ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คุณดื่มกาแฟมากไป..หรือเปล่า.?  (อ่าน 2363 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
คุณดื่มกาแฟมากไป..หรือเปล่า.?
« เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2013, 06:40:39 am »
0


คุณดื่มกาแฟมากไปหรือเปล่า?

เครื่องดื่มผสมคาเฟอีนนั้นเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน โดยนิตยสาร "นิว ไซแอนทิสต์" ระบุ สารคาเฟอินนั้นเป็น "ยากระตุ้นประสาท" ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด และหากดูแล้วแค่ในสหรัฐฯ ประชากรผู้ใหญ่กว่า 90% นั้นนิยมรับสารคาเฟอีนกันทุกๆวัน โดยนอกจากคาเฟอีนที่ได้รับกันเป็นปกติในเครื่องดื่มต่างๆ แล้ว ยังมีความนิยมผสมสารคาเฟอีนในอาหารอื่นๆด้วย เช่น วาฟเฟิล เมล็ดทานตะวัน และถั่ว


สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ (Food and Drug Administration - FDA) ได้ตรวจสอบหมากฝรั่งของริกลี (Wrigley) พบว่า ในสินค้าแพ็คขนาด 8 ชิ้น มีคาเฟอีนผสมอยู่มากถึงเกือบเท่ากับกาแฟครึ่งแก้ว โดยหลังจากรับทราบเรื่อง ริกลีประกาศว่าจะยุติการผลิตเป็นการชั่วคราว นอกจากนี้ยังมีสินค้าอื่นๆอีกด้วยที่มีสารคาเฟอีน

สำนักงานบริหารด้านที่ปรึกษาทางจิตและการใช้สารกระตุ้นผิดประเภท(Substance Abuse and Mental Health Services Administration) ระบุว่า มีประชาชนกว่า 20,000 คนขอรับการบำบัดอย่างเร่งด่วนหลังเลิกดื่มเครื่องดืมผสมคาเฟอีน (ข้อมูลปี 2011)

โดยในฟินแลนด์ ประเทศที่มีการบริโภคคาเฟอีนมากที่สุดในโลก ประชาชนที่เป็นผู้ใหญ่รับสารคาเฟอีนโดยเฉลี่ยสูงถึง 400 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับกาแฟ 4-5 แก้ว และเป็นค่ากำหนดที่หน่วยงานมาตรฐานอาหารในอังกฤษ (UK Food Standards Agency) แนะนำในแต่ละวัน แต่ประชาชนในฟินแลนด์ก็ยังกังวลว่าอาจมีการเพิ่มขึ้นของสารคาเฟอีนในอาหารประเภทอื่นๆด้วยเช่นกัน



สถิติการดื่มกาแฟเฉลี่ยต่อหัวต่อปี (ขอบคุณภาพจาก BBC)


การศึกษาเกี่ยวกับโทษของสารคาเฟอีนอยู่บ้าง (แต่น้อยมาก) โดยหนึ่งในการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ระบุว่าการเลิกสารคาเฟอีนทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และไม่มีสมาธิ

อย่างไรก็ตาม การศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดบอกว่า การรับสารคาเฟอีนไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย และการดื่มกาแฟ 6 แก้วต่อวันไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากขึ้นด้วยสาเหตุใดๆ แต่อาจช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านมเสียด้วยซ้ำ การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งยังระบุว่า การดื่มชา-กาแฟนั้นส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานน้อยลง 

อย่างไรก็ตามหลายคนใช้คาเฟอีนเพื่อกระตุ้นให้ตัวเองสามารถทำงานได้มากขึ้นเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะในอดีต นักเขียนวรรณกรรมและบทละคร "บอลแซค" ดื่มกาแฟมากถึงวันละ 50 แก้ว โดยเขาบอกว่า ถ้าไม่ดื่มก็จะเขียนงานไม่ได้ ซึ่งหมายความว่าเขาก็จะอยู่ไมได้ด้วย

ด้านเดวิด ลินช์ นักสร้างภาพยนต์ชื่อดังอีกครก็ดื่มกาแฟผสมน้ำตาลมากถึง 7 แก้วต่อวัน ซึ่งทำให้เขามีความคิดใหม่ๆมากขึ้น นักประวัติศาสตร์ยังอ้างว่า ลุดวิก ฟาน บีโธเฟน นักประพันธ์ชื่อดังจะบดกาแฟสดมากถึง 60 เมล็ดในกาแฟ 1 แก้วของเขาด้วย



ปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มแต่ละประเภท


ทั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะท้าทายสภาพสังคมในปัจจุบัน ที่เครื่องดื่มผสมคาเฟอีนกำลังครองโลก โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มชูกำลังระบุว่าสินค้าที่ผลิตนั้นปลอดภัย และไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนที่จะโทษว่าเครื่องดื่มของพวกเขาทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย รวมทั้งการที่รัฐบาลประเทศใดๆ จะไปห้ามบริษัทไม่ให้ผลิตสินค้าที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนมากเกินไปนั้นดูจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากหลักฐานที่ไม่ชัดเจน ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเกิดกับคนหมู่มาก
 
ดังนั้น เราจึงต้องดูแลตัวเอง และทำให้มั่นใจว่าเราไม่ได้รับสารคาเฟอีนมากหรือน้อยเกินไปในแต่ละวัน จนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อตนเองในระยะยาว


ที่มา มติชนออนไลน์
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk9UTTNPRGN6Tnc9PQ==&sectionid=
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: คุณดื่ม 雜涼
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2013, 01:09:32 am »
0
ประโยชน์ของน้ำจับเลี้ยง  (雜涼)


ชาวจีนนำภูมิปัญญาทำเครื่องดื่มน้ำจับเลี้ยงมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยรวบรวมเอาสมุนไพรหลายชนิดเข้าเป็นส่วนผสม ทั้งสมุนไพรไทยและจีน ดื่มได้ทั้งแบบร้อนและเย็น สรรพคุณป้องกันและบรรเทาอาการร้อนใน โดยเฉพาะอาการร้อนในที่เกิดจากสภาวะที่ร่างกายขาดความสมดุล เช่น นอนดึก พักผ่อนไม่พอ หรือกินแต่ของที่ทำให้ร้อน ของทอด หรือกินน้ำน้อย มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร มีแผลในปาก ปากลิ้นเปื่อย มีฝ้า ขมคอ เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง ไอ ตาร้อนผ่าว

โดยที่หากอาการร้อนในไม่รุนแรง รักษาร่างกายให้คืนสมดุลได้ก็หายเอง ทั้งนี้ ตามสูตรไทย ถ้าร้อนในให้กินยาเขียว ยาขม กินผัก ดื่มน้ำมากๆ ส่วนคนจีนแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ คู่กับกินพืชผักผลไม้ที่มีธาตุเย็น เช่น ฟัก แตง ฯลฯ แล้วต้มจับเลี้ยงดื่ม

น้ำจับเลี้ยงมีขายทั่วไป แต่บางย่านอาจเป็นของหายาก จะต้มดื่มเองก็เป็นความคิดที่ดี เพียงไปที่ร้านขายยาจีน (จับเลี้ยงเป็นของพื้นๆ มีขายทุกร้าน) บอกว่าซื้อจับเลี้ยง 1 ห่อ ร้านจะจัดสมุนไพรต่างๆ ให้จนครบสูตร ประกอบด้วย ดอกงิ้ว ใบบัว รากหญ้าคา เมล็ดเพกา เก๊กฮวย รากบัว โหล่เกง เทียงฮวยฮุ่ง แซตี่ แห่โกวเช่า หล่อฮั่งก้วย

วิธีต้ม ใส่จับเลี้ยงลงในหม้อต้ม เติมน้ำให้ท่วม ต้มจนเดือดไฟอ่อนๆ ประมาณ 20 นาที ถ้างวดมากให้เติมน้ำลงไปพอประมาณ เสร็จแล้วกรองเอาแต่น้ำ เติมน้ำตาลทรายแดงให้ความหวานตามชอบ น้ำจับเลี้ยงที่เหมาะแก่การดื่มไม่ควรเข้มข้นมาก และควรต้มเพียงรอบเดียว ดื่มวันละ 3-4 แก้ว

สมุนไพรไทยในจับเลี้ยง มี เมล็ดเพกา เพกาเป็นไม้ยืนต้นสูง 3-12 เมตร เปลือกเรียบ ใบเป็นใบประกอบ ยาว 60-200 ซ.ม. มีใบย่อยจำนวนมาก รูปร่างคล้ายไข่ ปลายใบแหลม ใบกว้าง 4-8 ซ.ม. ยาว 6-12 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อใหญ่ ยาว 50-150 ซ.ม. กลีบดอกด้านนอกมีสีม่วงอมแดง หรือน้ำตาลอมแดง กลีบดอกด้านในสีเหลืองหรือสีครีม ผลเป็นฝักแบนยาวคล้ายดาบห้อยลง กว้าง 6-15 ซ.ม. ยาว 60-12 ซ.ม. ภายในมีเมล็ดเรียงตามความยาวของฝัก เมล็ดแบนและมีเยื่อบางๆ อยู่ล้อมรอบ

เมล็ดเพกาเป็นส่วนผสมของจับเลี้ยง ทั้งใช้เป็นยาแก้ไอและขับเสมหะได้ด้วย โดยใช้เมล็ดครั้งละ 1 กำมือ หรือ 1.5-3 กรัม ใส่น้ำประมาณ 300 ม.ล. ต้มไฟอ่อนๆ พอเดือดนานประมาณ 1 ชั่วโมง รับประทานวันละ 3 ครั้ง

บัว คนจีนใช้แทบทุกส่วนของบัวเป็นประโยชน์ในการทำอาหาร รากหรือเหง้าบัวนำมาหั่นเป็นแว่นต้มกับกระดูกหมูเป็นแกงจืด หรือเชื่อมน้ำตาลกินเป็นของหวาน หรือกินเป็นผักแนม เมล็ดบัวใช้ทำเป็นของหวาน ต้มน้ำตาลธรรมดาเป็นเมล็ดบัวร้อน หรือใส่น้ำแข็งเป็นเมล็ดบัวเย็น อีกอย่างหนึ่งที่ดูเป็นเอกลักษณ์คือใช้ใบบัวห่ออาหารที่นำไปนึ่งให้สุกอย่างข้าวห่อใบบัว ขณะที่ญี่ปุ่นก็ใช้รากบัวทำอาหาร ส่วนอินเดียก็ใช้ทั้งรากบัว สายบัว เช่นเดียวกับชาวไทยนิยมนำบัวมาต้มยำทำแกง

ดอกงิ้ว ผลิตผลจากต้นงิ้ว มีสีแดงหรือเหลืองส้ม เวลาบาน ใบจะร่วงหมด ออกดอกช่วงฤดูหนาว นำมาปรุงอาหารได้อย่างดีด้วย มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก มีแคลเซียมถึง 429 ม.ก. ต่อ 100 กรัม (1 ขีด) นอกจากปรุงเป็นน้ำเงี้ยว กินกับขนมจีน เรียก ขนมจีนน้ำเงี้ยว แล้ว ยังเป็นผักจิ้มน้ำพริก ผักแกงส้ม หรือชุบแป้งข้าวโพดกินเล่นเป็นอาหารบำรุงสุขภาพ หรือรวบรวมตากแห้งเก็บไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกใช้เป็นยา และที่สำคัญเป็นส่วนผสมของจับเลี้ยงแก้ร้อนใน



http://women.sanook.com/805714/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2013, 01:25:41 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา