ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ศิลปะ การต่อสู้ กับ หลักธรรม ไปด้วยกันได้หรือไม่ คะ  (อ่าน 5415 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ศรีสมัย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 24
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ศิลปะ การต่อสู้ กับ หลักธรรม ไปด้วยกันได้หรือไม่ คะ

   คือมานั่งคิดว่า จะดีหรือไม่ คะ ที่จะให้พระเณร ได้ฝึก มวย กันบ้าง สุขภาพจะได้ดี ไม่เป็นโรคภัยเบียดเบียน หรือ ว่า พระวินัยของ พระเณร มีข้อห้ามไว้

   คือไปเห็นการแสดง ของ พระวัดเส้าหลินในงาน พุทธชยันตี มาคะ แล้วก็สงสัยว่า ทำไมพระเณร จีนทำได้ และ พระเณร ไทยทำไม่ได้คะ

    :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ศิลปะ การต่อสู้ กับ หลักธรรม ไปด้วยกันได้หรือไม่ คะ

ผมอยากให้มองอย่างนี้นะครับว่า การฝึกปรือหมัดมวยวูซูนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวใกล้ตัว จากความขุ่นมัวแผ่ซ่าน

ไปในวิถีทะยานอยากสู่การเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบเพื่อควบคุมปราณ ทั้งหมดทั้งปวงคือ การคุมใจจัดระเบียบกาย

อานิสงส์ที่ได้คือ สุข รูปแบบหนึ่ง จากลีลาไหวร่ายดุดันนั้น กล่าวคือ ปรามศัตรู-ปราบตัวกู ทั้งหมดทั้งปวงอยู่ที่

ตัวทั้งสิ้นประดุจเสือดุบนภาพเขียน พระเส้าหลินมีหลักการเข้าถึงแบบปราณวิถี คือ ฝึกปราณ ฝึกกำลัง หยาบสู่

ปราณีต (ปัสสัสธิ, ปิติ, สุข) กายพร้อมใจพร้อม เป็นสมาธิ นี้อย่างต้น หลักการวูซูสู้แบบปราณวิถีสตินั้นต้องใช้

เพื่อ ข่ม / ขวาง / ว่าง / วาง เพื่อถึงซึ่งปัญญาแจ้งสู่มรรค ครับ!




บุรุษเขาเส้าสือ

     สู้ถากสันดานตัว         ใช่เขลาชั่วบู๊ล้างผลาญ
หมัดมวยให้ห้าวหาญ      ปราบและปรามอยู่ที่ตัว
     ไหวพลิ้วหลากลีลา      ใช่หาญหาศัตรูยั่ว
ร่ายไหวสติกลั้ว         ปราณกำลังข่มว่างวาง.


                                                                ธรรมธวัช.!

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2012, 01:20:22 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ศิลปะ การต่อสู้ กับ หลักธรรม ไปด้วยกันได้หรือไม่ คะ

   คือมานั่งคิดว่า จะดีหรือไม่ คะ ที่จะให้พระเณร ได้ฝึก มวย กันบ้าง สุขภาพจะได้ดี ไม่เป็นโรคภัยเบียดเบียน หรือ ว่า พระวินัยของ พระเณร มีข้อห้ามไว้

   คือไปเห็นการแสดง ของ พระวัดเส้าหลินในงาน พุทธชยันตี มาคะ แล้วก็สงสัยว่า ทำไมพระเณร จีนทำได้ และ พระเณร ไทยทำไม่ได้คะ

    :smiley_confused1:

   ศิลปการต่อสู้ กับหลักธรรม
   คำว่า ต่อสู้ที่ใช้ร่างกายเข้าทำร้ายกัน หมายถึง การเบียดเบียน ชัดเจนว่า ไม่ชอบด้วยธรรม
   ประเด็นที่ว่า เอาไว้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพนั้น วินัยของฝ่ายเถรวาท ในหมวดเสขิยวัตร ๗๕ ข้อ ระบุให้สำรวมกายในที่สาธารณะ การรำมวยจึงเป็นเรื่องที่ไม่สมควร อีกอย่างการออกกำลังจำเป็นต้องแต่งกายให้รัดกุม
เป็นพระทำไม่ได้ พระต้องห่มจีวรให้เรียบร้อย เป็นวินัยข้อหนึ่ง


   เสขิยวัตร หมายถึง มารยาททางสังคมของภิกษุ เป็นธรรมเนียม ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับมารยาทอันควรแก่สมณสารูปที่ภิกษุจะต้องศึกษา ฝึกฝนปฏิบัติตามให้ได้ เสขิยวัตรนี้ไม่ได้มีการปรับอาบัติไว้โดยตรงเพียงแต่ทรงวางไว้เป็นแบบแผนให้ภิกษุได้ศึกษาและปฏิบัติ อาจารย์ในหนหลังให้ปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุที่ไม่เอื้อเฟื้อปฏิบัติตามเสขิยวัตร

   การจะอ้างว่า เพื่อสุขภาพนั้น ฟังไม่ขึ้น
   ข้อวัตรของพระอย่างหนึ่งก็คือ การบิณฑบาต เป็นที่รู้กันว่า การเดินบิณฑบาตเป็นการออกกำลังกาย อีกทั้งการทำความสอาดต่างๆภายในวัด เช่น กวาดใบไม้ ล้างห้องน้ำ เป็นการออกกำลังกายอยู่แล้ว
   ที่สำคัญการปฏิบัติธรรมด้วยการเดินจงกรม การเข้ากรรมฐานต่างๆ เป็นการป้องกันและรักษาโรคอยู่แล้ว ในส่วนของการฉันอาหาร ต้องฉันด้วยสติ พิจารณาแล้วว่า อาหารนั้นเป็นคุณหรือโทษอย่างไร หากฉันด้วยสติแล้ว
โรคที่จะเกิดจากอาหารจะน้อย สรุปก็คือ การปฏิบัติธรรมจะทำให้อาพาธน้อย


   สังคมไทยชอบที่จะเห็นพระสำรวมมากกว่า
   การที่พระไทยทำอะไรอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว สังคมเห็นว่า ไม่สมควร ถึงแม้จะไม่ผิดวินัยโดยตรงก็ตาม การติเตียนทางโลกนี้ เรียกว่า โลกวัชชะ ในวินัยได้บัญญัติเรื่องเอาไว้ อย่างเช่น พระขับรถ ถือเป็นโลกวัชชะ การฝึกมวย ส่วนตัวผมคิดว่า เป็นโลกวัชชะเช่นกัน


   อย่างไรก็ตามการละเมิดศีล ๒๒๗ ข้อมีโทษหนักเบาต่างกันไป เช่น โทษเบาก็แสดงอาบัติได้ โทษหนักก็ต้องให้ออกจากความเป็นพระ ผมขอสรุปโทษของการละเมิดศีลไว้ด้งนี้ครับ


ที่มาของตาราง th.wikipedia.org/wiki/ศีล_๒๒๗

        :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sanrak

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เส้นทาง แนวคิด ต่างกัน ระหว่าง  หินยาน เถรวาท กับ มหายาน นั้น มีแนวคิดต่างกัน

  บำเพ็ญ กับ ภาวนา
  ตั้งความปรารถนา กับ ปฏิบัติ
  สติ กับ สมาธิ
 ช่วยเหลือ กับ อุเบกขา

   ดังนั้น ถ้าจะให้ พระสงฆ์ ฝ่ายเถรวาท มารำมวย ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา
  แต่พระสงฆ์ ส่อนมวยไทย กระบี่ กระบอง ศิลปะการต่อสู้ มาก่อน ดูประวัติของ พระนเรศวร จากภาพยนต์ ก็จะเห็นว่า ตำราพิชัยสงคราม การต่อสู้ คาถาอาคม มาจากพระสงฆ์ ไทย สำนักดาบที่ดังมาก ๆ ในสมัยอยุธยา ก็ คือ สำนักพุทไธสวรรค์ วัดพุทไธสวรรค์ ยังมีประวัติ เรื่องการสอนศิลปะการต่อสู้ อยู่

   ในปัจจบัน นี้ เห็นมี หลวงพี่ ขี่ม้า สอนมวยไทยให้กับเด็ก อยู่

บันทึกการเข้า

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ศิลปะมวย เหมือนกับ อาวุธ คนที่มีอาวุธ รู้จักเก็บอาวุธไม่นำมาใช้ ซี้ซั้ว นับว่าเป็นคนคุมใจได้ดี

 แต่ถ้าเป็นพระ มีอาวุธ ไว้ทำไม ไว้ป้องกันตัวเอง หรือ เพื่อสุขภาพ

 วิธีออกกำลังกาย มีมากมายใน การภาวนา

    กวาดลานวัด ดูแลเสนาสนะ เดินจงกรม  ยืนสมาธิ บิณฑบาตร สวดมนต์ ลุกกราบไหว้ เท่านี้ก็น่าจะเหนื่อยแล้วนะครับ ผมเคยได้บวชในสายวัดป่า มา แค่เดินบิณฑบาตร ไปกลับ 10 กม. ก็แย่แล้วครับ เหงือชุมเลย กลับมาทำความสะอาดลานวัด ศาลา



 
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

SRIYA

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 199
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ศิลปะ การต่อสู้ กับ หลักธรรม ไปด้วยกันได้หรือไม่ คะ

ประเด็นคำถาม นั้นน่าตอบ อยู่

คือมานั่งคิดว่า จะดีหรือไม่ คะ ที่จะให้พระเณร ได้ฝึก มวย กันบ้าง สุขภาพจะได้ดี ไม่เป็นโรคภัยเบียดเบียน หรือ ว่า พระวินัยของ พระเณร มีข้อห้ามไว้

แต่ประเด็นตอบยาก ถ้าเอาพระในเมืองไทยเป็นหลัก น่าจะไม่เหมาะสม เกิดครูอาจารย์เรา มาสะบัดจรเข้ฟาดหาง แทงด้วยหอกโกขสักย์ เหมือนมวยลิง มวยเก้งแล้ว ความเลื่อมใสศรัทธาของชาวพุทธน่าจะสั่นคลอนได้ไวนะคะ ทำไมประเทศไทยได้รับ เกรียติจากชาวพุทธทั่วโลกได้เป็นศูนย์กลางก็เพราะว่าความเลื่อมใสของชาวพุทธจริง ชอบแบบพุทธเถรวาท นะคะ ความสำรวมอินทรีย์เป็นคุณสมบัติของพระ ใช่หรือไม่คะ

 


บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกชีวิต มีความอบอุ่น