..หลังจากภูปิดคอมฯ เก็บของเสร็จ 16:43 น. ภูก็คิดจะออกไปสนามฟุตบอล แต่ใจก็เกิดกลัว ระแวงว่าตนเองจะเจอเหยียดหยามอีกไหมนะ จะมีใครเปิดใจเล่นด้วยไหมนะ จึงนั่งตรึงเครียดอยู่หน้าบ้าน..แต่ชิวก็แอบมองตามดูอยู่ แล้วผลจากการฝึกสติของภู ก็ทำให้ภูนึกถึงสิ่งที่ชิวสอนขึ้นได้ว่า เวลาตรึงเครียดว้าวุ่นใจ..ให้ทำ “พุทโธวิมุตติสุข” แก้ความตรึงเครียดในใจนั้น โดยเอาความสุขมาตั้งไว้ที่กายใจตัวเอง..
..แล้วภูก็ทำภาวนาพุทโธ หายใจเข้าช้าๆ “พุท” รู้ลมเคลื่อนจากปลายจมูก ใจน้อมเอาความแช่มชื่น ซายซ่าน เย็นใจพัดผ่านโพลงจมูก เข้ามาปะทะที่เบื้องหน้า เคลื่อนไปที่โพรงกะโหลกสมองไม่ยึดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอันใด ทำใจรับรู้แค่ความแช่มชื่น โล่งใจ ซ่านเบา สบาย เป็นสุขอยู่ที่โพรงสมองจนสุดลมหายใจเข้า
..แล้วหายใจออกช้าๆ “โธ” รู้ลมเคลื่อนออกจากโพรงกะโหลก ลมพัดเอาความปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย เย็นใจมาที่เบื้องหน้า เคลื่อนไปที่โพรงจมูก จับรู้ความผ่อนคลายเย็นใจที่ปลายจมูกจนสุดลมหายใจออก..เมื่อทำไปได้ 10 นาที ก็เบาโล่งใจ สดชื่น ยิ้มร่าเริง
..ก็ทำให้ภ็เกิดความรู้เห็นและเข้าใจว่า..ความสุขนี้มันอยู่ที่กายใจเราทำ ไม่ใช่มีได้เพราะผู้อื่น เมื่อรู้เห็นเข้าใจดั้งนั้น ภูจึงคิดว่า..ตนเองพร้อมรับมือทุกสถานการณ์แล้ว จึงออกไปที่สนามฟุตบอลในหมู่บ้าน..
..เมื่อมาถึงสนามฟุตบอล เพื่อนๆเห็นก็ทัักตามปกติ แต่ก็็ต่างถามภูว่า..สุขภาพจิตใจดีหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อมก็อย่าเพิ่งมาร่วมทีมเล่นเตะบอลชิงเงินเดิมพัน..ภูก็ยิ้มร่าไม่เป็น แต่ยืมบอลเตะเล่นออกกำลังกายหน่อยดท่านั้นพอ..เพื่อนก็โยนบอลให้ภู..ภูก็พููดขอบใจ แล้วก็เลี้ยงบอลเตะเล่นโต้กับกำแพงเล่นตนเดียว ด้วยเพราะภูทำพุทโธวิมุตติ ใจคลายจากวิตกกังวลพร้อมเผชิญหน้าสู้กับสิ่งที่จะพบเจอไม่ว่าดีหรือร้าย ทำให้ใจไม่ผูกพะวงคาดหวังกับใคร ก็เลยไม่มีเรื่องให้ทุกข์ จึงสามารถเล่นปกติทั่วไปได้แม้จะเตะบอลคนเดียว..
..พอเพื่อนๆเตะบอลเดิมพันกันเสร็จตอน 17:40 ก็ชวนภูมาเตะเล่นฝึกซ้อมสนุกสนานทั่วไป แต่ก็มีที่หลุดด่ากันบ้าง แต่ภูก็ไม่ได้ใส่ใจให้ความสำคัญกับคำพูดเพื่อนๆ จึงยิ้มหัวเราะรับ แล้วเตะบอลกับเพื่อนต่อจนถึงเวลา 18:00 น. ภูก็บอกเพื่อนกลับบ้าน..
..เพื่อนๆที่เห็นภูวันนี้ก็รู้สึกว่าภูแจ่มใสไม่คิดเล็กคิดน้อย ต่างก็พูดว่า ภูวันนี้เอ็งสุดยอดเลยว่ะ ไม่คิดเล็กคิดน้อยฆ่าตัวตายอีก..ภูก็ตอบไปว่า..ไม่รู้สินะ เพราะเห็นว่าการด่ากันมันก็เรื่องปกติมั้ง..พอไม่คาดหวังว่าใครจะพูดดีด้วย หรือ ต้องมาเล่นด้วย เห็นว่ามันเป็นรื่องปกติ ใครๆก็อยากจะชนะกันทั้งนั้นแหละ ก็เลยไม่ใส่ใจเรื่องคำพูด จึงไม่มีอะไรมาผูกกระทบสะเทือนใจ..แล้วเพื่อนก็ต่างพูดว่า..แกสุดยอดว่ะภู..ภูก็หัวเราะแล้วก็เดินกลับบ้าน..
..พอกลับมาถึงบ้าน ปะป๊าก็กลับมาพอดีซื้อกับข้าวมาพร้อม บอกให้ภูเตรียมถ้วยจานมากินข้าว..
..เวลา 19:10 น. ภูทานข้าว ล้างจาน อาบน้ำเสร็จ ขึ้นนั่งเล่นบนห้อง ชิวก็บินออกมาหาภู..พอชิวเห็นว่าวันนี้ภูอารมณ์ดี จิตใจภูแจ่มใสร่าเริง เหมาะสมกับการเรียนรู้ จึงเริ่มจากการสอบถามเรื่องราววันนี้ที่ไปเตะบอลว่าเป็นยังไงบ้าง..
ชิว : วันนี้เตะบอลกับเพื่อนสนุกมั้ย
ภู : ก็ดีนะ..สนุกดี สบายๆ
ชิว : เยี่ยมเลย..สังเกตุุมั้ยว่าทำไมวันนี้ภูไม่เคร่งเครียด
ภู : ตอนก่อนออกจากบ้านก็เครียดนะ เลยทำพุทโธวิมุตติแบบชิวบอก ก็รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย ก็เลยคิดว่า..เราแค่ไปเตะบอล ใครจะเล่นด้วยไม่เล่นด้วยก็ช่างมัน เราแค่ไปออกกำลังกาย หากมีคนว่าก็ช่างมัน เราไม่อย่าสนใจมัน มันก็เลยคิดว่าต้องเจออยู่แล้วตามปกติ ถ้ารู้สึกไม่ดีก็แค่กลับบ้าน มันก็เลยไม่ได้สนใจอะไรมาก
ชิว : เยี่ยมเลยดีมากๆ..แล้วภูสังเกตุุมั้ยกับตอนแรกที่เกิดปัญหาวิ่งให้รถชน ตอนนั้นภูคิดยังไง
ภู : เหมือนว่าตอนนั้นภูอยากให้ทุกคนเล่นด้วย อยากให้ทุกคนดีด้วย แต่กลับมีแต่คำพูดและการกระทำแย่ๆมา ไม่มีใครยอมรับภู ทำให้ภูรู้สึกโดดเดี่ยว ภูก็เลยเสียใจ
ชิว : ถูกแล้ว นี่ภูเก่งมากๆเลยนะ
ภู : โย่ว ( ╹▽╹ )
ชิว : ภูอยากจะแก้ได้ทุกสถานการณ์ไหม
ภู : ก็อยากนะ..ต้องทำไงเหรอ
ชิว : ภูก็ต้องมารู้คุณสมบัติของพระพุทธเจ้า ว่าด้วย พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพื่อเข้ารู้ตนในหมวดจิตก่อน
ภู : ทำไงอะชิว ( . ❛ ᴗ ❛. )っ ยากมั้ยอะ

ชิว : พุทโธ กับ อริยะสัจ ๔ ก็คือ..
พุทโธ กับ อริยะสัจ ๔
ผู้รู้ คือ รู้ในอริยะสัจ ๔ รู้กิจของอริยะสัจ ๔
ผู้ตื่น คือ ทำกิจในอริยะสัจ ๔
ผู้เบิกบาน คือ เห็นแจ้งผลสำเร็จ
ภู : ยังไงต่ออะ เหมือนสั้นแต่ทำยากมั้ยอะ (´-﹏-`;)
ชิว : การรู้สัจจะ
รู้อริยะสัจ ๔ คือ
ทุกข์ ความไม่สบายกายใจทั้งปวง (อุปาทาน) หรือ ปัญหา
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ หรือ เหตุแห่งปัญหา
นิโรธ ความดับทุกข์ หรือ ความดับสิ้นปัญหา
มรรค ทางดับทุกข์ (มรรค คือ การสำรวมระวังกรรม) หรือ ทางแก้ไขปัญหา
ภู : งืมๆๆๆๆ (*・~・*) เหมือนในวิชาสังคม พระพุทธศาสนาเลย
ชิว : การรู้กิจหน้าที่ของสัจจะที่ต้องทำ
รู้กิจ(หน้าที่)ในอริยะสัจ ๔ ที่ต้องเอามาปฏิบัติ คือ..
๑. ทุกข์ หรือ ปัญหา ควรกำหนดรู้
๒. สมุทัย หรือ เหตุแห่งปัญหา ควรละ
๓. นิโรธ หรือ ความดับสิ้นปัญหา ควรทำให้แจ้ง (ควรทำให้เห็นปรากฏแจ้งชัด)
๔. มรรค หรือ ทางแก้ไขปัญหา ควรเจริญให้มาก (ควรทำให้เกิดมีขึ้นจนครบองค์บริบูรณ์)
ภู : ต้องทำยังไงอะชิว (*・~・*)
ชิว : ก็ต้องรู้หลักการเฟ้นหาสัจจะทั้ง 4 ข้อ ดังนี้
การพิจารณาหาสัจจะทั้ง ๔
๑. การหาตัวทุกข์ หรือ ตัวปัญหาชีวิต
..ให้กำหนดรู้พิจารณาไตร่ตรองที่..การกระทำ ว่ากระทำเช่นไร การกระทำใดคือตัวทุกข์
๒. สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ หรือ เหตุของปัญหาชีวิต
..ให้สืบค้นหาต้นเหตุสิ่งจูงใจให้กระทำ รู้ลักษณะของเหตุสิ่งจูงใจว่าเป็นเช่นไร
๓. นิโรธ ความดับพ้นทุกข์ หรือ ความดับพ้นสิ้นไปปัญหา
..ทำความดับสิ้นพ้นเหตุจูงใจกระทำ ให้ปรากฏชัดจนเห็นแจ้งว่า..เมื่อเหตุกระทำใดๆดับไปแล้ว ลักษณะอย่างใดดับไป และมีสิ่งใดปรากฏขึ้นมา สิ่งที่ปรากฏขึ้นมีลักษณะเช่นไร มีสิ่งใดเป็นองค์ประกอบ
๔. มรรค ทางดับทุกข์ หรือ ทางแก้ปัญหา
..พิจารณาองค์ประกอบในนิโรธให้แจ้ง ว่ามีองค์ประกอบเป็นเช่นไร..มีสิ่งใด-ไม่มีสิ่งใด ทางดับเหตุให้กระทำ ก็คือ องค์ประกอบอันนั้น..การวินิจฉัยไตร่ตรองเจาะลึกให้เข้าเห็นถึงกระกระทำของมรรคที่ดับสมุทัยเหตุสิ่งจูงใจให้กระทำ คือ โพชฌงค์ ซึ่ง โพชฌงค์นี้เป็น สติ สมาธิ ที่แยบคาย ในองค์มรรค เป็นการใช้เหตุอันเป็นองค์ ๘ ของจิตแห่งมรรคละเหตุแห่งทุกข์ ทำให้มรรคมีองค์ ๘ บริบูรณ์
ภู : อ่า..ยาวอะ จนเหมือนจะเข้าใจแต่ก็ไม่เข้าใจ (^~^;)ゞ
ชิว : งั้นภูจำหลักอย่างนี้..
สรุปหลักการพิจารณาและใช้ อริยะสัจ ๔
1. ทุกข์ คือ สิ่งที่เป็นทุกข์ทั้งปวง ควรกำหนดรู้ : เป็นอุปนิสัยการกระทำ (จิตสำนึกในทางไม่ดี)
2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ ควรละ : เป็นเหตุจูงใจให้เกิดอุปนิสัยการกระทำ [อนุนิสัยกิเลส], (จิตใต้สำนึกในทางไม่ดี)
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง : เป็นความดับสิ้นอุปนิสัยการกระทำ (หลุดพ้นจิตใต้สำนึกในทางไม่ดี)
4. มรรค คือ ทางดับทุกข์(เหตุดับทุกข์) ควรทำให้มาก : เป็นทางดับ(เหตุดับ)อุปนิสัยการกระทำ (สร้างจิตสำนึกที่ดีจนเป็นจิตใต้สำนึก) (เป็นการประครองใจให้สำรวมระวังกรรม(การกระทำ) เป็นสิ่งที่ควรทำสะสมเหตุให้มากจนเกิดมีขึ้นเต็มบริบูรณ์ เพื่อให้ทางดับ(เหตุดับ)อุปนิสัยการกระทำนั้น มีกำลังมากพอที่จะใช้ดับเหตุอุปนิสัยการกระทำ [อนุสัยกิเลส])
• โพชฌงค์ คือ องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ควรทำการโยนิโสมนสิการให้แยบคายจนรู้แจ้งแทงตลอด : เป็นสติและสมาธิในมรรคมีองค์ ๘ ที่ได้ทำการพิจารณาโดยแยบคายจนรู้แจ้งแทงตลอดแล้ว เป็นเหตุล้างเหตุอุปนิสัยกิเลสในสันดาน [อนุสัยกิเลส] โดยการใช้ทางดับ(เหตุดับ)ทุกข์ มาชำระล้าง เหตุแห่งทุกข์)
ภู : งืมๆๆๆ งงๆ อยู่
ชิิว : งั้นให้ภูทำแบบนี้นะ..การกำหนดรู้ทุกข์ ให้ภูลองทำใจให้สะบายๆ แล้วนึกวิเคราะห์ดูนะว่า..ตอนภูเกิดอาการซึมเศร้า ภูเป็นยังไง มีกระทำทาง กาย วาจา ใจ อย่างไรบ้่าง ลองใช้ผลจากการฝึกสติทำสมาธิหวนระลึกดูนะ ติ๊กต็อกๆๆ
ภู : งืมๆๆๆ (ภูหลับตา แล้วนึกย้อน) แรกเริ่มเลยใช่มั้ย
: พอภูเจอเรื่องอะไรกระทบใจ ภูก็จะคิดด้วยความรู้สึกว่า..สิ่งที่ภูเจอมันมีแต่เรื่องไม่ดี มีแต่สิ่งร้ายๆ ไม่มีคนสนใจ มีแต่คนทำร้ายภู ทำไมมันมีแต่เรื่องแย่ๆในชีวิต ทำไมไม่มีความสุขเหมือนตนอื่นเขา
: ตอนที่ภูคิดว่าชีวิตไม่มีความสุขเลย ก็รู้สึกแย่เอามากๆ ก็รู้สึกใจมันหดหู่ยังไงไม่รู้..แล้วมันก็ไม่อยากรับรู้อะไร..พอเสร็จภูก็คิดซ้ำๆวนๆ มันก็เกิดความคิดว่าโลกนี้ไม่ต้องมีเราก็ได้ หรือ บางครั้งก็คิดว่า ตายมันไปเสียให้จบๆ จะได้ไม่ต้องเจอสิ่งพวกนี้อีก หรือ ตายชดใช้ความผิดมันไปเลย คิดซ้ำๆอยู่อย่างนั้น
: ตอนที่คิดวนๆซ้ำๆ ใจมันก็คิดว่าใช่ มันเป็นอย่างนั้น ชีวิตเรามันมีแค่นั้น ก็เลยตัดสินใจฆ่าตัวตาย
ชิว : ภูเห็นการกระทำที่เป็นตัวทุกข์มั้ย
ภู : ฆ่าตัวตายหรอ
ชิว : ก่อนที่จะฆ่าตัวตาย
ภู : ย้ำคิดย้ำทำ
ชิว : ถูกต้อง..แล้วก่อนย้ำคิดย้ำทำล่ะ
ภู : ก็คิดว่าชีวิตภูไม่เคยได้รับสิ่งดีมีความสุขอย่างใครเขาเลย
ชิว : มาถูกทางแล้ว..มีก่อนหน้านั้นอีกมั้ย
ภู : ก็คิดว่ามีแต่สิ่งไม่ดีเกิดกับภู มีแต่คนทำร้าย มีแต่คนทำเรื่องแย่ๆใส่ภู มีแต่คนด่า คนแกล้งทำร้ายภู
ชิว : ดีมากถูกทางแล้ว ภูสังเกตุมั้ยว่า..
: ทุกอย่างเกิดจากการคิด แล้วก็ยึดเอาความคิดแง่ลบมาเป็นชีวิตตัวตนของภู ทั้งการคิดและยึดความคิด..ก็ล้วนแต่เป็นการกระทำทางใจทั้งสิ้น
: เมื่อการกำหนดรู้ตัวทุกข์ คือ การกำหนดรู้การกระทำ ดังนั้น..การกระทำที่เป็นตัวทุกข์ หรือ ปัญหาของภู ก็คือ การคิดในทางลบที่บั่นทอนจิตใจตนเอง แล้วยึดเอาความคิดนั้นมาเป็นตัวตนชีวิตของตัวเอง
ภู : ยังไงนะ..??
ชิว : เพราะภูคิดในแง่ร้ายบั่นทอนสุขเพิ่มทุกข์ให้ตนเอง, ย้ำคิดย้ำทำในสิ่งที่ทำร้ายตัวเอง จึงหดหู่ ห่อเหี่ยว แล้วก็ยึดหลงคล้อยตามความคิดนั้นจนเกิดซึมเศร้าแล้วกระทำในทางที่ผิด
ภู : งืมๆๆๆ...ก็จริงแฮะ
ชิว : การกระทำ..ที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าของภู ก็คือ ความคิด Toxic
ภู : อ่า..ฮะ..
ชิว : ซึ่งกระบวนการของความคิด Toxic นี้ จะเกิดขึ้นเพราะ..
: Toxic เป็นการที่ใจภูไปหวนนึกคิดยึดเอาเรื่องราวในสิ่งที่หดหู่ใจมาคิดซ้ำๆ วนๆ จนหลงติดอยู่ในวังวนความคิดที่ภูหดหู่ใจ ซึมเศร้า จนเกิดการทำร้ายตนเอง..ดังนั้น ความคิด Toxic คือ ตัวทุกข์ หรือ ตัวปัญหาของภู
ภู : งืมๆ พอจะเข้าใจแต่ก็งงๆหน่อย อธิบายเพิ่มได้มั้ยอะชิว
ชิว : ยกตัวอย่าง..ลองกำหนดรู้หวนคิดวิเคราะห์ดูว่า..วันนี้ที่ภูไปเตะบอลนะ ทั้งๆที่เจอเพื่อนด่าเหมือนกันใช่ไหม.. แล้วทำไมภูไม่เกิดอาการซึมเศร้าล่ะ..นั่นเพราะภูไม่คิดในทาง Toxic ที่บั่นทอนจิตใจตนเองใช่มั้ย
ภู : จริงด้วย !!..โอ้ว้าวว.. (ノ◕ヮ◕)ノ*.✧ มันแค่นี้เองเนอะ
ชิว : งั้นทุกข์ของภูก็คือความคิด ยึดหลงความคิด Toxic ตัวเอง
ภู : อ่า..ทุกข์ คือ ความคิด Toxic
ชิว : ความคิด Toxic นี้แหละ คือสิ่งที่ต้องดับให้สิ้นไป
ภู : โอเช.. <( ̄︶ ̄)>
ชิว : แล้วภูจะดับความคิด Toxic ได้ยังไง ภูก็ต้องสืบค้นหาเหตุจูงใจให้เกิดความคิด Toxic นั้น
ภู : เหตุคืออะไรอะ ??
ชิว : ภูลองนึกย้อนทบทวนๆสืบค้นหาปมในใจไปสิว่า ทำไมถึงคิดในแง่ร้าย ทำไมคิดแต่สิ่งที่หดหู้ใจ ติ๊กต็อกๆๆ
ภู : งืมๆๆๆ (ภูหลับตา แล้วนึกย้อน)
ภู : เพราะภูไม่ชอบที่ใครมาด่า มาตี มาดูถูกเหยียดหยามภู ไม่ชอบให้ใครมาพูดแย่ๆ หรือทำอะไรที่เลวร้ายกับภู
ชิว : เพราะชอบชังใช่มั้ย ทำไมล่ะ
ภู : ก็ภูอยากให้โลกนี้มีคนเข้าใจภู ไม่อยากให้มองว่าภูไร้ค่า อยากให้คนอื่นไม่ทำร้ายภู อยากมีเพื่อนที่ดีกับภู อยากให้เขาไม่ทอดทิ้งภู อยากให้ครูไม่ด่าภู อยากให้ปะป๊ารักและห่วงภู ไม่ด่า ไม่ตีภู
ชิว : ทั้งหมดนี้ คือ ความปรารถนาต้องการของภู ที่อยากได้รับจากคนอื่น ตามความยินดียินร้ายของตน ใช่ไหม
ภู : อืม..ก็ใช่นะ
ชิว : แล้วทำไมต้องอยากได้รับจากคนอื่นมากนักล่ะ ทั้งๆที่พอไม่ได้รับการตอบกลับจากเขาอย่างที่ใจคาดหวังปารถนาไว้ ก็มาคิดว่าทำไมเจอเรื่องแย่ๆ ทำไมต้องเจออย่างนี้ ทำไมไม่เจอสิ่งดีๆอย่างคนอื่นบ้าง เป็นเหตุให้เกิดการยกเอาสิ่งแย่ๆมาย้ำคิดย้ำทำ ก็เลยหดหู่เสียใจใช่ไหม
ภู : อืม..ก็ภูอยากให้ทุกคนใจดีกับภูอะ
ชิว : นี่บ่งบอกถึงว่า..ความปารถนาอยากให้ทุกคนใจดีกับภูนั่นแหละ คือ เหตุให้เกิด Toxic
ก็เพราะความปรารถนาต้องการของภู ที่จะได้รับในสิ่งตนที่ชอบ สิ่งที่ตนพอใจยินดี เป็นสุขจากผู้อื่น..นี่แหละ..จึงเกิดเป็น “เหตุจูงใจ” ให้ภูคิดย้ำแต่แง่ลบใช่มั้ย
ภู : ใช่นะ..ก็จริงนะ
ชิว : นั่นแสดงให้เห็นว่า..
: การที่ภู..“คาดหวังปรารถนาเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น” ยังไงล่ะ “ไม่เคยคิดมองสุขที่เกิดขึ้นได้จากตนเองเลย”..แต่เพราะสิ่งที่ภูคาดหวัง “มันอยู่เหนือการควบคุมของเรา”..ทำให้สิ่งที่เขากระทำตอบกลับภู ไม่เป็นไปดั่งที่ใจภูปรารถนาต้องการ ภูก็เลยคิดไปในความรู้สึกที่ด้อยค่าตัวเอง
: นี่แหละ คือ เหตุจูงใจให้กระทำ..ทำการคิดลง Toxic ของภู นี่คือ สมุทัยของภู”
ภู : อ่า..พูดให้เข้าใจชัดขึ้นได้มั้ยอะ
ชิว : ยกตัวอย่างเช่น วันนี้ที่ภูไปเตะบอล ก่อนไปภูเครียด จึงทำ “พุทโธวิมุตติ” เพื่อดับเครียด และ เห็นสุขอยู่ที่กายใจตน แล้วภูก็ได้สติ “ไม่ตั้งความคาดหวังปรารถนา”..ว่าคนอื่นจะต้องมาให้ความสำคัญกับภู คือ ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับใคร” ใครจะเล่นด้วยหรือไม่เล่นด้วยก็ไม่เป็นไร..โดยการที่ภู “ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญตรงนี้”..กับคำพูดหรือการกระทำของใครที่จะต้องเจอ คิดแค่จะไปเตะบอลหรือวิ่งออกกำลังกายสนุกๆเท่านั้น “เป็นการเอาความสุขว่ามาไว้ที่ตัวเอง โดยไม่ต้องไปอาศัยเอาจากผู้อื่น จึงไม่เกิดความยินดียินร้ายกับการกระทำของใคร” แล้วก็สนุกมีความสุขอย่างวันนี้ ใช่ไหม ..กระบวนการทั้งหมดนี้ คือ “จิตตสังขาร”
ภู : จริงด้วย..!!
ชิว : ก็นี่ไง..ความปารถนา คือ เหตุแห่งทุกข์ที่ควรละ ที่ภูได้ละแล้ว..จึงส่งผลดีให้ภู..เพราะภูดับเหตุการกระทำนั้นแล้ว ความหมดสิ้นเหตุให้กระทำ(ความคิด Toxic) ของภูจึงเกิดขึ้น
ภู : นั่นสินะ..มันแค่นี้เองเนอะ แต่ภูจะทำได้ตลอดยังไง
ชิว : ก็ต้องสะสมเหตุในทางดับเหตุกระทำของภูที่เรียกว่า..มรรค
มรรค คือ ทางดับทุกข์, ทางแก้ปัญหา, ทางดับการกระทำของภู, เป็นการสำรวมระวังกรรม..ด้วยสติปัญญาเห็นชอบ
ภู : ทำยังไงอะ
ชิว : พิจารณาจากความดับสิ้น Toxic ของภูในวันนี้..ลองนึกถึงตั้งแต่ตอนจะออกจากบ้าน ตอนภูออกไปเตะบอลกับเพื่อน ได้เตะบอลกับเพื่อน จนภูกลับบ้านในวันนี้ดู ว่าตอนนั้นใจภูเป็นยังไง คิดยังไง ทำยังไง..ติ๊กต็อกๆๆ
ภู : อ่า..เหมือนตอนนั้น งืมๆๆ
: ตอนเครียดภูจำที่ชิวสอนได้ว่า ให้ทำพุทโธวิมุตติสุข เอาสุขตั้งไว้ที่กายใจตนเอง ภูก็เลยทำพุทโธวิมุตติ แล้วภูก็สงบ สบาย สดชื่น ผ่อนคลาย ไม่ตรึงเครียด จึงทำให้เห็นว่า สุขอยู่ที่กายใจเราทำ..ก็เลยคิดว่าเราไปเล่นออกกำลังกายไม่ต้องสนใจใครจะว่าภูยังไง แค่ไปเล่นสนุกสนานของภูก็พอ แล้วภูก็ไปเล่น ตอนแรกก็ตึงๆอยู่เหมือนกัน ก็เลยคิดว่าเอาน่า..เล่นคนเดียวก็ไม่เป็นไรนี่ ทุกคนมาเล่นเพื่อความสนุกผ่อนคลายนี่ ไม่ได้มาเล่นเพื่อเครียด แล้วเราจะเครียดไปทำไม ถ้าเขาขาดคนก็คงเรียกเราเอง ภูเลยไปยืมบอลเขาเตะโต้กับกำแพงเล่น แล้วพอเขาลงเตะเดิมพันกันเสร็จ ก็ชวนภูเล่นทีมกัน
: ตอนลงทีมกับเขานั้น เขาก็มีด่าภูบ้าง..แต่ภูก็คิดว่า เอาน่า..เขาก็อยากเตะชนะกันทุกคนแหละ แล้วเพื่อนกันเขาก็พูดกันอย่างนี้แหละ มีหยาบบ้างตามประสา เพราะอายุเท่ากันก็ด่ากันตามปกติ เมื่อคิดแบบนี้..พอเขาว่าภูมาภูก็ไม่ใส่ใจแล้วก็ตั้งใจเป็นกองหลังกันประตูก็พอ พอเล่นเสร็จเขาก็ชมว่าภูสุดยอดแล้วก้อไม่งอแงเหมือนเก่า
ชิว : แล้วภูมีความสุขมั้ยล่ะ
ภู : ก็ต้องมีสิคร้าบบบ (≧▽≦)
ชิว : ภูก็ต้องรู้มูลเหตุความดับทุกข์ของภู ที่่่เป็นองค์ประกอบการกระทำต่างๆ ที่ทำให้ภูถึงการดับ Toxic ในวันนี้ เพราะทุกข์และปัญหาของภู คือ สภาพจิตใจ ภูก็ต้องรู้เหตุเกิดและดับใน “จิตตสังขาร” ด้วย
“จิตตสังขาร” คือ “สภาพที่ปรุงแต่งกระทำทางใจ” สิ่งปรุงแต่งที่เกิดกระทำทางจิต เป็นสิ่งที่จิิตอาศัยเกิดขึ้นให้ใจรู้ มี 3 อย่าง ได้แก่
1.) เวทนา คือ ความรู้สึกสุข-ทุกข์-เฉยๆ (ปัจจัยปรุงแต่ง)
2.) สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ ความสำคัญมั่นหมายของใจในความยินดี ยินร้าย และ เฉยๆ (ปัจจัยปรุงแต่ง)
3.) สังขาร คือ เจตนาความนึกคิดสืบต่อ (การกระทำ)
ภู : งงๆอะ
ชิว : ย่อๆก็คือ..
รู้จิตตสังขาร ก็คือ..
1.) รู้สุขรู้ทุกข์
2.) รู้สิ่งที่จดจำสำคัญใจ
3.) รู้ความนึกคิด
ภู : อืม..สั้นๆเข้าใจ สุขทุกข์, สำคัญใจ, คิด..แล้วภูต้องทำยังไงอะ
ชิว : ข้อที่ 1. เวทนา คือ ความสุข-ทุกข์ และ ความสุขที่ภูปารถนานั้น คือ ต้องการได้รับสุขจากผู้อื่น คือ สุขภายนอก เป็นสุขที่เนื่องด้วยกาย..เพราะต้องอาศัยตาเห็นสิ่งที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข, หูได้ยินเสียงที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข, จมูกได้กลิ่นที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข ลิ้นได้ลิ้มรสที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข และ กายได้สัมผัสที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข พอเกิดสิ่งใหม่มากระทำ ที่กระทบกระทั่งเปลี่ยนแปลง สุขนั้นก็แปรปรวนดับไป เกิดทุกข์ตั้งขึ้นมาแทน มันอยู่ได้ไม่นานใช่ไหม จะไปบังคับควบคุมให้เขาทำแต่สิ่งที่ภูสุขก็ไม่ได้ พอนึกถึงก็ปรารถนาโหยหา
ภู : มันก๋็จริงแฮะ
ชิว : ส่วนสุขที่ภูเอามาตั้งไว้ในใจตนโดยไม่อิงอาศัยผู้อื่น แบบพุทโธวิมุตติสุข คือ สุขภายใน เป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ อาศัยใจสัมผัส มันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเช่นเดียวกัน แต่มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับการกระทำของใครภายนอก ไม่ต้องรอได้รับจากใคร ไม่ต้องไปร้องขอจากใคร นึกถึงเมื่อไหร่ก็สุขเมื่อนั้น จึงไม่กระทบแปรปรวนดับไปเพราะการกระทำของใคร แต่อยู่ที่กำลังใจเข้มแข็งของภูเอง ใช่มั้ย
ภู : ใช่..จริงด้วย
ชิว : สุขจากภายนอกและภายใน ต่างก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่..สุขไหนตั้งอยู่ได้นานกว่ากัน สุขไหนกระทบแปรปรวนได้น้อยกว่ากัน สุขไหนที่เกิดขึ้นได้โดยอิงอาศัยสิ่งล่อใจน้อยกว่ากัน และ สุขไหนทำให้เกิดขึ้นได้โดยไม่จำกัดกาลกว่ากัน
ภู : พุทโธวิมุตติ เอาสุขมาตั้งที่กายใจตน สุขได้นานกว่า ไม่กระทบแปรปรวนเป็นทุกข์จากการกระทำของใคร นึกถึงเมื่อไหร่ก็เป็นสุข
ชิว : เยี่ยมมาก !! นี่ภูรู้สุขรู้ทุกข์ รู้การเกิดดับในเบื้องต้นแล้ว ก็ชื่อว่ารู้เวทนาแล้ว ก็ให้ภูจับหลักเอาตรงนี้แหละ
ภู : ว้าวว..ภูเก่งใช่มั้ยล่ะ สุขกายคือรับจากคนอื่น สุขใจคืออยู่ที่ใจเราทำ
ชิว : ข้อที่ 2 สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้, ความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจ เวลาเราพบเจอสิ่งใด ใจเราก็มักจะจดจำไว้เสมอ เจอสิ่งที่รับรู้แล้วภูรู้สึกสบายใจเป็นสุข ภูก็จะจดจำให้ความสำคัญกับใจต่อสิ่งนั้นในความยินดี ก็ตราตรึงใจ ติดตรึงใจใคร่ปราถนา
..แต่ถ้าภูรัับรู้สิ่งใดแล้วภูรู้สึกไม่สบายใจเป็นทุกข์ ภูก็จะจดจำให้ความสำคัญกับใจต่อสิ่งนั้นในความยินร้าย ก็ไม่ตราตรึงใจ ใคร่ปารถนาผลักไสออกไปให้ไกลตน..เหมือนที่ภูให้ความสำคัญใจต่อการกระทำของผู้อื่นไว้ไง
ภู : อืมมม..ก็จริงนะ
ชิว : ความสำคัญใจก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แปรปรวน เปลี่ยนแปลงไปได้ เหมือนภูตอนเด็กไม่กินเผ็ด เกลียด ไม่ชอบ แต่โตมากลับชอบกินเผ็ด มันซี๊ดซ๊าดถึงใจไง “อยู่ที่เราจะให้ค่าความสำคัญ..สร้างความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี..เอามาใส่ไว้ในใจของเราอย่างไร” มันเกิดขึ้น แปรปรวน เปลี่ยนแปลง ดับไปได้ตลอดเวลา ความสำคัญใจใหม่มา ความสำคัญใจเก่าก็ดับทันที มันเป็นอย่างนี้แหละ..การไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญของใจกับสิ่งใด คือ อุเบกขา ความไม่ยินดียินร้ายในสิ่งที่ให้สำคัญมั่นหมายเอาไว้กับใจ
ภู : โอ้ว..เหมือนจะใช่แฮะ ความสำคัญใจ คือ ฝังใจ ฝังจำ หรือ เอามาใส่ใจให้ความสำคัญว่า..ชอบ ชัง นี่เอง
ชิว : แล้วจะทำยังไงให้เลิกใส่ใจให้ความสำคัญได้ทุกครั้ง โดยเฉพาะตอนที่ ตรึงเครียด
ภู : บอกวิธีหน่อยสิชิว.. ( ╹▽╹ )
ชิว : ภูก็จำเป็นต้อง..รู้ความพอใจยินดีที่ควรเสพและไม่ควรเสพ, รู้ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพและไม่ควรเสพ, รู้อุเบกขาที่ควรเสพและไม่ควรเสพ
ภ : ทำยังไงก่อน ด่วนๆ…
ชิว : ภูชอบให้คนอื่นทำดีกับภู ทำในสิ่งที่ภูชอบ ภูจึงตั้งความปารถนา โหยหามัน, ถ้าเจอสิ่งที่ไมชอบ ไม่พึงปรารถนา ก็เสียใจ, แต่ถ้าเจอสิ่งที่ชอบและไม่ชอบเสมอกัน เช่น เหมือนภูอยากจะมีเพื่อนสักคนหนึ่งจะได้ไม่โดดเดี่ยว แรกคบภูเป็นสุขที่มีเพื่อน ภูก็ให้ค่าความสำคัญกับเขามาก แต่พอคบเพื่อนคนนั้นสักพักแล้ว เขาชอบมาพูดหยาบด่าภู..จึงทำให้ภูรู้สึกว่า..เราอยากเป็นเพื่อนเขานะ แต่เขาพูดไม่ดีไม่กับเรา เพื่อนคนนี้เมื่อคบแล้ว แม้เราจะไม่โดดเดี่ยว(ชอบ) แต่ก็อึดอัดใจทุกครั้ง(ชัง) ก็เกิดปริมาณความชอบและชังที่เกิดมีขึ้นพอๆกัน จึงเกิดความรู้สึกมีใจกลางๆไม่น้อมไปทั้งความชอบและชัง จึงลังเลที่จะคบเขาต่อ..เมื่อภูคิดพิจารณาเห็นคุณและโทษที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นว่า..หากคบต่อก็ต้องไม่ใส่ใจคำพูดและการกระทำของเขา และหากไม่คบต่อก็ไม่เสียหายอะไร ก็จึงเกิดตกลงใจ(ความเชื่อจากการพิจารณาคุณและโทษ) ว่าเพื่อนคนนี้ภูจะคบก็ได้หรือไม่คบก็ได้ แต่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมภูก็เลือกวางใจไว้ในความรู้สึกเฉยๆ ก็แค่คุยได้แต่อย่าสนใจคำพูดการกระทำของเขา และ ไม่คลุกคลีสนิทชิดเชื้อมากไป ไม่เอาสุขไปผูกขึ้นไว้กับเขาอีก ภูก็จึงไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญกับเขา
ภ : มันจริงแฮะ…
ชิว : ..ดังนี้เมื่อเราจะแก้ความอยากในสิ่งที่ติดตราตรึงใจให้ยินดี-ยินร้าย ก็ต้องใช้ 2 หลัก ที่เรียกว่า..การเลือกธัมมารมณ์ที่ควรเสพ (สิ่งใดที่ทำแล้วกุศลธรรมเกิดขึ้น-อกุศลธรรมเสื่อมลง) และ ธัมมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ (สิ่งใดที่ทำแล้วอกุศลธรรมเกิดขึ้น-กุศลธรรมเสื่อมลง) คือ.
1. ความพอใจยินดีที่ควรเสพ (เมื่อทำแล้วกุศลธรรมเจริญขึ้น-อกุศลธรรมเสื่อมลง)
2. ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพ (เมื่อทำแล้วกุศลธรรมเจริญขึ้น-อกุศลธรรมเสื่อมลง)
3. ความเชื่อด้วยปัญญา รู้เห็นประโยชน์ตามจริง แล้วไม่ติดใจข้องแวะ เป็น..อุเบกขาที่ควรเสพ (เมื่อทำแล้วกุศลธรรมเจริญขึ้น-อกุศลธรรมเสื่อมลง)
วิธีใช้ในการเลือกธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์
1.) ตั้งใจมั่นใน..ความพอใจยินดีที่ควรเสพ คือ พอใจที่จะคบเพื่อนโดยที่ภูไม่ต้องไปใส่ใจให้ค่ากับคำพูดและการกระทำของเขา หรือ ยินดีที่จะเอาความสุขสำเร็จของภูมาตั้งไว้ที่กายใจตน
(เพราะมันทำให้ภูเป็นสุข ไม่ต้องทุกข์กับการกระทำตอบกลับของใครอีก มันแช่มื่น เบิกบาน มีจิตแจ่มใสร่าเลิก เป็นสุขที่ปราศจาก Toxic)
2.) ตั้งใจมั่นใน..ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพ คือ ไม่พอใจที่จะคบเพื่อนโดยให้ค่าความสำคัญกับคำพูดและการกระทำของเขา หรือ ไม่ยินดีให้ความสุขสำเร็จของภูต้องไปผูกติดขึ้นอยู่กับเขา
(เพราะมันทำให้ภูอึดอัด อัดอั้น คับแค้นกายใจ ไม่สบายกายใจ เป็นทุกข์ระทมให้ไปดึงเอา Toxic มาคิดซ้ำๆวนๆบั่นทอนจิตใจตนเอง)
3.) ตั้งใจมั่นใน..อุเบกขาที่ควรเสพ คือ ต้องไม่ติดใจข้องแวะกับคำพูดและการกระทำของใครจนเกินความจำเป็น หรือ ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญกับคำพูดหรือการกระทำของใคร ที่มา Toxic ทำร้ายภู
(ต้องอาศัย ศรัทธา ความเชื่อมั่นด้วยปัญญาในสิ่งที่ทำ ว่าสิ่งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขดีงามของเราในปัจจุบันและภายหน้า ทำให้ภูพบปะคบหากับใครได้โดยไม่ต้องไปเก็บเอาสิ่งใดมาคิดให้เครียดให้ว้าวุ่นใจ ไม่หดหู่ ไม่ Toxic เพราะเราใช้ปัญญาไตร่ตรองเห็นแจ้งแล้ว จึงเลือกที่จะไม่ติดใจข้องแวะการกระทำของเขา..
หมายเหตุ : ความติดใจข้องแวะ หมายถึง..
ความติดใจ ประการที่ 1.) ความติดตราตรึงใจยินดี, ความสำคัญใจยินดี, ชื่นชอบพอใจ, ความประทับใจ, โลภ / ไม่ติดใจ คือ ไม่สำคัญใจยินดีติดตราตรึงใจ
ความติดใจ ประการที่ 2.) ความขุ่นข้องขัดเคืองใจ, ความสำคัญใจยินร้าย ขัดเคืองใจ ข้องใจ ค้างคาใจ ฝังใจโกรธ แค้น เกลียด ชัง สงสัย / ไม่ติดใจ คือ ไม่สำคัญใจยินร้ายขุ่นข้องขัดเคืองใจ
ความข้องแวะ คือ ใส่ใจให้ความสำคัญ, ผูกใจ, ข้องเกี่ยว, ยุ่งเกี่ยว, เกี่ยวพัน / ไม่ข้องแวะ คือ ไม่ใส่ใจให้ความสำคัญ ไม่ผูกใจข้องเกี่ยว
• ความติดใจข้องแวะ คือ การใส่ใจให้ค่าความสำคัญทั้งสิ่งที่ยินดี-ยินร้าย
• ความไม่ติดใจข้องแวะ คือ การไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญทั้งสิ่งที่ยินดี-ยินร้าย
ภู : โอ้ว..ใช่เลยแฮะ เหมือนที่ทำเมื่อตนไปเตะบอลเลย ยินดีในสุขที่เกิดขึ้นจากกายใจภู, ยินร้ายที่ความสุขของภูต้องไปขึ้นอยู่กับใคร, ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญกับสิ่งที่รู้สึกแย่ๆ
ชิว : เก่งมาก..นี่่ก็ชื่อว่าภูรู้จัก สัญญาในเบื้องต้นแล้วนะ
ชิว : ข้อที่ 3 สังขาร คือ เจตนาความนึกคิด ซึ่ง เจตนา คือ ความจงใจ, ความมุ่งหมายกระทำใจไว้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็คือ อาการที่ใจไปน้อมนึกไปจับเอาสิ่งที่ได้รับรู้ความรู้สึก และ สิ่งที่เคยจดจำให้ความสำคัญใจทั้งหลายนั้น..ทั้งที่เป็นกุศล หรือ อกุศล แล้วเอามาคิดสืบต่อเรื่องราว กล่าวคือ..เป็นการเอาใจเข้ายึดมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราจดจำให้ความสำคัญกับใจไว้ มาคิดสืบต่อเรื่องราวตามความปารถนาของใจนั่นเอง
..เจตนานี้มันเกิดขึ้นจับอารมณ์แล้วก็ดับไป ส่วนตัวที่จับตรึงสิ่งที่เราน้อมนึกขึ้นมานั้นให้ตั้งอยู่ไว้ได้ คือ “อุปาทาน” เป็นเจตนาที่เป็นความยึดมั่นถือมั่น จึงเกิดเจตนาซ้ำอีกรอบเพื่อคิดสืบต่อเรื่องราว
ภู : อ่า..อืม
ชิว : ส่วนความคิด ก็เป็นการที่เราเอาสิ่งที่ใจไปนึกหยิบยึดจับมานั้น สืบต่อเรื่องราวต่างๆ
- หากคิดในกุศล คือ คิดละความติดตรึงยินดี คิดละความยินร้าย พยาบาท คิดเว้นจากความเบียดเบียน (คิดดี, คิดบวก = ให้ผลเป็นสุข)
- หากคิดในอกุศล คือ คิดในความติดตรึงยินดี คิดในความยินร้าย พยาบาท คิดในความเบียดเบียนไปตามที่ใจรัก ชัง หลง กลัว (คิดไม่ดี, คิดลบ, Toxic = ให้ผลเป็นทุกข์)
..สรุป..การจงใจคิดนึกให้เป็นไปในอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เราได้ให้ความสำคัญใจไว้ ไม่ว่าจะเป็นกุศล หรือ อกุศล..ส่งผลต่อการกระทำของใจ..ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ชอบ ที่ชัง หรือ เรื่องใดก็ตามนั่นเอง นี่แหละคือ สังขาร
ภู : ความนึกคิดต่างๆทั้งดีร้าย งั้น Toxic