พรรษาที่ ๘- จำพรรษาที่เภสกฬาวัน ภัคคชนบท บิดาของสิงคาลกมานพบวช บรรลุพระอรหันต์ หลังออกพรรษา บัญญัติสิกขาบทเรื่อง
การผิงไฟของภิกษุ โปรดมาคันทิยาพราหมณ์และภรรยา จนขอบวชทั้ง ๒ คนแล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ นางมาคันทิยาผู้เป็นธิดาผูกจิตอาฆาตในพระศาสดา เศรษฐีโกสัมพี ๓ คนตามไปฟังธรรมที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีบรรลุเป็นพระโสดาบันและได้สร้าง โฆสิตาราม ปาวาริการาม และกุกกุฏาราม ถวายที่โกสัมพีณ เภสกลาวัน ใกล้เมืองสุงสุมารคีรี
เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงเปิดโลกเสด็จลีลาลงจาดาวดึงสสวรค์ในท่ามกลางเทพยาดาและพรหมเป็นอันมาก มหาชนทั้งหลายต่างแซ่ซ้องสาธุการเสียงสนั่นหวั่นไหว พระบรมศาสดาทรงเสด็จดำเนินสูป่าไม่สีเสียดใกล้เมืองสุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ ทรงประทับจำพรรษาที่ ๘ ณ ป่าไม้สีเสียดเภสกลาวัน
ในกาลนั้นมีสองสามีภรรยาคฤหบดีชาวเมืองสุงสุมารคีรี มีนามว่านุกุลบิดา และนกุลมารดา เข้าเฝ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่นๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงทรรมโปรดทั้งสองสามีบรรยาได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้ สนิทสนมคุ้นเคย ส่วนท่านนกุลมารดาก็เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกกาผู้สนิทสนมคุ้นเคย
พรรษาที่ ๙- จำพรรษาที่โกสัมพีเรื่องนางสามาวดี ได้เป็นมเหสีพระเจ้าอุเทน ถูกนางมาคันทิยาวางแผนเผาทั้งปราสาทจนตาย
นางสามาวดี
เอตทัคคะในทางผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาพระนางสามาวดีอุบาสิกาผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของ อุบาสิกาทั้งหลายผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา ก็โดยเหตุ ๒ ประการ คือโดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ เพราะท่านแสดงให้ผู้อื่นเห็นเป็นอย่างชัดเจนในคุณข้อนี้ของท่าน ดังที่พระศาสดาทรงนำเรื่องที่พระนางแผ่เมตตา ห้ามลูกธนูที่พระราชาทรงกริ้วตนได้ เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ไม่เพียงเนื่องจากเหตุข้อนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการแต่งตั้งโดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป
ณ วัดโฆษิตาราม เมืองโกสัมพีในพรรษที่ ๙ นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่วัดโฆษิตารามซึ่งเป็นวัดสำคัญในกรุงโกสัมพี นครหลวงของแคว้นวังสะ พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดประชากรให้ตั้งอยู่นมรรคผลเป็นพุทธมามกะ ปฏิญาณตนตั้งอยู่ในพระรัตนตรัยเป็นจำนวนมากแต่ในกาลนั้น ภิกษุสงฆ์ในเมืองโกสัมพีเกิดแตกแยกกันแม้พระพุทธเจ้าประทานโอวาทแล้วก็ยัง ดื้อดึงตกลงกันไม่ได้ จนถึงกับแบ่งแยกกันทำอุโบสถ ฝ่ายหนึ่งทำอุโบสถทำสังฆกรรมภายในสีมาแต่อีกฝ่ายหนึ่งออกไปทำอุโบสถทำสัฆ กรรมภายนอกสีมา ภิกษุสงฆ์ได้เกิดการแตกแยกกันขั้นนี้เรียกว่า "สังฆเภท"
พรรษาที่ ๑๐- จำพรรษาที่รักขิตวัน (ป่าปาริเลยยกะ)อยู่ระหว่างกรุงโกสัมพีกับกรุงสาวัตถี ช้างปาริเลยยกะและวานรถวายอุปัฏฐากพระพุมธองค์ หลังออกพรรษา หมู่สงฆ์ชาวโกสัมพีมาขอขมาต่อพระองค์ ทำให้สังฆสามัคคี
ณ ป่ารักขิตวัน ตำบลปาริเลยยกะพระพุทธเจ้าทรงปลีกประองค์จากหมู่สงฆ์ผู้แตกแยกสร้างความวุ่นวายด้วยเหตุ สังฆเภท พระบรมศาสดาเสด็จจากวัดโฆษิตารม กรุงโกสัมพี เสด็จไปยังแดนบ้านแห่งหนึ่งชื่อ "ปาริเลยยกะ" อยู่ใกล้กรุงโกสัมพี พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปประทับ ณ ร่มไม้ภัทรสาละพฤกษ์ในป่ารักขิตวัน ตำบลปาริเลยยกะ ทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๐ ด้วยความสงบสุข โดยมีพญาช้างปาริเลยยกะคอยบำรุงดูแลพิทักษ์และรับใช้พระบรมศาสดาอย่างใกล้ ชิด
พรรษาที่ ๑๑- จำพรรษาที่หมู่บ้านพราหมณ์ เอกนาลา ใต้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ หลังออกพรรษา ไม่ปรากฏหลักฐาน
ณ ทักขิณาคีรี หมู้บ้านพราหมร์เอกนาลาในพรรษาที่ ๑๑ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ ทักขิณาคีรี หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อว่า เอกนาลา
พรรษาที่ ๑๒- จำพรรษาที่ควงไม้สะเดา เมืองเวรัญชา ทรงไม่อนุญาติให้มีการบัญญัติสิกขาบท หลังออกพรรษา เรื่องเอรกปัตตนาคราช
- พระนางปชาบดีเถรี ทูลลานิพพาน ประชุมเพลิง
การอุปสมบท ๘ วิธี
เมื่อกราบบังคมทูลลาเป็นวาระสุดท้ายฉะนี้ สมเด็จพระมหาปชาบดีเถรีก็พาพระภิกษุณีอรหันต์ทั้งหลายเดินทางไปยังภิกขุณู ปัสสยาราม ครั้นถึงแล้วต่างองค์ก็แยกย้ายกันเข้าไปยังห้องอันเป็นที่อยู่แห่งตน กระทำกิจทั้งปวงเช่นจัดเจงที่อยู่ให้ดูเรียบร้อยซึ่งเป็นวิสัยของพระอรหันต์ ก่อนที่จะเข้าสู่พระนิพพาน
พอได้กาลที่กำหนดไว้ สมเด็จพระมหาปชาบดีซึ่งมีคุณใหญ่ พร้อมกับภิกษุณีอรหันต์เหล่านั้นก็เริ่มทำปรินิพพานบริกรรมโดยอธิษฐานเข้า สู่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นลำดับ แล้วถอยกลับไปมาโดยอนุโลมปฏิโลมเป็นฌานกีฬา วาระสุดท้ายอธิษฐานเข้าสู่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ครั้นออกจากจตุตถฌานแล้ว สมเด็จพระนางแก้วมหาปชาบดีพร้อมกับบรรดาพระภิกษุณีมหาเถรีเจ้าเหล่านั้นก็ ดับขันธ์หันพระพักตร์เข้าสู่พระปรินิพพานทันที
สมเด็จพระชินสีห์เจ้าบรมโลกุตมาจารย์ ทรงทราบเหตุการณ์ด้วยพระญานวิเศษโดยตลอดแล้ว จึงทรงมีพระพุทธฏีกาตรัสกับพระอานนท์ว่า
" ดูก่อนอานนท์! เธอจงไปบอกพระสงฆ์ทั้งปวงให้ทราบจงทั่วกันว่ามารดาของเราตถาคตปรินิพพานในกาลบัดนี้แล้ว"ได้สดับพระดำรัสองค์สมเด็จพระประทีปแก้วดั่งนี้ ท่านพระอานนท์ซึ่งยังเป็นเสขบุคคล มีกิเลสยังไม่ปราศจากขันธ ก็มิอาจจะกลั้นความโศกาลัยไว้ได้ อัสสุชลไหลโซมพักตร์อยู่พรากๆ เที่ยวอุโฆษณาการแก่พระสงฆ์ทั้งปวงด้วยสรุเสียงอันน่าสงสารว่า
" ข้าแต่พระสงฆ์ทั้งปวง เจ้าข้า! ขอพระสงฆ์ทั้งหลายบรรดาที่อยู่ในทิศทั้งสี่ จงฟังคำของข้าพเจ้าผู้ชื่อว่าอานนท์ คือว่ากาลนี้เป็นกาลอันไม่ควรจะพึงมี แต่ก็ได้ปรากฏมีขึ้นแล้ว ด้วยว่าองค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงมีพระพุทธบัญชาให้ข้าพระเจ้าอานนท์ประกาศว่า สมเด็จพระมหาปชาบดีเถรีซึ่งมีนามบัญญัติว่าเป็นพระพุทธมาตุจฉา แต่ทรงตั้งอยู่ในฐานะเป็น " พระพุทธมารดา" นั้น บัดนี้ท่านดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานเสียแล้ว ขอพระสงฆ์ทั้งปวงจงพากันไปยังภิกขุณูปัสสยารามอันเป็นที่ที่ท่านนิพพานนั้น โดยเร็วเถิด เจ้าข้า"
บรรดาสงฆ์ทั้งหลายที่ได้ฟังคำประกาศอันน่าสงสารนั้น บางท่านที่อยู่ใกล้ ๆ ต่างก็พากันรีบเดินทางไปสู่ภิกขุณูปัสสยารามเป็นทิวแถวมากมายสำหรับท่านที่ อยู่ไกลในถิ่นประเทศอื่น ซึ่งได้สดับคำประกาศนั้นด้วยพิพย์โสตญาณก็พลันมาโดยอริยฤทธิ์ณ เมืองเวรัญชาในพรรษาที่ ๑๒ นี้ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่ปุจิมัณฑมูล ณ ควงไม้สะเดา ที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต อยู่ใกล้เมืองเวรัญชา จากนั้นเสด็จออกจากเมืองเวรัญชา จาริกผ่านเมืองโสเรยยะ ผ่านเมืองท่าปยาคะ เสด็จออกจากเมืองโสเรยยะ ผ่านเมืองท่าปยายาคะ เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาที่ท่าเมืองปยาคะ แล้วเสด็จไปยังเมืองพาราณสี จากนั้นเสด็จจาริกไปนครเวสาลี เข้าประทับที่กูฏิบัติสำหรับพระภิกษุเป็นประถม กำหนดเป็นปฐมบัญญัติจัดเข้าในอุเทศแห่งพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนา
พรรษาที่ ๑๓- จำพรรษาที่จาลิกบรรพต เมืองจาลิกา เรื่องพระเมฆิยะ
หลังออกพรรษา แสดงมงคลสูตร ๓๘ ประการ
แสดงกรณีเมตตาสูตร เรื่องพระพาหิยะทารุจิริยะ
พระอัญยาโกณฑัญญะทูลลานิพพานพระอัญญาโกณฑัญญะเถระ เดิมชื่อ โกณฑัญญะ เกิดในตระกูลพราหมณ์แห่งบ้านโทณวัตถุ กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ ๘ คน ที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงคัดเลือกให้ทำนายพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะหลัง ประสูติได้ ๕ วัน พราหมณ์ ๗ คนทำนายเป็นสองลักษณะว่า
ถ้าเจ้าชายจะอยู่ครองเพศฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าเสด็จออกผนวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก โกณฑัญญะคนเดียวที่ยืนยันว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะเสด็จออกผนวชและจะได้เป็นพระ ศาสดาแน่นอนเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช โกณฑัญญะจึงชวนบุตรพราหมณ์ ๔ คนคือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะและอัสสชิ ออกบวชตามไปคอยปรนนิบัติพระองค์อยู่ขณะพระองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันสถานที่นี้เรียกว่า ดงคศิริ) ด้วยหวังว่าหลังจากพระองค์ตรัสรู้แล้ว จักได้รับคำสั่งสอนจากพระองค์
แต่เมื่อเห็นว่าพระองค์ทรงเลิกทำทุกรกิริยาคือการอดอาหาร หันมาเสวยพระกระยาหารตามเดิม โกณฑัญญะและสหายทั้งสี่เข้าใจว่าพระองค์ทรงคลายความเพียรเวียนกลับมาเป็นคน มักมากเสียแล้ว ไม่มีโอกาสตรัสรู้ตามที่ตั้งใจแน่ จึงพากันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสีเมื่อพระสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงดำริหาผู้ที่จะรับฟังธรรม ทรงเห็นว่าปัญจวัคคีย์มีพื้นฐานความรู้ที่จะพอเข้าใจได้ จึงเสด็จดำเนินด้วยพระบาทจากพุทธคยาสถานที่ตรัสรู้มุ่งไปยังป่าอิสิปตน มฤคทายวัน หลังจักทรงสามารถทำให้ปัญจวัคคีย์เชื่อว่าพระองค์ได้ตรัสรู้แน่แล้วและ ยินยอมฟังธรรม
พระองค์จึงทรงแสดง "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ให้ฟังในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานั้น โกณฑัญญะ ได้ "ธรรมจักษุ" (ดวงตาเห็นธรรม) คือเข้าใจแจ่มแจ้งตามสภาพความเป็นจริงว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเ้ป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมมีการดับสลายไปเป็นธรรมดา" และบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันพระพุทธองค์ได้ทรงเปล่งอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ" แปลว่า " โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ" อาศัยพระอุทานว่า "อญฺญาสิ" ที่แปลว่า ได้รู้แล้วนั้น คำว่า "อญฺญา" จึงได้กลายมาเป็นคำนำหน้าชื่อท่านว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" แต่บัดนั้นมา
ครั้งท่านโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุแล้ว ก็ได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานอนุญาตให้อุปสมบทด้วยวิธี "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระอัญญาโกณฑัญญะได้เป็นพระสงฆ์รูปแรกและเป็นปฐมสาวกหลังจากพระอัญญาโกณฑัญญะอุปสมบทแล้ว พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเบ็ตเตล็ดโปรดท่านทั้งสี่ที่เหลือตามสมควร แก่อัธยาศัยให้ได้เห็นธรรมและทรงประทานเอหิภิกขุอุปสมบทให้โดยลำดับ ครั้นพระปัญจวัคคีย์ได้อุปสมบทครบทุกรูปแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรโปรดท่านทั้งห้า ซึ่งได้บรรลุอรหัตผลในคราวเดียวกัน
ต่อมา เมื่อพระบรมศาสดาทรงส่งพระสาวกออกประกาศพระศาสนา พระปัญจวัคคีย์ก็ได้จาริกไปบำเพ็ญศาสนกิจในถิ่นต่างๆ เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา เฉพาะพระอัญญาโกณฑัญญะนั้นได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะใน บรรดาภิกษุผู้รัตตัญญูคือ "ผู้มีประสบการณ์มาก" เมื่อพระอัญญาโกณฑัญญะเข้าสู่วัยชรามากแล้ว ท่านได้ทูลลาพระบรมศาสดาไปจำพรรษาอยู่ ณ สระฉัททันต์ ในป่าหิมพานต์ อยู่ที่นั่นได้ ๑๒ ปี จึงปรินิพพานก่อนพุทธปรินิพพาน
พรรษาที่ ๑๔- จำพรรษาที่วัดเชตวัน สาวัตถี
สามเณรราหุลอุปสมบท ตรัสภัทเทกรัตตคาถา แสดงนิธิกัณฑสูตร
หลังออกพรรษา บัญญัติวิธีกรานกฐิน อนุญาตสงฆ์ รับการปวารณาปัจจัยเภสัชเป็นนิตย์
ณ พระเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถีในพรรษานี้พระพุทธเจ้าทรงประทับที่พระเชตวันมหาวิหารเป็นพรรษาแรก มหาวิหารแห่งนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้เป็นมหาอุบาสกคนสำคัญสร้างถวาย เป็นมหาวิหารที่ใหญ่โตยังความสะดวกและความสงบได้ยิ่งกว่าวิหารใดในชมพูทวีป พระพุทธเจ้าทรงประทับพรรษาอยู่ ณ มหาวิหารแห่งนี้ถึง ๑๙ ฤดูฝน พระธรรมส่วนใหญ่แสดงที่มหาวิหารแห่งนี้
พรรษาที่ ๑๕- จำพรรษาที่นิโคธาราม กรุงกบิลพัสดุ์
- เจ้าศากายะถวายสัณฐาคาร แสดงสัปปุริสธรรม ๗ ประการ เรื่องพระเจ้าสุปปพุทธะถูกธรณีสูบลงอเวจี
- หลังออกพรรษา ไม่ปรากฏหลักฐานณ นิโครธาราม นครกบิลพัสดุ์ในพรรษาที่ ๑๕ นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่นิโครธารามอารามที่พระญาติสร้างถวายอยู่ใกล้ นรกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ ที่ได้ว่า "กบิลพัสดุ์" เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส ซึ่งเดิมอยู่ในดงไม้สักกะ หิมพานต์ประเทศ พระราชบุตรและพระราชบุตรี ของพระเจ้าโอกการาชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามว่า "กบิลพัสดุ์" แปลว่า ที่อยู่หรือที่ดินของกบิลดาบส
พรรษาที่ ๑๖
ณ อัคคาฬวเจดีย์วิหาร เมืองอาฬวีในพรรษาที่ ๑๖ นี้ พระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองอาฬวี ทรงแสดงพุทธอิทธานุภาพปราบฤทธิ์เดชของอาฬวกยักษ์ ทรงพยากรณ์แก้ปัญหาที่อาฬวกยักษ์ทูลถาม ทำให้อาฬวกเกิดปัญญาเห็นแจ้งในธรรมสิ้นความโหดร้าย
ตั้งอยู่ในภูมิโสดาปัตติผลมอบตนลงเป็นทาสพระรัตนตรัยตั้งมั่นอยู่ในอริยธรรม ทรงช่วยให้ประชากรชาวเมืองอาฬวีตั้งอยู่ในกัลยาณธรรมให้เป็นสมาบัติปลุกให้ เกิดความเมตตาปรานีกันทั่วหน้า