ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "บิณฑบาตโปรดโยมปราบเปรต" วัตร'หลวงพี่น้ำฝน'  (อ่าน 1997 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


บิณฑบาตโปรดโยมปราบเปรตวัตร
ในยามเช้าตรู่ของ 'หลวงพี่น้ำฝน' พระวินยาธิการ
เรื่องและภาพ โดยไตรเทพ ไกรงู

"พระวินยาธิการ" เป็นคำใหม่ที่ใช้เรียกพระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าคณะจังหวัดให้มีหน้าที่ช่วยเหลือด้านการปกครองคณะสงฆ์ในจังหวัด โดยเฉพาะหน้าที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยด้านการปฏิบัติวินัยของพระภิกษุสามเณร หรือภาษาปากว่า ตำรวจพระ หมายถึง พระภิกษุชาวไทยผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามพระวินัย

หน้าที่ของพระวินยาธิการ คือ ตรวจตรา แนะนำ ตักเตือน และชี้แจงระเบียบปฏิบัติแก่พระภิกษุสามเณรในจังหวัดหรือที่เข้ามาในจังหวัด บรรดาที่ประพฤติไม่เรียบร้อย และหากไม่ปฏิบัติตามหรือพบการกระทำความผิดก็มีอำนาจจับกุมตัวส่งเจ้าคณะผู้รับผิดชอบหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ แต่ไม่มีอำนาจในการให้สละสมณเพศ

ปัจจุบัน แม้ว่าพระวินยาธิการเป็นตำแหน่งที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ ทำให้การปฏิบัติหน้าเป็นไปอย่างติดๆ ขัดๆ แต่สำหรับพระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หรือหลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม หัวหน้าพระวินยาธิการจังหวัดนครปฐม ท่านได้ทำหน้าที่อย่างแข็งขัน เช้าตรู่ของทุกๆ วัน
    หากไม่มีกิจนิมนต์นอกฉันเช้า หลวงพี่น้ำฝนจะตื่นตั้งแต่ตี ๕ เพื่อเตรียมตัวออกไปบิณฑบาต
    โดยท่านเดินบิณฑบาตในตลาดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ทั้ง ๔ แห่ง เป็นระยะทางเกือบ ๕ กิโลเมตร
    ใช้เวลาเกือบ ๒ ชั่วโมง


หลวงพี่น้ำฝน บอกว่า การบิณฑบาต เป็นกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรในพระพุทธศาสนา ในการออกเดินถือบาตรรับการถวายภัตตาหารหรือสิ่งของจากชาวบ้านในเวลาเช้า เรียกว่าการออกบิณฑบาต การออกบิณฑบาตของพระภิกษุเป็นกิจวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
     โดยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่า การบิณฑบาตเป็นกิจอันประเสริฐ หรือในสามัญเรียกว่าการโปรดสัตว์
     เพราะการออกบิณฑบาตนั้นนับว่าเป็นการเผยแผ่พระศาสนาทางหนึ่งด้วย
     ดังในสมัยพุทธกาลที่พระภิกษุสงฆ์จะเทศนาโปรดแก่บรรดาชาวบ้านซึ่งมาร่วมทำบุญ
     อันเป็นต้นเหตุแห่งการสวดให้พรหลังภัตตกิจในปัจจุบันนี้

 
ขณะเดินไปบิณฑบาต นิยมมีสมณสารูปสำรวมกิริยาเรียบร้อย สำรวมกาย สำรวมตา สำรวมปาก ไม่เดินเร็ว หรือเชื่องช้าเกินไป ไม่เหลียวซ้ายแลขวาลอกแลก ไม่เที่ยวทักคนนี้คนนั้นอันแสดงถึงความไม่สำรวม หรือไม่นิยมเดินพูดคุยกันระหว่างพระภิกษุสามเณรด้วยกัน





สำหรับคำพูดที่ว่า "บิณฑบาตโปรดโยมปราบเปรต" หลวงพี่น้ำฝน บอกว่า ในสังคมละเลยการประพฤติในศีลธรรม ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา กล่าวคือ
     บางคน บางกลุ่ม เมื่อบวชแล้วไม่สนใจศึกษา และปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัย กฎ ระเบียบ คำสั่งมหาเถรสมาคม อาศัยช่องทางจากความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยของชาวพุทธ ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจหลักพระพุทธศาสนา แสวงหาผลประโยชน์โดยวิธีการต่างๆ
    เช่น บางคนเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วออกแสวงหาลาภสักการะ
    โดยการออกบิณฑบาตบ้าง บอกบุญ เรี่ยไรเงินทอง เพื่อประโยชน์ตนเองบ้าง ปักกลด
    ทำทีเป็นผู้ปฏิบัติเคร่งครัด บางพวกตั้งตนเป็นหมอดูทำนายทายทัก บอกใบให้หวย เป็นหมอยา หมอเสน่ห์
    ยิ่งกว่านั้นบางพวกถึงขนาดปลอมบวช โดยใช้อุบายที่แยบยลยากที่จะแก้ไข

จากการออกบิณฑบาต พบว่า พระภิกษุจากจ.สุพรรณบุรีมาเรี่ยไรใน จ.นครปฐม แล้วถูกจับกุมมาแล้วบ่อยครั้ง แต่ที่เรียกว่า บิณฑบาตหากินกันเป็นทีม คือ
    เมื่อวันศุกร์ที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ ตำรวจพระนครปฐมได้รับแจ้งจากญาติโยม
    มีพระสงฆ์นำสามเณรเดินทางมาเรี่ยไร จึงนิมนต์มาสอบสวน ประกอบด้วยพระ ๑ รูป สามเณร ๓ รูป
    ให้การว่า มาจากสำนักสงฆ์วังซับใหญ่ ต.พลับพลาชัย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
    ชื่อ พระประเทือง ปัญญาธโร นายจักร มณีวงศ์ ๔๕ ปี ให้การว่า เดินทางออกมาจากสำนักสงฆ์ ตั้งแต่เวลาตีสอง
    เดินทางด้วยรถตู้ฉันอาหารเช้าบนรถ ที่วัดมีรถตู้ ๔ คัน รถเก๋ง ๑ คัน รถกระบะวีโก้ อีก ๑ คัน


    ทีมงานออกเรี่ยไร แบ่งกันเป็นสาย มุ่งไปตามจังหวัดต่างๆ เช่น อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม
    โดยค่าเช่ารถตู้วันละ ๑,๕๐๐ บาท ค่าคนขับรถวันละ ๔๐๐ บาท ค่าน้ำมันวันละ ๕๐๐ บาท
    พระที่สำนักสงฆ์มีทั้งหมด ๙ รูป สามเณร ๑๙ รูป มีเจ้าสำนักชื่อ พระอาจารย์สะอาด สุจิณโณ อายุ ๘๐ ปี
    มีแม่ชี ๒ คน มีฆราวาสอีก ๓ คน แต่ละสายที่ออกไปเรี่ยไร จะได้ปัจจัยประมาณสายละ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ บาทต่อวัน พระอาจารย์สะอาดจะแบ่งให้องค์ละ ๑๐๐ บาท เท่ากันทั้งพระเณร
 
    "มีพระภิกษุ-สามเณรบางส่วนที่หวังอาศัยพระพุทธศาสนาบังหน้าในการแสดงหาลาภ ยศ สรรเสริญ สุข โดยไม่ยึดหลักพระธรรมวินัย บางครั้งก็เป็นคนจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ เพื่อเรี่ยไรเงินจากชาวบ้านซึ่งปัญหาดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง
     เพราะหากินบนความศรัทธาของประชาชน ทั้งนี้ หากพบทางสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดจะดำเนินการขอดูใบอนุญาตการเรี่ยไรเงิน ใบสุทธิ ว่าเป็นของจริงหรือไม่ หากพบว่าไม่ถูกต้องจะดำเนินการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีทางกฎหมาย แต่ถ้าพระภิกษุสงฆ์จริงก็จะให้เจ้าคณะผู้ปกครองตักเตือนไม่ให้มีกระทำการดังกล่าวอีก"
หลวงพี่น้ำฝน พูดทิ้งท้าย





ทำบุญตักบาตรด้วยปัญญา

ในฐานะที่เป็นหัวหน้าพระวินยาธิการจังหวัดนครปฐม หลวงพี่น้ำฝน ได้มีคำแนะนำไม่ให้ญาติโยมใส่บาตรพระกับ พระที่ไม่น่าเลื่อมใสไว้ ๗ ประการ คือ
    ๑.ย่ามใหญ่ ซึ่งภายในย่ามอาจมีผ้าขนหนู เสื้อผ้า สบู่ ยาสีฟัน อย่างครบคันรวมอยู่ในย่าม
    ๒.จีวรไม่สะอาด เพราะต้องนอนตามสถานีรถไฟ
    ๓.มีบาตรและกลดพระติดตัวในย่านชุมชนเมือง ซึ่งกิจของพระธุดงค์ต้องเดินห่างจากชุมชนเมือง ๒๕ กม. เป็นการเดินในป่าไม่ใช่ในเมือง
    ๔.นอนมั่วทุกแห่ง
    ๕.แหล่งที่พักไม่แน่นอน สัญจรอยู่ตลอดเวลา
    ๖.อธิษฐานพรรษาไม่ถูก
    ๗.ไม่มีใบสุทธิ


    ปัญหาการเรี่ยไรเงินถือว่าเป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก โดยเฉพาะช่วงปลายเดือนมีนาคม-เมษายน เพราะจะเป็นช่วงที่ตามวัดต่างๆ จะมีพิธียกช่อฟ้า ฝังลูกนิมิต บางวัดจึงจำเป็นออกเรี่ยไรเงินจากพุทธศาสนิกชน ทั้งนี้สำหรับการเรี่ยไรเงินจะต้องมีการนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการระดับ จังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ในพื้นที่นั้น เพื่อออกใบอนุญาตการเรี่ยไรเงิน ซึ่งจะต้องออกในนามวัดเท่านั้น ไม่มีการออกให้เป็นรายบุคคล และสามารถจะออกเรี่ยไรได้ภายในจังหวัดเท่านั้น จากนั้นจะมีการทำหนังสือเวียนแจ้งไปยังสถานีตำรวจ และวัดในพื้นที่ได้รับทราบ

     การแก้ปัญหาการเรี่ยไรเงิน พระวินยาธิการไปดำเนินการลำบากมากขึ้น เนื่องจากพวกนี้จะมากันเป็นกลุ่ม หากจะเข้าไปตักเตือนก็จะมีกลุ่มนักเลงที่มากับผู้เรี่ยไรเข้ามาข่มขู่ ดังนั้น พระวินยาธิการต้องขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาอารักขาด้วย อย่างไรก็ตาม อาตมาขอเตือนว่าเมื่อพบกลุ่มที่มาเรี่ยไรเงิน หากไม่แน่ใจว่าจริงหรือหลอกลวง ให้ขอดูใบอนุญาตได้ทันที และสามารถโทรสอบถามไปยังสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดได้ด้วย และหากพบว่าเป็นพระแล้วมาขอเรี่ยไรโดยลำพัง ให้ตั้งสมมุติฐานได้เลยว่าไม่ได้รับอนุญาตให้มา
             
     ทั้งนี้ หลวงพี่น้ำฝน พูดทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดว่า “การทำบุญเป็นเรื่องของศรัทธาที่ต้องบวกด้วยปัญญา อย่ายึดการทำบุญในแบบโฆษณาชวนเชื่อว่าทำมากจะได้มาก
     เรื่องบุญจึงเป็นเรื่องเดียวกันที่ต้องเข้าใจว่า
     ไม่ใช่การทำบุญโดยยึดปริมาณมากกว่าแล้วจะได้ผลบุญมากตาม
     ถ้าทำอย่างนั้นน่าจะเรียกได้ว่าเอาบุญมากลบปัญญา
     การทำบุญยังต้องทำแบบสายกลาง คือ ต้องไม่ทำแบบทุ่มสุดตัว มีเท่าไรทำบุญหมดคงไม่ได้
     เพราะชีวิตเราต้องกินต้องใช้ในเรื่องอื่นด้วย”


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20130430/157289/บิณฑบาตโปรดโยมปราบเปรตวัตรหลวงพี่น้ำฝน.html#.UYHKakrSi85
http://www.thongthailand.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ