ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘การศึกษาสงฆ์’ เฟืองจักรสืบต่อพุทธศาสนา  (อ่าน 2100 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29345
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


‘การศึกษาสงฆ์’ เฟืองจักรสืบต่อพุทธศาสนา

ในประเทศที่เรียกตัวเองว่าเมืองแห่งพระพุทธศาสนา โดยทั่วโลกยกย่องว่า ให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลกอย่างประเทศไทยนี้หลายฝ่ายก็เฝ้าจับตามอง ทิศทางการพัฒนา รวมถึงการนำหลักพระพุทธศาสนา

ในประเทศที่เรียกตัวเองว่าเมืองแห่งพระพุทธศาสนา โดยทั่วโลกยกย่องว่า ให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลกอย่างประเทศไทยนี้หลายฝ่ายก็เฝ้าจับตามอง ทิศทางการพัฒนา รวมถึงการนำหลักพระพุทธศาสนามาเผยแผ่สู่การปฏิบัติของประชาชน

สิ่งสำคัญที่จะทำให้การเผยแผ่มีคุณภาพคือ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร หากศาสนทายาทเหล่านี้ไม่มีความรู้ที่ถูกต้องตามหลักคำสอนแล้ว ย่อมจะเกิดความคลอนแคลนต่อพระพุทธศาสนาก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นพระขาดอาจาระที่สมควร หรือแม้แต่พุทธศาสนิกชน ขาดศีลธรรมในจิตใจ

การศึกษาสงฆ์จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยหนุนนำให้พระภิกษุสงฆ์ สามเณร มีคุณภาพซึ่งการศึกษาที่มีส่วนสำคัญที่สุด คือ การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลีและสามัญศึกษา ทั้ง 3 ส่วนสามเณร และพระภิกษุสงฆ์จะต้องเรียนรู้ควบคู่กันไปเพื่อให้มีความรู้ทั้งทางโลก และทางธรรม  ความรู้ในส่วนทางธรรม คือ แผนกบาลีถือเป็น หัวใจของการเป็นพระภิกษุ สามเณร  เพราะการศึกษาพระไตรปิฎก พระสงฆ์ สามเณร จะต้องมีความรู้ด้านภาษาบาลีซึ่งทางคณะสงฆ์ได้ส่งเสริมให้มีการเรียนและการสอบบาลี หรือเรียกว่าการสอบบาลีสนามหลวง ตั้งแต่ประโยค 1-2 จนกระทั่งถึงประโยคเปรียญธรรม (ป.ธ.) 9 ประโยค ถือว่า เป็นความรู้สูงสุดของคณะสงฆ์ แต่การที่จะผ่านแต่ละประโยคก็ไม่ใช่เรื่องง่ายการที่จบ ป.ธ.9 จึงถือว่าเป็นหัวกะทิ และได้รับการยกย่องสูงสุดจากพระมหากษัตริย์หากเป็นเณรจะได้เป็นนาคหลวง หากเป็นพระ ก็จะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์



ในอีกมุมของการศึกษาคือ แผนกธรรม จะเป็นที่ได้รับความนิยมชมชอบจากพระสงฆ์ สามเณร รวมถึงฆราวาสในการวัดความรู้ทางพระพุทธศาสนา ถ้าพระจะมี 3 ระดับ นักธรรมตรี โท เอก ส่วนฆราวาส จะเรียกว่าธรรมศึกษาตรี โท และเอก ขณะที่แผนกสามัญศึกษา เป็นเหมือนโรงเรียนสำหรับสามเณร จะสอนวิชาสามัญเหมือนทางโลกตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะไม่ยากเหมือนกับการเรียนบาลีที่สำคัญเมื่อเรียนจบสามารถนำวุฒิที่ได้ไปใช้ในทางโลกได้ด้วย ทำให้พระภิกษุสามเณรบางรูป ที่เรียนจบแล้ว ก็สึกไปเป็นฆราวาสส่งผลให้คณะสงฆ์มีข้อห่วงใยถึงการขาดศาสนทายาทในอนาคต แต่ถึงกระนั้นอีกมุมมองหนึ่งของคณะสงฆ์ ก็มองว่า ประเทศจะได้บุคลากรที่มีคุณภาพทั้งเก่งและมีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเมื่อออกก็ต้องหาเข้า

มาเติมไม่ให้พระพุทธศาสนาขาดศาสนทายาท อย่างน้อยมา 10 ให้เหลือคนที่มีใจรักในการสืบต่อพระพุทธศาสนาเป็นเพศบรรพชิตสัก 3 คน ก็ยังดี

ความพยายามปรับหลักสูตรการศึกษาคณะสงฆ์ให้พระภิกษุที่เรียนแผนกบาลี ต้องเรียนวิชาสามัญ และกลุ่มที่เรียนแผนกสามัญต้องเรียนบาลีด้วยเพื่อให้คงเอกลักษณ์ความเป็นพระสงฆ์ สามเณร ไม่ใช่บวชแล้วอ่านบาลีไม่ได้เลยนั่นถือว่าไม่ใช่พระสงฆ์ สามเณร ในพระพุทธศาสนา



ในการสร้างคุณภาพพระสงฆ์สามเณรนั้น สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้ห่วงใยเรื่องการศึกษามาโดยตลอดได้กล่าวเน้นย้ำเสมอว่า ’ห่วงพระ เณรส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับการเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษามากกว่าบาลีทำให้อ่านบาลีไม่ออก ส่งผลให้อ่านเขียนภาษาไทยไม่คล่องตามไปด้วย ดังนั้น อยากให้พระสงฆ์ สามเณร หันมาสนใจบาลีเพิ่มขึ้น เพื่อศึกษาพระไตรปิฎกที่เป็นความรู้ทางธรรมแต่ก็ไม่ได้ให้ลืมวิชาการทางโลก ซึ่งทั้ง 2 ส่วนต้องมีความรู้ควบคู่กันไปจึงจะเป็นพระที่สมบูรณ์ มีความรู้ไปสั่งสอนญาติโยมได้” 

ในส่วนของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ในฐานะหน่วยงานส่งเสริมสนับสนุน การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา แผนกธรรมและบาลี  ได้พยายามส่งเสริมการศึกษาสงฆ์ในหลายรูปแบบ ซึ่งล่าสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็จัดการแข่งขันทักษะทางวิชาการ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาระดับประเทศครั้งที่ 7 “มหกรรมเชิดชูคุณธรรมทักษะทางวิชาการ สามัญสามัคคี เพื่อถวายเป็นสังฆราชบูชา”ณ วัดหนองแวง พระอารามหลวง อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยความร่วมมือของกองพุทธศาสนศึกษาและกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาทั้ง 14 กลุ่ม



บรรยากาศของการจัดงานก็คล้ายกับการจัดงานวิชาการของทางโลกมีการแข่งขันทางวิชาการหลายรูปแบบทั้งในส่วนของโครงงานวิทยาศาสตร์ การแข่งขันตอบปัญหาวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา การงานอาชีพพระพุทธศาสนา ภาษาอังกฤษ ที่สำคัญได้มีการแข่งขันตอบปัญหาบาลีด้วย สามเณรจักรพันธ์ วันดีศรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประภัสสรวิทยา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของวัดศรีนวล จ.ขอนแก่น บอกว่าการจัดงานการแข่งขันทางวิชาการนับเป็นสิ่งที่ดี ที่ทำให้นักเรียนได้แข่งขันและทดสอบความรู้ของตนเอง เมื่อตนเองเรียนจบ ก็ยังต้องตัดสินใจว่าจะบวชต่อในพระพุทธศาสนา หรือจะสึกออกไปเรียนต่อทางโลกในมหาวิทยาลัยทั่วไป แต่หากไม่สึกก็จะไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ ตั้งใจว่า อยากจะเป็นครู

สามเณรรณฤาชัย คาแพง และ สามเณรเกียรติศักดิ์ ธนะภูมิชัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมิ่งเมืองธีรานุเคราะห์ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาของวัดมิ่งเมืองพัฒนาราม จ.ขอนแก่น ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าได้มาเรียนรู้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ อยากให้มีการจัดงานวิชาการเช่นนี้ต่อไปเพราะทำให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ที่มี ไว้ใช้แข่งขันในการสอบ



ด้าน พระครูสุนทรพิมลศีล ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษากลุ่มที่ 5 ในฐานะประธานศูนย์ประสานงานกลางกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจัดงานดังกล่าวเพื่อต้องการเป็นเวทีให้นักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ได้มีพื้นที่แสดงความสามารถให้คนภายนอกได้รับรู้ แต่ยอมรับว่าในการจัดงานทุกครั้งที่ผ่านมาขาดการประชาสัมพันธ์ทำให้สังคมไม่ได้รับรู้งานของโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ เท่าที่ควรทั้งที่สามเณรที่เรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ หลายรูปมีความรู้ ความสามารถมาก ทุกปีจะมีสามเณรจากโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ สอบเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยได้หลายรูป

นายพนม ศรศิลป์ รอง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า การแข่งขันทักษะทางวิชาการของนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั่วประเทศมีนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมกว่า 2,000 รูป/คน เพื่อยกระดับมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้นักเรียนที่เป็นพระภิกษุสามเณร ได้แสดงออกถึงศักยภาพรวมทั้งสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาศักยภาพในการปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่ง พศ.หวังว่า การจัดแข่งขันงานวิชาการครั้งนี้ จะช่วยให้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ตื่นตัว และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลวิชาการระหว่างกันเพื่อให้เกิดการแข่งขันในระหว่างกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษากันเองให้มีคุณภาพทางวิชาการเพิ่มขึ้นด้วย

 ans1 ans1 ans1

จะเห็นได้ว่าการศึกษาทั้งของทางโลกและของคณะสงฆ์ ล้วนมีเป้าหมาย สร้างบุคลากรของชาติเหมือนกันแต่ต่างกันตรงที่ การศึกษาสงฆ์นั้น สร้างบุคลากรที่เน้นคนดี มาก่อนคนเก่ง คือได้เรียนรู้ศีลธรรมตั้งแต่เป็นเด็ก ส่งผลให้บุคลากรในด้านนี้ หากบวชเป็นพระก็จะเป็นพระที่มีความรู้ความสามารถ หากสึกมาเป็นฆราวาสก็จะเป็นคนดีและเก่งในการรับใช้สังคม ซึ่งหากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง อยากให้บุตรหลาน เป็นเด็กดีแล้วละก็การศึกษาคณะสงฆ์ทั้งแผนกบาลี และแผนกธรรม ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญต้องส่งลูกหลานมาบวช ที่นี่เขาเรียนฟรีจริง ไม่เสียค่าใช้จ่ายแถมยังได้บุญในฐานะ ศาสนทายาทสืบต่อพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่งด้วย.

มนตรี ประทุม


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.dailynews.co.th/Content/education/219256/‘การศึกษาสงฆ์’+เฟืองจักรสืบต่อพุทธศาสนา
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ‘การศึกษาสงฆ์’ เฟืองจักรสืบต่อพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 01, 2014, 11:48:44 am »
0
การศึกษาทางปริยัติบาลีที่สำคัญยังขาดครูอาจารย์ที่เก่งและมุ่งมั่น อีกทั้งเยาวชนที่เข้าสู่เส้นทางการศึกษาทางปริยัติบาลีล้วนเป็นกลุ่มเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ซึ่งมาจากส่วนภูมิภาคของประเทศเสียมาก การจากภูมิลำเนามาศึกษาเล่าเรียนมิได้มีเจตนามุ่งสู่ธรรมจึงขวนขวายเพียงเพื่อแสวงหาช่องทางสู่วิถีโลกเท่านั้น มีที่เพียรสอบเปรียญได้ก็จากจรหนีไปศึกษาทางโลกก็มาก ครั้นจะหาบุคคลที่มุ่งมั่นเติบโตเป็นศาสนทายาทจริงๆมีน้อยมากมากครับ อย่างผมเมื่อครั้งศึกษาปริยัติบาลีมีจิตมุ่งมั่นจะเอาดีแต่ก็พึ่งพาหาครูอาจารย์ไม่ได้ทั้งจะย้ายสำนักก็ต้องเส้นสายเข้าหาพระผู้ใหญ่จนอ่อนใจคลายความเพียรและความตั้งใจเดิมจนสิ้น จึงคิดลาสิกขาแสวงหาโอกาสเลี้ยงชีพปลีกออกสู่ทางโลกและไม่ขอก้าวเข้ามาสู่วิถีบัณฑิตเปรียญอันบัดซบอีก ทุกวันนี้ผมไม่ใส่ใจแล้วกับเส้นทางขมิ้นเหลืองขอเป็นพิราบขาวโบยบินดีกว่า เพราะครั้งหนึ่งที่ศาสนาปฏิเสธผมจนหมดอนาคตไปคราครั้งนั้นทำให้ผมไม่ใส่ใจปริยัติบ้าบอพระศาสนามิได้อยู่ยงได้ด้วยปริยัติ แต่หากปริยัตินั่นเองดำรงอยู่บนหนทางเสื่อมในตัวมันเอง ลาภก็ดี ยศก็ดี กลุ่มอิทธิพลขั่วค่ายก็ดี มันไม่ต่างพวกกับกรักกากีวิถีนายตรวจเลย บ้านเมืองเนื้อแท้มันแคบมรรควิถีมีเดินให้แก่คนจริงน้อยมาก วันนี้ไม่ว่าโลกไม่ว่าธรรมวุ่นวายพอกันหนทางจะหลุดพ้นเป็นเพียงหลักการณ์พร่ำจากบัณฑิตหนอนตำรามรรคผลหาค่าจริงไม่ คนที่จริงดีมีอยู่และอยู่อย่างหลบเร้นน่าเขลาอายกับคำปากที่ว่ามันเจริญทั้งที่เพลินอยู่กับโลกธรรม น่าขำ...ครับ!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2014, 11:56:30 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

DANAPOL

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 332
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ‘การศึกษาสงฆ์’ เฟืองจักรสืบต่อพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 01, 2014, 09:32:05 pm »
0
คิดว่าอย่างไร ครับ ที่ประเทศอินเดีย นั้นคนนับถือศาสนาพุทธ 2 ล้านกว่าคนที่ลงทะเบียน ล้วนแล้วอยู่ในวรรณะจัณฑาล ครับ การศึกษาของพระสงฆ์สามเณร ก็เป็นการลดช่องว่าง และเพิ่มโอกาสให้กับคนยากจน ได้เข้ามาศึกษาปริัยัติ และ ฉวยโอกาส กอบโกย ลาภสักการะ สู่บ้าน ที่ยากไร้ ใช่หรือไม่ครับ

  ถึงผมมีประสบการณ์ ในวัด ก็มองเห็นอย่างนี้เช่นกัน ที่จะมาศึกษา เพื่อภาวนา นั้นแทบจะไม่มี เพราะผู้ที่ภาวนาดีจริง ๆ ไม่สามารถอยู่ปนกับ บรรพชิตที่กอบโกยอย่างนี้ได้ ผมเชื่อว่าในสังคมปัจจุบันนั้น ที่ ๆ มีพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบนั้น หายาก วัดมีเป็นหมื่น แต่พระเณร ที่ดี ที่ตั้งใจภาวนา สมถ วิปัสสนากรรมฐาน นั้นเชื่อว่า หาแทบไม่ได้เลย

  ดังนั้นพระบัณฑิตที่ดี ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ถ้าไม่มีตำแหน่งใด ๆ เป็นพระลูกวัดละก็ ไม่มีที่อยู่แน่นอน เพราะอยู่ไม่ได้ ในยุคนี้พระสงฆ์ที่ต้อนรับพระภาวนานั้น ผมว่าหายากมาก นะครับ

   เห็นด้วย ที่การศึกษาของพระเณรในปัจจุบันเป็นไปเพื่อสนองกิเลสชาวโลก และ ทำเพื่อลาภ สักการะ สุข สรรเสริญ นะครับ

   :49:
บันทึกการเข้า
รหัสธรรม ต้องใช้ปัญญาคือความรู้ ผู้ถือกุญแจคือใครหนอ...