชา คําสมาธิ ภาวนาต่างๆ บทสวดมี พาหุง ชินบัญชร มงคลสูตร รัตนสูตร เป็นต้น จึงปรากฏว่าการเพียรศึกษา อักษรสีหฬ (สิงหล) ที่ท่านเคยเรียนรู้มาแต่ยังเป็นพระหนุ่ม จึงมามีประโยชน์ในตอนนี้ด้วย เพราะหนังสือ เล่มน้อยนั้นพิมพ์ภาษาบาลี ด้วยอักษรสีหฬและอักษรโรมัน พร้อมคําแปลเป็นภาษาอังกฤษ
@@@@@@@
เมื่ออ่าน คาถาชินบัญชรในหนังสือเล่มนั้นดูแล้ว ปรากฏว่า
“ก็ได้พบคําและประโยคที่เคยสงสัยในฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ซึ่งจับความได้หายความ ข้องใจ จึงได้คิดว่าจะคัดฉบับลังกามาพิมพ์เพื่อผู้ที่ต้องการทราบจะได้อ่านพิจารณา และคิดจะปรับปรุงฉบับที่สวดกันในเมืองไทย อนุวัตรฉบับลังกา เฉพาะที่เห็นว่าสมควรจะปรับปรุงด้วย"
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบฉบับไทยและฉบับลังกาแล้ว สมเด็จพระญาณสังวรจึงสรุปได้ว่า
“ต้นฉบับ เดิมนั้นเป็นอันเดียวกันแน่ ฉบับลังกานั้นมี ๒๒ บท ส่วนฉบับที่สวดกันในเมืองไทย มี ๑๔ บท ก็คือ ๑๔ บทข้างต้นของฉบับลังกานั่นเอง เพราะความเดียวกัน ถ้อยคําก็เป็นอันเดียวกันโดยมาก
ส่วนคํา อธิษฐานท้ายบทที่ ๑๔ ของฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ย่อตัดมาอย่างรวบรัดดีมาก
บทคาถาที่ ๔ ของ ฉบับไทย บรรทัดที่ ๒ น่าจะเกินไป แต่จะคงไว้ก็ได้
ส่วนคาถาบทที่ ๑๒ และ ๑๓ สับบรรทัดกัน เมื่อ แก้ใหม่ตามฉบับที่ปรับปรุงแล้วนี้ จะถูกลําดับดี”
หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการประชุมและชําระพระคาถาชินบัญชรสํานวนต่างๆ และให้ความรู้ สมบูรณ์แปลกใหม่กว่าที่เคยทราบกันมา ภายหลังจากการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ยังโปรดให้จัดสัมมนา ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ก่อนจะ ตีพิมพ์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๒ เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเมื่อพิมพ์ครั้งแรกอีกด้วยขอบคุณที่มา : หนังสือ "พระผู้สำรวมพร้อม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดย ศรัณย์ ทองปาน