ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขยะอิเล็กทรอนิกส์ จัดการได้ถ้าทุกคนช่วยกัน  (อ่าน 1462 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ขยะอิเล็กทรอนิกส์ จัดการได้ถ้าทุกคนช่วยกัน

มนุษย์ เป็นผู้สร้างขยะ บางชนิดเราสามารถลดปริมาณของมันได้ ด้วยการเผาหรือฝังกลบ หรือปล่อยให้มันย่อยสลายเองตามธรรมชาติ แต่บางชนิดไม่สามารถย่อยสลายได้ อย่างเช่น ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า e-waste ขยะเหล่านี้ ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ แบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งนับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ


ปัจจุบันทั่วโลกมีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 20–50 ล้านตัน ถ้านึกไม่ออกว่ามันมากขนาดไหน ลองนึกภาพว่าเราเอาขยะเหล่านี้ใส่ในตู้คอนเทเนอร์ มันจะกลายเป็นขบวนรถไฟที่ยาวเท่าหนึ่งรอบโลกเลยทีเดียว

สำหรับในประเทศไทยมีแหล่งกำเนิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ 2 กลุ่มใหญ่ คือ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นเศษจากขยะเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสินค้า และผลิตภัณฑ์ผลิตออกมาแล้วไม่ได้เกณฑ์มาตรฐาน และอีกกลุ่มหนึ่งคือบ้านเรือนหรือตามบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นขยะที่เกิดขึ้นจากการใช้งานผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าจนหมดอายุ หรือเครื่องเสียจนไม่สามารถซ่อมให้กลับมาใช้งานได้อีก



    ผลการสำรวจของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ในปี พ.ศ. 2550 ขยะอันตรายหรือของเสียอันตราย
    มีปริมาณทั้งสิ้น 440,716 ตัน แบ่งเป็นของเสียอันตรายทั่วไป 131,871 ตัน (ร้อยละ 30)
    และขยะอิเล็กทรอนิกส์ 308,845 ตัน (ร้อยละ 70)


  แต่ในปี พ.ศ. 2555 มีของเสียอันตราย 513,631 ตัน แบ่งเป็นของเสียอันตรายทั่วไป 153,917 ตัน
  และขยะอิเล็กทรอนิกส์ 359,714 ตัน และคาดว่าในปี พ.ศ. 2559 จะมีของเสียอันตรายเกิดขึ้น 573,463 ตัน
  ในจำนวนนี้เป็นของเสียอันตรายทั่วไป 172,076 ตัน และขยะอิเล็กทรอนิกส์ 401,387 ตัน


     จะเห็นได้ว่าปริมาณอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงร้อยละ 12 ต่อปี
     ซึ่งถือว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นในระดับที่ค่อนข้างสูงมาก



ขยะอิเล็กทรอนิกส์ กลายเป็นประเด็นฮอตขึ้นมา เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ออกมาประกาศการใช้สัญญาณทีวีดิจิทัล ซึ่งหากประเทศไทยเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีการออกอากาศโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบทีวีดิจิทัล
    จะมีเครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ตามบ้านเรือน 20 ล้านเครื่อง ถูกทิ้งและกลายเป็นขยะอันตรายทันที
    อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนถ่ายสู่ระบบดิจิทัลนั้น ประชาชนไม่จำเป็นต้องซื้อโทรทัศน์ใหม่ทั้งหมด เ
    พราะวิธีการรับชมระบบดิจิทัลนั้นมีหลายอย่าง เช่น การใช้ระบบกล่อง หรือเสาอากาศ
    หรือระบบอื่น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องซื้อทีวีดิจิทัลก็ได้


ในแต่ละวัน ในเขตกรุงเทพมหานครมีขยะอันตรายถึง 1.40 ตันต่อวัน ซึ่งรวมถึงซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ถึงแม้ในปัจจุบันยังไม่มีระบบรองรับการจัดการซากผลิตภัณฑ์เป็นการเฉพาะ แต่กรุงเทพมหานครได้สร้างระบบรองรับการแยกทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์จากบ้านเรือนประชาชน โดยจ้างบริษัทเอกชน คือ บริษัท อัคคีปราการ จำกัด ที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นผู้กำจัดอย่างถูกวิธีเช่นเดียวกับการกำจัดมูลฝอยอันตรายจากชุมชน
    แต่เนื่องจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิทัล โน้ตบุ๊ก และแบตเตอรี่ทั้งหลาย
    รวมไปถึง MP3 MP4 มีส่วนประกอบที่เป็นทรัพยากรที่มีมูลค่า เช่น โลหะมีค่า
    สามารถนำไปขายเพื่อแยกสกัด โลหะมีค่านำกลับมาใช้ประโยชน์



ประกอบกับผลการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มครัวเรือน ในการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เมื่อไม่ใช้งานแล้วของกรมควบคุมมลพิษเมื่อปี 2555 ระบุว่า
     ผู้บริโภคกลุ่มนี้จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยการขาย 51.27%
     เก็บไว้ 25.32% ทิ้งรวมกับขยะทั่วไป 15.60% และให้ผู้อื่น 7.84%


     จึงอาจเป็นสาเหตุให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่เข้าสู่ระบบการจัดการของกรุงเทพมหานครเท่าที่ควร
     ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมามากมาย เพราะขยะอิเล็กทรอนิกส์มีโลหะหนักเป็นส่วนประกอบ เช่น สารตะกั่ว ส่วนใหญ่พบในแบตเตอรี่ แผ่นวงจร หลอดจอภาพ หลอดฟลูออเรสเซนต์ สารแคดเมียม มักพบในแผ่นวงจรพิมพ์ ตัวต้านทาน หลอดภาพรังสีแคโทด และสารปรอท พบในสวิตช์ควบคุมการเปิดปิดแผ่นวงจร เป็นต้น
     แต่อย่างไรก็ตาม ขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้สามารถนำมารีไซเคิลได้ เนื่องจากมีส่วนประกอบที่เป็นทรัพยากรที่มีมูลค่า สามารถนำไปแยกสกัดโลหะมีค่าเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์



แม้ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์จะมีปริมาณสูง ทวีความรุนแรง แต่กรุงเทพมหานครได้สร้างระบบรองรับการแยกทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์จากบ้านเรือนประชาชนไว้รองรับแล้ว อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรุงเทพมหานครเพียงหน่วยงานเดียวย่อมไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จ องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมบูรณาการทั้งในส่วนนโยบายและในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้สอดคล้องและส่งผลเป็นรูปธรรมให้มากที่สุด ขณะเดียวกันประชาชนทุกคนต้องจะต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยการคัดแยกขยะเหล่านี้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงการมีจิตสำนึกในการใช้งานเทคโนโลยี

คราวหน้าจะซื้อคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก หรือจะเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ ควรจะต้องคิดให้หนักขึ้น เพราะทุกครั้งที่เราเปลี่ยน เท่ากับสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว!!.

ทีมเดลินิวส์38
y_38@dailynews.co.th


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.dailynews.co.th/article/348/197930
วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2556 เวลา 00:00 น.
http://www.vcharkarn.com/,http://mblog.manager.co.th/,http://www.oknation.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ