ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธกิจ ๔๕ พรรษา ของพระสมณโคดม  (อ่าน 12454 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พุทธกิจ ๔๕ พรรษา ของพระสมณโคดม
« เมื่อ: กันยายน 28, 2010, 12:31:26 pm »
0
พุทธกิจ ๔๕ พรรษา ของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระสมณะโคดม)


พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

พุทธกิจ หมายถึง กิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ,
การงานที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำพุทธกิจประจำวัน ในแต่ละวันมี ๕ อย่าง คือ

๑. ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาต ญฺจ เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต

๒. สายณฺเห ธมฺมเทสนํ เวลาเย็นทรงแสดงธรรม

๓. ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ เวลาค่ำประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ

๔. อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ เที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา

๕. ปจฺจูสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ จวนสว่างทรงตรวจพิจารณาสัตว์ที่สามารถและที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควรจะ เสด็จไป โปรดหรือไม่



เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ขณะมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี

การตรัสรู้อริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า)

อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...

ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น

ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา


ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่

๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์


ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป

ในระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ จวบจนทรงดับขันธปรินิพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษานั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ สถานที่ต่างๆ ซึ่งท่านได้ประมวลไว้ พร้อมทั้งเหตุการณ์สำคัญบางอย่างอันควรสังเกตดังนี้



พรรษาที่ ๑
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี



ภายหลังจากพระมหาบุรุษตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แล้วพระองค์ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข คือสุขอันเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลส อาสวะ และปวงทุกข์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เป็นเวลา ๗ สัปดาห์

จากนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินจากโพธมณฑล ดำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี แคว้นกาสี ใช้เวลาเสด็จพุทธดำเนิน ๑๑ วัน เสด็จถึงป่าอิสิปตนฤคทายวันใน เวลาเย็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๘ ปีระกา

- จำพรรษาที่อิสิปตนมฤคทายวัน โปรดปัญจวัคคีย์ สังฆรัตนะ เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก

- โปรดพระยสะ และสหาย ๔๕ คน
ออกพรรษา ให้สาวก ๖๐ รูป มีอำนาจบวชกุลบุตร ได้โดยวิธีให้รับไตรสรณคมน์

- โปรดภัททวัคคีย์ ๓๐ รูป

- โปรดชฎิลสามพี่น้อง บวชเป็นเอหิภิกขุ ๑,๐๐๐ รูป แสดงอาทิตตปริยายสูตรสำเร็จพระอรหันต์ทั้งหมด

- ไปราชคฤห์โปรดชาวเมืองและพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน ถวายวัดเวฬุวันเป็นวัดแรก

- ให้สงฆ์สาวกรับอารามที่มีผู้ถวายได้

- พระอัญญาโกณฑัญญะบวชปุณณมันตานีบุตร ( ลูกน้องสาว ) บรรลุอรหันต์

- ได้ ๒ อัครสาวก อุปติสสะและโกลิตะ บวชบรรรลุเป็นพระอรหันต์

- บวชพระมหากัสสปะโดยรับโอวาท ๓ ข้อ


พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา "ธัมมจักรกัปปนวัตตนสูตร" ทำให้เกิดมีปฐมสาวกและพระอริยบุคคลคือ พระอัญญาโกณฑัญญะเกิดสังฆรัตนะ คำรบพระรัตนตรัย มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขึ้นโดยบริบูรณ์ ในวันเพ็ญเดือน ๘ อันเป็นที่มาขาองการบูชาในเดือน ๘ คือ "อาสาฬหบูชา"

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดปัจจวัคคีย์ ได้บรรลุพระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์ จากนั้นทรงแสดงธรรมโปรดพระยสะภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้าได้บรรลุพระอรหัตถผล ครั้งนั้นมีบุตรเศรษฐีชาวเมืองพารณสี ๔ คน ซึ่งเป็นสหายรักของพระยสะ เข้าเฝ้าฟังธรรมได้อุปสมบท ๕๐ คน ได้สดับธรรมและอุปสมบทได้บรรลุพระอรหัตถผลด้วยกันทั้งหมด จึงเกิดมีพระอรหันต์รวมทั้งพระบรมศาสดาด้วย ๖๐ องค์


ในตอนปลายพรรษาที่ ๑ พระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินไปยังดำบลอุรุเวลา ตำบลใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ อีกครั้งหนึ่งทรงทรมานอุรุเวลากัสสปด้วยอิทิปาฏิหาริย์ต่างๆ จนอุรุเวลกัสสปผู้เป็นคณาจารย์ใหญ่ของนักบวชชฏิล ละทิ้งลัทธิบูชาไฟยอมมอบตัวเป็นพุทธสาวกขอบรรพชา ทำให้ชลิฎผู้น้องอีกสองคนพร้อมบริวารออกบวชตามด้วยทั้งหมด

ครั้นบวชแล้วได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตรจากพระพุทธเจ้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต ทั้งสามพี่น้องคณาจารย์ชฏิลพร้อมด้วยบริวารทั้งหมดรวมหนึ่งพันองค์ จากนั้นพระบรมศาสดาได้เสด็จสู่พระนครราชคฤห์



พรรษาที่ ๒-๓-๔
ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชกฤห์



พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่มอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระนครราชกฤห์ พระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์ผู้ครองพระนครและแคว้นมคธ เข้าเฝ้าพร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนมาก ทรงสดับพระธรรมเทศนา ได้ธรรมจักษุ ประกาศพระองค์เป็นอะบาสกและถวายพระเวฬุวัน

ซึ่งเป็นป่าไผ่สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสาร อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล จากพระนครราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ เป็นที่ร่มรื่นเงียบสงบ มีหนทางไปมาสะดวก พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา

ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ที่ ๒-๓-๔ เป็นลำดับการแห่งการประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นในชมพูทวีป พระบรมศาสดาพร้อมด้วย พระอรหันต์สาวกทรงทุ่มเทจนพระพุทธศาสนาสามารถสถิตตั้งมั่นหยั่งรากลงลึกและ แผ่กิ่งก้านสาขาไปสู่ปริมณฑลด้านกว้างในชมพูทวีป

ในลำดับกาลนี้พระบรมศาสดาได้ทรงตั้งตำแหน่งคู่แห่งอัครสาวกคือ พรสารีบุตรเถระ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย พระพุทธเจ้าทรงเสด็จนครกบิลพัสดุ์ เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้ อนาถบิณฑิกเศรษฐีแห่งนครสาวัตถีประกาศตนเป็นอุบาสก และเริ่มต้นสร้างพระเชตุวันมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระบรมศาสดา

พรรษาที่ ๒
- จำพรรษาที่เวฬุวัน ออกพรรษา เสด็จเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี สอนพระอานนท์ให้สาธยายรัตนสูตร บรรเทาภัยของชาวเมือง พระอานนท์ฟังกถาวัตถุ ๑๐ ประการ ( ของพระปุณณมันตาณีบุตร ) เป็นพระโสดาบัน

พรรษาที่ ๓
- จำพรรษาที่เวฬุวัน ราชคฤหเศรษฐี ขอสร้างเสนาสนะถวายสงฆ์ เป็นที่พำนักถาวร อนุญาตเภสัช ๕ ชนิด และภัตฯ ประเภทต่างๆ อนุญาตการอุปสมบทโดยวิธีญัตติจตุตถกรรม พระสารีบุตรบวชให้ราธะพราหมณ์เป็นรูปแรก อนุญาตวันประชุมสงฆ์ และแสดงธรรมใน ๑๔ คํ่า ๑๕ คํ่า และ ๘ คํ่า ของข้างขึ้นและข้างแรม

พรรษาที่ ๔
-   จำพรรษาที่เวฬุวัน โปรดหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นพระโสดาบัน ถวายชีวกอัมพวันอนุญาตผ้าไตรจีวร ๓ ผืน,ผ้าจีวร ๖ ชนิด ออกพรรษา เทศน์โปรดพุทธบิดา สำเร็จพระอรหันต์และนิพพาน และจุดเพลิงพระบรมศพ



พรรษาที่ ๕
ณ ป่ามหาวัน นครเวสาลี

 

- จำพรรษาที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน นอกเมืองเวสาลี

- พระนางประชาบดี ยอมรับคุรุธรรม ๘ ประการ บวชเป็นภิกษุณีองค์แรก แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์

- พระนางยโสธราบวชในสำนักพระนางประชาบดีเถรี บรรลุเป็นพระอรหันต์

- นางรูปนันทา บวชตามหมู่ญาติ ทรงแสดงฤทธิ์โปรด สำเร็จเป็นพระอรหันต์

- ออกพรรษา เสด็จไปภัททิยนคร แคว้นอังคะ โปรดเมณฑกะเศรษฐี ธนัญชัยเศรษฐี นางวิสาขาและหมู่ญาติ เป็นพระโสดาบัน

- อนุญาตโครสทั้ง ๕ ทรงอนุญาตนํ้าผลไม้ทุกชนิด ( เว้นนํ้ากับเมล็ดนํ้าข้าวเปลือก ) นํ้าใบไม้ทุกชนิด ( เว้นนํ้าผักดอง ) นํ้าดอกไม้ทุกชนิด ( เว้นนํ้าดอกมะซาง ) นํ้าอ้อยสด ทรงอนุญาตให้ฉันผักสดทุกชนิด และของขบฉันที่ทำด้วยแป้ง ให้ฉันผลไม้ได้ทุกชนิด

- แสดงมหาปเทส ๔ สิ่งที่ควรและไม่ควรสำหรับส
งฆ์

ในพรรษานี้ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่กูฏาคาร ณ ป่ามหาวัน นครเวสาลี (ไพศาลี) ในกาลนี้พระองค์ทรงเสด็จจากกูฏาคารไปโปรดพระพุทธบิดาปรินิพานที่กรุงกบิลพัส ดุ์ และโปรดพระญาติทั้งฝ่ายศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ ที่วิวาทเรื่องแย้งน้ำในแม่น้ำโรหิณีเพื่อการเกษตรกรรม

โดยประทับที่นิโครธารามอันเป้ฯพระอารามที่พระญาติทรงสร้างถวายอยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางของพระพุทธเจ้าได้เข้าเฝ้าทูลอนุญาตให้สตรีละเรือนออกบวชในพระธรรม วินัย พระบรมศาสดาตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง
 

ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์กลับไปประทับจำพรรษาที่กูฏาคาร ป่ามหาวัน นครเวสลี ครั้นนี้พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ถึงกับปลงผมนุ่งผ้ากาสวะเอง ออกเดินทางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะ ๕๐๐ องค์มายังป่ามหาวัน

ณ ที่นี้ พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยประทานอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีบวชเป็นภิกษุณีด้วยวิธีรับคุรุธรรม ๘ ประการ ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมดพระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้

 

พรรษาที่ ๖
ณ มกุลบรรพต
- จำพรรษาที่มกุลบรรพต แคว้นมคธ

- ห้ามพระภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์

- ปรารภจะแสดงยมกปาฏิหาริย์เอง

- ออกพรรษา เดียรถีย์สร้างสำนักหลังวัดเชตวัน พระเจ้าปเสนทิโกศล เปลี่ยนเป็นสร้าง
อารามสำหรับภิกษุณี เรียกราชการาม

- เพ็ญเดือน ๘ แสดงยมกปาฏิหาริย์ นอกเมืองสาวัตถี


ในพรรษานี้พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่มกุลพรรพต (สันนิษฐาว่า ภูเขานี้อยู่ในแคว้นมคธหรือแคว้นโกศล หรือบริเวณใกล้เคียง) แต่ใน "ปฐมสมโพธิกถา" ระบุว่า เสด็จไปสถิตบนมกุฎบรรพตทรงทรมานหมู่อสุร เทพยดา และมนุษย์ให้ละเสียพยศอันร้ายแล้วและให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

ในพรรษาที่ ๖ นี้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่นครสาวัตถิคือ การแสดงน้ำคู่กับไฟ เพื่อสยบพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ ในที่สุดแห่งยมกปาฏิหาริย์ ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่พุทธบริษัทเพราะได้เห็นและได้ฟังธรรมเทศนาเป็นอเนก



พรรษาที่ ๗



- จำพรรษาที่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาตลอดไตรมาสจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน เรื่องอังกุรเทพบุตรและอินทกเทพบุตร

- ลงจากชั้นดาวดึงส์ ที่ประตูเมืองสังกัสสะ

- หลังออกพรรษา เสด็จกรุงสาวัตถี
ปรารภเรื่องนางปฏิปูชิกา ภรรยาของมาลาภารีเทพบุตร นางจิญจมาณวิกา ใส่ความพระพุทธเจ้า ถูกธรณีสูบลงอเวจีมหานรก


ณ ดาวดึงส์เทวโลก
เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จสิ้นแล้ว พระบรมศาสดาเสด็จขึ้นเทวพิภพชั้นดาวดึงส์ทันที โดยทรงยกพระบาทขวาขึ้นจากจงกรมแก้วก้าวขึ้นเหยียบยอดภูเขายุคันธร แล้วยกพระบาทซ้ายก้าวขึ้นหยียบยอดเขาสิเนรุ ทรงประทับนั่งบนปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ภายใต้ร่มไม้ปาริชาต

ท้าวสักกะเทวราชจอมภพผู้ปกครองดาวดึงสเทวโลกสวรรค์ชั้นที่ ๒ ป่าสวรรค์ ๖ ชั้น เสด็จขึ้นสู่สุสิตเทวพิภพสวรรค์ชั้นที่ ๔ เข้าเฝ้าพระมหามายาเทพเจ้าผู้เป็นพระพุทธมารดา ทูลอัญเชิญให้เสด็จไปเผ้าพระบรมศาสดาตามพุทธประสงค์

พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาตลอดสามเดือนเทพยาดาในโลกธาตุที่มาประชุมฟัง ธรรมอยู่ที่นั้นบรรลุมรรคผลสุดที่จะประมาณ ส่วนพระมหามายาเทพเจ้าผู้เป็นพระพุทธมาดา ได้ทรงบรรลุพระโสดาปัตติผลสมพระประสงค์ของพระบรมศาสดา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 28, 2010, 12:34:15 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธกิจ ๔๕ พรรษา ของพระสมณโคดม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 28, 2010, 12:48:51 pm »
0


พรรษาที่ ๘
- จำพรรษาที่เภสกฬาวัน ภัคคชนบท บิดาของสิงคาลกมานพบวช บรรลุพระอรหันต์ หลังออกพรรษา บัญญัติสิกขาบทเรื่อง

การผิงไฟของภิกษุ โปรดมาคันทิยาพราหมณ์และภรรยา จนขอบวชทั้ง ๒ คนแล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ นางมาคันทิยาผู้เป็นธิดาผูกจิตอาฆาตในพระศาสดา เศรษฐีโกสัมพี ๓ คนตามไปฟังธรรมที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีบรรลุเป็นพระโสดาบันและได้สร้าง โฆสิตาราม ปาวาริการาม และกุกกุฏาราม ถวายที่โกสัมพี

ณ เภสกลาวัน ใกล้เมืองสุงสุมารคีรี
เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงเปิดโลกเสด็จลีลาลงจาดาวดึงสสวรค์ในท่ามกลางเทพยาดาและพรหมเป็นอันมาก มหาชนทั้งหลายต่างแซ่ซ้องสาธุการเสียงสนั่นหวั่นไหว พระบรมศาสดาทรงเสด็จดำเนินสูป่าไม่สีเสียดใกล้เมืองสุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ ทรงประทับจำพรรษาที่ ๘ ณ ป่าไม้สีเสียดเภสกลาวัน

ในกาลนั้นมีสองสามีภรรยาคฤหบดีชาวเมืองสุงสุมารคีรี มีนามว่านุกุลบิดา และนกุลมารดา เข้าเฝ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่นๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงทรรมโปรดทั้งสองสามีบรรยาได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้ สนิทสนมคุ้นเคย ส่วนท่านนกุลมารดาก็เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกกาผู้สนิทสนมคุ้นเค


พรรษาที่ ๙
- จำพรรษาที่โกสัมพีเรื่องนางสามาวดี ได้เป็นมเหสีพระเจ้าอุเทน ถูกนางมาคันทิยาวางแผนเผาทั้งปราสาทจนตาย

นางสามาวดี
เอตทัคคะในทางผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา


พระนางสามาวดีอุบาสิกาผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของ อุบาสิกาทั้งหลายผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา ก็โดยเหตุ ๒ ประการ คือโดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ เพราะท่านแสดงให้ผู้อื่นเห็นเป็นอย่างชัดเจนในคุณข้อนี้ของท่าน ดังที่พระศาสดาทรงนำเรื่องที่พระนางแผ่เมตตา ห้ามลูกธนูที่พระราชาทรงกริ้วตนได้ เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ไม่เพียงเนื่องจากเหตุข้อนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการแต่งตั้งโดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป

ณ วัดโฆษิตาราม เมืองโกสัมพี

ในพรรษที่ ๙ นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่วัดโฆษิตารามซึ่งเป็นวัดสำคัญในกรุงโกสัมพี นครหลวงของแคว้นวังสะ พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดประชากรให้ตั้งอยู่นมรรคผลเป็นพุทธมามกะ ปฏิญาณตนตั้งอยู่ในพระรัตนตรัยเป็นจำนวนมาก

แต่ในกาลนั้น ภิกษุสงฆ์ในเมืองโกสัมพีเกิดแตกแยกกันแม้พระพุทธเจ้าประทานโอวาทแล้วก็ยัง ดื้อดึงตกลงกันไม่ได้ จนถึงกับแบ่งแยกกันทำอุโบสถ ฝ่ายหนึ่งทำอุโบสถทำสังฆกรรมภายในสีมาแต่อีกฝ่ายหนึ่งออกไปทำอุโบสถทำสัฆ กรรมภายนอกสีมา ภิกษุสงฆ์ได้เกิดการแตกแยกกันขั้นนี้เรียกว่า "สังฆเภท"



พรรษาที่ ๑๐
- จำพรรษาที่รักขิตวัน (ป่าปาริเลยยกะ)อยู่ระหว่างกรุงโกสัมพีกับกรุงสาวัตถี ช้างปาริเลยยกะและวานรถวายอุปัฏฐากพระพุมธองค์ หลังออกพรรษา หมู่สงฆ์ชาวโกสัมพีมาขอขมาต่อพระองค์ ทำให้สังฆสามัคคี

ณ ป่ารักขิตวัน ตำบลปาริเลยยกะ

พระพุทธเจ้าทรงปลีกประองค์จากหมู่สงฆ์ผู้แตกแยกสร้างความวุ่นวายด้วยเหตุ สังฆเภท พระบรมศาสดาเสด็จจากวัดโฆษิตารม กรุงโกสัมพี เสด็จไปยังแดนบ้านแห่งหนึ่งชื่อ "ปาริเลยยกะ" อยู่ใกล้กรุงโกสัมพี พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปประทับ ณ ร่มไม้ภัทรสาละพฤกษ์ในป่ารักขิตวัน ตำบลปาริเลยยกะ ทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๐ ด้วยความสงบสุข โดยมีพญาช้างปาริเลยยกะคอยบำรุงดูแลพิทักษ์และรับใช้พระบรมศาสดาอย่างใกล้ ชิด




พรรษาที่ ๑๑
- จำพรรษาที่หมู่บ้านพราหมณ์ เอกนาลา ใต้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ หลังออกพรรษา ไม่ปรากฏหลักฐาน

ณ ทักขิณาคีรี หมู้บ้านพราหมร์เอกนาลา

ในพรรษาที่ ๑๑ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ ทักขิณาคีรี หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อว่า เอกนาลา
 



พรรษาที่ ๑๒
- จำพรรษาที่ควงไม้สะเดา เมืองเวรัญชา ทรงไม่อนุญาติให้มีการบัญญัติสิกขาบท หลังออกพรรษา เรื่องเอรกปัตตนาคราช

- พระนางปชาบดีเถรี ทูลลานิพพาน ประชุมเพลิง
การอุปสมบท ๘ วิธี

เมื่อกราบบังคมทูลลาเป็นวาระสุดท้ายฉะนี้ สมเด็จพระมหาปชาบดีเถรีก็พาพระภิกษุณีอรหันต์ทั้งหลายเดินทางไปยังภิกขุณู ปัสสยาราม ครั้นถึงแล้วต่างองค์ก็แยกย้ายกันเข้าไปยังห้องอันเป็นที่อยู่แห่งตน กระทำกิจทั้งปวงเช่นจัดเจงที่อยู่ให้ดูเรียบร้อยซึ่งเป็นวิสัยของพระอรหันต์ ก่อนที่จะเข้าสู่พระนิพพาน

พอได้กาลที่กำหนดไว้ สมเด็จพระมหาปชาบดีซึ่งมีคุณใหญ่ พร้อมกับภิกษุณีอรหันต์เหล่านั้นก็เริ่มทำปรินิพพานบริกรรมโดยอธิษฐานเข้า สู่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นลำดับ แล้วถอยกลับไปมาโดยอนุโลมปฏิโลมเป็นฌานกีฬา

วาระสุดท้ายอธิษฐานเข้าสู่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ครั้นออกจากจตุตถฌานแล้ว สมเด็จพระนางแก้วมหาปชาบดีพร้อมกับบรรดาพระภิกษุณีมหาเถรีเจ้าเหล่านั้นก็ ดับขันธ์หันพระพักตร์เข้าสู่พระปรินิพพานทันที

สมเด็จพระชินสีห์เจ้าบรมโลกุตมาจารย์ ทรงทราบเหตุการณ์ด้วยพระญานวิเศษโดยตลอดแล้ว จึงทรงมีพระพุทธฏีกาตรัสกับพระอานนท์ว่า

" ดูก่อนอานนท์! เธอจงไปบอกพระสงฆ์ทั้งปวงให้ทราบจงทั่วกันว่ามารดาของเราตถาคตปรินิพพานในกาลบัดนี้แล้ว"

ได้สดับพระดำรัสองค์สมเด็จพระประทีปแก้วดั่งนี้ ท่านพระอานนท์ซึ่งยังเป็นเสขบุคคล มีกิเลสยังไม่ปราศจากขันธ ก็มิอาจจะกลั้นความโศกาลัยไว้ได้ อัสสุชลไหลโซมพักตร์อยู่พรากๆ เที่ยวอุโฆษณาการแก่พระสงฆ์ทั้งปวงด้วยสรุเสียงอันน่าสงสารว่า

" ข้าแต่พระสงฆ์ทั้งปวง เจ้าข้า! ขอพระสงฆ์ทั้งหลายบรรดาที่อยู่ในทิศทั้งสี่ จงฟังคำของข้าพเจ้าผู้ชื่อว่าอานนท์ คือว่ากาลนี้เป็นกาลอันไม่ควรจะพึงมี แต่ก็ได้ปรากฏมีขึ้นแล้ว ด้วยว่าองค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงมีพระพุทธบัญชาให้ข้าพระเจ้าอานนท์ประกาศว่า

สมเด็จพระมหาปชาบดีเถรีซึ่งมีนามบัญญัติว่าเป็นพระพุทธมาตุจฉา แต่ทรงตั้งอยู่ในฐานะเป็น " พระพุทธมารดา" นั้น บัดนี้ท่านดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานเสียแล้ว ขอพระสงฆ์ทั้งปวงจงพากันไปยังภิกขุณูปัสสยารามอันเป็นที่ที่ท่านนิพพานนั้น โดยเร็วเถิด เจ้าข้า"

บรรดาสงฆ์ทั้งหลายที่ได้ฟังคำประกาศอันน่าสงสารนั้น บางท่านที่อยู่ใกล้ ๆ ต่างก็พากันรีบเดินทางไปสู่ภิกขุณูปัสสยารามเป็นทิวแถวมากมายสำหรับท่านที่ อยู่ไกลในถิ่นประเทศอื่น ซึ่งได้สดับคำประกาศนั้นด้วยพิพย์โสตญาณก็พลันมาโดยอริยฤทธิ์

ณ เมืองเวรัญชา

ในพรรษาที่ ๑๒ นี้ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่ปุจิมัณฑมูล ณ ควงไม้สะเดา ที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต อยู่ใกล้เมืองเวรัญชา จากนั้นเสด็จออกจากเมืองเวรัญชา จาริกผ่านเมืองโสเรยยะ ผ่านเมืองท่าปยาคะ เสด็จออกจากเมืองโสเรยยะ ผ่านเมืองท่าปยายาคะ เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาที่ท่าเมืองปยาคะ แล้วเสด็จไปยังเมืองพาราณสี

จากนั้นเสด็จจาริกไปนครเวสาลี เข้าประทับที่กูฏิบัติสำหรับพระภิกษุเป็นประถม กำหนดเป็นปฐมบัญญัติจัดเข้าในอุเทศแห่งพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนา

พรรษาที่ ๑๓
- จำพรรษาที่จาลิกบรรพต เมืองจาลิกา เรื่องพระเมฆิยะ
หลังออกพรรษา แสดงมงคลสูตร ๓๘ ประการ
แสดงกรณีเมตตาสูตร เรื่องพระพาหิยะทารุจิริยะ

พระอัญยาโกณฑัญญะทูลลานิพพาน
พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ เดิมชื่อ โกณฑัญญะ เกิดในตระกูลพราหมณ์แห่งบ้านโทณวัตถุ กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ ๘ คน ที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงคัดเลือกให้ทำนายพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะหลัง ประสูติได้ ๕ วัน พราหมณ์ ๗ คนทำนายเป็นสองลักษณะว่า

ถ้าเจ้าชายจะอยู่ครองเพศฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าเสด็จออกผนวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก โกณฑัญญะคนเดียวที่ยืนยันว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะเสด็จออกผนวชและจะได้เป็นพระ ศาสดาแน่นอน

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช โกณฑัญญะจึงชวนบุตรพราหมณ์ ๔ คนคือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะและอัสสชิ ออกบวชตามไปคอยปรนนิบัติพระองค์อยู่ขณะพระองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันสถานที่นี้เรียกว่า ดงคศิริ) ด้วยหวังว่าหลังจากพระองค์ตรัสรู้แล้ว จักได้รับคำสั่งสอนจากพระองค์

แต่เมื่อเห็นว่าพระองค์ทรงเลิกทำทุกรกิริยาคือการอดอาหาร หันมาเสวยพระกระยาหารตามเดิม โกณฑัญญะและสหายทั้งสี่เข้าใจว่าพระองค์ทรงคลายความเพียรเวียนกลับมาเป็นคน มักมากเสียแล้ว ไม่มีโอกาสตรัสรู้ตามที่ตั้งใจแน่ จึงพากันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี

เมื่อพระสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงดำริหาผู้ที่จะรับฟังธรรม ทรงเห็นว่าปัญจวัคคีย์มีพื้นฐานความรู้ที่จะพอเข้าใจได้ จึงเสด็จดำเนินด้วยพระบาทจากพุทธคยาสถานที่ตรัสรู้มุ่งไปยังป่าอิสิปตน มฤคทายวัน หลังจักทรงสามารถทำให้ปัญจวัคคีย์เชื่อว่าพระองค์ได้ตรัสรู้แน่แล้วและ ยินยอมฟังธรรม

พระองค์จึงทรงแสดง "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ให้ฟังในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานั้น โกณฑัญญะ ได้ "ธรรมจักษุ" (ดวงตาเห็นธรรม) คือเข้าใจแจ่มแจ้งตามสภาพความเป็นจริงว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเ้ป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมมีการดับสลายไปเป็นธรรมดา" และบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน

พระพุทธองค์ได้ทรงเปล่งอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ" แปลว่า " โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ" อาศัยพระอุทานว่า "อญฺญาสิ" ที่แปลว่า ได้รู้แล้วนั้น คำว่า "อญฺญา" จึงได้กลายมาเป็นคำนำหน้าชื่อท่านว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" แต่บัดนั้นมา

ครั้งท่านโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุแล้ว ก็ได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานอนุญาตให้อุปสมบทด้วยวิธี "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระอัญญาโกณฑัญญะได้เป็นพระสงฆ์รูปแรกและเป็นปฐมสาวก


หลังจากพระอัญญาโกณฑัญญะอุปสมบทแล้ว พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเบ็ตเตล็ดโปรดท่านทั้งสี่ที่เหลือตามสมควร แก่อัธยาศัยให้ได้เห็นธรรมและทรงประทานเอหิภิกขุอุปสมบทให้โดยลำดับ ครั้นพระปัญจวัคคีย์ได้อุปสมบทครบทุกรูปแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรโปรดท่านทั้งห้า ซึ่งได้บรรลุอรหัตผลในคราวเดียวกัน

ต่อมา เมื่อพระบรมศาสดาทรงส่งพระสาวกออกประกาศพระศาสนา พระปัญจวัคคีย์ก็ได้จาริกไปบำเพ็ญศาสนกิจในถิ่นต่างๆ เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา เฉพาะพระอัญญาโกณฑัญญะนั้นได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะใน บรรดาภิกษุผู้รัตตัญญูคือ "ผู้มีประสบการณ์มาก"

เมื่อพระอัญญาโกณฑัญญะเข้าสู่วัยชรามากแล้ว ท่านได้ทูลลาพระบรมศาสดาไปจำพรรษาอยู่ ณ สระฉัททันต์ ในป่าหิมพานต์ อยู่ที่นั่นได้ ๑๒ ปี จึงปรินิพพานก่อนพุทธปรินิพพาน

พรรษาที่ ๑๔
- จำพรรษาที่วัดเชตวัน สาวัตถี
สามเณรราหุลอุปสมบท ตรัสภัทเทกรัตตคาถา แสดงนิธิกัณฑสูตร
หลังออกพรรษา บัญญัติวิธีกรานกฐิน อนุญาตสงฆ์ รับการปวารณาปัจจัยเภสัชเป็นนิตย์

ณ พระเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี

ในพรรษานี้พระพุทธเจ้าทรงประทับที่พระเชตวันมหาวิหารเป็นพรรษาแรก มหาวิหารแห่งนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้เป็นมหาอุบาสกคนสำคัญสร้างถวาย เป็นมหาวิหารที่ใหญ่โตยังความสะดวกและความสงบได้ยิ่งกว่าวิหารใดในชมพูทวีป พระพุทธเจ้าทรงประทับพรรษาอยู่ ณ มหาวิหารแห่งนี้ถึง ๑๙ ฤดูฝน พระธรรมส่วนใหญ่แสดงที่มหาวิหารแห่งนี้
 



พรรษาที่ ๑๕
- จำพรรษาที่นิโคธาราม กรุงกบิลพัสดุ์

- เจ้าศากายะถวายสัณฐาคาร แสดงสัปปุริสธรรม ๗ ประการ เรื่องพระเจ้าสุปปพุทธะถูกธรณีสูบลงอเวจี

- หลังออกพรรษา ไม่ปรากฏหลักฐาน


ณ นิโครธาราม นครกบิลพัสดุ์

ในพรรษาที่ ๑๕ นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่นิโครธารามอารามที่พระญาติสร้างถวายอยู่ใกล้ นรกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ ที่ได้ว่า "กบิลพัสดุ์" เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส ซึ่งเดิมอยู่ในดงไม้สักกะ หิมพานต์ประเทศ พระราชบุตรและพระราชบุตรี ของพระเจ้าโอกการาชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามว่า "กบิลพัสดุ์" แปลว่า ที่อยู่หรือที่ดินของกบิลดาบส




พรรษาที่ ๑๖
ณ อัคคาฬวเจดีย์วิหาร เมืองอาฬวี


ในพรรษาที่ ๑๖ นี้ พระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองอาฬวี ทรงแสดงพุทธอิทธานุภาพปราบฤทธิ์เดชของอาฬวกยักษ์ ทรงพยากรณ์แก้ปัญหาที่อาฬวกยักษ์ทูลถาม ทำให้อาฬวกเกิดปัญญาเห็นแจ้งในธรรมสิ้นความโหดร้าย

ตั้งอยู่ในภูมิโสดาปัตติผลมอบตนลงเป็นทาสพระรัตนตรัยตั้งมั่นอยู่ในอริยธรรม ทรงช่วยให้ประชากรชาวเมืองอาฬวีตั้งอยู่ในกัลยาณธรรมให้เป็นสมาบัติปลุกให้ เกิดความเมตตาปรานีกันทั่วหน้า
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธกิจ ๔๕ พรรษา ของพระสมณโคดม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 28, 2010, 12:59:11 pm »
0

พรรษาที่ ๑๗
- จำพรรษาที่วัดเวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ นี้ พระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปประทับจำพรรษา ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์ อันเป็น สังฆารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง

- พระทัพพมัลลบุตรทูลลานิพพาน

- หลังออกพรรษา เรื่องพระวักกลิ


วัดเวฬุวันมหาวิหาร หรือ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เป็นอาราม (วัด) แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล)

คำว่า เวฬุวัน แปลว่า สวนไผ่ เดิมอารามแห่งนี้เป็นพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แคว้นมคธ ตั้งอยู่นอกเมืองราชคฤห์ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารเข้าไปเฝ้า หลังจากทรงสดับธรรมแล้วทรงเลื่อมใสจึงถวายสวนเวฬุวันเป็นพุทธบูชา

ด้วยทรงเห็นว่าเป็นที่สงบร่มรื่น เหมาะสำหรับอยู่บำเพ็ญธรรมของพระสงฆ์ ถือกันต่อมาว่าสถานที่นี้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า วัดเวฬุวันมหาวิหาร นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสาวก จำนวน 1,250 รูป แล้วส่งไปเป็นพระธรรมทูตประกาศพระศาสนา อันเป็นที่มาของวันมาฆบูช

วัดเวฬุวันมหาวิหาร ปัจจุบันยังคงอยู่ เป็นซากโบราณสถานในสวนไผ่ที่ร่มรื่น มีสระน้ำขนาดใหญ่ภายใน มีรั้วรอบด้าน อยู่ในความดูแลของทางราชการอินเดีย




พรรษาที่ ๑๘
- จำพรรษาที่จาลิกบรรพต เมืองจาลิกา
- หลังออกพรรษา เสด็จเมืองอาฬาวีครั้งที่ ๒ โปรดธิดาช่างหูกบรรลุโสดาปัตติผล
ช่างหูกผู้เป็นบิดาขอบวชสำเร็จอารหัตตผล ตรัสอริทรัพย์ ๗ ประการ

ธนสูตรที่ ๒
เล่มที่ ๒๓
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
ทรัพย์ คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือ ศรัทธาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เอง โดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศรัทธา ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือ ศีลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า ทรัพย์คือ ศีล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือหิริเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือหิริ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือ โอตตัปปะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือ โอตตัปปะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือ สุตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือ จาคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการจำแนกทาน นี้เรียกว่า ทรัพย์คือจาคะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือ ปัญญาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิด และความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือปัญญา


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ฯ
ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ และปัญญาเป็นที่ ๗
ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือ ชายก็ตาม บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๖




พรรษาที่ ๑๙
- จำพรรษาที่จาลิกบรรพต เขตเมืองจาลิกา ออกพรรษา เรื่องโปรดโจรองคุลีมาล เรื่องสันตติมหาอำมาตย์บรรลุอรหัตตผลแล้วนิพพาน




พรรษาที่ ๒๐
- จำพรรษาที่เวฬุวัน เมืองราชคฤห์
พระอานนท์ได้เป็นอุปัฏฐากประจำพระองค์ พระอานนท์ทูลขอพร ๘ ประการ
ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์

พร ๘ ประการที่พระอานนท์ทูลขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๑.อย่าให้พระพุทธเจ้าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์

๒.อย่าให้พระพุทธเจ้าประทานอาหารอันประณีตแก่ข้าพระองค์

๓.อย่าโปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระพุทธเจ้า

๔.เวลาพระพุทธเจ้าเสด็จไปในที่นิมนต์ก็ไม่ต้องพาข้าพระองค์ไป

๕.เมื่อข้าพระองค์รับนิมนต์ที่ไหนไว้ ก็ขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปสงเคาระห์แก่ผู้นิมนต์ในที่นั้น

๖.เมื่อพุทธบริษัท ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือแม้แต่คนที่ยังไม่ได้นับถือพุทธศาสนาต้องการจะมาเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ขอให้ ข้าพระองค์นำคนเหล่านั้นเข้าเฝ้าตามต้องการ

๗.หากข้าพระองค์เกิดความข้องใจสงสัยในเรื่องอะไรขึ้นมาขอให้ข้าพระองค์มีโอกาสเข้าเฝ้ากราบทูลถามปัญหาได้เมื่อนั้น

๘.เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องอะไรในขณะที่ข้าพระองค์ไม่ได้ ฟังอยู้ด้วย ขอพระพุทธเจ้าแสดงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์อีกครั้งหนึ่ง


ในพรรษานี่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จกลับมาประทับจำพรรษา ณ สังฆารามแห่งแรกนี้เป็นการประทับจำพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ณ พระเวฬุวันวิหาร พระบรมศาสดาทรงโปรดองคุลิมาลโจรให้กลับใจได้ขอบวชและต่อมาก็ได้สำเร็จพระอรหัตน์ ในลำดับกาลพรรษานี้ พระอานนท์ได้รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำพระองค์พระพุทธเจ้า




พรรษาที่ ๒๑-๔๔
- จำพรรษาที่วัดเชตวัน วัดบุพพาราม สลับกันไปหลังออกพรรษาที่จาริกไปตามตำบลต่างๆ เพื่อโปรดเวไนยสัตว์

- พรรษาที่ ๒๑ จำที่วัดบุพพาราม สาวัตถี พระองทรงแสดงโอวาทปาฏิโทกข์ในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ครั้งแรก

- พรรษาที่ ๒๖ พระราหุลนิพพาน

- พรรษาที่ ๓๗ เทวทัตคิดปกครองสงฆ์ วางแผนปลงพระชนม์พระศาสดา ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสาร พระเทวทัตถูกธรณีสูบ


- พรรษาที่ ๓๘ แสดงสามัญญผลสูตรแก่อชาติศัตรู อชาติศัตรูแสดงตนเป็นพุทธมามกะ กรุงสาวัตถี อำมาตย์ก่อการขบถ
พระเจ้าปเสนทิโกศลสิ้นพระชนม์ พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่าล้างวงศ์ศากยะ พระเจ้าวิฑูฑภะสิ้นพระชนม์

- พรรษาที่ ๔๓ พระยโสธราเถรีนิพพาน

- พรรษาที่ ๔๔ แสดงธรรมใที่วัดเชตวัน ตอบปัญหาเทวดา หลังออกพรรษา พระสารีบุตรทูลลานิพพาน พระสารีบุตรโปรดมารดาจนบรรลุโสดาปัตติผลพระสารีบุตรนิพพาน พระโมคคัลลานะถูกโจรที่เดียรถีย์จ้างมาทำร้าย พระโมคคัลลานะนิพพาน นางอัมพปาลีถวายอาราม นางอัมพปาลีบรรลุธรรม

 



พรรษาที่ ๔๕
ณ เวฬุวคาม ใกล้นครเวสาลี

- พรรษาที่ ๔๕ ภิกษุจำพรรษารอบกรุงเวสาลี ตรัสอานุภาพอิทธิบาท ๔ ทรงปลงอายุสังขาร ตรัสโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
นายจุลทะถวายสุกรมัททวะ ตรัสถึงสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง วิธีปฏิบัติกับพุทธสรีระปัจฉิมโอวาทแก่ภิกษุ เสด็จปรินิพพาน

ในพรรษาสุดท้ายนี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่ตำบล เวฬุวคาม ใกล้นครเวสาลี แคว้นวัชชี พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์เป็นครั้งสุดท้ายและทรงปลงอายุ สังขาร ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ณ ปาวาลเจดีย์ ว่าพระตถาคตจักปรินิพพานแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน

ในกาลนั้น เป็นเวลาใกล้ค่ำของวันเพ็ญ เดือน ๖ พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา พระบรมศาสดาทรงรับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดที่บรรทมระหว่างต้นสาละใหญ่ ๒ ต้น ทรงเอนพระวรกายลงโดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ประทับไสยาสน์ แบบสีหไสยาเป็นอนุฏฐานไสยา คือการนอนครั้งสุดท้ายไม่แปรเปลี่ยนจนกระทั่งสังขารดับ

ครั้งนั้น ต้นสาละทั้งคู่พลันผลิดอกออกบานเต็มต้น ร่วงหล่นลงมายังพระพุทธสรีระบูชาพระตถาคตเจ้าเป็นอัศจรรย์ แม้ดอกมณฑาในเมืองสวรรค์ตลอดจนทิพยสุคนธชาติก็ตกลงมาจากอากาศยังเทพเจ้าทั้ง หลายก็ประโคมดนตรีทิพย์บันลือลั่นเป็นมหานฤนาท บูชาพระตถาคตในอวสานกาล

ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าได้ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "อานนท์ เมื่อตถาคตปรินิพานและหากจะมีภิกษุบางรูปดำริว่า พระศาสนาของเราปรินิพพานแล้ว อานนท์ท่านทั้งหลายไม่ควรดำริอย่างนั้นไม่ควรเห็นอย่างนั้น แท้จริง วินัยที่เราได้บัญญัติแก่ท่านทั้งหลายก็ดี เมื่อเราล่วงไป ธรรมและวินัยนั้นๆ แลจักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย"

ลำดับต่อมา พระบรมศาสดาได้ประทานปัจฉิมโอวาทความว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั่งหลายจงบำเพ็ญไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิปัญญา ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสพระโอวาทประทาน เป็นวาระสุดท้ายเพียงเท่านี้แล้วก็หยุด มิได้ตรัสอะไรอีกเลย ทรงทำปรินิพพานบริกรรมด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ โดยอนุโลมลำดับ จนกระทั่งทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติที่ ๙

จากนั้นทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ถอยออกจากสมาบัตินั้น โดยปฏิโลมเป็นลำดับจนถึงปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน และทรงเข้าทุติยฌาน อีกวาระหนึ่ง ออกจากทุติยฌานแล้วทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้วทรงเข้าจตุตถฌาน

เมื่อออกจากจตุตถฌานแล้ว พระพุทธเจ้าก็เสด็จปรินิพาน ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีสาขปรุณมี เพ็ญ เดือน ๖ มหามงคลสมัย ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้วก็บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินไหวสั่นกลอง ทิพย์บัยลือลั่น กึกก้องสัททสำเนียงเสียงสนั่นในอากาศเป็นมหาโกลาหลในปัจฉิมกาล ดอกไม้ทิพย์มณฑารพ ดอกไม้ในเมืองสวรรค์ ตกโปรยปรายละลิ่วลงมาจากฟากฟ้า ดาดาษทั่วนครกุสินารา พร้อมกับขณะเวลาปรินิพพานของสมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลก


ที่มา   http://www.baanmaha.com/community/thread29145.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 28, 2010, 01:03:32 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ