ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปุจฉา : พระพุทธเจ้าน้อย มีหรือไม่มี.? 'แก่นพุทธ' สำคัญกว่า  (อ่าน 1734 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ปุจฉาพระพุทธเจ้าน้อย มีหรือไม่มี?? 'แก่นพุทธ' สำคัญกว่า

การบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล ครั้งล่าสุด ที่ชาวพุทธไทยได้เป็นเจ้าภาพดำเนินการ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเนื่องในวโรกาส พุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา รวมถึงถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา
    โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 โดยมี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส และ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ


โครงการนี้ถึงตอนนี้ได้ดำเนินการมาถึงช่วงท้าย ๆ ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่ก็เกิดประเด็น ’ปุจฉา“ ขึ้นมา ในเรื่องการจัดสร้าง ’พระพุทธเจ้าน้อย“ เกิดประเด็นปุจฉาที่ว่า ’มีด้วยหรือ??“



ทั้งนี้ กับกรณี “พระพุทธเจ้าน้อย” นี้ ทางคณะกรรมการดำเนินโครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ระบุว่า...ขอขอบคุณในคำท้วงติงต่าง ๆ แต่ก็ขอชี้แจง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น กล่าวคือ...

     การจัดสร้าง “พระพุทธเจ้าน้อย” จริง ๆ คือการสร้าง ’พระโพธิสัตว์สิทธัตถะราชกุมาร“
     ซึ่งก็มีการสร้างกันมานานแล้วในหลายประเทศ ทั้งในเนปาล อินเดีย จีน ไต้หวัน
     รวมถึงวัดบางแห่งในไทย เช่น วัดสระเกศ วัดอโศการาม
     และที่วัดพระธาตุหริภุญชัยก็มีการขุดพบโดยกรมศิลปากรซึ่งมีอายุกว่า 1,000 ปี
     เพียงแต่ในไทยไม่ได้นิยมสร้างพระโพธิสัตว์สิทธัตถะราชกุมารกันแพร่หลายเหมือนพระพุทธรูปปางต่าง ๆ จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก


พระโพธิสัตว์สิทธัตถะราชกุมาร เป็นสัญลักษณ์ที่มีแก่นสารความหมายแฝงอยู่ เป็นรูปแทนของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อครั้งประสูติ ทรงประทับยืน ยกพระหัตถ์ขวานิ้วชี้ชี้ขึ้นฟ้า พระหัตถ์ซ้ายนิ้วชี้ชี้ลงดิน ทรงประกาศสัจจาอธิษฐานที่จะทรงบำเพ็ญให้เข้าถึงความประเสริฐสูงสุดแห่งความเป็นมนุษย์
     ซึ่งสัญลักษณ์นี้น่าจะ ช่วยเตือนสติชาวพุทธให้ทบทวนถึงจุดหมายชีวิตว่าเกิดมาทำไม
     อะไรคือเป้าหมายอันประเสริฐในชีวิตนี้ แล้วตั้งสัจจะที่จะประพฤติปฏิบัติกุศลธรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นเหตุที่จะนำไปสู่เป้าหมายของผลที่ดี



   ถามว่า...จะจัดสร้างพระโพธิสัตว์สิทธัตถะฯ ไฉนกลายเป็นพระพุทธเจ้าน้อย
   ประเด็นนี้คณะกรรมการฯ ระบุว่า...ที่เมือง BHAJRAHAWA ในเนปาล ที่ตั้งของลุมพินีสถาน มีการสร้างพระโพธิสัตว์สิทธัตถะฯ ประดิษฐาน ณ วงเวียนกลางเมือง
   โดยฝรั่งมักเรียกว่า “BABY BUDDHA” แปลเป็นภาษาไทยก็ประมาณว่า ’พระพุทธเจ้าน้อย“
   ซึ่งทางคณะกรรมการฯ เห็นว่าเป็นการเรียกที่สร้างความจดจำได้ง่าย จึงได้มีการใช้คำนี้


   ชื่อนี้เป็นเพียงสมมติสัจจะที่ใช้เรียกขานกันเท่านั้น สิ่งสำคัญยิ่งกว่าที่คำนึงถึงก็คือ คุณค่าและแก่นสารความหมายของการจัดสร้าง เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า

    ทางคณะกรรมการดำเนินโครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ระบุไว้อีกว่า...
    ก่อนหน้านี้มีชาวพุทธในหลายประเทศพยายามจะขออนุญาตบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่แห่งนี้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จะบูรณะอะไรต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการกองทุนพัฒนาลุมพินี และคณะกรรมการมรดกโลกก่อน ซึ่งการที่ไทยได้รับอนุญาต นับเป็นครั้งที่ 3 ในประวัติศาสตร์การบูรณะ



    การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งที่ 1 มีขึ้นในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อประมาณปี พ.ศ. 236 โดยมีการสร้าง “เสาหินอโศก” ไว้เป็นอนุสรณ์การบูรณะ
    ครั้งที่ 2 ดำเนินการโดยองค์การสหประชาชาติภายใต้การผลักดันของ อูถั่น ชาวพม่าซึ่งเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติเมื่อปี 2513 เพื่อฉลองพุทธศตวรรษที่ 25

การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งที่ 3 นี้ ทางคณะกรรมการฯ ได้รับคำขอจากกรรมการกองทุนฯ ลุมพินีแห่งเนปาลว่าน่าจะสร้าง “BABY BUDDHA” องค์สมบูรณ์ เพื่อประดิษฐานตรงทางเข้าสู่ วิหารมายาเทวี ซึ่งนี่ก็เป็นจุดสำคัญของที่มาในการจัดสร้าง “พระโพธิสัตว์สิทธัตถะราชกุมาร” หรือ ’พระพุทธเจ้าน้อย“ โดยเชิญชวนชาวพุทธไทยให้ร่วมกัน โดยการบูชาแผ่นทองคนละเล็กละน้อยตามกำลัง แล้วนำแผ่นทองหลอมรวมเพื่อจัดสร้าง

ทั้งนี้ กับข้อกังขาที่ว่า ’พระพุทธเจ้าน้อย“ จริง ๆ ’มีหรือไม่มี??“ นั้น ทาง พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์ ปิยโสภณ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ระบุผ่าน “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ถึงชาวพุทธว่า...
    ต้องมองว่าเรื่องนี้เริ่มจากการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติเพื่อจะเชิดชูบูชาพระพุทธเจ้า เป็นเจตนาที่ดี แม้ในตำราจะไม่มีคำว่าพระพุทธเจ้าน้อย แต่มีคำว่าพระพุทธเจ้าอยู่ด้วย ศรัทธาก็เกิด เข้าใจง่าย ดึงดูดคนให้สนใจ

พระศรีญาณโสภณ ระบุอีกว่า...ฝ่ายจัดสร้าง “พระพุทธเจ้าน้อย” มีเจตนาดีต่อศาสนา ต้องการถวายพระเกียรติ จึงไม่อยากให้เกิดกรณีพิพาทของชาวพุทธในเรื่องนี้ ’อยากให้คิดถึงแก่นแท้ของพุทธศาสนาและหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า การละความชั่ว ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว...

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.dailynews.co.th/article/223/192649
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2556 เวลา 00:00 น.
http://www2.g-pra.com/,http://sphotos-a.xx.fbcdn.net/,http://static.cdn.thairath.co.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ