พุทธศาสนิกชนชาวจีนตั้งแถวรอรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สานสัมพันธ์ไทย-จีน ผ่านพุทธศาสนา
ธงทิวปลิวไสวในสายลมฤดูใบไม้ผลิยามสายที่ วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง พุทธศาสนิกชนชาวจีนตั้งแถวยาวตามขั้นบันไดเฝ้าเสด็จสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จฯมาทรงเป็นประธานในพิธีประดิษฐานพระพุทธรูปจำลอง “สมเด็จพระศาสดา”
“สมเด็จพระศาสดา” เป็นพระพุทธรูปตามศิลปะแบบสุโขทัย ปางมารวิชัย พุทธลักษณะพระศาสดา ซึ่ง องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) จัดทำขึ้นเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550สมเด็จพระศาสดาประดิษฐานที่วิหารในวัดหลิงกวง.
สำหรับพระศาสดาองค์นี้เป็นองค์ที่สามที่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกมอบให้จีน สององค์แรกมอบให้วัดที่เซี่ยงไฮ้ และวัดที่สิบสองปันนา ไปเมื่อปีที่แล้วตามลำดับ พระพุทธรูปองค์นี้สมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเสด็จพระราช ดำเนินทรงเททองหล่อและทรงเป็นองค์ประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ 30 มกราคม 2552
จากนั้นทางพ.ส.ล.จะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัด หรือสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาใน 19 ประเทศ
วัดหลิงกวงเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง หรือในราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาก่อนขึ้นไปยังทิศตะวันออก เป็นเส้นทางความเจริญของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้ว
จากการประชุมหารือทั้งสามฝ่าย ประกอบด้วยพุทธสมาคมจีน (Buddhist Association of China) สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง และ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ตกลงมอบพระศาสดาให้แก่วัดหลิงกวง เพื่อเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์แสดงถึงการเจริญไมตรีระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ

ท่านเจ้าอาวาสวัดหลิงกวงและพระสงฆ์ฝ่ายจีนที่เข้าร่วมประกอบพิธี.
พิธีกรรมในการประดิษฐานพระศาสดานั้น มีทั้งการสวดมนต์ตามแบบเถรวาท นำโดยพระธรรมวราจารย์ วัดบวรนิเวศวิหาร และแบบมหายาน นำโดย ท่านเจ้าอาวาสวัดหลิงกวง
“หัวใจของการมอบพระศาสดาให้จีนยังเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครอง ราชย์มาเป็นเวลา 60 กว่าปี ทรงมีพระราชกิจมากมายจนชาวพุทธทั่วโลกยอมรับและเคารพอย่างสูง นับได้ว่าเป็นกษัตริย์ของชาวพุทธโลกมีบทบาทในการอุปถัมภ์ค้ำชูศาสนา เช่น ทรงออกผนวช และหลักในการปกครอง และเจริญไมตรีเป็นหลักทางพุทธศาสนาที่คนทั่วไปยอมรับ การมอบพระศาสดาครั้งนี้จึงเป็นเรื่องของชาวจีนกับพุทธศาสนิกชนทั่วโลก” พัลลภ ไทย-อารีย์ เลขาธิการองค์การ พ.ส.ล. กล่าว
อีกนัยหนึ่งเมื่อพูดถึงการสร้างสมเด็จพระศาสดานั้น เลขาธิการองค์การ พ.ส.ล.อธิบายว่า มิใช่เป็นการให้หลงใหลในพระพุทธรูป อย่างไรก็ตาม ในสังคมไทยให้ความเคารพต่อพระพุทธรูปอย่างมาก แต่ประเด็นถัดมาคือการนำทุนที่ได้จากการสร้างพระไปเผยแพร่ธรรมะ เช่น การแปลหนังสือทศพิธราชธรรม เป็น 5 ภาษา จากนั้นหากยังมีทุนทรัพย์เหลือจะจัดทำกองทุนการกุศลต่อผู้หญิงและเด็กต่อไป
พระเขี้ยวแก้วโบราณค้นพบใหม่อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2443.
บรรยากาศอันร่มรื่นและอบอวลไปด้วยกลิ่นควันธูปฟุ้งกำจายทั่วไปภายในวัดหลิงกวง กับความรู้สึกกระตือรือร้นของพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมงานในวันนั้น เป็นประจักษ์พยานแสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง แม้ในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ภาพแกะสลักพระอรหันต์ 500 องค์.
ปรัชญาปารมิตาสูตรสลักบนกำแพงแห่งหนึ่งที่วัดหลิงกวง.
ความสำคัญของวัดหลิงกวงในอดีตที่เป็นเส้นทางผ่านของศาสนาพุทธนิกายมหายาน มิได้มีแต่เพียงอดีตที่รุ่งเรืองเท่านั้น หากแต่ในยุคสมัยปัจจุบัน วัดหลิงกวง ก็เป็นพื้นที่ที่แสดงถึงการแลกเปลี่ยนสัมพันธภาพ อันดีกับชาวพุทธจากชาติอื่นพระพุทธรูปจากศรีลังกา.
ดังจะเห็นได้ว่ามีพระพุทธรูปจากศรีลังกา ประดิษฐานอยู่หน้ากำแพงที่สลักรูปพระอรหันต์ภายในวัด ในส่วนที่เกี่ยวกับไทยนั้น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เคยประทานพระพุทธรูป หล่อด้วยทองแดงองค์หนึ่ง ประดิษฐานเป็นองค์ประธานในวิหารประธานของวัด เมื่อปี พ.ศ.2532
รูปเคารพที่แตกต่างกับความเป็นพุทธต่างนิกายนั้นย่อมแสดงถึงการที่พุทธศาสนาเข้าไปสถิตอยู่ในดินแดนต่างวัฒนธรรมทั่วโลก และ พ.ส.ล. ก็เป็นองค์กรของชาวพุทธหนึ่งในระดับนานาชาติที่เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่างกัน เพื่อความเข้าใจในแก่นธรรมทางพุทธศาสนาอย่างแท้จริง.ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/life/169460