
สัทธรรม
[สัดทํา] น. คําสอนของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระสัทธรรม, ธรรมของสัตบุรุษหรือคนดี. (ส. สทฺธรฺม; ป. สทฺธมฺม).______________________________________________
ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
สัทธรรม 3 (ธรรมอันดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของสัตบุรุษ, หลักหรือแก่นศาสนา)
1. ปริยัตติสัทธรรม (สัทธรรมคือคำสั่งสอนจะต้องเล่าเรียน ได้แก่พุทธพจน์)
2. ปฏิปัตติสัทธรรม (สัทธรรมคือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ อัฏฐังคิกมรรค หรือไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา)
3. ปฏิเวธสัทธรรม (สัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน)
ข้อ 3 คือ ปฏิเวธสัทธรรม บางแห่งเรียก อธิคมสัทธรรม มีความหมายอย่างเดียวกัน.อ้างอิง วินย.อ. 1/264; ม.อ. 3/147,523; องฺ.อ. 3/391.
สัทธรรม 10 (ธรรมอันดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของสัตบุรุษ, หลักหรือแก่นศาสนา)
1-9. โลกุตตรธรรม 9 (มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1)
10. ปริยัติธรรม (ธรรมคือคำสั่งสอนอันจะต้องเล่าเรียน กล่าวคือ พุทธพจน์)อ้างอิง สงฺคห.ฏีกา 65.
สัทธรรมปฏิรูป สัทธรรมปลอม, สัทธรรมเทียม
สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี,
ธรรมของสัตบุรุษมี สัทธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติ ได้แก่ไตรสิกขา
๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน;
สัทธรรม ๗ คือ
๑. ศรัทธา ๒. หิริ ๓. โอตตัปปะ ๔. พาหุสัจจะ ๕. วิริยารัมภะ ๖. สติ ๗. ปัญญา
อสัทธรรม ธรรมของอสัตบุรุษ มีหลายหมวด
เช่น อสัทธรรม ๗ คือที่ตรงข้ามกับ สัทธรรม ๗ มีปราศจากศรัทธา ปราศจากหิริ เป็นต้น;
ในคำว่า “ทอดกายเพื่อเสพอสัทธรรมก็ดี” หมายถึง เมถุนธรรม คือการร่วมประเวณี_______________________________________________________________
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม และประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)