สมมุติสงฆ์ นี้เป็นพระอริยะสงฆ์ ได้หรือไม่ครับ
แล้ว สมมุติสงฆ์ ที่เป็น พระอริยะสงฆ์ มีการรับรองไว้อย่างไร ครับ
สงฆ์ หมู่, ชุมนุม
1. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒),
ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์
2. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง________________________________________________
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
สมมติสงฆ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมมติ (อ่านว่า สมมด, สมมดติ) ในคำวัดแปลว่า รู้พร้อมกัน, รู้กันพร้อมหน้า ใช้ในความหมายทั่วไปว่าอนุญาต, เลือกเฟ้น, ยินยอม, ยอมรับ, พิจารณา
สมมติ ในคำไทยใช้ในความหมายว่ารู้สึกนึกคิดเอาเอง, ต่างว่า, ถือเอาว่า, ข้อคิดเห็นที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผลหรือการค้นคว้าทดลอง
สมมติสงฆ์ หมายถึงพระสงฆ์โดยสมมติ คือเป็นพระสงฆ์โดยการยอมรับกันในหมู่สงฆ์ หลังจาการได้ผ่านการคัดเลือกเฟ้นคุณสมบัติถูกต้องและผ่านพิธีกรรมที่เรียกว่าอุปสมบทกรรมครบถ้วนตามพระวินัยแล้ว ใช้เรียกพระสงฆ์ที่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผล เช่นพระสงฆ์ทั่วไปในปัจจุบัน ถ้าได้บรรลุมรรคผลแล้ว เช่นเป็นพระโสดาบัน แม้จะเป็นฆราวาส ก็เรียกว่า อริยสงฆ์____________________________________________________
พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต
สมมติสงฆ์ต่างจากอริยสงฆ์ หากสมมุติสงฆ์บรรลุมรรคผลแล้วจึงเรียกว่า อริยสงฆ์
การพยากรณ์อริยสงฆ์นั้น ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าจะพยากรณ์รับรองให้
ในปัจจุบันต้องพยากรณ์ตัวเอง พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ใน ฉวิโสธนสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2445&Z=2669&pagebreak=0