การสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
พระพุทธศาสนา ยุคต้นพุทธกาลพระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย ต้นแบบ เป็นพระอาจารย์ใหญ่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ประจำต้นยุคพุทธกาล
ยุคปลายพุทธกาล ถึงหลังพุทธกาลครั้ง ปฐมสังคายนาพระราหุลเถรเจ้า พระองค์ท่าน ทรงมีสัทธิวิหาริกในครั้งพุทธกาล พระองค์หนึ่งนามว่า พระโกลิกะเถรเจ้า เป็นผู้สืบพระกรรมฐานมัชฌิมา องค์ต่อมา พระโกลิกะเถรเจ้า ได้เข้าร่วมสังคายนา กับพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป
ปฐมสังคายนา ปรารภเรื่องพระสุภัททะภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย จึงปรารภที่จะทำให้พระธรรมวินัยรุ่งเรื่องสืบไป ครั้งนั้น พระมหากัสสปะเถรเจ้า เป็นประธาน และเป็นผู้ถาม พระอุบาลีเถรเจ้า เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์เถรเจ้า เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม ประชุมสังคายนาที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภารบรรพต เมืองราชคฤห์ หลังเข้าพุทธปรินิพพานได้ สามเดือน โดยพระเจ้าอชาติศัตรู ทรงเป็นศาสนูปถัมภพ สิ้นเวลา ๗ เดือนจึงแล้วเสร็จ
พระพุทธศาสนา ยุคหลังพุทธกาล ครั้งทุติยสังคายนา พระมันลิกะเถระเจ้า เป็นพระอาจารย์ใหญ่พระกรรมฐานมัชฌิมา ประจำยุคหลังพุทธกาล ในดินแดนชมภูทวีป ท่านประสูติหลังพุทธกาลล่วงแล้วได้ ๒๙ พรรษา บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระโกลิกะเถรเจ้า ที่เมืองเวสาลี ศึกษาพระกรรมฐาน แบบมัชฌิมาในสำนัก พระโกลิกะเถรเจ้าๆ ท่านเป็นสัทธิวิหาริก ของพระราหุลเถรเจ้า พระมันลิกะเถรเจ้า ท่านได้เข้าร่วมทุติยสังคายนา
ท่านนิพพานหลังพุทธกาลล่วงแล้วได้ ๑๑๔ ปี ชนมายุประมาณ ๘๕ พรรษา หลังท่านนิพพานแล้วบารมีธรรมของท่านยังแผ่ไปอีก ๕๐๐ ปี โดยท่านเจริญอิทธิบาทภาวนา เข้าสุขสัญญา ลหุสัญญา อธิฐานกายทิพย์ดูแลรักษาพระศาสนา ต่อไปอีก ๕๐๐ ปี หลังเข้านิพพานทุติยสังคายนา ปรารภเรื่องภิกษุวัชชีบุตร แสดงวัตถุ ๑๐ ประการนอกธรรมนอกวินัย พระยศกากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวนให้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป ใน ๗๐๐ รูปนั้นมี พระมันลิกะเถรเจ้า รวมอยู่ด้วย พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามี เป็นผู้วิสัชชนา ประชุมทำที่วาสิการาม เมืองเวสาลี เมื่อพุทธกาลล่วงแล้วได้ ๑๐๐ ปี โดยพระเจ้ากาลาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก ทำสิ้นเวลา ๘ เดือนจึงเสร็จ
พระมันลิกะเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ให้แก่สัทธิวิหาริกสืบต่อมา คือ พระโสณกะเถรเจ้า
พระโสณกะเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา
ให้กับ พระสิคควะเถรเจ้า และพระจัณฑวัชชีเถรเจ้า
พระสิคควะเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา
ให้กับ พระโมคลีบุตรติสสะเถรเจ้า และพระโสนันตะเถรเจ้า
พระจัณฑวัชชี บอกพุทธพจน์ให้กับ พระโมคคัลลีบุตติสสะเถรเจ้า และพระโสนันตะเถรเจ้า
พระโมคลีบุตรติสสะเถรเจ้า ขึ้นพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระโสณเถรเจ้า และพระอุตระเถรเจ้า และให้สอบอารมณ์กับ พระโสนัตตเถรเจ้า
ต่อมาพระโสณเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระชาลตะเถรเจ้า
พระกิตตระเถรเจ้า พระภูริยะเถรเจ้า
พระอุตระเถรเจ้า บอกกรรมฐานให้กับ พระญาณเถรเจ้า พระมหาเถรทั้ง ๔ พระองค์ได้เข้าร่วม ตติยสังคายนา คือ
๑.พระโมคคัลลีบุตติสสะ ๒.พระโสนันตะเถร ๓.พระโสณเถร ๔.พระอุตรเถร
พระพุทธศาสนา ยุคหลังพุทธกาล ครั้งตติยสังคายนาพุทธกาลล่วงแล้วได้ประมาณ ๒๑๖ ปี ก่อนตติยสังคายนา จึงหมดพระกรรมฐานแบบสันโดดคือ การเจริญพระกรรมฐานแบบกองใด กองหนึ่ง อย่างใด อย่างหนึ่ง ของพระมหาสาวกทั้งหลาย เหลือแต่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เป็นพระกรรมฐานทางสายกลาง ของพระราหุลเถรเจ้า
เหตุที่เรียกพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เพราะเป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง เป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนาทั้งมวลไว้ในที่เดียวกัน เพื่อไม่ให้พระสมถะกรรมฐาน ๔๐กอง และพระวิปัสสนาทั้งมวล แตกกระจายสูญหายไปในทางปฏิบัติ (คือไม่เหลือ แต่ตำรา) อีกทั้งไม่ให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใด กองหนึ่ง พระกรรมฐานแบบมัชฌิมา แบบลำดับ อันเป็นของ พระผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นเลิศทาง เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา คือ พระราหุลเถรเจ้า
ตติยสังคายนา ปรารภเดียรถีย์มากมาย ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา เพราะมีลาภสักการะเกิดขึ้นมาก พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ รูป พระโมคคลีบุตรติสสะเถรเป็นประธาน ขณะนั้นพระชนมายุได้ ๑๑๘ พรรษา (ชนมายุ ๑๒๐ ปีจึงเข้านิพพาน) ประชุมทำสังคายนากันที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๔ โดยพระเจ้าอโศกมหาราช หรือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภพ สิ้นเวลา ๙ เดือนจึงเสร็จ
พระโมคคลีบุตรติสสะเถรเจ้า ประสูติในเรื่อนของ นางโมคคลีพราหมณ์ ได้นามว่า ติสสะมานพ ชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระสิคควะเถร นำติสสะมานพ ออกบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเรียน พุทธมนต์ ติสสะมานพ บรรพชาแล้ว ได้บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา เบื้องต้น มีปีติทั้งห้า พระยุคลทั้งหก สุขสมาธิสองให้สามเณรติสสะ เธอทำบริกรรม พุทโธ ในห้องพุทธานุสสติกรรมฐานนั้นอยู่ ละสักกายทิฎฐิ ละความสงสัยพระรัตนไตร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว พระอาจารย์ คิดว่า ถ้าบอกพระกรรมฐานเพิ่มให้แก่สามเณรติสสะ เธอจะมีความขวนขวายน้อย ในการที่จะเรียนเอา พุทธพจน์
พระสิคควะเถร จึงส่งสามเณรติสสะ ไปเรียนพุทธพจน์ จาก พระจัณฑวัชชีเถรเจ้า ติสสะสามเณร ได้เรียนเอาพุทธพจน์นั้นทั้งหมด ยกเว้นวินัยปิฎก อุปสมบทแล้วยังไม่ได้พรรษา ทรงพระไตรปิฎก
ครั้นพระอาจารย์ และอุปัชฌายะ นิพพานแล้ว ทรงเจริญกรรมฐานมัชฌิมาต่อจนจบตามลำดับ และบรรลุพระอรหันต์ และได้บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา และพระพุทธพจน์ ธรรมวินัย แก่ภิกษุเป็นจำนวนมาก
พระโมคคลีบุตรติสสะ เป็นพระอุปัชฌาย์ ของพระมหินท์เถรเจ้า พระโสณเถรเจ้า พระอุตรเถรเจ้าพระเจ้าอโศก ส่งพระสงฆ์ไปเผยแผ่พระศาสนาท่านพระโมคคลีบุตรติสสเถรเจ้า ครั้นทำตติยสังคายนาเสร็จแล้ว จึงดำริว่า ต่อไปภายหน้าว่าพระศาสนาจะดำรงมั่น ณ ที่ใด ครั้นพิจารณาแล้วท่านก็ทราบด้วย พระอนาคตังสญาณว่า พระศาสนาจะดำรงมั่นในปัจจันตชนบท ท่านจึงมอบให้ภิกษุเหล่านั้น ส่งท่านเหล่านั้นไปในรัฐนั้นๆคือ
๑.พระมัชฌัมติกเถร ไปกัสมีรคันธารรัฐ
๒.,พระมหาเทวเถร ไป มหิสกมณฑล
๓.พระรักขิตเถร ไปแคว้น วนวาสี
๔.พระโยนกธรรมรัต ไปแคว้นอปรันตกะ
๕.พระมหาธรรมรักรัต ไปมหารัฐ
๖.พระมหารักขิตเถร ไปโยนกโลก
๗.พระมัชฌิมเถร ไปหิมวันตประเทศ
๘.พระมหินทเถร ไปลังกาทวีป
๙.พระโสณเถร พระอุตระเถร ไปสุวรรณภูมิ
พระโมคคลีบุตรติสสเถรเจ้า ส่งพระโสณเถร พระอุตระ ไปสุวรรณภูมิ แล้วสั่งว่า ผู้เป็นเจ้าผู้เจริญทั้งสอง เมื่อไปถึงสถานที่นั้นแล้ว จงประดิษฐานพระศาสนาในสุวรรณภูมินั้น
พระเถรเจ้าทั้งสองก็นมัสการ ลาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถรเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ แล้วออกมาจากที่ประชุมนั้น คณะสงฆ์ที่จะไปดินแดน สุวรรณภูมิ มีพระเถรผู้ใหญ่ หรือพระเถรองค์ใหญ่ ๕ รูป คือ
๑.พระโสณเถรเจ้า
๒.พระอุตระเถรเจ้า
๓.พระชาลตะเถรเจ้า
๔.พระกิตตระเถรเจ้า
๕.พระภูริยะเถรเจ้า และพระสงฆ์สัทธิวิหาริก พระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้าอีก ๗ รูป คือ
๑. พระญาณเถร
๒. พระณิชาเถร
๓.พระปฐวีเถร
๔.พระชาตเถร
๕.พระติสสะเถร
๖. พระปาโสเถร
๗. พระเตชิตะเถร รวม ๑๒ รูป
หลังตติยสังคายนาแล้ว ไม่นาน คณะของพระโสณเถร พระอุตระเถระ จึงเดินทางออกจาก อโศการามมหาวิหาร เมืองปาฎลีบุตร กรุงราชคฤห์ ในชมพูทวีป มาแวะที่เกาะลังกาก่อน ในสมัยพระเจ้ากุฎสีวะเทวะ คณะของพระโสณเถรเจ้า ล่วงหน้ามาก่อน คณะของพระมหินทเถรเจ้า คณะของพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า อยู่เกาะลังกานั้น ได้บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา ให้กับ พระจิตตกะเถรเจ้า กาลต่อมาพระจิตตกะเถรเจ้า เป็นอาจารย์บอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระอุบาลีเถรเจ้า แห่งเกาะลังกา
อ้างอิง
ตำนานสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของพระราหุลเถรเจ้า
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ)
คุณครูอริสาครับ ผมแนบไฟล์หนังสือ"ตำนานสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ"
ที่ใช้อ้างอิงมาให้ ผมนำมาจากเว็บสมเด็จสุก หวังว่าคงถูกใจไม่มากก็น้อย
