ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นิยายธรรมะ วัยรุ่นต้องรอด บังไคปลดปล่อยแรงกดดัน พุทโธอริยะสัจ ๔  (อ่าน 1 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1076
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
      ..หลังจากภูปิดคอมฯ เก็บของเสร็จ 16:43 น. ภูก็คิดจะออกไปสนามฟุตบอล แต่ใจก็เกิดกลัว ระแวงว่าตนเองจะเจอเหยียดหยามอีกไหมนะ จะมีใครเปิดใจเล่นด้วยไหมนะ จึงนั่งตรึงเครียดอยู่หน้าบ้าน..แต่ชิวก็แอบมองตามดูอยู่ แล้วผลจากการฝึกสติของภู ก็ทำให้ภูนึกถึงสิ่งที่ชิวสอนขึ้นได้ว่า เวลาตรึงเครียดว้าวุ่นใจ..ให้ทำ “พุทโธวิมุตติสุข” แก้ความตรึงเครียดในใจนั้น โดยเอาความสุขมาตั้งไว้ที่กายใจตัวเอง..

      ..แล้วภูก็ทำภาวนาพุทโธ หายใจเข้าช้าๆ “พุท” รู้ลมเคลื่อนจากปลายจมูก ใจน้อมเอาความแช่มชื่น ซายซ่าน เย็นใจพัดผ่านโพลงจมูก เข้ามาปะทะที่เบื้องหน้า เคลื่อนไปที่โพรงกะโหลกสมองไม่ยึดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอันใด ทำใจรับรู้แค่ความแช่มชื่น โล่งใจ ซ่านเบา สบาย เป็นสุขอยู่ที่โพรงสมองจนสุดลมหายใจเข้า
      ..แล้วหายใจออกช้าๆ “โธ” รู้ลมเคลื่อนออกจากโพรงกะโหลก ลมพัดเอาความปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย เย็นใจมาที่เบื้องหน้า เคลื่อนไปที่โพรงจมูก จับรู้ความผ่อนคลายเย็นใจที่ปลายจมูกจนสุดลมหายใจออก..เมื่อทำไปได้ 10 นาที ก็เบาโล่งใจ สดชื่น ยิ้มร่าเริง

      ..ก็ทำให้ภ็เกิดความรู้เห็นและเข้าใจว่า..ความสุขนี้มันอยู่ที่กายใจเราทำ ไม่ใช่มีได้เพราะผู้อื่น เมื่อรู้เห็นเข้าใจดั้งนั้น ภูจึงคิดว่า..ตนเองพร้อมรับมือทุกสถานการณ์แล้ว จึงออกไปที่สนามฟุตบอลในหมู่บ้าน..

      ..เมื่อมาถึงสนามฟุตบอล เพื่อนๆเห็นก็ทัักตามปกติ แต่ก็็ต่างถามภูว่า..สุขภาพจิตใจดีหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อมก็อย่าเพิ่งมาร่วมทีมเล่นเตะบอลชิงเงินเดิมพัน..ภูก็ยิ้มร่าไม่เป็น แต่ยืมบอลเตะเล่นออกกำลังกายหน่อยดท่านั้นพอ..เพื่อนก็โยนบอลให้ภู..ภูก็พููดขอบใจ แล้วก็เลี้ยงบอลเตะเล่นโต้กับกำแพงเล่นตนเดียว ด้วยเพราะภูทำพุทโธวิมุตติ ใจคลายจากวิตกกังวลพร้อมเผชิญหน้าสู้กับสิ่งที่จะพบเจอไม่ว่าดีหรือร้าย ทำให้ใจไม่ผูกพะวงคาดหวังกับใคร ก็เลยไม่มีเรื่องให้ทุกข์ จึงสามารถเล่นปกติทั่วไปได้แม้จะเตะบอลคนเดียว..

..พอเพื่อนๆเตะบอลเดิมพันกันเสร็จตอน 17:40 ก็ชวนภูมาเตะเล่นฝึกซ้อมสนุกสนานทั่วไป แต่ก็มีที่หลุดด่ากันบ้าง แต่ภูก็ไม่ได้ใส่ใจให้ความสำคัญกับคำพูดเพื่อนๆ จึงยิ้มหัวเราะรับ แล้วเตะบอลกับเพื่อนต่อจนถึงเวลา 18:00 น. ภูก็บอกเพื่อนกลับบ้าน..
      ..เพื่อนๆที่เห็นภูวันนี้ก็รู้สึกว่าภูแจ่มใสไม่คิดเล็กคิดน้อย ต่างก็พูดว่า ภูวันนี้เอ็งสุดยอดเลยว่ะ ไม่คิดเล็กคิดน้อยฆ่าตัวตายอีก..ภูก็ตอบไปว่า..ไม่รู้สินะ เพราะเห็นว่าการด่ากันมันก็เรื่องปกติมั้ง..พอไม่คาดหวังว่าใครจะพูดดีด้วย หรือ ต้องมาเล่นด้วย เห็นว่ามันเป็นรื่องปกติ ใครๆก็อยากจะชนะกันทั้งนั้นแหละ ก็เลยไม่ใส่ใจเรื่องคำพูด จึงไม่มีอะไรมาผูกกระทบสะเทือนใจ..แล้วเพื่อนก็ต่างพูดว่า..แกสุดยอดว่ะภู..ภูก็หัวเราะแล้วก็เดินกลับบ้าน..
      ..พอกลับมาถึงบ้าน ปะป๊าก็กลับมาพอดีซื้อกับข้าวมาพร้อม บอกให้ภูเตรียมถ้วยจานมากินข้าว..
      ..เวลา 19:10 น. ภูทานข้าว ล้างจาน อาบน้ำเสร็จ ขึ้นนั่งเล่นบนห้อง ชิวก็บินออกมาหาภู..พอชิวเห็นว่าวันนี้ภูอารมณ์ดี จิตใจภูแจ่มใสร่าเริง เหมาะสมกับการเรียนรู้ จึงเริ่มจากการสอบถามเรื่องราววันนี้ที่ไปเตะบอลว่าเป็นยังไงบ้าง..

          ชิว : วันนี้เตะบอลกับเพื่อนสนุกมั้ย
            ภู : ก็ดีนะ..สนุกดี สบายๆ
          ชิว : เยี่ยมเลย..สังเกตุุมั้ยว่าทำไมวันนี้ภูไม่เคร่งเครียด
            ภู : ตอนก่อนออกจากบ้านก็เครียดนะ เลยทำพุทโธวิมุตติแบบชิวบอก ก็รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย ก็เลยคิดว่า..เราแค่ไปเตะบอล ใครจะเล่นด้วยไม่เล่นด้วยก็ช่างมัน เราแค่ไปออกกำลังกาย หากมีคนว่าก็ช่างมัน เราไม่อย่าสนใจมัน มันก็เลยคิดว่าต้องเจออยู่แล้วตามปกติ ถ้ารู้สึกไม่ดีก็แค่กลับบ้าน มันก็เลยไม่ได้สนใจอะไรมาก
          ชิว : เยี่ยมเลยดีมากๆ..แล้วภูสังเกตุุมั้ยกับตอนแรกที่เกิดปัญหาวิ่งให้รถชน ตอนนั้นภูคิดยังไง
            ภู : เหมือนว่าตอนนั้นภูอยากให้ทุกคนเล่นด้วย อยากให้ทุกคนดีด้วย แต่กลับมีแต่คำพูดและการกระทำแย่ๆมา ไม่มีใครยอมรับภู ทำให้ภูรู้สึกโดดเดี่ยว ภูก็เลยเสียใจ
          ชิว : ถูกแล้ว นี่ภูเก่งมากๆเลยนะ
            ภู : โย่ว  (⁠ ⁠╹⁠▽⁠╹⁠ ⁠)
          ชิว : ภูอยากจะแก้ได้ทุกสถานการณ์ไหม
            ภู : ก็อยากนะ..ต้องทำไงเหรอ
          ชิว : ภูก็ต้องมารู้คุณสมบัติของพระพุทธเจ้า ว่าด้วย พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพื่อเข้ารู้ตนในหมวดจิตก่อน
            ภู : ทำไงอะชิว  (⁠ . ⁠❛⁠ ⁠ᴗ⁠ ⁠❛⁠.⁠ )⁠っ ยากมั้ยอะ ???

  ชิว : พุทโธ กับ อริยะสัจ ๔ ก็คือ..

พุทโธ กับ อริยะสัจ ๔

ผู้รู้ คือ รู้ในอริยะสัจ ๔ รู้กิจของอริยะสัจ ๔
ผู้ตื่น คือ ทำกิจในอริยะสัจ ๔
ผู้เบิกบาน คือ เห็นแจ้งผลสำเร็จ

          ภู : ยังไงต่ออะ เหมือนสั้นแต่ทำยากมั้ยอะ  (⁠´⁠-⁠﹏⁠-⁠`⁠;⁠)
         ชิว : การรู้สัจจะ

รู้อริยะสัจ ๔ คือ

ทุกข์ ความไม่สบายกายใจทั้งปวง (อุปาทาน) หรือ ปัญหา
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ หรือ เหตุแห่งปัญหา
นิโรธ ความดับทุกข์ หรือ ความดับสิ้นปัญหา
มรรค ทางดับทุกข์ (มรรค คือ การสำรวมระวังกรรม) หรือ ทางแก้ไขปัญหา

           ภู : งืมๆๆๆๆ  (⁠*⁠・⁠~⁠・⁠*⁠) เหมือนในวิชาสังคม พระพุทธศาสนาเลย
          ชิว : การรู้กิจหน้าที่ของสัจจะที่ต้องทำ

      รู้กิจ(หน้าที่)ในอริยะสัจ ๔ ที่ต้องเอามาปฏิบัติ คือ..
      ๑. ทุกข์ หรือ ปัญหา ควรกำหนดรู้
      ๒. สมุทัย หรือ เหตุแห่งปัญหา ควรละ
      ๓. นิโรธ หรือ ความดับสิ้นปัญหา ควรทำให้แจ้ง (ควรทำให้เห็นปรากฏแจ้งชัด)
      ๔. มรรค หรือ ทางแก้ไขปัญหา ควรเจริญให้มาก (ควรทำให้เกิดมีขึ้นจนครบองค์บริบูรณ์)

          ภู : ต้องทำยังไงอะชิว  (⁠*⁠・⁠~⁠・⁠*⁠)
         ชิว : ก็ต้องรู้หลักการเฟ้นหาสัจจะทั้ง 4 ข้อ ดังนี้

การพิจารณาหาสัจจะทั้ง ๔

๑. การหาตัวทุกข์ หรือ ตัวปัญหาชีวิต
          ..ให้กำหนดรู้พิจารณาไตร่ตรองที่..การกระทำ ว่ากระทำเช่นไร การกระทำใดคือตัวทุกข์

๒. สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ หรือ เหตุของปัญหาชีวิต
          ..ให้สืบค้นหาต้นเหตุสิ่งจูงใจให้กระทำ รู้ลักษณะของเหตุสิ่งจูงใจว่าเป็นเช่นไร

๓. นิโรธ ความดับพ้นทุกข์ หรือ ความดับพ้นสิ้นไปปัญหา
          ..ทำความดับสิ้นพ้นเหตุจูงใจกระทำ ให้ปรากฏชัดจนเห็นแจ้งว่า..เมื่อเหตุกระทำใดๆดับไปแล้ว ลักษณะอย่างใดดับไป และมีสิ่งใดปรากฏขึ้นมา สิ่งที่ปรากฏขึ้นมีลักษณะเช่นไร มีสิ่งใดเป็นองค์ประกอบ

๔. มรรค ทางดับทุกข์ หรือ ทางแก้ปัญหา
          ..พิจารณาองค์ประกอบในนิโรธให้แจ้ง ว่ามีองค์ประกอบเป็นเช่นไร..มีสิ่งใด-ไม่มีสิ่งใด ทางดับเหตุให้กระทำ ก็คือ องค์ประกอบอันนั้น..การวินิจฉัยไตร่ตรองเจาะลึกให้เข้าเห็นถึงกระกระทำของมรรคที่ดับสมุทัยเหตุสิ่งจูงใจให้กระทำ คือ โพชฌงค์ ซึ่ง โพชฌงค์นี้เป็น สติ สมาธิ ที่แยบคาย ในองค์มรรค เป็นการใช้เหตุอันเป็นองค์ ๘ ของจิตแห่งมรรคละเหตุแห่งทุกข์ ทำให้มรรคมีองค์ ๘ บริบูรณ์

          ภู : อ่า..ยาวอะ จนเหมือนจะเข้าใจแต่ก็ไม่เข้าใจ  (⁠^⁠~⁠^⁠;⁠)⁠ゞ
         ชิว : งั้นภูจำหลักอย่างนี้..

          สรุปหลักการพิจารณาและใช้ อริยะสัจ ๔
     1. ทุกข์ คือ สิ่งที่เป็นทุกข์ทั้งปวง ควรกำหนดรู้ : เป็นอุปนิสัยการกระทำ (จิตสำนึกในทางไม่ดี)
     2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ ควรละ : เป็นเหตุจูงใจให้เกิดอุปนิสัยการกระทำ [อนุนิสัยกิเลส], (จิตใต้สำนึกในทางไม่ดี)
     3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง : เป็นความดับสิ้นอุปนิสัยการกระทำ (หลุดพ้นจิตใต้สำนึกในทางไม่ดี)
     4. มรรค คือ ทางดับทุกข์(เหตุดับทุกข์) ควรทำให้มาก : เป็นทางดับ(เหตุดับ)อุปนิสัยการกระทำ (สร้างจิตสำนึกที่ดีจนเป็นจิตใต้สำนึก) (เป็นการประครองใจให้สำรวมระวังกรรม(การกระทำ) เป็นสิ่งที่ควรทำสะสมเหตุให้มากจนเกิดมีขึ้นเต็มบริบูรณ์ เพื่อให้ทางดับ(เหตุดับ)อุปนิสัยการกระทำนั้น มีกำลังมากพอที่จะใช้ดับเหตุอุปนิสัยการกระทำ [อนุสัยกิเลส])
      • โพชฌงค์ คือ องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ควรทำการโยนิโสมนสิการให้แยบคายจนรู้แจ้งแทงตลอด : เป็นสติและสมาธิในมรรคมีองค์ ๘ ที่ได้ทำการพิจารณาโดยแยบคายจนรู้แจ้งแทงตลอดแล้ว เป็นเหตุล้างเหตุอุปนิสัยกิเลสในสันดาน [อนุสัยกิเลส] โดยการใช้ทางดับ(เหตุดับ)ทุกข์ มาชำระล้าง เหตุแห่งทุกข์)

           ภู : งืมๆๆๆ งงๆ อยู่
         ชิิว : งั้นให้ภูทำแบบนี้นะ..การกำหนดรู้ทุกข์ ให้ภูลองทำใจให้สะบายๆ แล้วนึกวิเคราะห์ดูนะว่า..ตอนภูเกิดอาการซึมเศร้า ภูเป็นยังไง มีกระทำทาง กาย วาจา ใจ อย่างไรบ้่าง ลองใช้ผลจากการฝึกสติทำสมาธิหวนระลึกดูนะ ติ๊กต็อกๆๆ
           ภู : งืมๆๆๆ (ภูหลับตา แล้วนึกย้อน) แรกเริ่มเลยใช่มั้ย

: พอภูเจอเรื่องอะไรกระทบใจ ภูก็จะคิดด้วยความรู้สึกว่า..สิ่งที่ภูเจอมันมีแต่เรื่องไม่ดี มีแต่สิ่งร้ายๆ ไม่มีคนสนใจ มีแต่คนทำร้ายภู ทำไมมันมีแต่เรื่องแย่ๆในชีวิต ทำไมไม่มีความสุขเหมือนตนอื่นเขา

: ตอนที่ภูคิดว่าชีวิตไม่มีความสุขเลย ก็รู้สึกแย่เอามากๆ ก็รู้สึกใจมันหดหู่ยังไงไม่รู้..แล้วมันก็ไม่อยากรับรู้อะไร..พอเสร็จภูก็คิดซ้ำๆวนๆ มันก็เกิดความคิดว่าโลกนี้ไม่ต้องมีเราก็ได้ หรือ บางครั้งก็คิดว่า ตายมันไปเสียให้จบๆ จะได้ไม่ต้องเจอสิ่งพวกนี้อีก หรือ ตายชดใช้ความผิดมันไปเลย คิดซ้ำๆอยู่อย่างนั้น

: ตอนที่คิดวนๆซ้ำๆ ใจมันก็คิดว่าใช่ มันเป็นอย่างนั้น ชีวิตเรามันมีแค่นั้น ก็เลยตัดสินใจฆ่าตัวตาย

         ชิว : ภูเห็นการกระทำที่เป็นตัวทุกข์มั้ย
           ภู : ฆ่าตัวตายหรอ
         ชิว : ก่อนที่จะฆ่าตัวตาย
           ภู : ย้ำคิดย้ำทำ
         ชิว : ถูกต้อง..แล้วก่อนย้ำคิดย้ำทำล่ะ
           ภู : ก็คิดว่าชีวิตภูไม่เคยได้รับสิ่งดีมีความสุขอย่างใครเขาเลย
         ชิว : มาถูกทางแล้ว..มีก่อนหน้านั้นอีกมั้ย
           ภู : ก็คิดว่ามีแต่สิ่งไม่ดีเกิดกับภู มีแต่คนทำร้าย มีแต่คนทำเรื่องแย่ๆใส่ภู มีแต่คนด่า คนแกล้งทำร้ายภู
         ชิว : ดีมากถูกทางแล้ว ภูสังเกตุมั้ยว่า..

    : ทุกอย่างเกิดจากการคิด แล้วก็ยึดเอาความคิดแง่ลบมาเป็นชีวิตตัวตนของภู ทั้งการคิดและยึดความคิด..ก็ล้วนแต่เป็นการกระทำทางใจทั้งสิ้น

    : เมื่อการกำหนดรู้ตัวทุกข์ คือ การกำหนดรู้การกระทำ ดังนั้น..การกระทำที่เป็นตัวทุกข์ หรือ ปัญหาของภู ก็คือ การคิดในทางลบที่บั่นทอนจิตใจตนเอง แล้วยึดเอาความคิดนั้นมาเป็นตัวตนชีวิตของตัวเอง

          ภู : ยังไงนะ..??
         ชิว : เพราะภูคิดในแง่ร้ายบั่นทอนสุขเพิ่มทุกข์ให้ตนเอง, ย้ำคิดย้ำทำในสิ่งที่ทำร้ายตัวเอง จึงหดหู่ ห่อเหี่ยว แล้วก็ยึดหลงคล้อยตามความคิดนั้นจนเกิดซึมเศร้าแล้วกระทำในทางที่ผิด
           ภู : งืมๆๆๆ...ก็จริงแฮะ
         ชิว : การกระทำ..ที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าของภู ก็คือ ความคิด Toxic
           ภู : อ่า..ฮะ..
         ชิว : ซึ่งกระบวนการของความคิด Toxic นี้ จะเกิดขึ้นเพราะ..

    : Toxic เป็นการที่ใจภูไปหวนนึกคิดยึดเอาเรื่องราวในสิ่งที่หดหู่ใจมาคิดซ้ำๆ วนๆ จนหลงติดอยู่ในวังวนความคิดที่ภูหดหู่ใจ ซึมเศร้า จนเกิดการทำร้ายตนเอง..ดังนั้น ความคิด Toxic คือ ตัวทุกข์ หรือ ตัวปัญหาของภู

         ภู : งืมๆ พอจะเข้าใจแต่ก็งงๆหน่อย อธิบายเพิ่มได้มั้ยอะชิว

        ชิว : ยกตัวอย่าง..ลองกำหนดรู้หวนคิดวิเคราะห์ดูว่า..วันนี้ที่ภูไปเตะบอลนะ ทั้งๆที่เจอเพื่อนด่าเหมือนกันใช่ไหม.. แล้วทำไมภูไม่เกิดอาการซึมเศร้าล่ะ..นั่นเพราะภูไม่คิดในทาง Toxic ที่บั่นทอนจิตใจตนเองใช่มั้ย
           ภู : จริงด้วย !!..โอ้ว้าวว..  (⁠ノ⁠◕⁠ヮ⁠◕⁠)⁠ノ⁠*⁠.⁠✧  มันแค่นี้เองเนอะ
         ชิว : งั้นทุกข์ของภูก็คือความคิด ยึดหลงความคิด Toxic ตัวเอง
           ภู : อ่า..ทุกข์ คือ ความคิด Toxic
         ชิว : ความคิด Toxic นี้แหละ คือสิ่งที่ต้องดับให้สิ้นไป
           ภู : โอเช..  <⁠(⁠ ̄⁠︶⁠ ̄⁠)⁠>

        ชิว : แล้วภูจะดับความคิด Toxic ได้ยังไง ภูก็ต้องสืบค้นหาเหตุจูงใจให้เกิดความคิด Toxic นั้น
           ภู : เหตุคืออะไรอะ ??
         ชิว : ภูลองนึกย้อนทบทวนๆสืบค้นหาปมในใจไปสิว่า ทำไมถึงคิดในแง่ร้าย ทำไมคิดแต่สิ่งที่หดหู้ใจ ติ๊กต็อกๆๆ
           ภู : งืมๆๆๆ (ภูหลับตา แล้วนึกย้อน)
           ภู : เพราะภูไม่ชอบที่ใครมาด่า มาตี มาดูถูกเหยียดหยามภู ไม่ชอบให้ใครมาพูดแย่ๆ หรือทำอะไรที่เลวร้ายกับภู
         ชิว : เพราะชอบชังใช่มั้ย ทำไมล่ะ
           ภู : ก็ภูอยากให้โลกนี้มีคนเข้าใจภู ไม่อยากให้มองว่าภูไร้ค่า อยากให้คนอื่นไม่ทำร้ายภู อยากมีเพื่อนที่ดีกับภู อยากให้เขาไม่ทอดทิ้งภู อยากให้ครูไม่ด่าภู อยากให้ปะป๊ารักและห่วงภู ไม่ด่า ไม่ตีภู
         ชิว : ทั้งหมดนี้ คือ ความปรารถนาต้องการของภู ที่อยากได้รับจากคนอื่น ตามความยินดียินร้ายของตน ใช่ไหม
           ภู : อืม..ก็ใช่นะ
         ชิว : แล้วทำไมต้องอยากได้รับจากคนอื่นมากนักล่ะ ทั้งๆที่พอไม่ได้รับการตอบกลับจากเขาอย่างที่ใจคาดหวังปารถนาไว้ ก็มาคิดว่าทำไมเจอเรื่องแย่ๆ ทำไมต้องเจออย่างนี้ ทำไมไม่เจอสิ่งดีๆอย่างคนอื่นบ้าง เป็นเหตุให้เกิดการยกเอาสิ่งแย่ๆมาย้ำคิดย้ำทำ ก็เลยหดหู่เสียใจใช่ไหม
           ภู : อืม..ก็ภูอยากให้ทุกคนใจดีกับภูอะ
         ชิว : นี่บ่งบอกถึงว่า..ความปารถนาอยากให้ทุกคนใจดีกับภูนั่นแหละ คือ เหตุให้เกิด Toxic

    ก็เพราะความปรารถนาต้องการของภู ที่จะได้รับในสิ่งตนที่ชอบ สิ่งที่ตนพอใจยินดี เป็นสุขจากผู้อื่น..นี่แหละ..จึงเกิดเป็น “เหตุจูงใจ” ให้ภูคิดย้ำแต่แง่ลบใช่มั้ย

           ภู : ใช่นะ..ก็จริงนะ
         ชิว : นั่นแสดงให้เห็นว่า..

    : การที่ภู..“คาดหวังปรารถนาเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น” ยังไงล่ะ “ไม่เคยคิดมองสุขที่เกิดขึ้นได้จากตนเองเลย”..แต่เพราะสิ่งที่ภูคาดหวัง “มันอยู่เหนือการควบคุมของเรา”..ทำให้สิ่งที่เขากระทำตอบกลับภู ไม่เป็นไปดั่งที่ใจภูปรารถนาต้องการ ภูก็เลยคิดไปในความรู้สึกที่ด้อยค่าตัวเอง

    : นี่แหละ คือ เหตุจูงใจให้กระทำ..ทำการคิดลง Toxic ของภู นี่คือ สมุทัยของภู”

           ภู : อ่า..พูดให้เข้าใจชัดขึ้นได้มั้ยอะ

          ชิว : ยกตัวอย่างเช่น วันนี้ที่ภูไปเตะบอล ก่อนไปภูเครียด จึงทำ “พุทโธวิมุตติ” เพื่อดับเครียด และ เห็นสุขอยู่ที่กายใจตน แล้วภูก็ได้สติ “ไม่ตั้งความคาดหวังปรารถนา”..ว่าคนอื่นจะต้องมาให้ความสำคัญกับภู คือ ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับใคร” ใครจะเล่นด้วยหรือไม่เล่นด้วยก็ไม่เป็นไร..โดยการที่ภู “ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญตรงนี้”..กับคำพูดหรือการกระทำของใครที่จะต้องเจอ คิดแค่จะไปเตะบอลหรือวิ่งออกกำลังกายสนุกๆเท่านั้น “เป็นการเอาความสุขว่ามาไว้ที่ตัวเอง โดยไม่ต้องไปอาศัยเอาจากผู้อื่น จึงไม่เกิดความยินดียินร้ายกับการกระทำของใคร” แล้วก็สนุกมีความสุขอย่างวันนี้ ใช่ไหม ..กระบวนการทั้งหมดนี้ คือ “จิตตสังขาร”
           ภู : จริงด้วย..!!
         ชิว : ก็นี่ไง..ความปารถนา คือ เหตุแห่งทุกข์ที่ควรละ ที่ภูได้ละแล้ว..จึงส่งผลดีให้ภู..เพราะภูดับเหตุการกระทำนั้นแล้ว ความหมดสิ้นเหตุให้กระทำ(ความคิด Toxic) ของภูจึงเกิดขึ้น
          ภู : นั่นสินะ..มันแค่นี้เองเนอะ แต่ภูจะทำได้ตลอดยังไง
         ชิว : ก็ต้องสะสมเหตุในทางดับเหตุกระทำของภูที่เรียกว่า..มรรค

มรรค คือ ทางดับทุกข์, ทางแก้ปัญหา, ทางดับการกระทำของภู, เป็นการสำรวมระวังกรรม..ด้วยสติปัญญาเห็นชอบ

          ภู : ทำยังไงอะ
         ชิว : พิจารณาจากความดับสิ้น Toxic ของภูในวันนี้..ลองนึกถึงตั้งแต่ตอนจะออกจากบ้าน ตอนภูออกไปเตะบอลกับเพื่อน ได้เตะบอลกับเพื่อน จนภูกลับบ้านในวันนี้ดู ว่าตอนนั้นใจภูเป็นยังไง คิดยังไง ทำยังไง..ติ๊กต็อกๆๆ
          ภู : อ่า..เหมือนตอนนั้น งืมๆๆ

    : ตอนเครียดภูจำที่ชิวสอนได้ว่า ให้ทำพุทโธวิมุตติสุข เอาสุขตั้งไว้ที่กายใจตนเอง ภูก็เลยทำพุทโธวิมุตติ แล้วภูก็สงบ สบาย สดชื่น ผ่อนคลาย ไม่ตรึงเครียด จึงทำให้เห็นว่า สุขอยู่ที่กายใจเราทำ..ก็เลยคิดว่าเราไปเล่นออกกำลังกายไม่ต้องสนใจใครจะว่าภูยังไง แค่ไปเล่นสนุกสนานของภูก็พอ แล้วภูก็ไปเล่น ตอนแรกก็ตึงๆอยู่เหมือนกัน ก็เลยคิดว่าเอาน่า..เล่นคนเดียวก็ไม่เป็นไรนี่ ทุกคนมาเล่นเพื่อความสนุกผ่อนคลายนี่ ไม่ได้มาเล่นเพื่อเครียด แล้วเราจะเครียดไปทำไม ถ้าเขาขาดคนก็คงเรียกเราเอง ภูเลยไปยืมบอลเขาเตะโต้กับกำแพงเล่น แล้วพอเขาลงเตะเดิมพันกันเสร็จ ก็ชวนภูเล่นทีมกัน

    : ตอนลงทีมกับเขานั้น เขาก็มีด่าภูบ้าง..แต่ภูก็คิดว่า เอาน่า..เขาก็อยากเตะชนะกันทุกคนแหละ แล้วเพื่อนกันเขาก็พูดกันอย่างนี้แหละ มีหยาบบ้างตามประสา เพราะอายุเท่ากันก็ด่ากันตามปกติ เมื่อคิดแบบนี้..พอเขาว่าภูมาภูก็ไม่ใส่ใจแล้วก็ตั้งใจเป็นกองหลังกันประตูก็พอ พอเล่นเสร็จเขาก็ชมว่าภูสุดยอดแล้วก้อไม่งอแงเหมือนเก่า

        ชิว : แล้วภูมีความสุขมั้ยล่ะ
         ภู : ก็ต้องมีสิคร้าบบบ (⁠≧⁠▽⁠≦⁠)
        ชิว : ภูก็ต้องรู้มูลเหตุความดับทุกข์ของภู ที่่่เป็นองค์ประกอบการกระทำต่างๆ ที่ทำให้ภูถึงการดับ Toxic ในวันนี้ เพราะทุกข์และปัญหาของภู คือ สภาพจิตใจ ภูก็ต้องรู้เหตุเกิดและดับใน “จิตตสังขาร” ด้วย

    “จิตตสังขาร” คือ “สภาพที่ปรุงแต่งกระทำทางใจ” สิ่งปรุงแต่งที่เกิดกระทำทางจิต เป็นสิ่งที่จิิตอาศัยเกิดขึ้นให้ใจรู้ มี 3 อย่าง ได้แก่
    1.) เวทนา คือ ความรู้สึกสุข-ทุกข์-เฉยๆ (ปัจจัยปรุงแต่ง)
    2.) สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ ความสำคัญมั่นหมายของใจในความยินดี ยินร้าย และ เฉยๆ (ปัจจัยปรุงแต่ง)
    3.) สังขาร คือ เจตนาความนึกคิดสืบต่อ (การกระทำ)

          ภู : งงๆอะ
         ชิว : ย่อๆก็คือ..

รู้จิตตสังขาร ก็คือ..
    1.) รู้สุขรู้ทุกข์
    2.) รู้สิ่งที่จดจำสำคัญใจ
    3.) รู้ความนึกคิด

         ภู : อืม..สั้นๆเข้าใจ สุขทุกข์, สำคัญใจ, คิด..แล้วภูต้องทำยังไงอะ

      ชิว : ข้อที่ 1. เวทนา คือ ความสุข-ทุกข์ และ ความสุขที่ภูปารถนานั้น คือ ต้องการได้รับสุขจากผู้อื่น คือ สุขภายนอก เป็นสุขที่เนื่องด้วยกาย..เพราะต้องอาศัยตาเห็นสิ่งที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข, หูได้ยินเสียงที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข, จมูกได้กลิ่นที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข ลิ้นได้ลิ้มรสที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข และ กายได้สัมผัสที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข พอเกิดสิ่งใหม่มากระทำ ที่กระทบกระทั่งเปลี่ยนแปลง สุขนั้นก็แปรปรวนดับไป เกิดทุกข์ตั้งขึ้นมาแทน มันอยู่ได้ไม่นานใช่ไหม จะไปบังคับควบคุมให้เขาทำแต่สิ่งที่ภูสุขก็ไม่ได้ พอนึกถึงก็ปรารถนาโหยหา
        ภู : มันก๋็จริงแฮะ
       ชิว : ส่วนสุขที่ภูเอามาตั้งไว้ในใจตนโดยไม่อิงอาศัยผู้อื่น แบบพุทโธวิมุตติสุข คือ สุขภายใน เป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ อาศัยใจสัมผัส มันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเช่นเดียวกัน แต่มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับการกระทำของใครภายนอก ไม่ต้องรอได้รับจากใคร ไม่ต้องไปร้องขอจากใคร นึกถึงเมื่อไหร่ก็สุขเมื่อนั้น จึงไม่กระทบแปรปรวนดับไปเพราะการกระทำของใคร แต่อยู่ที่กำลังใจเข้มแข็งของภูเอง ใช่มั้ย
        ภู : ใช่..จริงด้วย
       ชิว : สุขจากภายนอกและภายใน ต่างก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่..สุขไหนตั้งอยู่ได้นานกว่ากัน สุขไหนกระทบแปรปรวนได้น้อยกว่ากัน สุขไหนที่เกิดขึ้นได้โดยอิงอาศัยสิ่งล่อใจน้อยกว่ากัน และ สุขไหนทำให้เกิดขึ้นได้โดยไม่จำกัดกาลกว่ากัน
        ภู : พุทโธวิมุตติ เอาสุขมาตั้งที่กายใจตน สุขได้นานกว่า ไม่กระทบแปรปรวนเป็นทุกข์จากการกระทำของใคร นึกถึงเมื่อไหร่ก็เป็นสุข
       ชิว : เยี่ยมมาก !! นี่ภูรู้สุขรู้ทุกข์ รู้การเกิดดับในเบื้องต้นแล้ว ก็ชื่อว่ารู้เวทนาแล้ว ก็ให้ภูจับหลักเอาตรงนี้แหละ
        ภู : ว้าวว..ภูเก่งใช่มั้ยล่ะ สุขกายคือรับจากคนอื่น สุขใจคืออยู่ที่ใจเราทำ

      ชิว : ข้อที่ 2 สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้, ความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจ เวลาเราพบเจอสิ่งใด ใจเราก็มักจะจดจำไว้เสมอ เจอสิ่งที่รับรู้แล้วภูรู้สึกสบายใจเป็นสุข ภูก็จะจดจำให้ความสำคัญกับใจต่อสิ่งนั้นในความยินดี ก็ตราตรึงใจ ติดตรึงใจใคร่ปราถนา
        ..แต่ถ้าภูรัับรู้สิ่งใดแล้วภูรู้สึกไม่สบายใจเป็นทุกข์ ภูก็จะจดจำให้ความสำคัญกับใจต่อสิ่งนั้นในความยินร้าย ก็ไม่ตราตรึงใจ ใคร่ปารถนาผลักไสออกไปให้ไกลตน..เหมือนที่ภูให้ความสำคัญใจต่อการกระทำของผู้อื่นไว้ไง
        ภู : อืมมม..ก็จริงนะ
       ชิว : ความสำคัญใจก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แปรปรวน เปลี่ยนแปลงไปได้ เหมือนภูตอนเด็กไม่กินเผ็ด เกลียด ไม่ชอบ แต่โตมากลับชอบกินเผ็ด มันซี๊ดซ๊าดถึงใจไง “อยู่ที่เราจะให้ค่าความสำคัญ..สร้างความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี..เอามาใส่ไว้ในใจของเราอย่างไร” มันเกิดขึ้น แปรปรวน เปลี่ยนแปลง ดับไปได้ตลอดเวลา ความสำคัญใจใหม่มา ความสำคัญใจเก่าก็ดับทันที มันเป็นอย่างนี้แหละ..การไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญของใจกับสิ่งใด คือ อุเบกขา ความไม่ยินดียินร้ายในสิ่งที่ให้สำคัญมั่นหมายเอาไว้กับใจ
        ภู : โอ้ว..เหมือนจะใช่แฮะ ความสำคัญใจ คือ ฝังใจ ฝังจำ หรือ เอามาใส่ใจให้ความสำคัญว่า..ชอบ ชัง นี่เอง
       ชิว : แล้วจะทำยังไงให้เลิกใส่ใจให้ความสำคัญได้ทุกครั้ง โดยเฉพาะตอนที่ ตรึงเครียด
        ภู : บอกวิธีหน่อยสิชิว.. (⁠ ⁠╹⁠▽⁠╹⁠ ⁠)
       ชิว : ภูก็จำเป็นต้อง..รู้ความพอใจยินดีที่ควรเสพและไม่ควรเสพ, รู้ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพและไม่ควรเสพ, รู้อุเบกขาที่ควรเสพและไม่ควรเสพ
        ภ : ทำยังไงก่อน ด่วนๆ…
       ชิว : ภูชอบให้คนอื่นทำดีกับภู ทำในสิ่งที่ภูชอบ ภูจึงตั้งความปารถนา โหยหามัน, ถ้าเจอสิ่งที่ไมชอบ ไม่พึงปรารถนา ก็เสียใจ, แต่ถ้าเจอสิ่งที่ชอบและไม่ชอบเสมอกัน เช่น เหมือนภูอยากจะมีเพื่อนสักคนหนึ่งจะได้ไม่โดดเดี่ยว แรกคบภูเป็นสุขที่มีเพื่อน ภูก็ให้ค่าความสำคัญกับเขามาก แต่พอคบเพื่อนคนนั้นสักพักแล้ว เขาชอบมาพูดหยาบด่าภู..จึงทำให้ภูรู้สึกว่า..เราอยากเป็นเพื่อนเขานะ แต่เขาพูดไม่ดีไม่กับเรา เพื่อนคนนี้เมื่อคบแล้ว แม้เราจะไม่โดดเดี่ยว(ชอบ) แต่ก็อึดอัดใจทุกครั้ง(ชัง) ก็เกิดปริมาณความชอบและชังที่เกิดมีขึ้นพอๆกัน จึงเกิดความรู้สึกมีใจกลางๆไม่น้อมไปทั้งความชอบและชัง จึงลังเลที่จะคบเขาต่อ..เมื่อภูคิดพิจารณาเห็นคุณและโทษที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นว่า..หากคบต่อก็ต้องไม่ใส่ใจคำพูดและการกระทำของเขา และหากไม่คบต่อก็ไม่เสียหายอะไร ก็จึงเกิดตกลงใจ(ความเชื่อจากการพิจารณาคุณและโทษ) ว่าเพื่อนคนนี้ภูจะคบก็ได้หรือไม่คบก็ได้ แต่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมภูก็เลือกวางใจไว้ในความรู้สึกเฉยๆ ก็แค่คุยได้แต่อย่าสนใจคำพูดการกระทำของเขา และ ไม่คลุกคลีสนิทชิดเชื้อมากไป ไม่เอาสุขไปผูกขึ้นไว้กับเขาอีก ภูก็จึงไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญกับเขา
        ภ : มันจริงแฮะ…
       ชิว : ..ดังนี้เมื่อเราจะแก้ความอยากในสิ่งที่ติดตราตรึงใจให้ยินดี-ยินร้าย ก็ต้องใช้ 2 หลัก ที่เรียกว่า..การเลือกธัมมารมณ์ที่ควรเสพ (สิ่งใดที่ทำแล้วกุศลธรรมเกิดขึ้น-อกุศลธรรมเสื่อมลง) และ ธัมมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ (สิ่งใดที่ทำแล้วอกุศลธรรมเกิดขึ้น-กุศลธรรมเสื่อมลง) คือ.
       1. ความพอใจยินดีที่ควรเสพ (เมื่อทำแล้วกุศลธรรมเจริญขึ้น-อกุศลธรรมเสื่อมลง)
       2. ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพ (เมื่อทำแล้วกุศลธรรมเจริญขึ้น-อกุศลธรรมเสื่อมลง)
       3. ความเชื่อด้วยปัญญา รู้เห็นประโยชน์ตามจริง แล้วไม่ติดใจข้องแวะ เป็น..อุเบกขาที่ควรเสพ (เมื่อทำแล้วกุศลธรรมเจริญขึ้น-อกุศลธรรมเสื่อมลง)

วิธีใช้ในการเลือกธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์

       1.) ตั้งใจมั่นใน..ความพอใจยินดีที่ควรเสพ คือ พอใจที่จะคบเพื่อนโดยที่ภูไม่ต้องไปใส่ใจให้ค่ากับคำพูดและการกระทำของเขา หรือ ยินดีที่จะเอาความสุขสำเร็จของภูมาตั้งไว้ที่กายใจตน
          (เพราะมันทำให้ภูเป็นสุข ไม่ต้องทุกข์กับการกระทำตอบกลับของใครอีก มันแช่มื่น เบิกบาน มีจิตแจ่มใสร่าเลิก เป็นสุขที่ปราศจาก Toxic)
       2.) ตั้งใจมั่นใน..ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพ คือ ไม่พอใจที่จะคบเพื่อนโดยให้ค่าความสำคัญกับคำพูดและการกระทำของเขา หรือ ไม่ยินดีให้ความสุขสำเร็จของภูต้องไปผูกติดขึ้นอยู่กับเขา
          (เพราะมันทำให้ภูอึดอัด อัดอั้น คับแค้นกายใจ ไม่สบายกายใจ เป็นทุกข์ระทมให้ไปดึงเอา Toxic มาคิดซ้ำๆวนๆบั่นทอนจิตใจตนเอง)
       3.) ตั้งใจมั่นใน..อุเบกขาที่ควรเสพ คือ ต้องไม่ติดใจข้องแวะกับคำพูดและการกระทำของใครจนเกินความจำเป็น หรือ ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญกับคำพูดหรือการกระทำของใคร ที่มา Toxic ทำร้ายภู
          (ต้องอาศัย ศรัทธา ความเชื่อมั่นด้วยปัญญาในสิ่งที่ทำ ว่าสิ่งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขดีงามของเราในปัจจุบันและภายหน้า ทำให้ภูพบปะคบหากับใครได้โดยไม่ต้องไปเก็บเอาสิ่งใดมาคิดให้เครียดให้ว้าวุ่นใจ ไม่หดหู่ ไม่ Toxic เพราะเราใช้ปัญญาไตร่ตรองเห็นแจ้งแล้ว จึงเลือกที่จะไม่ติดใจข้องแวะการกระทำของเขา..
        หมายเหตุ : ความติดใจข้องแวะ หมายถึง..
        ความติดใจ ประการที่ 1.) ความติดตราตรึงใจยินดี, ความสำคัญใจยินดี, ชื่นชอบพอใจ, ความประทับใจ, โลภ / ไม่ติดใจ คือ ไม่สำคัญใจยินดีติดตราตรึงใจ
        ความติดใจ ประการที่ 2.) ความขุ่นข้องขัดเคืองใจ, ความสำคัญใจยินร้าย ขัดเคืองใจ ข้องใจ ค้างคาใจ ฝังใจโกรธ แค้น เกลียด ชัง สงสัย / ไม่ติดใจ คือ ไม่สำคัญใจยินร้ายขุ่นข้องขัดเคืองใจ
        ความข้องแวะ คือ ใส่ใจให้ความสำคัญ, ผูกใจ, ข้องเกี่ยว, ยุ่งเกี่ยว, เกี่ยวพัน / ไม่ข้องแวะ คือ ไม่ใส่ใจให้ความสำคัญ ไม่ผูกใจข้องเกี่ยว
      • ความติดใจข้องแวะ คือ การใส่ใจให้ค่าความสำคัญทั้งสิ่งที่ยินดี-ยินร้าย
      • ความไม่ติดใจข้องแวะ คือ การไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญทั้งสิ่งที่ยินดี-ยินร้าย
        ภู : โอ้ว..ใช่เลยแฮะ เหมือนที่ทำเมื่อตนไปเตะบอลเลย ยินดีในสุขที่เกิดขึ้นจากกายใจภู, ยินร้ายที่ความสุขของภูต้องไปขึ้นอยู่กับใคร, ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญกับสิ่งที่รู้สึกแย่ๆ
       ชิว : เก่งมาก..นี่่ก็ชื่อว่าภูรู้จัก สัญญาในเบื้องต้นแล้วนะ

       ชิว : ข้อที่ 3 สังขาร คือ เจตนาความนึกคิด ซึ่ง เจตนา คือ ความจงใจ, ความมุ่งหมายกระทำใจไว้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็คือ อาการที่ใจไปน้อมนึกไปจับเอาสิ่งที่ได้รับรู้ความรู้สึก และ สิ่งที่เคยจดจำให้ความสำคัญใจทั้งหลายนั้น..ทั้งที่เป็นกุศล หรือ อกุศล แล้วเอามาคิดสืบต่อเรื่องราว กล่าวคือ..เป็นการเอาใจเข้ายึดมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราจดจำให้ความสำคัญกับใจไว้ มาคิดสืบต่อเรื่องราวตามความปารถนาของใจนั่นเอง
        ..เจตนานี้มันเกิดขึ้นจับอารมณ์แล้วก็ดับไป ส่วนตัวที่จับตรึงสิ่งที่เราน้อมนึกขึ้นมานั้นให้ตั้งอยู่ไว้ได้ คือ “อุปาทาน” เป็นเจตนาที่เป็นความยึดมั่นถือมั่น จึงเกิดเจตนาซ้ำอีกรอบเพื่อคิดสืบต่อเรื่องราว
        ภู : อ่า..อืม
       ชิว : ส่วนความคิด ก็เป็นการที่เราเอาสิ่งที่ใจไปนึกหยิบยึดจับมานั้น สืบต่อเรื่องราวต่างๆ 
        - หากคิดในกุศล คือ คิดละความติดตรึงยินดี คิดละความยินร้าย พยาบาท คิดเว้นจากความเบียดเบียน (คิดดี, คิดบวก = ให้ผลเป็นสุข)
        - หากคิดในอกุศล คือ คิดในความติดตรึงยินดี คิดในความยินร้าย พยาบาท คิดในความเบียดเบียนไปตามที่ใจรัก ชัง หลง กลัว (คิดไม่ดี, คิดลบ, Toxic = ให้ผลเป็นทุกข์)
         ..สรุป..การจงใจคิดนึกให้เป็นไปในอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เราได้ให้ความสำคัญใจไว้ ไม่ว่าจะเป็นกุศล หรือ อกุศล..ส่งผลต่อการกระทำของใจ..ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ชอบ ที่ชัง หรือ เรื่องใดก็ตามนั่นเอง นี่แหละคือ สังขาร
        ภู : ความนึกคิดต่างๆทั้งดีร้าย งั้น Toxic
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ