ถ้าเรามาดูกันใน ส่วนที่ ๑ ในสมัยพุทธกาล ก็มีหลากหลายภาษา แต่พระพุทธองค์ก็เลือกที่จะใช้ภาษามคธในการเผยแผ่ (เหล่าเทวดา และสัตว์ในภพภูมิต่างๆก็ใช้กัน) น่าจะเป็นที่สุดของการตัดสินถ้าเราเคารพในการตัดสินใจของพุทธองค์
ในส่วนที่ ๒ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล จนถึงสมัยล้านนาไทยเรา ก็ยังคงเป็นภาษาบาลี (มคธ)
ในส่วนที่ ๓ ส่วนสุดถ้าย แม้ปัจจุบัน ไทยเราก็คงยังสวดกันเป็นภาษาบาลี
มีข้อสังเกตุอยู่อีกอย่าง : คือ เวลา ว่า คาถา ก็มักจะเป็นบาลี เช่น นะ โม พุท ธา ยะ
หรืออย่างที่มีมาในพระไตรปิฏก : ในเรื่องของอาฏาอาฏิยะสูตร ที่ท้าวสักกะเทวราช ได้ให้มนต์กับพุทธองค์ไว้ ก็เป็นภาษาบาลี (มคธ)
เคยอ่านเจออยู่ว่า ในอดีต ได้มีครูบาอาจารย์ ได้ท่อง ได้อ่าน ได้สวด เป็นบาลีมิใช่น้อย (พลังได้ถูกสะสมอยู่มาก)จึงมีความสักสิทธิมาก
แต่ถ้าผู้สวดมิได้รู้มิได้เข้าใจในภาษาบาลี ต้องการให้เกิดปัญญา เพื่อจะได้นำไปใช้นำไปปฏิบัติ จึงจะอาศัยการแปลไว้ด้วย เพื่อให้ได้รู้ จะได้นำไปปฏิบัติ ก็เข้าถ้าอยู่ อย่างเช่น บทมังคะละสุตตัง(มงคล๓๘ประการ)พระสูตรที่ว่าด้วยความเป็นมงคล ที่ในอดีตทั้งมนุษย์และเทวดาได้เถียงกัน ว่าอะไรเป็นมงคล
ถ้าสวดบทนี้แล้วแต่ทำตรงกันข้าม คือไม่ได้นำไปใช้ นำไปปฏิบัติตาม ความเป็นมงคลคงจะเกิดได้น้อย
แต่ถ้านำเอาคำสอนในพระสูตรไปปฏิบัติ คงจะเห็นประโยชน์จากการสวดมนต์ จากการทวนมนต์ จากการทวนคำสอน ทบทวนคำสอน ได้ประโยชน์มากได้บุญมาก
แต่ถ้าจะสวดแปลกันอย่างเดียวเลย มิมีบาลีเลย เกรงของเก่าจะหาย
แต่ถ้ารู้และเข้าใจในบาลีได้ดีอยู่แล้ว ก็ดี ครบเลย ไม่เกิดปัญหาใดๆ เพราะรู้ที่สวดอยู่แล้ว ไม่ต้องแปล
ถ้าผู้รู้ภาษามากกว่าหนึ่งภาษามาคุยกัน ก็คงจะเข้าใจว่า บางครั้ง คำบางคำ ในภาษานึงไม่มีคำแปลที่จะแปลในอีกภาษานึงได้ตรงอย่างถูกต้อไม่ผิดเพี้ย คงต้องใช้หาคำำที่ไกล้เคียงมาแปลแทน อย่างเช่น คำว่า เกรงใจ ในภาษาไทย ตอนที่มีโอกาสได้ไปอยู่ที่ต่างประเทศ ก็ถามฝรั่งว่า จะพูดว่า ผมนะเกรงใจเขาเหลือเกินไม่อยากจะไปที่บ้านเขา ได้รับคำตอบมาว่า "ไม่มี" ฝรั่งไม่มีเกรงใจ (
) คือวัฒนธรรมฝรั่ง ถ้าเขาไม่ได้อยากให้เราไปเขาก็จะไม่เอ่ยปากชวน แต่ถ้าได้เอ่ยปากชวนเลย ก็เป็นมารยาทที่เขาทำกันถ้าชวนแล้วก็ต้องไป ถ้าไม่ไปนี้สิเรื่องใหญ่เขาถือว่าไม่ให้เกียรติเขา แต่คนไทยเราถ้าจะมีมารยาท คือต้องรู้จักเกรงใจ ฝรั่งเขาก็เลยเข้าไม่ถึง ความคิดความรู้สึกของคนไทย
และก็ เช่นกัน ในภาษาบาลี ผู้ที่เข้าใจเข้าถึง ก็จะรู้สึกถึงของอารมณ์ของสัจจะ เกิดปิติธรรมได้