ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กำเนิดจากท้อง ๒ ท้อง..อายุยืนที่สุด ไม่เคยป่วย ไม่มีศิษย์..ใครกัน.?  (อ่าน 5510 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระพากุลเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ไม่มีโรคาพยาธิ

    พระพากุละ เกิดในวรรณะแพศย์ ตระกูลคหบดี ในเมืองโกสัมพี ที่ได้ชื่อว่า “พากุละ” เพราะชีวิตของท่านเจริญเติบโตในตระกูลเศรษฐี ๒ ตระกูล (พา = สอง, กุละ = ตระกูล) ประวัติของท่านมีดังต่อไปนี้:-

คลอดจากท้องคนเข้าไปอยู่ในท้องปลา
    เมื่อท่านคลอดออกจากครรภ์ของมารดาได้ ๕ วัน บิดามารดา รวมทั้งวงศาคณาญาติได้จัดพิธีมงคลโกนผมไฟและตั้งชื่อให้ท่าน และมีความเชื่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษว่า ถ้านำเด็กที่เกิดใหม่ไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา แล้วจะทำให้เป็นคนไม่มีโรคเบียดเบียนและมีอายุยืนยาว พี่เลี้ยงนางนมทั้งหลายจึงได้นำท่านไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา ซึ่งนับถือกันว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อนั้น

    ขณะที่พี่เลี้ยงกำลังอาบน้ำให้ท่านอยู่นั้น มีปลาใหญ่ตัวหนึ่งแหวกว่ายมาตามกระแสน้ำ เมื่อมันเห็นท่านแล้วคิดว่าเป็นก้อนเนื้อ จึงฮุบท่านไปเป็นอาหารแล้วกลืนลงท้อง อาจเป็นเพราะท่ามีบุญญานุภาพมาก แม้จะถูกอยู่ในท้องของปลาก็มิได้รับความทุกข์ร้อนแต่ประการใด เป็นเสมือนว่านอนอยู่ในสถานที่อันสุขสบาย

    ส่วนปลานั้นก็ไม่สามารถจะย่อยอาหารชิ้นนั้นได้ จึงมีอาการเร่าร้อนทุรนทุราย กระเสือกกระสนแหวกว่ายไปตามกระแสน้ำ จนถูกชาวประมงจับได้และขาดใจตายในเวลาต่อมา เนื่องจากเป็นปลาตัวใหญ่ ชาวประมงจึงพร้อมใจกันนำออกเร่ขาย เพื่อนำเงินมาแบ่งกัน ชาวประมงเหล่านั้น ช่วยกันนำปลาออกเร่ขายทั้งในหมู่บ้านและในตลาดก็ไม่มีใครสามารถจะจ่ายเงินเป็นค่าซื้อปลาได้

    ขณะนั้น ภริยาเศรษฐีในเมืองพาราณสีผ่านมาพบ จึงได้ซื้อปลานั้นไว้ด้วยหวังจะนำไปแจกจ่ายให้แก่บริวาร และเมื่อให้จัดการชำแหละท้องปลาแล้วสิ่งที่ปรากฏแก่สายตาของทุกคนก็ คือ เด็กทารกที่ยังมีชีวิตอยู่ ทุกคนเมื่อหายตกตะลึงแล้วก็อุ้มเด็กออกจากท้องปลา ชำระร่างกายให้สะอาดแล้ว เด็กทารกนั้นเป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใสน่ารัก ภริยาเศรษฐีดีใจสุดประมาณ เพราะตนเองก็ยังไม่มีบุตร จึงพูดขึ้นด้วยเสียงอันดังในท่ามกลางฝูงชนว่า “เราได้บุตรแล้ว ๆ” และได้รับเลี้ยงทารกนั้นเป็นอย่างดีประดุจบุตรแท้ ๆ ในอุทรของตนเอง




อัปโหลดโดย Lekmusicday เมื่อ 12 ก.ค. 2011


ลูกใครกันแน่
    ข่าวการที่เศรษฐีในเมืองพาราณสีได้เด็กจากท้องปลา แพร่สะพัดไปทั่วอย่างรวดเร็ว ฝ่ายมารดาบิดาที่แท้จริงของเด็กนั้นอยู่ที่เมืองโกสัมพี ได้ทราบข่าวนั้นแล้ว จึงรีบเดินทางมาพบเศรษฐีเมืองพาราณสีทันที ได้สอบถามเรื่องราวโดยตลอดแล้ว จึงกล่าวว่า “นั่นคือบุตรของเรา” พร้อมกับชี้แจงแสดงหลักฐานเล่าเรื่องราวความเป็นมาโดยละเอียด แล้วเจรจาขอเด็กนั้นคืน

    ฝ่ายเศรษฐีเมืองพาราณสี แม้จะทราบความจริงนั้นแล้วก็ไม่ยอมให้คืน เพราะถือว่าตนก็ได้มาด้วยความชอบธรรม อีกทั้งมีความรักความผูกพันในตัวเด็ก ซึ่งเปรียบเสมือนลูกที่แท้จริงของตน ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ จึงพากันไปกราบทูลพระเจ้าพาราณสีเพื่อให้ทรงช่วยตัดสินคดีความให้พระเจ้าพาราณสี ได้ทรงสอบสวนทวนความ ทราบเรื่องโดยตลอดแล้ว

    ทรงพิจารณาวินิจฉัยให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย ด้วยการตัดสินให้ทั้งสองตระกูลมีสิทธิ์ในตัวเด็กทารกนั้นเท่าเทียมกัน ให้ทั้งสองฝ่ายผลัดกันเลี้ยงดู สุดแต่จะตกลงกำหนดระยะเวลาตามความพอใจของทั้งสองฝ่าย   
    ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้นามว่า “พากุละ” แปลว่า คน ๒ ตระกูล
    เพราะท่านเจริญเติบโตในตระกูลเศรษฐีทั้งสองตระกูลละครึ่งปี ท่านมีชีวิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขตามวิถีชีวิตฆราวาส ด้วยความอุปถัมภ์บำรุงของตระกูลทั้งสองนั้น จวบจนอายุถึง ๘๐ ปี



เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา
    สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เที่ยวประกาศหลักธรรมคำสั่งสอน ให้ประชาชนได้บรรลุมรรคผล ตามอำนาจวาสนาบารมีของตน ๆ เสด็จมาถึงยังเมือสาวัตถุ พากุละพร้อมด้วยบริวาร ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและรับฟังพระธรรมเทศนาเกิดศรัทธาเลื่อมใส ตั้งใจอุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนา

    จึงกราบทูลของบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์ประทานให้ตามประสงค์ และประทานพระโอวาทอันเป็นแนวทางแห่งการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จากนั้นท่านได้ปลีกตัวไปสู่สถานที่อันสงบสงัด เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ท่านอุตสาห์ทำความเพียรอยู่ ๗ วัน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์



อัปโหลดโดย Lekmusicday เมื่อ 21 เม.ย. 2011


ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ไม่มีโรคาพาธ
    เมื่อท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านได้ช่วยแบ่งเบาภาระทางพระพุทธศาสนาในการอบรมสั่งสอนพุทธบริษัท และท่านเป็นผู้ปฏิบัติเคร่งครัดในธุดงค์ ข้อ “เนสัชชิกธุดงค์” คือ
    การสมาทานธุดงค์ด้วยการอยู่ในอิริยาบท ๓ คือ ยืน เดิน และนั่งเท่านั้น ไม่นอน
    และข้อ“อรัญญิกธุดงค์” คือ การสมาทานธุดงค์ด้วยการอยู่ป่าเป็นวัตร
    ดังจะเป็นได้ว่า ตั้งแต่ท่านบวชมานั้น ท่านไม่เคยจำพรรษาในบ้านเลย


    นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ที่ไม่มีโรคเบียดเบียน ไม่เคยให้หมอรักษาพยาบาล ไม่เคยฉันแม้แต่ผลสมออันเป็นยาสมุนไพรแม้แต่เพียงผลเดียว เพราะว่าท่านไม่มีโรคใด ๆ เลยนั่นเอง ทั้งนี้เป็นเพราะด้วยอานิสงส์แห่งการสร้างเว็จกุฎี (ส้วม) และการถวายยาเป็นทานแก่พระสงฆ์

    เหตุการณ์ที่แสดงว่าท่านเป็นผู้อายุยืนยาวนั้น ได้มีเรื่องกล่าวไว้ใน "พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร" แห่งคัมภีร์มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ว่า.....

    ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพากุลเถระ พักอาศัยยู่ที่เวฬุวันมหาวิหารเมืองราชคฤห์ ขณะนั้น มี อเจลกะท่านหนึ่ง ชื่อว่า กัสสปะ (อเจลกะ คือ นักบวชประเภทหนึ่งที่ไม่สวมเสื้อผ้า ซึ่งเรียกว่า ชีเปลือย) ซึ่งเป็นเพื่อนเก่าของท่าน เมื่อสมัยที่ยังเป็นคฤหัสถ์ ได้มาเยี่ยมเยือนและได้สนทนาไต่
    ถามพระเถระว่า
    “ท่านพากุละ ท่านบวชมาได้กี่ปีแล้ว”
    “กัสสปะ อาตมาบวชมาได้ ๘๐ ปีแล้ว”
    “ท่านพากุละ ตลอดระยะเวลา ๘๐ ปี ที่ท่านบวชมานั้น ท่านมีความเกี่ยวข้องกับโลกิยธรรมกี่ครั้ง”


    “ท่านกัสสปะ อันที่จริงท่านควรถามอาตมาว่า ตลอดระยะเวลา ๘๐ ปีนั้น กามสัญญา คือ ความใฝ่ใจในทางกามารมณ์เกิดขึ้นแก่ท่านกี่หนแล้ว กัสสปะ ตั้งแต่อาตมาบวชมาได้ ๘๐ ปีแล้วนี้ อาตมามีความรู้สึกว่า กามสัญญาที่ว่านั้นไม่เกิดขึ้นแก่อาตมาเลย”

    อเจลกกัสสปะ ได้ฟังคำของพระเถระแล้วกล่าวว่า “เรื่องนี้ น่าอัศจรรย์ จริง ๆ” และได้สนทนาไต่ถามในข้อธรรมต่าง ๆ จากพระเถระ จนหมดสิ้นข้อสงสัยแล้ว ในที่สุดก็เกิดศรัทธาขอบวชในพระพุทธศาสนา และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์อีกรูปหนึ่ง

    ด้วยความที่ท่าน เป็นผู้ไม่มีโรคภัยเบียดเบียนเป็นเหตุให้ท่านมีอายุยืนยาวดังกล่าวมานี้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้ไม่มีโรคาพาธ

    ท่านพระพากุลเถคะ ดำรงอายุสังขารสมควรแก่กาลแล้ว ในวันที่ท่านจะนิพพานนั้น ท่านนั่งอยู่ในท่ามกลางประชุมสงฆ์ ได้อธิษฐานว่า
      “ขออย่าให้สรีระของข้าพเจ้าเป็นภาระแก่หมู่ภิกษุสงฆ์เลย”
      ดังนี้แล้วท่านก็เข้าเตโชกสิณ ปรินิพพานในท่ามกลางหมู่สงฆ์นั้น พลันเปลวเพลิงก็เกิดขึ้นเผาสรีระของท่านจนเหลือแต่อัฐิธาตุ ซึ่งมีสีและสัณฐานดังดอกมะลิตูม



ที่มา http://www.84000.org/one/1/22.html
ขอบคุณภาพจาก http://topicstock.pantip.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2012, 10:19:29 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ประวัติพระพากุลเถระ
เอตทัคคมหาสาวกผู้มีอาพาธน้อย
(ยกมาแสดงบางส่วน)

พระเถระแสดงวัตรของท่านตลอดเวลาที่บวช
    สมัยหนึ่ง เมื่อครั้งปลายอายุของพระพากุลเถระ ขณะนั้นท่านอายุได้ ๑๖๐ พรรษา ๘๐ สมัยนั้นท่านได้อยู่ ณ เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น มีปริพพาชกผู้หนึ่งนามว่า อเจลกัสสปะ เป็นสหายของท่านมาแต่ครั้งเมื่อท่านยังเป็นคฤหัสถ์ อเจลกัสสปะได้เข้ามาพบพระมหาเถระได้สนทนากัน และได้ถามพระมหาเถระว่า ได้บรรพชามานานเท่าใดแล้ว

    พระมหาเถระตอบว่า ได้บรรพชามาได้แปดสิบปีแล้ว อเจลกัสสปะจึงถามต่อไปว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวท่านได้เสพเมถุนธรรมกี่ครั้ง พระมหาเถระตอบว่า  ท่านไม่ควรถามเราอย่างนั้นเลยแต่ควรจะถามเราอย่างนี้ว่า ก็ชั่ว ๘๐ ปีนี้ กามสัญญาเคยเกิดขึ้นแก่ท่านกี่ครั้ง แล้วท่านก็ตอบว่า เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา ไม่รู้สึกกามสัญญาเคยเกิดขึ้น

    อเจลกัสสปะจึงได้ถามต่อไปถึง พยาบาทสัญญา และวิหิงสาสัญญา กามวิตก พยาบาทวิตก .. วิหิงสาวิตก ซึ่งท่านก็ได้ตอบว่า เมื่อท่านบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา ไม่รู้สึกว่าเรื่องดังกล่าวเคยเกิดขึ้นกับท่านเลย และท่านได้กล่าวถึงวัตรปฏิบัติของท่านตลอดเวลาที่ท่านได้บวชอยู่ ดังนี้


พระเถระ ไม่ยินดีคหบดีจีวร ไม่กระทำนวกรรม มีการตัดและการเย็บ เป็นต้น
    พักกุล ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึกยินดีคหบดีจีวร ฯ (ได้แก่ จีวรของภิกษุผู้อยู่จำพรรษา)
    พักกุล ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา ไม่รู้จักใช้ ศาตราตัดจีวร .. ไม่รู้จักใช้เข็มเย็บจีวร .. ไม่รู้จักใช้เครื่องย้อมจีวร .. ไม่รู้จักเย็บจีวรในสะดึง .. ไม่รู้จักจัดทำจีวรของเพื่อนภิกษุร่วมประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ..
     ก็ถ้าท่านพักกุลเถระนั้น ไม่ยินดีคหบดีจีวร ไม่กระทำนวกรรม มีการตัดและการเย็บ เป็นต้น


     ตลอดเวลาเช่นนั้น ท่านจะได้จีวรมาแต่ไหน
     จีวรที่ท่านใช้นั้นก็มาจาก คนในตระกูลของท่าน พระเถระได้รับการทะนุบำรุงจากสองตระกูลในสองพระนคร ตระกูลทั้งสองเป็นตระกูลเศรษฐีมหาศาล ท่านจึงเป็นผู้มียศใหญ่ยิ่ง บุตรธิดาหลานเหลนของท่านในแต่ละตระกูล ให้คนทำจีวรด้วยผ้าเนื้อละเอียดอ่อน ให้ย้อมแล้วใส่ในผอบส่งไปถวาย

     ในเวลาที่พระเถระอาบน้ำ เขาจะวางไว้ที่ประตูห้องน้ำ พระเถระก็จะนุ่งและห่มจีวรที่เขาวางไว้เหล่านั้น
     และท่านก็จะให้จีวรเก่าแก่บรรพชิตทั้งหลายที่ท่านพบ เมื่อตระกูลทั้งสองเป็นผู้จัดทำจีวรถวายท่านเช่นนั้นแล้ว ท่านจึงไม่ต้องกระทำนวกรรม กิจกรรมที่จะต้องรวบรวมอะไร ๆ ก็ไม่มี


     ท่านจะนั่งเข้าผลสมาบัติ เมื่อครบสี่เดือนไปแล้ว ผ้านั้นก็จะมีขนหลุดลุ่ย
     คราวนั้น ลูก ๆ หลาน ๆ ก็จะส่งจีวรไปถวายท่านโดยทำนองนั้นแหละ

     พระอรรถกถาจารย์บางท่านกล่าวไว้ว่า จีวรของพระเถระนั้น พวกหญิงในตระกูลของท่านทั้งสองตระกูล คือที่กรุงโกสัมพี และกรุงพาราณสี ก็ได้จัดทำส่งไปถวาย ทุกกึ่งเดือน พระเถระใช้จีวรที่ชาวกรุงโกสัมพีส่งไปถวายทุกกึ่งเดือน ชาวกรุงพาราณสี ก็ส่งไปถวายทุกกึ่งเดือน โดยทำนองนี้





พระเถระไม่รู้สึกยินดีกิจนิมนต์
    ไม่รู้สึกยินดีกิจนิมนต์ .. ไม่รู้สึกเคยเกิดจิตเห็นปานนี้ว่า ขอใครๆ พึงนิมนต์เราเถิด .. ไม่รู้จักนั่งในละแวกบ้าน .. ไม่รู้จักฉันอาหารในละแวกบ้าน ...

     พระเถระนั้นคนรู้จักกันทั่วสองพระนคร โดยที่ท่านถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ท่านจึงไม่รับกิจนิมนต์ และไม่เข้าในเรือนใครนับแต่ชายคาของบ้านนั้น เมื่อท่านออกบิณฑบาต พอท่านมาถึงประตูเรือนเท่านั้น คนจะพากันมารับบาตรไป แล้วใส่โภชนะอันมีรสเลิศต่าง ๆ ถวาย.พระมหาเถระก็จะกลับมานั่งกระทำภัตตกิจ ซึ่งมีอยู่แห่งเดียว เป็นนิตย์มิได้ขาด


พระเถระไม่เคยมองดูมาตุคามเลย
    ไม่รู้จักถือเอานิมิตของมาตุคามโดยอนุพยัญชนะ .. ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่มาตุคามแม้ที่สุดคาถา ๔ บาท .. ไม่รู้จักเข้าไปสู่สำนักของภิกษุณี .. ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่ภิกษุณี .. ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่สิกขมานา .. ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่สามเณรี ...

     พระมหาเถระไม่เคยถือเอานิมิตแห่งมาตุคาม โดยอนุพยัญชนะ เป็นต้นว่า เนตรงาม นมงาม ผมงาม เลย ท่านหลีกเลี่ยงการเกี่ยวเนื่องกับสตรีไม่ว่าในรูปแบบใด ๆ แม้สตรีนั้นจะเป็นภิกษุณี หรือนางสิกขมานา หรือสามเณรี ท่านไม่เคยแสดงธรรมให้ฟังสตรีฟัง แม้เพียงบทสั้น ๆ หรือเข้าไปในสำนักของนางภิกษุณีเลย





พระเถระไม่เคยมีศิษย์
   ไม่รู้จักให้บรรพชา ...ไม่รู้จักให้อุปสมบท .. ไม่รู้จักให้นิสสัย ..
   พระเถระนั้นเมื่อท่านบวชแล้ว ท่านก็มิได้มีศิษย์ หรือ อุปสมบท หรือให้โอวาทสั่งสอนผู้ใด ในเรื่องนี้พระอรรถกถาจารย์บางท่านจึงกล่าวว่า


    พึงทราบธุตบุคคล (บุคคลผู้กำจัดกิเลส) ธุตวาทะ (การสอนเรื่องการกำจัดกิเลส) ธุตธรรม (ธรรมเครื่องกำจัดกิเลส) ธุดงค์ (องค์ของผู้กำจัดกิเลส)
    มีบุคคลผู้กำจัดกิเลส ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑
    มีบุคคลผู้ไม่กำจัดกิเลสแต่มีการ สอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑
    มีบุคคลผู้ไม่กำจัดกิเลส ทั้งไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑
    มีบุคคลผู้ทั้งกำจัดกิเลสและมีการสอนเรื่อง กำจัดกิเลส ๑


    ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดกำจัดกิเลสของตนด้วยธุดงค์ แต่ไม่โอวาทไม่อนุศาสน์คนอื่นด้วยธุดงค์ เหมือนพระพักกุลเถระ บุคคลนี้ชื่อว่าผู้กำจัดกิเลส แต่ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส

    ในอรรถกถาอีกแห่งหนึ่งได้กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้ปฏิบัติ มี ๔ ประเภท คือ
        ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑
        ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ๑
        ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑
        ไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑


         บรรดาผู้ปฏิบัติเหล่านั้น ผู้ใดได้กถาวัตถุ ๑๐ เอง ไม่กล่าวไม่สอนผู้อื่นในกถาวัตถุ ๑๐ นั้นเหมือนอย่างท่านพากุละ ผู้นี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น





พระเถระไม่ยินดีในการบำรุงตน
    ไม่รู้จักใช้สามเณรอุปัฏฐาก .. ไม่รู้จักอาบน้ำในเรือนไฟ .. ไม่รู้จักใช้จุณอาบน้ำ .. ไม่รู้จักยินดีการนวดฟั้นตัวของเพื่อนภิกษุร่วมประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ..


พระเถระไม่เคยอาพาธ
     ไม่รู้จักเคยเกิดอาพาธที่สุดแม้ชั่วขณะรีดนมโคสำเร็จ .. ไม่รู้จักฉันยาที่สุดแม้ชิ้นสมอ ..
     เรื่องนี้ได้กล่าวไว้แล้วในข้อ “ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ”
     พระเถระสมาทานธุดงค์ข้อ “เนสัชชิกธุดงค์” คือถือการนั่งเป็นวัตรอย่างอุกฤษฏ์ ไม่รู้จักอิงพนัก .. ไม่รู้จักสำเร็จการนอน ฯ


     พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า พระพากุลเถระไม่เคยเหยียดหลังบนเตียง หรือ แม้การเอนหลังพิงพนัก ตลอด ๘๐ ปีที่ท่านบวช จนปรินิพพาน
     พระเถระสมาทานธุดงค์ข้อ “อรัญญิกธุดงค์” คือการอยู่ป่าเป็นวัตรอย่างอุกฤษฏ์
     ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา ไม่รู้จักจำพรรษาในเสนาสนะใกล้เขตบ้าน ฯ


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dharma-gateway.com/monk/great_monk/pra-pakoola.htm
http://images.palungjit.com/,http://department.utcc.ac.th/,http://www.oknation.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2012, 10:21:39 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



อรรถกถามหาปทานสูตร
สุมังคลวิลาสีนี ทีฆนิกาย มหาวรรควรรณนา   
อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร

 
      (ยกมาแสดงบางส่วน)
      บรรดาคนมีอายุยืนนั้น นางวิสาขาอุบาสิกาอยู่ได้ ๑๒๐ ปี
      พราหมณ์โปกขรสาติ พราหมณ์พรหมายุ พราหมณ์เสละ พราหมณ์พาวริยะ
      พระอานนทเถระ พระมหากัสสปเถระก็เหมือนกัน
      แต่พระอนุรุทธเถระอยู่ถึง ๑๕๐ ปี

      พระพากุลเถระอยู่ ๑๖๐ ปี ท่านผู้นี้มีอายุยืนกว่าทั้งหมด.

 

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=1&p=1     
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก ได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=1&Z=1454
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammathai.org/


บทความแนะนำ
  ๑. ประวัติพระพากุลเถระ เอตทัคคมหาสาวกผู้มีอาพาธน้อย
  http://www.dharma-gateway.com/monk/great_monk/pra-pakoola.htm
  ๒. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร (คาถาของพระพักกุลเถระ)
  พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
  เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๕๒๘๒ - ๕๓๗๔. หน้าที่ ๒๒๔ - ๒๒๗.
   http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=5282&Z=5374&pagebreak=0             
   ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=380
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2012, 10:20:11 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา กับเนื้อหาที่นำมาเสอนครับ
เป็น สังฆคุณ ที่ควรนอบน้อมเข้าใส่ตนครับ
   บุญ 
   บารมี
   ภาวนา
  เป็นตัวอย่างของการภาวนา ครับ

  :c017: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระเถระไม่เคยมองดูมาตุคามเลย
    ไม่รู้จักถือเอานิมิตของมาตุคามโดยอนุพยัญชนะ .. ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่มาตุคามแม้ที่สุดคาถา ๔ บาท .. ไม่รู้จักเข้าไปสู่สำนักของภิกษุณี .. ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่ภิกษุณี .. ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่สิกขมานา .. ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่สามเณรี ...

ข้าพเจ้าไม่ได้แม้ที่สุดหทัยแห่งหญิงใดใดในชาตินี้ ขอถึงซึ่งที่สุดแห่งปฏิปทาของพระพากุลเถระเจ้านี้เป็นบุพพนิมิตแห่งธรรมอันยิ่ง.....สาธุติ สาธุติ สาธุติ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2012, 06:06:05 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา