ถ้าตอบตามตำรา ก็ ต้องดูที่ จริต นะจ๊ะ
แต่ถ้าจะยอกว่า จะรู้ จริต ตนเองได้อย่างไร ? ก็ตอบว่า บางที ตนเองก็ยังไม่รู้จริต ตนเองว่าไปแนวไหน ? เลยนะจ๊ะ อาตมาเรียนมาก็มาก เรืองจริตเรียนมาตั้งแต่ เป็น สามเณรอายุ 17 ปี ปัจจุับัน ก็ยังไม่รู้ว่าตัวเอง จริต แนวไหนกันแน่ สับสน ถึงแม้จะนิยามความหมายไว้ให้ทราบในเรื่องจริต แต่บางครั้งจริตมันก็เกิด มากน้อย แตกต่างตามระยะเวลา เช่น
บางทีโกรธ ก็เป็นปี หงุดหงิด คนง่าย ไม่คุยกับคนที่โกรธกันเป็นปี อย่างนี้เป็นโทสะจริต ใช่ไหม
พอไปสักพัก อยากเรียน อยากศึกษาธรรมะ นั่งอ่านตำราพระไตรปิฏก กันเป็นวันๆ เป็นปี สองสามปี ช่วงนี้เป็นพุทธิจริต ใช่หรือไม่ ?
พอมาวัยรุ่นอีกนิด ชอบของสวย ของงาม ฝึกความเป็นเจ้าระเบียบ ชอบติดตามสาวๆ ชอบมอง ชอบดู หนังละคร ตื่นตา ตื่นใจชอบเที่ยว มีแรงนี่ ตอนนี้ก็บอกว่าฉัน มี ราคะจริต ใช่หรือไม่ ?
ที่กล่าวมานั้น ที่จริง มีตัวอย่างทุกจริต แต่ ละจริต หนัก ๆ ทั้งนั้่น อิน และ อยู่กันเป็นปีในอารมณ์ นั้น ๆ
ดังนั้นจะตอบให้ตรงก็คือ จริต นั้นเป็นตามวาระ เวลา โอกาส เหตุปัจจัย จริตอันเป็นแก่นนิสัยตนเองนั้น ไม่ใช่เรื่องที่คนปุถุชนอย่างเราจะมาวิเคราะห์ แม้พระอรหันต์ผู้มีปัญญาอย่าง พระอริยะมหาเถราจารย์สารีบุตร ยังต้องพลาดเลยกับ สัทธิวิหาริกของท่่าน ต้องถึงมือ พระพุทธเจ้าเท่านั้น
ที่จะกล่าวก็คือ จริต อันเป็นอุปนิสัย เดิมแท้กำเนิดนั้นมิใช่วิสัยที่เราจะเข้าใจได้ แต่ เราคงปฏิบัติให้ถูกจริตสภาวะ นั้นเวลานั้น ๆ มากกว่าก็เลือกกรรมฐาน ที่ตรงวาระของจริตนั้น ๆ ก็จะเข้าใจได้
ยกตัวอย่าง เมื่อก่อนอาตมา ชอบอ่านหนังสือการ์ตูน ปัจจุบันไม่ชอบอ่าน
ชอบอ่่านหนังสือไอที ปัจจุบันก็ไม่ชอบอ่าน
ชอบอ่านพระไตรปิฏก ปัจจุบันก็เฉย ๆ แล้ว เป็นต้น
วิธีการเลือกกรรมฐาน ที่เหมาะแก่จริต
มีเคล็ดง่าย ๆ ก็คือ ลองปฏิบัติภาวนาตามดูแล้ว ถ้าเหมาะก็จะทำได้ แต่ที่สำคัญการขอขมาอย่าขาด เพราะบางครั้งเราถูกปิดกั้นเพราะขาดการขอขมา ก็เป็นไปได้ การถูกปิดกั้นเพราะใจเราไม่บริสุทธิ์ ต่อพระรัตนตรัย ดังนั้น ก่อนภาวนากรรมฐาน ควรกล่าวคำขอขมาต่อพระรัตนตรัยก่อนนะจ๊ะ
เจริญธรรม