ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อคนใกล้ตัวชอบเอาเรื่องความเชื่อที่ขัดความรู้สึกมาพูดย้ำๆ  (อ่าน 2749 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำยังไงดีครับ(คะ) คนใกล้ตัวชอบพูดเรื่องพุทธศาสนา ประมาณว่า ให้เชื่อ ห้ามสงสัย ห้ามอยากรู้

ในพระธรรมคำสอน ต้องเชื่อด้วยศรัทธาอันแรงกล้า แบบสุดจิตสุดใจ

เอาตรงๆนะครับ(คะ) ศาสนาพุทธที่ผม(ดิฉัน)รู้จักไม่ใช่แบบนี้ ผม(ดิฉัน)ไม่กล้าเถียง

พอพูดอะไรนิดหน่อยก็ว่าหาว่าไม่เชื่อ ทำเป็นเรื่องใหญ่โต ทำไมไม่ลองปฎิบัติดู

ประเด็นคือทำไมผม(เรา)ต้องทำ(ด้วย)อ่ะครับ(คะ) วิธีการนับถือของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

ทำไมผม(ดิฉัน)ต้องอะไรแบบนั้นด้วย ผม(ดิฉัน)แค่อยากให้ชีวิตผม(ดิฉัน)มีความสุข

ศาสนาทำให้ผม(ดิฉัน)ใจสงบเป็นแค่นั้น

แล้วชอบมาพูดบ่อย ๆ ๆ อึดอัดมาก ๆ ครับ ( คะ )

จากคุณ    : gumbie_narak ( สันนิษฐานว่าเป็นผู้หญิง)

อ่านมาพอเขาใจ ความรู้สึก เหมือนกัน บางทีเราก็ไม่ได้ต้องการไป นิพพาน หรืออะไรเพียงต้องการความสุข แต่ก็มักจะถูกต้อนด้วยคำพูด อะไรต่าง ๆ  แกมบังคับ
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ก็ทำไม ไม่พูดตรง ๆ คะ ว่าไม่ปรารถนา การสิ้นกิเลส ขั้นนิพพาน นะ ฉันขอภาวนา เพียงเพื่อความสุข
เป็น พุทธภูมิ ไปก่อน

     :s_hi:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28572
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

การพูด การอธิบายหรือการสอนของแต่ละคน เป็นไปตามจริตวาสนาของแต่ละคน เราจะไปเปลี่ยนเค้าไม่ได้
 คนเราหากไม่ได้สร้างบุญบารมีร่วมกันมาก่อน คงยากที่จะมาเป็นศิษย์อาจารย์กัน พูดง่ายก็คือ โอกาสที่จะสร้างบารมีธรรมร่วมกัน ยากครับ

การสงสัยลังเลเป็นเรื่องปรกติของปุถุชน วิจิกิจฉา(สงสัยลังเลในพระรัตนตรัย)เป็นสังโยชน์ข้อสาม โสดาบันเท่านั้นที่ละได้
การจะเข้าใจข้อธรรมต่างๆได้อย่างแทงตลอด มีอยู่ทางเดียวก็คือ ต้องปฏิบัติ ขอให้พิจารณาสังโยชน์ข้อสุดท้าย คือ อวิชชา การสำเร็จอรหันต์ต้องแทงทะลุอวิชชา


ในสมัยพุทธกาลมีภิกษุรูปหนึ่งเชี่ยวชาญปริยัติ มีลูกศิษย์มากมาย แต่ตัวเองไม่ได้มรรคผลแต่ประการใด
พระพุทธเจ้าเห็นภิกษุรูปนี้แล้ว ก็กล่าวตำหนิให้ได้อายโดยเรียกภิกษุรูปนี้ว่า โปฏิละ แปลว่า ใบลานเปล่า
สุดท้ายภิกษุรูปนี้ก็อาย ต้องยอมละทิฏฐิมานะของตนเอง ไปกราบสามเณรให้สอนกรรมฐานให้ จนได้สำเร็จ
อรหันต์

พุทธบริษัททุกคนมีเป้าหมายต่างกัน บางคนก็แค่หวังทำบุญเพื่อความสบายใจ กลุ่มนี้คติเบื้องหน้าก็คือเทวดา
บางคนก็ปรารถนาเป็นโพธิสัตว์ กลุ่มนี้ต้องสร้างบารมีเยอะๆ ต้องเสียสละทุกอย่าง บางคนก็เบื่อสังสารวัฏนี้เต็มทน ขอนิพพานในชาติหรือชาติหน้า ขึ้นอยู่กับบารมีที่สั่งสมมา

ผมคงคุยเป็นเพื่อนได้เท่านี้ ประเด็นที่คุณสุนีย์ยกมาดีมากครับ ขอชื่นชม
:s_good:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
คนใกล้ตัวชอบพูดเรื่องพุทธศาสนา ประมาณว่า ให้เชื่อ ห้ามสงสัย ในพระธรรมคำสอน ผม(ดิฉัน)ไม่ได้ต้องการไป นิพพาน หรืออะไรเพียงต้องการความสุข แต่ก็มักจะถูก

ต้อนด้วยคำพูด อะไรต่าง ๆ  แกมบังคับ



การศึกษาภาวนาเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ใครจะอย่างไรก็ช่างฉันจะอย่างนี้ทำไม ใยต้องไปแคร์เอากับคนอื่นด้วย จะกี่

สิบปากกล่าวฉันก็นิ่งเป็นศิลาแท่งทึบก็จบ ผมเองแม้ภาวนารวมร่วมกลุ่มกับทีมงานมัชฌิมาที่ปรารถนาลาพุทธภูมิหวัง

นิพพานกันทั้งนั้น ผมนี้ดื้อจะอยู่ภาวนาเพื่อเป็นโพธิสัตว์ยังไม่เลิก นี่เพราะแรงปรารถนายังจะแบกทุกข์เพื่อคนอื่นอยู่

ยอมรับว่าเห็นแก่ตัวไม่เป็นจริงๆ หนี(นิพพาน)ไปเสียก็ได้แต่ไม่อยากทำตอนนี้ เพียรภาวนาหยั่งใจซึ้งสุขไปพลาง ๆ

ก่อน พักกายหยุดที่ใจเส้นทางยังยาวไกล ครับ.!




http://my2.dek-d.com/chanin34/writer/viewlongc.php?id=516479&chapter=16
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 16, 2011, 12:29:41 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา