ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฆราวาสกับการปฏิบัติธรรม  (อ่าน 2420 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ฆราวาสกับการปฏิบัติธรรม
« เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2013, 08:32:06 am »
0



ฆราวาสกับการปฏิบัติธรรม

ผู้สนใจท่านหนึ่งได้เมล์มาถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ แก่ท่านอื่นๆ ด้วย จึงขออนุญาตนำมาลงเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

 ask1
คำถาม
Sent: Tuesday, March 12, 2002 8:36 AM
Subject: สภาวะการมีครอบครัว...
สภาวะการมีครอบครัวที่เรายังต้องมีหน้าที่ของภรรยาที่ต้องปฏิบัติต่อผู้เป็นสามี กับการปฏิบัติธรรมจนจิตใจสะอาด สงบ ระงับจากความยินดีในกามราคะ จะไปด้วยกันได้อย่างไรคะ
   ขอบคุณค่ะ


 ans1
ตอบ
สวัสดีครับ คุณ .....ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์ ธัมมโชติ
ชีวิตของฆราวาสนั้น ถ้าต้องการปฏิบัติธรรมให้บริสุทธิ และได้ผลอย่างรวดเร็วนั้น ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะมีข้อติดขัดหลายประการ ทั้งหน้าที่การงาน ครอบครัว ฯลฯ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้เสียทีเดียว

ในสมัยพุทธกาลก็มีตัวอย่างอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น นางวิสาขามหาอุบาสิกา (มิคารมาตา) นั้นเป็นโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ขวบ พอโตขึ้นก็แต่งงาน มีลูกหลานหลายคน และก็ไม่ได้ทิ้งธรรม


ผู้ที่จะงดเว้นจากกามราคะได้อย่างสิ้นเชิงก็ต้องเป็นอนาคามีบุคคล หรือพระอรหันต์เท่านั้น ส่วนผู้ที่ยังอยู่ในขั้นต่ำกว่านั้น (ตั้งแต่สกทาคามีบุคคลลงมา) ก็ยังมีกิเลสในเรื่องนี้อยู่ตามขั้น เพียงแต่กิเลสนั้นจะแสดงตัวออกมาหรือไม่เท่านั้น
     เช่น พระอานนท์ท่านกล่าวว่า ตั้งแต่ท่านบวชมาแล้วความกำหนัดในกามไม่ได้เกิดขึ้นกับท่านเลย
     แม้ในขณะที่ยังเป็นโสดาบันอยู่ก็ตาม ซึ่งเรื่องนี้ก็อยู่ที่จริตของแต่ละบุคคล


     :25: :25: :25:

ดังนั้น ผู้ที่สนใจธรรมอย่างแท้จริง ถ้าสามารถออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้ก็เป็นการดี แต่ถ้ายังมีภาระหน้าที่ ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ก็ควรจะปฏิบัติธรรมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในวิสัยของฆราวาส เช่น การปฏิบัติกับสามี หรือภรรยา ก็ทำไปโดยสมควรตามหน้าที่
    ไม่ใช่ทำไปด้วยอำนาจของกิเลส การบริโภคอาหารก็บริโภคเพื่อแก้หิว เพื่อไม่ให้เจ็บป่วย
    เพื่อให้ชีวิตเป็นไปได้ตามสมควร ไม่ใช่เพื่อความเอร็ดอร่อย
    ไม่ใช่เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ม่ใช่เพื่อตอบสนองกิเลส ฯลฯ


    การกระทำอย่างอื่นๆ ก็ทำนองเดียวกัน คือ พยายามทำไปในทางที่ไม่ให้กิเลสงอกเงย หรือครอบงำจิตใจได้
    สร้างสมบุญบารมีเอาไว้ทีละเล็กละน้อย ตามกำลังที่จะทำได้ ทั้งในด้านทาน ศีล สมาธิ และวิปัสสนา


เมื่อใดถูกกิเลสครอบงำ พอมีสติระลึกได้ก็รับรู้ตามสภาพความเป็นจริง แล้วปล่อยวาง (เพื่อแก้ไข ปรับปรุง ในโอกาสต่อๆ ไป) อย่ายึดมั่น เสียใจ เพราะความยึดมั่น เสียใจก็เป็นกิเลส จะดึงให้จิตตกต่ำไปเปล่าๆ

ถ้าสามารถพูดคุยกับคู่สมรสให้ปฏิบัติธรรมไปด้วยกันได้ ก็จะยิ่งดีขึ้นมาก และจะลดความขัดแย้งทางจิตใจในการปฏิบัติตัวได้มาก หรืออย่างน้อยก็ควรพูดให้เขาเข้าใจสภาพจิตใจของเรา แต่ละฝ่ายก็จะได้ทำตัวได้ง่ายขึ้น

    สรุปคือทำเท่าที่จะทำได้ ได้แค่ไหนก็แค่นั้น อย่าคิดมาก อย่ากังวล แต่ถ้าออกบวชได้ก็จะดีที่สุด
    ถ้ายังไม่กระจ่าง หรือมีข้อสงสัยอะไรอีก ก็เชิญถามมาได้ใหม่นะครับ ไม่ต้องเกรงใจ

ธัมมโชติ
16 มีนาคม 2545


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.geocities.ws/tmchote/Thumma/index.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ฆราวาสกับการปฏิบัติธรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2013, 10:50:16 am »
0
ฆราวาส แสวงการปฏิบัติธรรม ก็ต้อง พึ่ง หลีกเร้น ปิดวาจา และ หาความสงบ วิเวก

   คำว่า วิเวก นี้ได้ยินไม่บ่อย แต่ก็มีการ กล่าวถึง ในเว็บ นี้ คะ


  thk56
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ