ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทิฏฐิ ที่กล่าวว่า ฌานเป็น นิพพาน ( ไปอ่านเจอมาจาก พันทิพ )  (อ่าน 4867 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

[๙๖]  ๖๐. (๓) สมณะหรือพราหมณ์คนอื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์คนนั้นอย่างนี้ว่า
   
    ‘ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นมีจริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่ใช่จะบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมได้เพราะเหตุเพียง เท่านี้ เพราะเหตุไร เพราะปฐมฌานที่มีวิตกมีวิจารนั้นบัณฑิตกล่าวว่า ยังหยาบอยู่
เพราะเหตุที่วิตกวิจารสงบไป

     อัตตานี้จึงบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายในมีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม’ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้


ขยายความ

    ลัทธิที่ถือว่า  สามารถบรรลุนิพพาน  หรือสามารถดับทุกข์ได้โดยง่ายในอัตภาพนี้  เป็นความเข้าใจของพวกที่เห็นความเพลิดเพลินจากกามคุณว่าเป็นนิพพาน  หรือเห็นความสุขจากฌานว่าเป็นนิพพาน  (ที.สี.อ.   ๙๗/๑๑๒)

{ที่มา : พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ ข้อ  ๙๖ หน้า :๓๗-๓๘ }

          ขออานิสงส์ธรรมทานแผ่ไปยังสรรพสัตว์ทุกๆชีวิต และ  ขอแรงบุญกุศลในทุกๆกระทู้ที่เป็นธรรมทานนำส่งให้ชาวพุทธศาสนิกชนทั้งที่ เป็นมนุษย์และเทวดาได้ร่วมมือร่วมใจกันปกปักษ์รักษาพระพุทธศาสนาแท้ๆได้ ประดิษฐานต่อไป

"ขอคืนพื้นที่พระพุทธศาสนาที่แท้กลับคืนมา"

จากคุณ : ต่อmcu




ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ เอามาเรียนถาม ชาวกรรมฐาน ดีกว่าคะว่า

เข้าใจกันว่าอย่างไร คะ

 :13:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๕
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์


[๙๙๐] ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ เป็นไฉน
     ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ คือ
     ๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ
เมื่อใดแล อัตตานี้เพียบพร้อม พรั่งพร้อม บำรุงบำเรอ ด้วยกามคุณ ๕ อยู่ ท่านผู้เจริญ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล


อัตตานี้จึงชื่อว่า ได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือ
พราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วย
ประการอย่างนี้

     ๒. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่านผู้เจริญ
ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มีก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ
แต่อัตตานี้จะชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนั้น
มีอะไรเป็นเหตุ ท่านผู้เจริญ เพราะกามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็น
ธรรมดา ความเศร้าโศก ความร่ำไห้ความทุกข์ ความโทมนัส ความคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้น
เพราะกามเหล่านั้นแปรปรวนเป็นอย่างอื่น ท่านผู้เจริญ เมื่อใดแล


อัตตานี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แลอัตตานี้จึงชื่อว่า ได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐ
ธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้


     ๓. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่านผู้เจริญ
ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มีก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ
แต่อัตตานี้จะชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้
ข้อนั้นมีอะไรเป็นเหตุ วิตก วิจารใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น ปฐมฌานนี้ย่อมปรากฏเป็นของหยาบ
เพราะวิตกและวิจารนั้น ท่านผู้เจริญเมื่อใดแล


อัตตานี้บรรลุทุติยฌาน อันเป็นธรรมชาติผ่องใสเพราะวิตกวิจารสงบ ฯลฯ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า ได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้


     ๔. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่านผู้เจริญ
ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มีก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ
แต่อัตตานี้จะชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนั้น
มีอะไรเป็นเหตุ ปีติ ความลำพองใจใด มีอยู่ในทุติยฌานนั้น ทุติยฌานนี้ย่อมปรากฏเป็นของหยาบ
เพราะปีติและความลำพองใจนั้นท่านผู้เจริญ เมื่อใดแล เพราะคลายปีติได้อีกด้วย


อัตตานี้บรรลุตติยฌาน ฯลฯอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพาน
อันยอดเยี่ยมสมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์
ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้


     ๕. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่าน
กล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มีก็มิได้ ท่านผู้เจริญ แต่
อัตตานี้ชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนี้มีอะไร
เป็นเหตุ สุขและความนึกคิดทางใจใด มีอยู่ในตติยฌานนั้น ตติยฌานนี้ ย่อมปรากฏเป็นของ
หยาบเพราะสุขและความนึกคิดทางใจนั้น เมื่อใดแล


อัตตานี้บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้

     เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕



พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์

[๙๔๓] ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ เป็นไฉน
ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ คือ

๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ เพราะเหตุที่อัตตานี้เอิบอิ่มเพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ ๕ จึงชื่อว่า
บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง
บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้


๒. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่
ใช่บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมเพราะเหตุเพียงเท่านี้


เพราะเหตุไร เพราะกามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
เพราะกามเหล่านั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ
ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจจึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่อัตตา
นี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบัน
อันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานใน
ปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕. ปัญจกนิทเทส

๓. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
ไม่ใช่บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้


เพราะเหตุไร เพราะวิตกวิจารที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น บัณฑิตกล่าวว่ายังเป็นของ
หยาบอยู่ เพราะวิตกและวิจารสงบไปแล้ว อัตตานี้จึงบรรลุทุติยฌานที่
ผ่องใส ฯลฯ จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณะ
หรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของ
สัตว์อย่างนี้

๔. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า อัตตา
ที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่ใช่บรรลุ
นิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้


เพราะเหตุไร เพราะปีติและความลำพองใจที่มีอยู่ในทุติยฌานนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่ายัง
หยาบอยู่ เพราะปีติจางคลายไป อัตตานี้ ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อัตตา
นี้จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์
พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้

๕. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้
เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่
ใช่บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้


เพราะเหตุไร เพราะจิตยังคำนึงถึงสุขมีอยู่ในตติยฌานนั้น บัญฑิตกล่าวว่ายัง
หยาบอยู่ เพราะเหตุที่ละสุขและทุกข์เสียได้ อัตตานี้ ฯลฯ จึงบรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า
บรรลุนิพพานในปัจจุบันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง
บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้ ๑

เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ (๑๕)
ปัญจกนิทเทส จบ

เชิงอรรถ : ๑ ที.สี. ๙/๙๔-๙๘/๓๖-๓๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๘ }


กามคุณ ๕ (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม)

๑. รูปะ (รูป)
๒. สัททะ (เสียง)
๓. คันธะ (กลิ่น)
๔. รสะ (รส)
๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)

(๕ อย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เรียกว่า กามคุณ )

ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก;

ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา)
๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)
๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา);


คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม นิยมแบ่งรูปฌานนี้เป็น ๕ ขั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน โดยแทรก ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ที่มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามา แล้วเลื่อนทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌาน ในฌาน ๔ ข้างต้นนี้ออกไปเป็น ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ตามลำดับ (โดยสาระก็คือ การจำแนกขั้นตอนให้ละเอียดมากขึ้นนั่นเอง)


วิตก ความตรึก, ตริ, การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือปักจิตลงสู่อารมณ์ (ข้อ ๑ ในองค์ฌาน ๕), การคิด, ความดำริ; ไทยใช้ว่าเป็นห่วงกังวล


วิจาร ความตรอง, การพิจารณาอารมณ์, การตามฟั้นอารมณ์ (ข้อ ๒ ในองค์ฌาน ๕)


ปีติ ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ คือ
 
๑.ขุททกปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล
๒.ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลกๆ ดุจฟ้าแลบ
๓.โอกกันติกาปีติปีติเป็นระลอกรู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง
๔.อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ให้ใจฟูตัวเบาหรืออุทานออกมา
๕.ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์เป็นของประกอบกับสมาธิ



สุข ความสบาย, ความสำราญ,
มี ๒ ๑.กายิกสุข สุขทางกาย ๒.เจตสิกสุข สุขทางใจ,
 
อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ ๑.สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ ๒.นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คืออิงเนกขัมมะ (ท่านแบ่งเป็นคู่ ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)


เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ


อุเบกขา
1) ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น,

ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง,

ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง
(ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๙ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐)

2) ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่าอุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข)


ที่มา พจนานุกรรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)


หนูกบครับ ผมนำข้อความในพระไตรปิฎก ทั้งของสยามรัฐ และของมหาจุฬา มาเปรียบเทียบให้ดู

ผมว่า "ของมหาจุฬา" น่าจะพิมพ์ตกไปบางส่วน อ่านแล้วรู้สึกงงๆ อยู่บ้าง

ต้องอ่าน "ของสยามรัฐ" ถึงจะเข้าใจดีขึ้น

ข้อธรรมในบทนี้ หมายถึง ความเชื่อที่ผิดของ สมณะหรือพราหมณ์ กลุ่มหนึ่ง

ที่เข้าใจว่า ความสุขจากกามคุณ ๕ และความสุขในฌาณ ๔ คือ นิพพาน

 :welcome: ;) :49: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2011, 06:59:59 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ความเห็นเพิ่มเติม

ความเชื่อเรืองนิพพาน ของคน ๕ กลุ่ม

๑.คนกลุ่มแรก เชื่อว่า ความสุขที่ได้จากการเสพกามคุณ คือ รูป รส กลิ่ม เสียง สัมผัสทางกาย เป็น นิพพาน

๒.คนกลุมที่สอง เชื่อว่า อารมณ์ที่เกิดในปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็น นิพพาน

๓.คนกลุ่มที่สาม เชื่อว่า อารมณที่เกิดในทุติยฌาน คือ ปีติ สุข เอกัคคตา เป็น นิพพาน

๔.คนกลุ่มที่สี่ เชื่อว่า อารมณ์ทีเกิดในตติยฌาน คือ สุข เอกัคคตา เป็น นิพพาน

.คนกลุมที่ห้า เชื่อว่า อารมณที่เกิดในจตุตถฌาน คือ อุเบกขา เอกัคคตา เป็น นิพพาน


อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว ขอให้เพื่อนๆช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

 :welcome: ;) :49: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ปุจฉา.! ถามหานิพพาน


      รัก โลภ โกรธ ทรงฌาน      คือนิพพานหรือไฉน
กล่าวเขลาเย้ากันไป         แล้วอย่างไรคือนิพพาน


     แลภาพอย่างที่เห็น      ใช่ลำเค็ญอย่าวิจารณ์
โยคีมีมานาน         เขาสืบสานค้นดูตน


     บัณฑิตพร่ำตำรา         เพียรรู้หาแต่เหตุผล
ตัณหาพาเวียนวน         มิรู้ค้นมิบำเพ็ญ


     นิพพานอย่าเที่ยวถาม      ถ้ายังทรามใคร่มีเป็น
หลับตายังยากเข็ญ         จักให้เย็นกระไรมี


     ศีลสรรใฝ่มีไว้         มีที่ใครพักตร์มีศรี
ทานเอื้อเผื่อเถรชี         มรรควิถีมิไกลเกิน


     เพียรพบหยั่งอาจารย์      รู้กล่าวขานขมาเชิญ
กราบไว้อย่าทำเมิน         อย่าทำเขินภาวนา


     นิพพานหยั่งฐานศูนย์      เพียรพอกพูลมัชฌิมา
ลำดับอย่ากังขา         มิเนิ่นช้านิพพานมี.


                                                                                   
                                                         ธรรมธวัช.!   



http://econobi.blogspot.com/2009/05/lomophotoscape.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2011, 09:39:32 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ 5   
 

ภาพจากเว็บ http://www.rmutphysics.com

มีทิฏฐิว่า  นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ

                สมณพราหมณ์บางคนกล่าวว่า  เพราะอัตตานี้อิ่มเอิบ  พรั่งพร้อม  เพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ 5 จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน

                สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า  ยังมีเหตุอื่นอีก  เพราะเหตุว่ากามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์  มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา  จึงเกิดความโศก  ความร่ำไร  ความทุกข์  โทมนัส  คับใจ  เพราะอัตตานี้สงัดจากกาม  จากอกุศลธรรม  บรรลุปฐมฌาณ  มีวิตก  วิจาร  มีปิติ และสุขเกิด แต่วิเวกอยู่  จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน

                สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า  ปฐมฌาณยังหยาบ  เพราะอัตตานี้บรรลุทุติยฌาณ..... จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน

                สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า  ทุติยฌาณยังหยาบ  เพราะอัตตานี้บรรลุตติยฌาณ..... จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน

                สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า  ตติยฌาณยังหยาบ  เพราะอัตตานี้บรรลุจตุตถฌาณ..... จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน


                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  สมณพราหมณ์เหล่านั้น  กล่าวถึงขันธ์ส่วนอนาคต  กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 44 ประการนี้

                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  สมณพราหมณ์เหล่านั้น  กล่าวถึงขันธ์ส่วนอดีตก็ดี  ส่วนอนาคตก็ดี  ทั้งส่วนอดีต ทั้งส่วนอนาคตก็ดี  กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการนี้เท่านั้น  หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง  นอกจากนี้ไม่มี

           
ภาพจากเว็บhttp://www.phuttha.com

    เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
                ธรรมเหล่านี้แลลึกซึ้ง  เห็นได้ยาก  รู้ตามได้ยาก  สงบ  ประณีต  จะคาดคะเนเอาไม่ได้  ละเอียด  รู้ได้เฉพาะบัณฑิต  ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง  แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง  ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ

 
                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์..... กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการ  แม้ข้อนั้น ก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์เหล่านั้น  ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา  เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเหมือนกัน

                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์..... กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการ  ก็เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย

                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น  กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการ  สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก  ถูกต้อง ๆ แล้วด้วยผัสสายตนะทั้ง 6  ย่อมเสวยเวทนา  เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา  เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน  เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ  เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ  เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส 

ภาพจากเว็บhttp://www.watpamafai.org

เมื่อใดภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณและโทษแห่งผัสสายตนะทั้ง 6 กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น  เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด  ก็สมณพราหมณ์พวกใด  กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด  สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด  ถูกทิฏฐิ 62  อย่างเหล่านี้เป็นดุจข่ายปกคลุมไว้  อยู่ในข่ายนี้เอง  เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้  ติดอยู่ในข่ายนี้  ถูกข่ายนี้ปกคลุมไว้

                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว  ยังดำรงอยู่ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคต ชั่วเวลาที่กายของคถาคตดำรงอยู่  เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว  เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นคถาคต

                เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว  พระอานนท์ได้กราบทูลว่า  น่าอัศจรรย์  ไม่เคยมีมา  ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ว่า  อรรถชาละก็ได้  ธรรมชาละก็ได้  พรหมชาละก็ได้

                ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว  ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจชื่นชม  เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่  หมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้ว แล


ที่มา  http://www.heritage.thaigov.net/religion/religion.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 26, 2011, 09:23:46 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ