ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มะม่วง กับ พุทธประวัติ ตอนที่ ๒. "รู้แล้วจะประหลาดใจ"  (อ่าน 7612 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ว่าด้วยเรื่องของมะม่วง


เมื่อแสงแดดของดวงอาทิตย์ยามฤดูร้อนได้ เฉิดฉายมาเยือนยังประเทศในเขตร้อนเป็นเสมือนสัญญานอย่างหนึ่งที่บอกกับเรา ว่าฤดูกาลแห่งผลไม้อร่อยได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง สำหรับในประเทศไทย ผลไม้อย่างหนึ่งที่หลายคนนึกถึงก็คงจะหนีไม่พ้น ‘มะม่วง’ ผลไม้พื้นบ้านสารพัดประโยชน์

สามารถที่จะสรรค์สร้างเป็นเมนูบนโต๊ะอาหารได้อย่างหลายหลาย เป็นได้ทั้งอาหารคาวหวาน และนอกจากรสชาติอันชวนพิสมัยของมะม่วงแล้ว ถ้าหากคุณรู้ว่ามะม่วนที่เห็นกันอย่างดาเดื่อนในท้องตลาด มีประวัติศาสตร์อันยาวนานมากกว่า 4,000 ก่อนศริสต์กาล คุณก็จะรู้สึกถึงความประหลาดใจเหมือนกับผม

ถ้าจะพูดไปแล้วหลายคนคงจะนึกว่ามะม่วงนั้น เป็นไม้ผลดั้งเดิมของไทย แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามะม่วงมีต้นกำเนิดมาจากที่ใด แต่ผลงานของนักวิจัยหลายท่าน รวมทั้งผลงานวิจัยของ De Candoll นักพฤษศาสตร์ชาวยุโรปที่มีได้ทำขึ้นเมื่อปี 1844 ได้ระบุไว้ว่ามะม่วงนั้นน่าจะเป็นผลไม้ที่มาจากประเทศอินเดีย


เพราะตามหลักฐานที่ปรากฏตาม โครง ฉันท์ กาพย์ กลอน ของอินเดียโบราณที่มีมาก่อนคริสต์กาล ได้กล่าวถึงมะม่วงไว้มากมาย และในทุกบทกวี ต่างก็ยกย่องว่ามะม่วง เป็นผลไม้ชั้นสูง ดอก ผล ทรงต้น เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นอมตะ ความยิ่งใหญ่และบริสุทธิ์ เช่น

เรื่อง ศกุนตลา วรรณคดีที่มีชื่อของอินเดีย ก็ได้กล่าวไว้ว่า 1 ใน4 ศรของกามเทพ คือช่อดอกของมะม่วง นั้นเอง และที่สำคัญไปกว่านั้นคำว่ามะม่วงที่ชาวอินเดียเรียกกันในภาษาสันสกฤต ว่า “อัมรา (Amra)” ซึ่งมีความหมายว่า อาหารหรือเสบียง

จากความหมายอันนี้นี้เองมันได้แสดงให้เห็นถึงนัยอะไรบางอย่างนั้นก็คือ มะม่วง เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนอินเดียตั้งแต่สมัยโบราณ

นอกจากนั้นมะม่วงยังเข้าไปมีเกี่ยวข้องกับ ศาสนามาตั้งแต่สมัยโบราณ ในพิธีกรรมของศาสนาฮินดู เขาใช้ส่วนต่างๆของมะม่วงในพิธีบูชาและบวงสรวงเทพเจ้า เช่น ดอกของมะม่วงใช้ในการบวงสรวงพระสุรัสวดี (Goddess of Wisdom and of the Fine arts)และพระศิวะ (One of the Hindu Trinity) เป็นต้น

หรือแม้กระทั้งศาสนาพุทธ ตามพุทธประวัติ ในสมัยพุทธะกาล นางวิสาขา ได้ใช้นมสดเป็นปุ๋ยมะม่วง โดยนางได้เลี้ยงโคนมไว้ทั้งหมด500 ตัวแล้วนำโคนม 500 ตัวมาเลี้ยงโค 250 ตัว และรีดนมจาก โค 250 ตัวมาเลี้ยงโค 125 ลดลงตามลำดับจนถึง 1 ตัวและนำน้ำนมนั้นมารดต้นมะม่วงต่างปุ๋ย และปรากกว่ามะม่วงนั้น ให้ผลดก มีผิวสีทอง และมีรสหอมหวาน เป็นอย่างมาก
 

จากประวัติศาสตร์ของมะม่วงที่ผ่านช่วงเวลา มาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ความสำคัญของมะม่วงจะไม่ได้อยู่ในวัฒนธรรมของคนชั้นสูงอีกต่อไป แต่มะม่วงก็ไม่ได้ถูกลดบทบาทความสำคัญทางวัฒนธรรมลงไป ในทางตรงกันข้าม  เราจะสามารถพบเห็นมะม่วงอยู่ บนโต๊ะอาหารตั้งแต่ร้านอาหารข้างทางจวบจนภัตตาคารร้านอาหารชั้นสูง

อย่างเช่นที่ประเทศไทย เราสามารถที่จะนำมะม่วงมาจัดทำเป็นอาหารได้หลากหลาย อาทิ ผลดิบ สามารถที่จะนำมาสับให้เป็นเส้นเล็กๆ ทำเป็นเป็นเครื่องยำต่างๆ ได้สารพัด ส่วนผลสุกก็เป็นที่นิยมใช้ทำเป็นของหวานได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ข้าวมะม่วง นำมะม่วงที่สุดจัดๆ มากวน หรือนำไปทำเป็น มะม่วงแก้ว ทำแยม หรือนำมาคั้นเป็นน้ำมะม่วงก็มีรสชาติที่อร่อยไม่เหมือนใคร


และในประเทศอินเดียเมล็ดของมะม่วงที่เหลือก็ยังสามารถนำมาใช้ปรุงเป็นอาหาร ยามขาดแคลนได้อีกด้วย และที่สำคัญไปกว่านั้น เรายังสามารถที่จะใช้ส่วนต่างๆ ของต้นมะม่วงให้เกิดประโยชน์ได้สารพัด อาทิ ส่วนลำต้น ใช้ทำเป็นเรือ canou ได้อีกด้วย

มะม่วงผลไม้พื้นบ้านราคาถูกที่เราสามารถพบเห็นได้ตามท้องถนน สามารถทำประโยชน์ให้เราได้มากมายเพียงนี้ มนุษย์ที่ว่าเป็นสัตว์ชั้นสูงได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมประเทศได้มากน้อย แค่ไหน

ที่มา http://www.xn--q3ctbz5akd1duhna.com/เรื่อง-ของมะม่วง/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ประวัติมะม่วง


มะม่วง  เดิมมีชื่อเรียกทั่วไปว่า  มะม่วง,  มะม่วงสวน   และมะม่วงบ้าน
ชื่อสามัญ  เรียกว่า  แมงโก  (Mango)
ชื่อในภาษาสันสกฤต  เรียกว่า  อัมรา  (Amra)  อัมพะ  (Amba)  ฯลฯ
ชื่อพฤกษาศาสตร์  เรียกว่า  แมนกิเฟรา  อินดิคา  (Mangiferalndica,Linn.)
อยู่ในตระกูล  Anacardiaceae
ถิ่นกำเนิด  เป็นผลไม้ที่อยู่ในเขตร้อนของประเทศอินเดียและพม่า


                มะม่วงในประเทศไทยจักเป็นผลไม้ที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย  จนเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ  และนอกจากนั้นเมืองไทยก็ยังมีผลไม้เศรษฐกิจอีกมากมายหลากหลายพันธุ์  เช่น  ทุเรียน  เงาะ  ส้ม  มังคุด  องุ่น  เป็นต้น

มะม่วงตามทำเนียบต้นไม้ของกรมป่าไม้จัดได้ว่าเป็นต้นไม้จากต่างประเทศ  แต่ คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นไม้ดั้งเดิมของไทยซึ่งความจริงแล้วมะม่วงมีถิ่น กำเนิดมาจากประเทศอินเดียและพม่าและ ได้เข้ามาเป็น ที่นิยมในประเทศไทยเมื่อหลายร้อยปีก่อนจึงทำให้กลายเป็นไม้พื้นเมืองไปส่วน

ในประเทศอินเดียที่เป็นถิ่นกำเนิดถือว่ามะม่วง เป็นผลไม ้โบราณที่สุดของอินเดียหรือเรียกได้ว่าเป็นผลไม้ประจำชาติอินเดียเลยก็ว่า ได้มะม่วงมีความสำคัญต่อศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์เป็นอย่างมากอย่างเช่น  นิยายโบราณของฮินดูเล่ากันว่า 

พระประชาบดีเสกสรรค์ขึ้นมาส่วนกาพย์ในภาษาสันสกฤตก็เต็มไปด้วยการยกย่อง สรรเสริญดอก  ผล  ต้น  และพุ่มที่งดงามให้เป็นภาพศิลป์อย่างดีเลิศและเป็นกาพย์ที่แสดงความรู้สึก ที่เป็นอมตะซึ่งตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัญนี้  ชาวฮินดูยังใช้ส่วนต่างๆ  ของมะม่วงในพิธีบูชา  และบวงสรวงเทพเจ้า  เช่น  ดอกมะม่วง  ในฤดูแรกสามารถนำมาบวงสรวงพระสุรัสวดี 

และในเดือนต่อมาก็จะบวงสรวงแด่พระศิวะซึ่งพู่ของยอดมะม่วงจะนำมาใช้ในพิธี  และการบวงสรวงเทพเจ้าเช่นกันกิ่งมะม่วงแห้งใช้โหมกรรมพิธีกองกูณฑ์บูชา เทพเจ้าส่วนหมู่ต้นมะม่วงก็เป็นที่ประทับของ พระพุทธเจ้าซึ่ง นางอัมพปาลี  (อัมดาราริกา)  ได้เป็นผู้ถวายสวนมะม่วงแด่พระพุทธเจ้า  และต่อมาพระพุทธเจ้าก็ได้แสดงยมกปาฏิหาริย์ที่ต้นมะม่วงแห่งนั้น  (ต้นรามพฤกษ)

ที่มา  http://www.paktho.ac.th/student/m62549/jarunee/mes2.html



การตั้งชื่อของมะม่วง


ในภาษาสันสกฤตจะใช้คำว่า  อัมรา (Amra)  ซึ่งนับว่าเป็นมงคลนาม  และเป็นเครื่องหมายประกอบความดี  หรือในทางอิทพลต่างๆ  เช่น  ต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมทำนองเดียวกับมะม่วงก็จะใช้คำว่า  “Amra  Gandhaka”  ซึ่งหมายความว่า  “กลิ่นหอมของมะม่วง”และชายหญิงชั้นสุงของชาวฮินดูก็มักจะนำชื่อมาประกอบ  เช่น 

นางหญิงสาว  ผู้ถวายสวนมะม่วงแด่พระพุทธเจ้าก็ใช้นามว่า  อัมดาราริกา  แต่ตามพุทธประวัติใช้ว่า นางอัมพปาลี  และในวรรณคดีของอินเดียหลายเรื่องได้มีการกล่าวถึงมะม่วง  เช่น  เรื่องเมฆทูต  (Meghaduta)  ของการิททาส  ซึ่งเป็นนักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดีย

มะม่วงมีปลูกในอินเดียมาก ในสมัยที่กำลังเจริญด้วยวัฒนธรรม
ดังจะเห็นได้ว่าบนสถูปของพระพุทธศาสนา ก็ปลูกมะม่วงไว้


ในคริสต์ศตวรรษที่  16  เมื่อโมกุลเข้าครอบครองอินเดีย   มะม่วงได้รับการยกย่องเป็นต้นไม้ในพระบรมราชาอุปถัมภ์  และใน  ค.ศ.  1556-1605  อัคบาร์มหาราช  ซึ่งหลงใหลมะม่วงที่สุด  ถึงกับให้ปลูกมะมม่วงพันธุ์ลัคบา  ซึ่งถือว่าดีที่สุดในสมัยนั้นไว้ในสวนใหญ่ใกล ้ดาระภังค์  เป็นจำนวน  100,000  ต้นซึ่งแสดงให้เห็นว่า  มะม่วงเป็นผลไม้ที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น

ประเทศไทยนั้นได้นำมะม่วงมาปลูกขึ้นเมื่อไรและใครเป็นผู้นำมาปลูกก็ยังไม่ ปรากฏชัดเจนนัก  ซึ่งได้มีการสันนิฐานไว้  2  ทาง  คือ  ประเทศอินเดียและไทยได้ทำการติดต่อทางการค้าและทางวัฒนธรรมมาอย่างช้านาน  และพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ 


ส่วนมากก็นำก็นำมาจากประเทศอินเดียหรือมิฉะนั้นก็คงนำเข้ามาพร้อมๆ กับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดียเข้าสู่ประเทศไทยจนถือได้ว่าเป็น ผลไม้พื้นเมืองของไทย  แอล  บี  ซิงห์ ( L.B  Singh)  กล่าวไว้ว่าในมินดาเนาของประเทศฟิลิปปินส์ได้นำพันธุ์มะม่วงจากประเทศไทยไป ปลูกใน  ค.ศ. 1600-1650
 

มะม่วงนั้นเป็นผลไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด  และปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย  ดินที่เหมาะสมสำหรับมะม่วง  คือ  ดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี  มีความเป็นกรดด่างของดิน(pH) ไม่เกิน 7. 5และสามารถปลูกในที่แห้งแล้งจนถึงในที่ที่มีฝนตกชุกประมาณ  190 – 205  เซนติเมตรต่อปีในประจุบันมะม่วงไทยเป็นที่แพร่หลายและเป็นที่นิยมของชาวต่าง ประเทศมาก 

และประเทศไทยยังสามารถส่งมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันไปจำหน่ายยังตลาดญี่ปุ่น ได้ถึงแม้เป็นเพียงการเริ่มต้นก็ตาม  จึงทำให้ชาวสวนและเกษตรกรทั่วไป  หันมาปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกกันอย่วงจริงจังและระบบการปลูกได้เปลี่ยนจาก เดิม  ซึ่งเคยปลูกแบบห่างก็เปลี่ยนเป็นปลูกแบบชิดหรือระบบปลูกถี่นอกจากนี่ก็ได้มี การใช้สารเคมีและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วย ทำให้เกษตรกรสามารถบังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูการได้

ที่มา  http://www.paktho.ac.th/student/m62549/jarunee/mes3.html


มะม่วง กับ พุทธประวัติ ตอนที่ ๑. "มะม่วง กะ สีม่วง"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3521.0

มะม่วง กับ พุทธประวัติ ตอนที่ ๓. "มะม่วงเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ใด"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3523.0

มะม่วง กับ พุทธประวัติ ตอนที่ ๔. ทรงตรัสถึงมะม่วงไว้ว่า...(จบ)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3524.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 26, 2011, 04:13:57 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ