« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2013, 01:36:57 am »
0
# อย่างแรกที่คุณควรเข้าใจก่อนคือ ฌาณ คือ สมาธิ นั่นเอง
- เป็นสภาวะที่มีจิตตั้งมั่นชอบเป็นกุศล ส่งต่อให้เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ(ความรู้ ความเห็นตามความเป็นจริง) คือเห็นในองค์วิปัสนาตามจริง
1. ตั้งเจตนาไม่ทำร้ายเบียดเบียน ไม่ผูกจองเวร พยาบาท ทางกาย-วาจา-ใจต่อผู้อื่น สัตว์อื่น สิ่งอื่น และ ตนเอง
* หากคุณทำได้..คุณก็จะมีความไม่ร้อนใจเป็นอานิสงส์
2. เจริญจิตให้เป็นกุศลอยู่เป็นประจำ คือ
- ระลึกถึงแต่สิ่งที่ดีงามที่ทำำให้จิตใจเราผ่องใส เบิกบาน เป็นสุข ไม่เศร้ามองมัวใจ โดยปราศจากความติดใจเพลิดเพลินปารถนาใคร่ตาม กำหนัดยินดี ที่ได้ทำมาแล้ว หรือ ที่เราควรจะทำในปัจจุบันและภายภาคหน้า
- ระลึกถึงแต่สิ่งที่ดีงามที่ทำำให้จิตใจเราผ่องใส เบิกบาน เป็นสุข ไม่เศร้ามองมัวใจ โดยปราศจากขุ่นมัวขัดเคืองใจ ที่ได้ทำมาแล้ว หรือ ที่เราควรจะทำในปัจจุบันและภายภาคหน้า
* หากคุณทำได้ จะส่งผลให้ความคิด-พูด-ทำของคุณก็จะมีแต่กุศล มีความชื่นบานใจเป็นอานิสงส์
3. เจริญกาย วาจา ใจให้เป็นกุศล คงกุศลไว้ และ รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อมตลอดเวลา
- เพื่อบ่มจิตให้มีความปารถนาดีต่อผู้อื่นอยากให้ผู้อื่นเป็นสุข
- เพื่อบ่มจิตให้มีความเอื้อเฟื้อแบ่งปันสิ่งที่ดีงานเป็นประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น
- เพื่อบ่มจิตให้มีความรู้จักสละให้
- เพื่อบ่มจิตให้มีความยินดีเมื่อผู้อื่นเป็นสุข
- เพื่อบ่มจิตให้มีความรู้ว่าควรอดโทษ รู้ว่าควรอดใจไว้ รู้ว่าควรละไว้ รู้ว่าควรปล่อย รู้ว่าควรวาง
- เพื่อบ่มจิตให้มีความรู้วางใจไว้กลางๆไม่เอาความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดีจากการรู้อารมณ์ใดๆมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต
* หากคุณทำได้คุณก็จะมิความอิ่มใจ ปลื้มใจ ก่อให้เกิดความสงบผ่องใส ผ่อนคลาย
# เจริญทั้ง 3 ข้อนี้เป็นประจำควบคู่ไปกับการปฏิบัติกรรมฐานที่ พระอาจารย์ หรือ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สั่งสอนชี้แนะมาดีแล้วนั้น จิตคุณก็จะตั้งมั่นง่าย แม้นอนก็เป็นสุข แม้ตื่นก็เป็นสุข ไม่มีความร้อนรนใจ ไปที่ใดก็เป็นสุข เข้าสัมมาสมาธิได้ง่าย โดยไม่หลงเข้าไประลึกผิด และ จิตตั้งมั่นผิด
ขอเสริมเล็กน้อยน่ะครับเพื่อจะบอกคนที่อยากมีฌาณ มีญาณมากจนปฏิบัติไม่ได้ มีแต่ความร้อนรุ่มใจแทนความพ้นทุกข์ดังนี้ครับ
- สมาธิของผู้ปฏิบัติในพระธรรมวินัยของตถาคตนี้ ไม่ได้มีเพื่อคุณวิเศษ ฤทธิ์ เดชใดๆนะครับ หากปารถนาคุณวิเศษ ฤทธิ์ เดชใดๆในพระธรรมวินัยของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ตถาคตตรัสว่าไม่มีให้ครับ ต้องไปหาเอาที่อื่นหรือไปเข้าลัทธิอื่น เพราะตถาคตมีแต่ทางพ้นทุกข์ให้ครับ ในพระสูตรก็มีเขียนไว้ในเรื่องนี้ ไม่ใช่ว่าผมพูดลอยๆ
- ทีนี้ผู้ปฏิบัติที่ไปสำคัญมั่นหมายตามความพอใจยินดี จนปารถนาทะยานอยากใคร่ได้ที่จะเสพย์ในสภาพฌาณใดๆนั้น ก็ควรละเสียนะครับ เพราะมันเป็นตัณหา จนกลายเป็นอุปาทานนั้นเสียแล้ว
- ที่ว่าอุปาทานนี่ กล่าวว่า
๑. เพราะเข้าไปยึดถือมั่นในเวทนาขันธ์ คือ ความรุ้เสยอารมณ์ว่า..ฌาณมันทำให้ตนเป็นสุข ไม่มีฌาณมันก็เป็นทุกข์ จนเกิดเป็นความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาขึ้นมา กลายเป็นตัวเป็นตัวเป็นตนไป
๒. เพราะเข้าไปยึดถือมั่นในสัญญาขันธ์ คือ ความจำได้ จำไว้ สำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจว่า..ฌาณมีคุณอย่างนี้ มีฤทธิ์อย่างนี้จนเกิดเป็นความยึดมั่นถือมั่นในสัญญาขึ้นมา กลายเป็นตัวเป็นตัวเป็นตนไป
๓. เพราะเข้าไปยึดถือมั่นในสังขารขันธ์ คือ ความปรุงแต่งจิต สิ่งที่เกิดประกอบกับจิต ฌาณจิต ก็คือ สังขารขันธ์ตัวหนึ่งเท่านั้น เมื่อเข้ายึดมั่นถือมั่นเอาว่าพอใจยินดีในสภาวะฌาณว่ามันดี มีค่า เลิศเลอ เพอร์เฟค ไม่มีก็ไม่เหมือนคนอื่น จนเกิดเป็นความยึดมั่นถือมั่นในสังขาร จนเกิดเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา แทนที่จะเป็นเพียงสภาพที่ปรุงแต่งจิตที่เอื้อประโยชน์ในการรู้เห็นในวิปัสนาเท่านั้น
- ดังนั้นขอท่านผู้เริ่มปฏิบัติทั้งหลายพึงอย่าเข้าไปหลง ยิ่งหลงยิ่งห่าง พึงปฏิบัติธรรมโดยตั้งเจตนามั่นว่าเราศึกษาปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อมีฤทธิ์ เดช ใดๆ สิ่งเหล่านี้เมื่อมันจะได้ก็ได้เอง เมื่อมันจะเต็มมันก้เต็มเอง ไปบังคับไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่่เรา ไม่่ของเรา ยิ่งปารถนาในสิ่งไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนมากเท่าไหร่ แทนที่จะเจอทางพ้นทุกข์ ยิ่งกลับทำให้ทุกข์มากเท่ากับแรงปารถนานั้นๆ
- ขอให้เจริญในธรรมครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 06, 2013, 01:41:11 am โดย Admax »

บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ