การ ปฏิบัติธรรม หากเราพอมีพื้นฐานหรือแนวทางอยู่บ้าง อยู่ที่ไหนก็สามารถปฏิบัติได้
เพราะหลักการของการฝึกจิตคือ ทำได้ในทุกอิริยาบท ซึ่งมันไม่จำเป็นต้องใส่ชุดขาว หรือปฏิบัติที่วัดอย่างเดียว นั้นอาจจะหมายถึงผู้เริ่มต้น แต่สำหรับคนที่พอมีประสบการณ์แล้ว
การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงคือ การรู้เท่าทันต่ออารมณ์ที่กระทบจิตของเราในทุกขณะ เช่น อารมณ์อันเกิดจากความโกรธหรือไม่พอใจ มันเกิดขึ้นเรารู้ตัวไหม ดับมันได้ไหม.. อารมณ์ความต้องการสิ่งต่างๆ มันเกิดขึ้นรู้ตัว และดับมันได้ไหม..หากเราปฏิบัติธรรมทุกวัน แต่เรายังไม่รู้เท่าทันอารมณ์ของตน มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะพระพุทธเจ้าสอนเรื่องมหาสติปัฏฐาน คือกำหนดรู้กาย-รู้ใจ..ในอิริยาบททั้งสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน..
เราสามารถนำมาประยุกต์กับชีวิตประจำวันเราได้ เช่น ทำงานแทนที่เราจะปล่อยให้จิตคิดฟุ้งซ่าน แต่เรากำหนดจิตโดยบริกรรมภาวนาในใจ เช่น พุทโธ.ๆ และหากอารมณ์ขณะนั้นมีอะไรมากระทบ ก็ให้กำหนดเป็นปัจจุบันธรรม หรือปัจจุบันอารมณ์ ความรู้สึกเหล่านั้นมันดับไป เราก็เป็นนายของใจเรา..เพราะเรารู้เท่าทันมันได้ พูดแบบภาษาทั่วไปคือเราชนะใจตัวเองได้ไหม..
ของบางอย่างก็ต้องรู้จักฝืนจึงจะชนะมันได้.. จิตของเรามีสองด้าน คือด้านดี และด้านร้าย..หากเราไม่พยายามฝึก เราก็จะเชื่อด้านร้ายตลอด เพราะมันยุยงส่งเสริมให้เราเก่งมากๆ ยุให้ทำในสิ่งที่ผิดเสมอ.. แต่ด้านดีมักจะไม่ค่อยจะได้ทำ เพราะอำนาจของฝ่ายร้ายสูงและเก่งกว่า..
เราก็ต้องพยายามฝึกฝ่ายดีให้มีกำลังบ้าง ให้สูสีกับฝ่ายร้าย จึงจะต่อสู้กันพอฟัดพอเหวี่ยง.. ถ้าเราไม่ฝึกใจของเรา มันก็มีแต่แพ้ เพราะอำนาจฝ่ายดีไม่มีกำลังเพียงพอ.. ดังนั้นฝากไว้ ชีวิตที่วุ่นวายนี่แล่ะ เป็นสนามฝึกฝนจิตใจได้เป็นอย่างดี.
ดังนั้นจะเป็น พระป่า หรือ พระบ้าน ถ้าปฏิบัติก็เสมอกัน ถ้าไม่ปฏิบัติ ก็ไม่ต่างกัน
