[๑๓๕] สฏฺฐี วสฺสสหสฺสานิ ปริปุณฺณานิ สพฺพโส นิรเย ปจฺจมานานํ กทา อนฺโต ภวิสฺสติฯ (คาถาที่ ๑)
นตฺถิ อนฺโต กุโต อนฺโต น อนฺโต ปฏิทิสฺสติ ตถา หิ ปกตํ ปาปํ มม ตุยฺหญฺจ มาริสฯ (คาถาที่ ๒)
ทุชฺชีวิตมชีวมฺห เย สนฺเต น ททมฺหเส สนฺเตสุ เทยฺยธมฺเมสุ ทีปํ นากมฺหมตฺตโนฯ (คาถาที่ ๓)
โส หิ นูน อิโต คนฺตฺวา โยนึ ลทฺธาน มานุสึ วทญฺญู สีลสมฺปนฺโน กาหามิ กุสลํ พหุนฺติฯ (คาถาที่ ๔)
(คาถาที่ ๑. ส) เมื่อพวกเราพากันหมกไหม้ในนรก หกหมื่นปีเต็มบริบูรณ์ โดยประการทั้งปวง เมื่อไรที่สุดจักมี.
(คาถาที่ ๒. น) ที่สุดไม่มี ที่สุดจักมีแต่ที่ไหน ที่สุดย่อมไม่ปรากฏ แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เพราะเรากับท่านได้ทำบาปกรรมไว้.
(คาถาที่ ๓. ทุ) พวกเราเหล่าใดไม่ให้ของที่มีอยู่ พวกเราเหล่านั้นย่อมเป็นอยู่ลำบาก เมื่อไทยธรรมมีอยู่ พวกเราไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน.
(คาถาที่ ๔. โส) เรานั้นไปจากเปตโลกนี้ ได้กำเนิดเป็นมนุษย์แล้ว จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ สมบูรณ์ด้วยศีล ทำกุศลให้มากเป็นแน่.
ถ้าเข้าใจง่าย ๆ ก็ตามนี้ นะคะ
