ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แม้พระคุณเจ้า มีพรรษามาก ที่กล่าวสอนปัจจุบัน ก็สอนผิดและขัดแย้งในคำพูดของตนเอง  (อ่าน 6707 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


คำว่า "พวกสมถะกรรมฐานติดสุขขาดวิปัสสนา" เป็นคำที่เหล่าพระคุณเจ้า จำนวนมากที่ได้สนทนากับฉัน ก็จะเปิดประเด็นหัวข้อนี้ขึ้นมา ด้วยทำนองว่า เป็นพวกสมถะไม่มีทางเข้าถึงแก่นธรรมของพระศาสนา

คำพูด "กรรมฐานมีอยู่ 40 กอง" กองไหน ๆ ก็ไปนิพพานทั้งนั้นแหละ"

   อันนี้เป็นบทสรุป ที่ฉัีนได้สนทนากับเหล่าพระคุณเจ้า ที่มีความคิดไม่เอาเรื่องการภาวนานั่งสมาธิ ( ย้ำว่า ) การภาวนาสมาธิ ไม่ใช่การนั่งสมาธิ นะเพราะหลายคนพอพูดเรื่องสมาธิ ก็จะไปเข้าอยู่ที่การนั่งสมาธิ นั่นเอง

  กลัึบมาที่ประเด็น สองหัวข้อ ในพระคุณเจ้า กลุ่มที่พูดอย่างนี้ และแบบเดียวกัน จากข้อความท่านทั้งหลายเห็นความผิดปกติ ทางคำพูดหรือไม่ ถ้ายังมองไม่เห็นก็จะยกคำพูดมันขัดแย้งกันในตัว นะ


    1.คำว่า "พวกสมถะกรรมฐานติดสุขขาดวิปัสสนา"  ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าเป็นพวกสมถะ ก็ ไม่มี วิปัสสนา ถ้าไม่มี วิปัสสนา ก็หมายความ ไม่มีนิพพาน ใช่หรือไม่ ? ( คงพอเห็นคอนเซ็บต์ นะ )

    2.คำพูด "กรรมฐานมีอยู่ 40 กอง กองไหน ๆ ก็ไปนิพพานทั้งนั้นแหละ" พูดอย่างนี้หมายความว่า ผู้ภาวนาใช้กรรมฐาน ใน 40 กอง ก็ไปนิพพาน ทั้งนั้นแหละ ตีความว่า ถ้าไปนิพพาน แสดงว่า มี วิปัสสนา

    3.เห็นหรือยัง ว่าผู้พูด นี้ถึงจะเป็นพระคุณเจ้า มีพรรษามากกว่า 12 แล้วก็ตาม เรียกตัวเองว่าอาจารย์นี่ ถ้าสอนลูกศิษย์อย่างนี้ต้องให้ท่านพิจารณา ถึงความขัดแย้งในความเห็น ของท่านก่อน เพราะการสอนผิดสำหรับฉัน หมาย ถึง การต้องรับกรรมในนรกด้วยนะ เพราะทำให้คนพลาดโอกาสในการไป นิพพาน อันนี้สำคัญนะ บอกเสียก่อน

    4.มาวิเคราะห์ กันหน่อย

       ผู้พูดมีความเห็นว่า พวกที่ปฏิบัติ สมถะกรรมฐาน ไม่มีทางไปนิพพาน เพราะขาดวิปัสนา ก็หมายว่า กรรมฐาน 40 กองกรรมฐาน อันครูอาจารย์จัดไว้เป็น สมถะกรรมฐาน มี 40 กองกรรมฐาน แบ่งเป็น รูปกรรมฐาน 36 อรูปกรรมฐาน 4 นี้ ผู้พูดกล่าวว่าเป็นเพียงสมถะกรรมฐาน ซึ่งเป็นการพูดที่ผิด เพราะถึงแม้ครูอาจารย์ท่านจะจัดไว้ในหมวดสมถะกรรมฐาน ก็จริง แต่ในกองกรรมฐาน ทั้ง 40 ประการนี้ ไม่ได้เป็น สมถะ ทั้งหมด และไม่ได้เป็น วิปัสสนา ทั้งหมด บางกองกรรมฐาน เป็นทั้งสองอย่าง บางกองกรรมฐาน เป็นเพียแต่ สมถะ บางกองกรรมฐานเป็น เพียงแต่ วิปัสสนา เป็นต้น ยกตัวอย่าง

       หมวดสติ
         1.พระพุทธานุสสติ กรรมฐาน
         2.กายคตาสติ กรรมฐาน
         3.อานาปานสติ กรรมฐาน
         4.อัปปมัญญา กรรมฐาน
         5.จตุธาตุววัตถาน กรรมฐาน

         5 กองกรรมฐานนี้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่าเป็น ธรรมอันเอก อันยังให้ถึงพระนิพพาน หมายความผู้ภาวนาปฏิบัติ แบบ สุทธิกะ คือ กรรมฐานเดียวก็สามารถก้าวไปสู่ พระนิพพานได้นั่นเอง

         ส่วนที่เป็นวิปัสสนา โดยตรง
          1.อาหาเรปฏิกูลสัญญา อันนี้ใช้สัญญาในการกำหนดอารมณ์ ไม่ได้อาศัยรูปภายนอกเท่านั้น แต่อาศัยรูปที่กระทบภายใน อันมีการประมวลผลว่า เป็น ปฏิกูล
          2.อุปสมานุสสติ กรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่อาศัย การเข้าโครภูชวนะแห่งวิปัสสนา ในการทบทวน กิเลสที่ดับได้แล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่ ตามระดับชั้น ตั้งแต่ พระโสดาบัน เป็นต้นไป จะเห็นว่า อันนี้เป็น วิปัสสนาล้วน เป็นอุปจาระฌาน ในตัว

          นี่เพียงยกตัวอย่าง ว่ากองกรรมฐาน ฝ่าย สมถะกรรมฐาน ไม่ได้ ขาดวิปัสสนา อันนี้เป็นคุณธรรม ของฝ่ายเจโตวิมุตติ โดยตรง เลยนะ

       ที่นี้กลับมาเรื่อง วิปัสสนา การเจริญ วิปัสสนา โดยไม่ผ่านกองกรรมฐาน แห่งสมถะ มีความเป็นไปได้ ในสาย ปัญญาวิมุตติ ซึ่งไม่ได้อาศัยนิมิต รูป ธาตุ ปฏิกูล มาเป็นอารมณ์ แต่อาศัยปัญญา เข้าไปรู้ดูเหตุดับเหตุ ได้ผล อันนี้แม้จะกล่าวอย่างนี้ ก็ต้องมีพื้นฐาน เริ่มตั้งแต่

      1. อนุวิัปัสสนา 3
      2. วิสุทธิ 7
      3. วิปัสสนาญาณ 9
      4. วิปัสสนาญาณ 10
      5. วิปัสสนาญาณ 12
      6. วิปัสสนาญาณ 16
      7. โพชฌงค์ 7
      8. อริยะมรรคมีองค์ 8
      9. สัญโยชน์ 10
      10. การเข้าผลสมาบัติ
      11.สุญญตามหาวิหาร
      12.สุญญาตมหาวิหารสมาบัติ
     
       อันนี้เป็นสายวิปัสสนาตรง สำหรับ สุกขวิปัสสก ที่มีแต่ภูมิปัญญาแต่ไม่มีกำลังจิต การสำเร็จคุณธรรมแบบนี้ ไม่ได้ ลัญญจกร ดังนั้นครั้งสังคายนา นั้น พระอรหันต์ สุกขวิปัสสก จึงไม่ได้เข้าร่วมสังคายนา


     อันนี้ยกตัวอย่างเรื่องการ ของ สมถะ ที่บรรดาพระคุณเจ้า ที่มีความรู้กันสมัยนี้ ยังพูดผิดกล่าวผิด เลยทำให้ผู้ศึกษา ภาวนาสับสน

     
       

      เจริญธรรม / เจริญพร   
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 08, 2014, 08:32:20 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"ไม่ใช่แค่เรื่องการปรามาส ต่อพระรัตนตรัยเท่านั้น ที่ทำให้ธรรมจักษุ ไม่เปิด แต่เป็นเพราะว่า เราแนะนำธรรมะโดยขาดองค์แห่งมรรค มีองค์ 8 และสอนให้คนติดอยู่แต่ในโลกธรรม แม้ตนเองก็นำพระธรรมอันอุดมสูงสุดข ไปแลกกับ เงิน ทอง ยศ ชื่อ เสียง เหล่านี้ เป็นต้น การกระทำเยี่ยงนี้ จักทำให้เราต้องตกระกำลำบาก เกิดเป็นวัว เป็นควายใช้กรรม จนกว่าคนเหล่านั้นที่เราได้สอนผิดจะพ้นจากป่า แห่งทุกข์ นี่เป็นคำสอนของครูฉันที่ท่านสอนฉันเสมอ ว่า หากสอนพระธรรมกรรมฐาน แล้วให้สอนตรงไป ตรงมา รู้ก็สอน ไม่รู้ก็ไม่พึงกล่าวสอน เพราะการกล่าวสอนออกไปโดยที่ตัวเราไม่รู้นั้น มีโทษ มากกว่ามีคุณ อย่าเพียงเห็นวัตถุมีค่า ยศมีค่า กว่าความเป็นมนุษย์ ที่จักพ้นจากวัฏฏะสงสาร และทุกวันนี้ แม้ฉันจะสอนใครด้วยพระธรรม ฉันก็ระมัดระวังเสมอเพราะคำครูฉันนั้น เดือนฉันไว้อย่างนี้ "

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


การศึกษาภาวนานั้นเป็นอะไรที่ต้องบอกว่าเฉพาะตัวจริงๆไม่สามารถที่กล่าวอะไรพร่ำเพรื่อออกไปได้ง่ายและไม่ควร เพราะความอวดถือดีในบุคคลนั้นเขาจักปรามาสขวางตัวเขาเองเป็นภัยประการหนึ่ง อีกทั้งการศึกษาหนักข้างปริยัติโดยหย่อนปฏิบัติแล้วนำไปกล่าวสอน ถกกถา ตีความ ยื้อแย้งกัน ก็นับว่าเสี่ยงเสมือนกลายเป็นคนมืดบอดเขลาเมาตำราอ่านรู้จำพล่ามไปน่าขัน นี้ผู้ศึกษาเรียนได้ใส่กมลตัวขรัวครูเลือกอย่ามั่วคลำทางมรรคหาหนไม่เจอนี้แย่แน่ ครูอาจารย์ที่กล่าวสอนเราได้ดีต้องมีดีกรีประดับลัญจกรชัดอันนี้ต้องหา แต่ก็อย่างว่าอีกนั่นแหละเราเราท่านท่านปุถุชนจะหาครูอาจารย์เนื้อแท้ได้ที่ไหนอย่างไรจริงอย่างไรเท็จก็ยากอยู่ มีหนทางเดียวครับเปิดหูให้รู้จักฟังให้มากอย่าแย้งตะแคงเรือให้รั่วน้ำเข้าจะพากันตายเราเราท่านท่านชื่อว่ามนุษย์วิเศษกว่าเทวดามากตรงที่มนุษย์ใช้ปัญญาเยอะจะผิดถูกหลงทางก็ปัญญาตัวทั้งสิ้น ในเมื่อมนุษย์มีปัญญาก็ต้องคลำหาหนให้เจอให้จริงให้กระจ่างเถอะ!  โชคดีมีชัยกันทุกคนนะครับ! (อย่าตามเวรตามกรรม! ให้ตามบุญตามธรรมตามอาจารย์นะครับ!)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 09, 2014, 12:56:34 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1076
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ