ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การใช้คำบริกรรมว่า "พุทโธ" มีมาตั้งแต่สมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า  (อ่าน 4718 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


การใช้คำบริกรรมว่า "พุทโธ" มีมาตั้งแต่สมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า
ทีปังกรพุทธวงศ์ที่ ๑ ว่าด้วยพระประวัติพระทีปังกรพุทธเจ้า

     สมัยนั้น เราออกจากอาศรมของตนแล้ว สลัดผ้าคากรองเหาะไปในอัมพรได้เห็นหมู่ชนผู้มีจิตโสมนัส ยินดี ร่าเริงเบิกบานใจ จึงลงจากอากาศมาถามมนุษย์ทั้งหลายในขณะนั้นว่า มหาชนผู้มีจิตโสมนัสยินดี ร่าเริง เบิกบานใจ ช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับเดินเพื่อใครชนเหล่านั้นอันเราถามแล้วบอกว่า พระพุทธชินเจ้าผู้ยอดเยี่ยมเป็นนายกของโลก พระนามว่าทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก

     ชนทั้งหลายช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับเดินเพื่อพระองค์ ขณะนั้นปีติเกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้ฟังคำว่า พุทโธ เราจึงกล่าวประกาศความโสมนัสว่า พุทโธ พุทโธ เราทั้งยินดีทั้งสลดใจยืนคิดอยู่ ณ ที่นั้นว่าเราจะปลูกพืชคือบุญลงในที่นี้ขณะอย่างได้ล่วงไปเสียเลย แล้วกล่าวว่า
     ถ้าท่านทั้งหลายช่วยกันถางทางเพื่อพระพุทธเจ้า
     ขอจงให้โอกาสหนึ่งแก่ข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าก็จะช่วยแผ้วถางทางเสด็จดำเนิน
     ในกาลนั้นชนเหล่านั้นได้ให้โอกาสเพื่อการถางทางแก่เรา





     ครั้งนั้น เราถางทางไปพลางคิดไปพลางว่า พุทโธ พุทโธ
    เมื่อเราทำยังไม่ทันเสร็จ พระมหามุนีทีปังกรชินเจ้ากับพระขีณาสพสี่แสนผู้ได้อภิญญา๖ ผู้คงที่ปราศจากมลทินก็เสด็จมาถึง การต้อนรับย่อมเป็นไป คนเป็นอันมากประโคมกลองเภรี มนุษย์และเทวดาต่างก็มีใจเบิกบานเปล่งเสียงสาธุการ

     เทวดาก็เห็นมนุษย์ มนุษย์ก็เห็นเทวดา มนุษย์และเทวดาทั้งสองพวกนั้น พากันประนมอัญชลีเดินตามพระตถาคตพวกเทวดาเอาดนตรีทิพย์มาประโคม พวกมนุษย์เอาดนตรีมนุษย์มาประโคม เดินตามพระตถาคตมาทั้งสองพวก

     ทวยเทพผู้อยู่ในอากาศต่างก็โปรยปรายดอกมณฑารพดอกปทุม ดอกปาริชาตทิพย์ ลงยังทิศน้อยทิศใหญ่และโปรยลงซึ่งกระแจะจันทน์ และของหอมอย่างดีล้วนแต่เป็นของทิพย์ลงยังทิศน้อยทิศใหญ่
     พวกมนุษย์ผู้ที่อยู่บนพื้นดิน ก็โปรยดอกจำปา ดอกช้างน้าว ดอกประดู่ ดอกกากะทิง ดอกบุนนาค ดอกการเกตลงยังทิศน้อยทิศใหญ่





    เราสยายผม แล้วเอาผ้าคากรองและหนังสัตว์ลาดลงบนเปือกตม นอนคว่ำลง ณ ที่นั้น ด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก จงทรงเหยียบเราเสด็จไปเถิด อย่าทรงเหยียบเปือกตมนั้นเลย ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา เมื่อเรานอนอยู่ที่พื้นดิน ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เรา(มิได้)ปรารถนาว่า วันนี้ พระพุทธเจ้าพึงทรงเผากิเลสของเราประโยชน์อะไรแก่เราด้วยเพศที่ใครๆไม่รู้จัก และด้วยการทำให้แจ้งซึ่งธรรม ณ ที่นี้ เราพึงบรรลุสัพพัญญุตญาณหลุดพ้นแล้ว พึงเปลื้องหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาให้หลุดพ้นเถิด

     ประโยชน์อะไร ด้วยเราผู้เป็นคนมีกำลังจะข้ามไปคนเดียวเล่า เราบรรลุสัพพัญญุตญาณได้ และจะช่วยหมู่ชนให้ข้ามได้เป็นอันมาก ด้วยอธิการที่เราทำแล้วในพระพุทธเจ้านี้ เราตัดกระแสสงสารกำจัดภพทั้ง ๓ ขึ้นสู่เรือคือธรรมแล้ว จักช่วยหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาให้ข้ามได้





     พระพุทธทีปังกรผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชาประทับยืนอยู่เหนือศีรษะเรา ตรัสพระดำรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดูชฎิลดาบสผู้มีตบะอันรุ่งเรืองนี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลกในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้
     พระตถาคตชินเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระเกียรติยศมากจักเสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์
     จักทรงบำเพ็ญความเพียรทำทุกกรกิริยา แล้วเสด็จไปประทับนั่งที่ควงไม้อชปาลนิโครธทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา พระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จดำเนินตามทางราบเรียบที่เขาตกแต่งไว้ไปที่ควงไม้โพธิพฤกษ์ แต่นั้นทรงทำประทักษิณโพธิมณฑลอันยอดเยี่ยมแล้ว จักตรัสรู้ที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์


      ans1 ans1 ans1

    พระมารดาบังเกิดเกล้าของพระตถาคตพระองค์นี้จักมีพระนามว่ามายา พระบิดามีพระนามว่าสุทโธทนะ
     พระตถาคตนี้จักมีพระนามว่าโคดม พระตถาคตพระองค์นั้น จักมีพระอัครสาวกผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะมีจิตสงบระงับมั่นคงนามว่าโกลิตะ และอุปปติสสะ
     ภิกษุอุปฐากมีนามว่าอานนท์ จักบำรุงพระพิชิตมารนี้
     จักมีอัครสาวิกาผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะมีจิตสงบระงับ มั่นคง นามว่าเขมาและอุบลวรรณา

     ไม้โพธิของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ประชาชนเรียกว่าอัสสัตถพฤกษ์
     จิตตคฤหบดี หัตถกคฤหบดีชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ
     นันทมารดาและอุตตราอุบาสิกา จักเป็นอุปัฏฐายิกาผู้เลิศ
     พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี ฯลฯ...



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๖๘๗๔ - ๗๒๖๓. หน้าที่ ๒๙๕ - ๓๑๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=6874&Z=7263&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=182
ขอบคุณภาพจาก
http://www.dhammajak.net/
http://203.146.215.36/
http://www.bloggang.com/
http://cotto.co.th/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 15, 2013, 12:10:28 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เชื่อว่า พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ อุปสมานุสสติ เป็นกรรมฐาน ที่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ก็ทรงสอน เพราะเป็น กรรมฐานที่ไม่มีในศาสนาอื่น ๆ

 st11 st12
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
    เราสยายผม แล้วเอาผ้าคากรองและหนังสัตว์ลาดลงบนเปือกตม นอนคว่ำลง ณ ที่นั้น ด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก จงทรงเหยียบเราเสด็จไปเถิด อย่าทรงเหยียบเปือกตมนั้นเลย ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา เมื่อเรานอนอยู่ที่พื้นดิน ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เรา(มิได้)ปรารถนาว่า วันนี้ พระพุทธเจ้าพึงทรงเผากิเลสของเราประโยชน์อะไรแก่เราด้วยเพศที่ใครๆไม่รู้จัก และด้วยการทำให้แจ้งซึ่งธรรม ณ ที่นี้ เราพึงบรรลุสัพพัญญุตญาณหลุดพ้นแล้ว พึงเปลื้องหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาให้หลุดพ้นเถิด

     ประโยชน์อะไร ด้วยเราผู้เป็นคนมีกำลังจะข้ามไปคนเดียวเล่า เราบรรลุสัพพัญญุตญาณได้ และจะช่วยหมู่ชนให้ข้ามได้เป็นอันมาก ด้วยอธิการที่เราทำแล้วในพระพุทธเจ้านี้ เราตัดกระแสสงสารกำจัดภพทั้ง ๓ ขึ้นสู่เรือคือธรรมแล้ว จักช่วยหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาให้ข้ามได้


 st12          :)          st12          :86:          st12          :67:          st12
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา