ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธศิลป์..ในงานช่าง "อาหารตา-อาหารใจ ณ วัดแสงแก้วโพธิญาณ"  (อ่าน 2392 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พุทธศิลป์งานช่าง "วัดแสงแก้วโพธิญาณ"
พุทธศิลป์ในงานช่างอาหารตา-อาหารใจ ณ วัดแสงแก้วโพธิญาณ : ท่องไปในแดนธรรม เรื่องและภาพโดยไตรเทพ ไกรงู

วัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เริ่มจัดสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๙ โดยการนำของพระครูบาเจ้าอริยชาติ อริยจิตฺโต เจ้าอาวาส ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง และศรัทธาญาติโยมที่ได้ร่วมบุญ ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันสร้างวัดใหม่ขึ้นมาจนดำเนินการรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

       ผลงานที่ประจักษ์ชิ้นสำคัญ คือ อำนวยการก่อสร้างวัดแสงแก้วโพธิญาณ ทำให้ได้เห็นถึงความเป็นพระนักพัฒนาที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ของครูบาอริยชาติได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นความรู้ที่ท่านได้อ่านได้ศึกษาเรียนรู้มา ตลอดจนความรู้จากประสบการณ์ตรงที่ท่านพบจากการออกธุดงค์ ล้วนถูกนำมาถ่ายทอดสู่องค์ประกอบต่างๆ ภายในวัดแสงแก้วโพธิญาณได้อย่างงดงาม แยบยลและลงตัวเป็น “พุทธศิลป์ในงานช่าง” ซึ่งเป็นได้ทั้ง “อาหารตา” และ “อาหารใจ” ให้ญาติโยมผู้เข้ามาเยี่ยมเยือนได้เสพงานศิลป์เหล่านี้อย่างอิ่มเอมและเห็นถึงคุณค่าในวัฒนธรรมเก่าแก่ของบรรพบุรุษ

      ครูบาอริยชาติได้นำศิลปะต่างๆ มาผสมผสานอยู่ในงานช่างและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ของวัดให้มากที่สุด คือเพื่อให้วัดแสงแก้วโพธิญาณ เป็นทั้งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่พึ่งทางใจของชาวพุทธ และเป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับผู้มุ่งเสพงานศิลป์โดยเฉพาะได้อีกทางหนึ่ง

      พุทธศิลป์และศิลปะต่างๆ ที่สอดแทรกอยู่ภายในวัดแสงแก้วโพธิญาณ เป็นการผสมผสานงานศิลป์และรูปแบบ นั่นคือ ศิลปะล้านนา ศิลปะไต (ไทยใหญ่) และศิลปะพม่า ซึ่งศิลปะแต่ละรูปแบบเหล่านี้มีเอกลักษณ์และความงามที่โดดเด่นแตกต่างกัน

      ครูบาอริยชาติได้อธิบายถึงลักษณะของ “พุทธศิลป์” และศิลปะต่างๆ ที่สอดแทรกอยู่ภายในวัดแสงแก้วโพธิญาณว่า เป็นการผสมผสานงานศิลป์ ๓ รูปแบบ นั่นคือ ศิลปะล้านนา ศิลปะไต และศิลปะพม่า ซึ่งศิลปะแต่ละรูปแบบเหล่านี้มีเอกลักษณ์และความงามที่โดดเด่นและแตกต่างกัน



       “ศิลปะล้านนาส่วนมากจะมีลักษณะสงบ เรียบๆ ง่ายๆ ในขณะที่ศิลปะพม่าจะเน้นความอลังการ ส่วนศิลปะไต (ไทยใหญ่) จะเน้นความสลับซับซ้อน วิจิตรพิสดาร ครูบาอยากให้ดูแล้วมีทั้งความสงบ มีทั้งความอลังการ และมีความสลับซับซ้อนของงานศิลปะด้วย”

       สำหรับลักษณะการวางรูปแบบศิลปะภายในวัดแสงแก้วโพธิญาณนั้น หากเป็นโครงสร้างหลักหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นองค์ประกอบหลัก เช่น พระอุโบสถ หอระฆัง หอไตร เป็นต้น จะใช้รูปแบบศิลปะล้านนา ในขณะที่สิ่งปลูกสร้างรอง เช่น ศาลา วิหาร กุฏิ หอฉัน ส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะพม่ากับล้านนาซึ่งเป็นรูปแบบที่พบเห็นโดยทั่วไปในวัดทางภาคเหนือ ส่วนศิลปะแบบไตซึ่งมีรูปแบบที่สลับซับซ้อนส่วนใหญ่นำมาใช้ในการตกแต่งส่วนประกอบของอาคารต่างๆ เช่น บริเวณส่วนยอดหลังคาหรือส่วนยอดปราสาทมักเป็นศิลปะแบบไต เป็นต้น

       นอกจากศิลปะที่ปรากฏในสิ่งปลูกสร้างหรืออาคารต่างๆ แล้ว ยังมีงานศิลปะปูนปั้นและศิลปะประดับต่างๆ ซึ่งพบเห็นได้ตามส่วนต่างๆ ภายในวัด แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลด้านคติความเชื่อที่ได้รับมาจากหลายๆ แหล่ง ศิลปะเหล่านี้ เช่น

      นกยูง สิ่งน่าสนใจอีกประการหนึ่งซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์สำคัญของวัดแสงแก้วโพธิญาณ ทั้งยังเป็นศิลปะประดับที่ปรากฏอยู่ในส่วนสำคัญของศาลา หรือสิ่งปลูกสร้างหลายๆ หลัง เช่น ที่ส่วนหน้าบัน หรือส่วนสำคัญอื่นๆ ลูกศิษย์และญาติโยมหลายท่านให้ความเห็นว่า สาเหตุที่มักมีสัญลักษณ์ “นกยูง” ปรากฏอยู่ทั่วไปภายในวัด เนื่องจากนกชนิดนี้เป็นสัตว์ที่ครูบาอริยชาติโปรดปรานมากเป็นพิเศษ

       ในขณะที่พระธนพนธ์ ขนฺติวโร หรือ “หลวงพี่อั้ม” พระเลขาฯ ของครูบาอริยชาติ ได้อธิบายว่า เป็นความเชื่อจากชาดกที่ว่า ก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในชาติหนึ่งพระพุทธเจ้าเคยเกิดเป็นพญานกยูงทอง (พระมหามยุรีวิทยาราชา) ดังนั้นนกยูงจึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า การตกแต่งส่วนสำคัญๆ ของอาคารด้วยงานศิลป์รูปนกยูง จึงเป็นการสื่อถึงพระพุทธเจ้าอีกทางหนึ่งนั่นเอง



      มกรคายนาค (ตัวเหราที่อยู่บันไดทางขึ้น) เป็นศิลปะพม่า ทั้งนี้เพราะดินแดนภาคเหนือของไทยมีอาณาเขตติดกับพม่า ทั้งยังเคยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาก่อน จึงรับอิทธิพลจากฝั่งพม่ามาโดยปริยาย ดังนั้นบันไดนาคทางขึ้นของวัดที่เป็นแบบ “มกรคายนาค” จึงเป็นรูปแบบงานศิลปะที่พบเห็นได้ทั่วไปในพุทธสถานแถบทางเหนือของไทย

      มอม เป็นสัตว์ผสมระหว่างนาค แมว และสิงห์ เป็นศิลปะทางเหนือ กล่าวกันว่าในสมัยก่อนชาวบ้านใช้ “มอม” ในการแห่ขอฝน ก่อนที่จะมาจึงใช้แมวอย่างที่คุ้นเคยกันในปัจจุบัน ฯลฯ

       บัดนี้การจัดสร้างศาสนวัตถุที่สำคัญสำหรับทุกวัดก็คือ พระอุโบสถ เพื่อใช้เป็นศาสนสถานสำหรับประกอบสังฆกรรมต่างๆ ทางพระพุทธศาสนาได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย  ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ มีนาคม ๒๕๕๖ พระครูบาอริยชาติ พร้อมด้วยคณะศรัทธาทุกหมู่เหล่า จึงใคร่เจริญพรเชิญชวนท่านผู้มีใจบุญ ใจกุศล ที่มีกุศลจิตเจตนาที่แรงกล้า ได้ร่วมทำบุญในงานฉลองพระอุโบสถ-หอไตร-ศาลาไม้สัก-ห้องน้ำ พร้อมด้วยเสนาสนะและตัดหวายฝังลูกนิมิต


ขอบคุณภาพและบทความจาก
www.komchadluek.net/detail/20130322/154442/พุทธศิลป์งานช่างวัดแสงแก้วโพธิญาณ.html#.UVBEAjd6W85
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ