ภาพจากเฟซบุ้ค Weera Sukmetup Phrakrusittisongvon
อุปกิเลส ๑๖
[๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่าไหน เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต [คือ]
- อภิชฌาวิสมโลภะ [ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง]
- พยาบาท [ปองร้ายเขา]
- โกธะ [โกรธ]
- อุปนาหะ [ผูกโกรธไว้]
- มักขะ [ลบหลู่คุณท่าน]
- ปลาสะ [ยกตนเทียบเท่า]
- อิสสา [ริษยา]
- มัจฉริยะ [ตระหนี่]
- มายา [มารยา]
- สาเฐยยะ [โอ้อวด]
- ถัมภะ [หัวดื้อ]
- สารัมภะ [แข่งดี]
- มานะ [ถือตัว]
- อติมานะ [ดูหมิ่นท่าน]
- มทะ [มัวเมา]
- ปมาทะ [เลินเล่อ]
เหล่านี้เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต._________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/read/?12/93/65
[๙๐๘] ในทุกมาติกาเหล่านั้น โกธะ ความโกรธ เป็นไฉน
ความโกรธ กิริยาที่โกรธ สภาพที่โกรธ
ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย สภาพที่คิดประทุษร้าย
ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย สภาพที่คิดปองร้าย
ความยินร้าย ความยินร้ายอย่างแรง ความดุร้าย ความปากร้าย
ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า โกธะ ความโกรธ_________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=12175&Z=12334&pagebreak=0

อุปกิเลส หรือ จิตตอุปกิเลส 16 (ธรรมเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี)
1. อภิชฌาวิสมโลภะ (คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร, โลภกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร)
2. พยาบาท (คิดร้ายเขา)
3. โกธะ (ความโกรธ)
4. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ)
5. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีของผู้อื่น, การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น)
6. ปลาสะ (ความตีเสมอ, ยกตัวเทียมท่าน, เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน)
7. อิสสา (ความริษยา)
8. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
9. มายา (มารยา)
10. สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, หลอกด้วยคำโอ้อวด)
11. ถัมภะ (ความหัวดื้อ, กระด้าง)
12. สารัมภะ (ความแข่งดี, ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน)
13. มานะ (ความถือตัว, ทะนงตน)
14. อติมานะ (ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา, ดูหมิ่นเขา)
15. มทะ (ความมัวเมา)
16. ปมาทะ (ความประมาท, ละเลย, เลินเล่อ)
ข้อ 2 มีต่างออกไป คือ ในธัมมทายาทสูตร เป็น โทสะ (ความคิดประทุษร้ายเขา) _________________________________
อ้างอิง :- ม.มู. 12/26/26 ; ม.มู. 12/93/65.
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
โกธะ ความโกรธ, เคือง, ขุ่นเคือง_______________________________________________
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
โกรธ [โกฺรด] ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า “ทรงพระโกรธ” ก็ใช้ เช่น ก็จะทรงพระโกรธดั่งเพลิงกาล. (อิเหนา). (ส. โกฺรธ).________________________________________
พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒