ปกิณณกพจน์ ปกิณณกะ แปลว่า เล็กๆ น้อยๆ พจน์ แปลว่า พูด ปกิณณกพจน์ รวมความว่า พูดเรื่องเล็กๆ น้อยๆ นี้ เป็นวิชชาการสมัยโบราณ ที่เคยสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ผู้สนใจจริงปฏิบัติมามาก จนถึงกับมีผู้เขียนขึ้นไว้เป็นตำรา มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน แต่ในที่นี้จะขอเอามาเล่าให้ฟังสัก ๒-๓ อย่าง เพื่อท่านที่สนใจจะได้เอาไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ตน ของโบราณที่จะนำมากล่าวแถมท้ายหนังสือนี้ก็คือ ๑. คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
๒. วิธีฝึกเมฆจิต (ทิพยจักษุญาณ) ของอาจารย์เกษม วัดดาวดึงสาวาส
๓. วิธีฝึกทิพยจักษุญาณ ตามตำราโบราณ
๔. วิธีเรียนหมอดู ให้เด็กดูในกระจกเงา เห็นภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในกระจกเงา ของท่านอาจารย์ทอง วัดราษฎร์สุนทรเจริญ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
๕. วิธีเจริญวิปัสสนาญาณ ตามแบบธรรมชาติ ของท่านโบราณาจารย์คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ หลวงพ่อปาน ได้เรียนมาจากครูผึ้งอายุ ๙๙ ปี คาถาให้คุณทางลาภผล และเป็นฌานสมาบัติ มีคุณเป็นทิพยจักษุด้วย และยกฐานะของผู้ปฏิบัติ ไม่ให้ขัดสนจนยากด้วย ศิษย์ของหลวงพ่อปานได้ฝึกคาถานี้ มีฐานะมั่นคงหลายสิบอย่าง ที่รู้จักกันมากก็คือ นายประสงค์ ตั้งตรงจิต เจ้าของห้างขายยาตราใบโพธิ์ ท่าเตียน จังหวัดพระนคร เคยสนทนากับนายประสงค์ ท่านนายห้างบอกถึงวิธีที่ปฏิบัติเกิดผลมหาศาล ท่านเล่าให้ฟังดังต่อไปนี้
ปฏิปทาของนายประสงค์ ๑. ทุกเช้าเย็น ท่านสวดมนต์และว่าคาถานี้ต่อหน้าพระพุทธรูปคราวละ ๙ จบ ทุกเช้าและเย็
๒. เมื่อสวดคาถานี้แล้ว ท่านนั่งภาวนาคาถานี้จนสบายใจทุกวัน คือตั้งเวลาไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงทำจนจิตเป็นสมาธิ พอสบายใจแล้วก็ไปทำงานตอนเช้า หรือพักผ่อนในตอนค่ำ
๓. ใส่บาตรทุกเช้า ก่อนใส่บาตรท่านว่าคาถานี้ ๙ จบก่อนใส่บาตร ถ้าวันใดไม่มีพระมาบิณฑบาตร ท่านใช้เก็บเงินไว้แทนการใส่บาตร ตามแบบที่หลวงพ่อปานสอน ท่านให้เก็บข้าวสารหรือเงินก็ได้เอาไว้แทนการใส่บาตร ก่อนเก็บว่าคาถานี้ ๙ จบ เหมือนก่อนใส่บาตร วันต่อไปให้เอาไปถวายพระเป็นค่าภัตตาหาร
๔. ก่อนเอาเงินเก็บตอนเย็น หรือก่อนเอาเงินออกใช้ตอนเช้า ท่านว่าคาถานี้ ๙ จบ คือขณะที่เก็บเงินนั้น ให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยแล้วว่าคาถา ๙ จบ จึงเอาเงินเก็บในที่เก็บ ตอนเช้าก่อนเอาเงินออกใช้ เมื่อจับเงินแล้ว ยังไม่นำออก ว่าคาถานี้ ๙ จบ แล้วนำเงินออก ท่านบอกว่าท่านทำอย่างนี้เป็นปกติ จนท่านกลายเป็นคนมีเงินทองมากมาย ทำบุญด้วยจำนวนเงินหลายสิบล้าน หายากนักที่จะศรัทธาเสมอท่าน คาถานี้ว่าดังนี้
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ (บทนี้ว่าเที่ยวเดียว)
วิระธะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานี มามะ พุทธัสสะ สวาโหมฯ(คาถานี้มีเพียงเท่านี้)
เมฆจิต ของท่านอาจารย์เกษม เมฆจิต หรือทิพยจักษุญาณของท่านอาจารย์เกษมนี้ เป็นแบบปฏิบัติที่ให้ผลง่ายๆ มีมารายที่ฝึกตามแบบนี้แล้วได้รับผลเบื้องต้นภายใน ๗ วันบ้าง ๑๕ วันบ้าง แต่ที่ไม่ได้เรื่องก็ไม่น้อยเหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่แก่ความฉลาดและความกล้าของแต่ละบุคคล ที่ท่านทำได้ง่ายๆ นั้น ท่านเหล่านั้นเล่าให้ฟังว่า ท่านทำดังนี้ ท่านเริ่มทำสมาธิด้วยการกำหนดนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น รูปพระพุทธ เป็นต้น แล้วภาวนาคาถาบริกรรมไปด้วย กำหนดรูปด้วย วันหนึ่ง หรือคราวหนึ่งท่านไม่เอามาก ใช้เวลาคราวละ ๕ นาที บังคับว่าคาถาให้ครบ พร้อมด้วยกำหนดให้เห็นรูปไปด้วย ถ้าจิตพลาดนิดหนึ่ง ท่านตั้งต้นเวลาใหม่ ท่านทำอย่างนี้เพื่อบังคับอารมณ์ตนเอง เพื่อไม่ให้จิตส่ายไปในอารมณ์ภายนอก
แล้วทดลองความรู้จากอารมณ์ คือ กำหนดรู้ทางใจ โดยกำหนดรูเรื่องต่างๆ ตามที่จะหาได้ เช่นเห็นรถแล่นมาแต่ไกล ก็กำหนดจิตเพื่อรู้ว่าคนในรถมีกี่คน เป็นชายเท่าไร หญิงเท่าไร แล้วเชื่ออารมณ์ที่รู้อารมณ์แรก โดยจิตคิดว่ามีคนกี่คน หญิงกี่คน ชายกี่คน ก็เชื่อตามอารมณ์แรก ความรู้นั้นจะถูกต้องตามความเป็นจริงเสมอ เป็นวิชชาฝึกทิพยจักษุญาณระยะต้นดีมาก คาถาภาวนาว่าดังต่อไปนี้
คาถาเมฆจิตพุทธัง เมฆะนิมิตต์ จิตตัง มะอะอุ ธัมมัง เมฆะนิมิตต์ จิตตัง อุอะมะ สังฆัง เมฆะนิมิตต์ จิตตัง อะมะอุ(คาถาของท่านมีเท่านี้)
ฝึกทิพยจักษุญาณแบบโบราณ ท่านวางแบบของท่านไว้ว่า ให้จัดธูป ๗ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๗ เล่ม ดอกไม้ ๗ กระทง ข้าวตอก ๗ กระทง บาตรใส่น้ำเต็ม ๑ ใบ ท่านให้ภาวนาด้วยคาถานี้ ตามแต่จะสบาย
คาถาภาวนา
นะมะพะทะ พุทโธ โลกทีปัง อาโลกกสิณัง วิโสธายิ ธัมโม โลกทีปัง อาโลกกสิณัง วิโสธายิ สังโฆ โลกทีปัง อาโลกกสิณัง วิโสธายิเมื่อภาวนาจนจุใจแล้ว ท่านให้เอาน้ำมนต์ในบาตรนั้นอาบทุกๆวัน ตามตำราท่านว่า ทำอย่างนี้ ๗ วัน ของท่านได้ทิพยจักษุญาณ จงรักษาสมาธิให้ดี ดูของท่านแล้วก็อาโลกกสิณดีๆ นั่นเอง ถ้าว่าคาถาเป็นนกแก้วนกขุนทองไม่มีหวังแน่ ต้องตั้งอารมณ์ตามแบบกสิณ มีหวังแน่ตามที่ท่านบอกไว้
หมอดูภาพของท่านพระอาจารย์ทอง หมอดูภาพนี้ ก็เป็นการฝึกสมาบัติเราดีๆ นี่เอง อาจารย์ต้องนั่งภาวนาให้จิตเป็นสมาบัติ ให้เด็กอายุไม่เกิน ๑๒ ปี เป็นคนดูในกระจก เด็กจะเห็นภาพตามที่ผู้ดูต้องการ เหมือนดูภาพโทรทัศน์ ดูได้ทุกอย่าง อะไรก็ได้ แบบของท่านมีดังนี้
๑. เงินค่าครู ๖ บาท สำหรับเงินไหว้ครูนี้ เวลาที่มีคนมาขอให้ดู ห้ามเรียกเงินค่าครู เพราะจะกลายเป็นการค้าวิชาไป ไม่ใช่สงเคราะห์ ทั้งนี้การที่ทำอย่างนี้ก็เพื่อฝึกฝนตนเองให้ทรงอยู่ในสมาบัติ ทำเพื่อสงเคราะห์ตนเองเป็นสำคัญ เพราะนักสมาบัติถ้าไม่มีกิจที่ต้องทำเพื่อสมาบัติอยู่แล้วอารมณ์สมาธิอาจจะทรามลงได้ ด้วยจะประมาทด้วยคิดว่าทำได้แล้ว จะมีการละเลยไม่ฝึกฝนไว้เสมอๆ การที่ละเลยไม่ฝึกฝนบ่อยๆ สมาธิจะคลายตัวฌานจะเสื่อม ญาณที่ได้ไว้จะเศร้าหมอง จนถึงมีอารมณ์มืดจนใช้การไม่ได้ ฉะนั้น ท่านที่ได้ทิพยจักษุญาณเบื้องต้นแล้ว มีมากที่ท่านบำเพ็ญตนเป็นหมอดูสาธารณะเพื่อรักษาญาณ และฌานของท่านไว้ ท่านที่ใช้อารมณ์สมาธิระดับฌานและใช้ญาณบ่อยๆ จะมีความคล่องแคล่วในการใช้ญาณ และฌานก็จะมั่นคง
วิชานี้ถ้าจะให้เด็กดูเห็นภาพได้ ผู้ให้ดูต้องมีสมาธิสูง ถ้าสมาธิพลาดไปตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์นิดเดียว เด็กจะดูไม่เห็น การเล่นฌานแบบนี้จึงเป็นผลดีของนักเล่นฌานสมาบัติ จิตจะว่างจากนิวรณ์ และทรงฌานเป็นปกติเสมอ เป็นก้าวที่ ๒ ที่จะนำตนให้พ้นทุกข์ คือเข้าถึงพระนิพพาน ฉะนั้น การดูต้องดูให้ด้วยเมตตา ไม่ใช่ค่าวิชา โดยตั้งราคาหรือยกค่าครูขึ้นบังหน้า ๒. จัดเครื่องบูชาพระตามสมควรแก่การบูชา เงินค่าครูที่จัดทำแล้ว ให้ซื้อของทำบุญ อย่าเอาไว้ใช้เป็นส่วนตัว เมื่อดูแล้ว ถ้ามีคนให้ด้วยความเต็มใจ รับได้ แต่อย่าอยากได้ก่อนเขาให้ เป็นโลภะ รับไม่ได้
๓. บูชาพระแล้ว ชุมนุมเทวดา ๓ จบ วันทาพระ ๓ จบ
๔. เอาเหล็ดพืดมาเตรียมไว้ ๑ อัน และกระจกแผ่นย่อมๆ ๑ แผ่น เมื่อเตรียมเรียบร้อยแล้ว ให้เอาเหล็กพืดลนควันเทียนให้ดำ เพื่อเอาเขม่าที่เหล็กพืดนั้นทากระจก เมื่อเหล็กพืดดำแล้ว เริ่มเอาเขม่าทากระจก เมื่อเอาเขม่าทากระจกว่าคาถาดังนี้ "ปุตตาปุตตัง โลกวิทู" ว่าคาถานี้ ๓ จบ เอาเขม่าวนที่เหล็กพืด ๓ รอบ
๕. เอาปากเป่าควันธูปนั้น คือธูปที่บูชาพระ เป่า ๓ ครั้ง ขณะเป่าว่าดังนี้
"ปุตตาปุตตัง" ว่า ๓ จบ
๖. แล้วให้เด็กกอบควันธูปลูบหน้า ๓ ครั้ง โดยเด็กไม่ต้องว่าอะไรเลย
๗. เมื่อเด็กกอบควันธูปลูบหน้าเสร็จแล้ว อาจารย์กอบควันธูปลูบหน้าเด็กอีก ๓ ครั้ง ขณะกอบควันธูปลูบหน้าเด็ก ว่าคาถานี้ ๓ ครั้ง
"ปุตตาปุตตัง" ๘. เสร็จแล้ว เอามือแตะมี่ท้ายทอยเด็ก ว่าคาถานี้
"จิตตังละจิตติ"สอนให้เด็กเชิญครู "ขอเชิญครูโต๊ะแซ โต๊ะกาดาม มาให้หมดทั้ง ๔ คน มาเร็วๆ ขอเชิญมามาดูหน่อย" ว่าอย่างนี้ให้เด็กว่าตาม แล้วก็นั่งภาวนาเอง โดยจับอารมณ์ตามแบบเจริญกรรมฐานจนจิตเข้าระดับฌาน ให้เด็กคอยดูที่กระจกตอนที่ทาเขม่าไว้ ถ้าเห็นรูปคนเป็นแขกทั้ง ๔ คนให้เด็กบอก เมื่อเด็กบอกว่ามีรูปคนครบ ๔ คนแล้ว พูดเองว่า "ครูกาดาม ไปจับแพะมาเลี้ยงกินกันเร็วๆ"
ขณะที่เขาเลี้ยงกัน เราว่าคาถาดังนี้ "เมมะๆ สลาม" จนกว่าเขาจะเลี้ยงกันเวลาพอควร เมื่อเด็กเห็นว่าเขาเลี้ยงกันเสร็จแล้ว บอกว่า "ครูกาดาม กินอิ่มแล้วเอาแพะไปเก็บ"
ต่อนี้ไปก็เริ่มพยากรณ์ได้ ถ้าผู้ที่มาให้ดูต้องการจะดูอะไร ก็บอกให้ครูกาดามไปอาสิ่งนั้นมา แล้วให้เด็กดูในกระจก จะเห็นภาพปรากฏทุกอย่าง เด็กจะบอกตามภาพที่เห็น ดูโรคได้ทุกชนิด ดูคู่ ดูเหตุการณ์ต่างๆ ได้หมด แม้แต่คนที่ตายไปแล้ว มีสุขทุกข์เพราะกรรมอะไรก็ทราบ ท่านอยากเล่นก็ลองดู สมัยนี้หมอดูแบบนี้มีมาก แม่นยำดี จะไปไหนก็ทราบล่วงหน้า ดูทัพข้าศึกก็ได้ แต่ถ้าดูเพื่อให้เขาไปรบกันผิดวินัย ระวังอาจารย์ตกนรกไม่รู้ด้วย ของท่านมีเท่านี้ เล่นแล้วเจริญวิปัสสนาด้วยจะดีมาก หรืออย่างน้อยท่านก็ทรงสมาบัติตลอดวัน เท่านี้ผู้เขียนพอใจแล้ว สมภารเจ้าวัดถ้าทำได้ วัดจะสวยงามไม่น้อยเลย
(หมายเหตุ เด็กที่ใช้ดูภาพตามตำรานี้ ต้องเป็นเด็กที่ไม่เคยถูกหมากัดมาก่อนเลยจึงจะดูภาพเห็น)
อ้างอิง คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยพระมหาวีระ ถาวโร
ผมแนบ pdf file คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยพระมหาวีระ ถาวโร มาให้
หากไม่ต้องการไปนิพพาน ก็อย่าฝึก"อาสวักขยญาณ" นะครับ
