คำกลอนสรรเสริญ
สมเด็จสังฆราชไก่เถื่อน
องค์สมเด็จพระอุปัชฌายะ ญาณะสังวรเจ้า
ศักดิืสิทธิ์ราชสิทธิ์พเน้า หนักข้างวิปัสสนายิ่งแล
เกริมฉายานามะประกาศ สังฆราชไก่เถื่อนนั้น
เดชวิศิษฐเมตตาจิตชั้น ไก่ป่ากล้าบูชาโฉมชิดแล
สมเด็จกรมพระนราธิปพงษ์ประพันธ์ ทรงนิพนธ์
คำอธิบายพระคัมภีร์เทศน์ขึ้นลำดับธรรม
คัมภีร์เทศน์ขึ้นลำดับธรรมนี้มีมาแต่โบราณกาลครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หรือก่อนนั้น ใช้สำหรับเทศน์ขึ้นบอกลำดับพระกรรมฐาน ได้ตกทอดมาถึงกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้รับสืบทอดมาจาก ท่านอาจารย์ วัดเกาะหงส์ ในกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ ๒๓๑๐ และพระองค์ท่านได้นำพระคัมภีร์มาสู่กรุงรัตนโกสินทร์
เนื้อหาสาระในพระคัมภีร์ มิได้มีการเปลี่ยนแปลงคงคำเดิม สำนวนเดิม รูปแบบเดิม
มาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย อักขระที่จารึกในพระคัมภีร์ จารึกด้วยอักษรขอมไทย
ปัจจุบันได้ถอดออกมาเป็นอักขระไทย และใช้เทศขึ้นลำดับธรรมสืบทอดมาจนทุกวันนี้
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านจะเทศขึ้นลำดับธรรมก่อน
จึงบอกพระกรรมฐานให้ สำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานมาก่อน_______________________________________
คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) หน้า ๓๒-๓๓
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง
http://www.somdechsuk.com/download/kumausamatawipassanakammathan.docขึ้นพระกรรมฐานใหญ่ ครั้งแรกของพระญาณสังวรเถร ณ วัดพลับ
ก่อนถึงวันขึ้นพระกรรมฐานใหญ่ ครั้งแรกของพระญาณสังวรเถร ณ วัดพลับ พระองค์ท่านได้ทรงนำเอาพระคัมภีร์เทศน์ขึ้นลำดับธรรม ที่พระอาจารย์จ้าว วัดเกาะหงส์ประทานให้ ๑ ผูก ซึ่งคัดลอกต้นฉบับออกมาใหม่แล้ว เพราะของเก่าต้นฉบับเดิมนั้นชำรุด พระคัมภีร์ผูกนี้พระองค์ท่านทรงคัดลอกด้วยลายพระหัตถ์ ของพระองค์ท่านเองทรงจารด้วยอักษรขอมไทย
ปัจจุบันพระคัมภีร์เทศน์ขึ้นลำดับธรรมที่ พระองค์ท่านทรงคัดลอก ยังปรากฏถึงปัจจุบันนี้ ที่พิพิธภัณฑ์พระกรรมฐาน คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
ครั้นถึงวันพฤหัสบดีแรก พรรษานั้น ซึ่งตรงกับวัน พฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๘ เบญจศก จุลศักราช ๑๑๔๕ ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๖ เป็นวันกำหนดขึ้นพระกรรมฐานใหญ่ครั้งแรกของวัดราชสิทธาราม และถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบกันตลอดมาจนกระทั้งถึงทุกวันนี้ ครั้งแรกนั้นขึ้นพระกรรมฐานใหญ่ ณ บริเวณหน้ากุฏิของพระญาณสังวรเถร

ครั้งนั้น พระญาณไตรโลก อดีตหลวงธรรมรักษา วัดสลัก หรือวัดมหาธาตุ ได้พาคณะของท่าน มาพร้อมกับอุบาสกมาขึ้นพระกรรมฐาน กับพระญาณสังวรเถร เป็นคณะแรก ท่านนำเครื่องบูชาพระรัตนไตรที่เรียกว่า ขันธ์ ๕ มาด้วย อันประกอบไปด้วย
- ข้าวตอก ๕ กระทง
- ดอกไม้ ๕ สี ๕ กระทง ปัจจุบันใช้สีเดียวก็ได้
- เทียนขี้ผึ้งหนัก ๑ บาท ๕ เล่ม
- ธูป ๕ ดอก
- ใส่มาในถาดไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า
ส่วนพวกอุบาสก รับศีลห้าก่อนแล้ว ต่อมาภิกษุ กับอุบาสก จุดธูปเทียนใน กระบะขันธ์ห้า สวดมนต์ทำวัตรพระกรรมฐานพร้อมกัน สวดมนต์ทำวัตรเสร็จ เทศน์ขึ้นลำดับธรรม ๑ จบ ตามแบบประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาล โดยพระญาณสังวรเถร ทรงสำแดงเอง

จุดประสงค์ของการเทศน์ขึ้นลำดับธรรม เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติพระกรรมฐาน
เป็นการปูพื้นฐาน เรื่องการปฏิบัติพระกรรมฐาน ขั้นตอนต่อมาพระญาณสังวรเถร
ก็จะทรงบอกองค์กรรมฐานให้ และทรงบอกวิธีอาราธนาพระกรรมฐานให้ด้วย
ครั้งนั้นพระองค์ท่านทรงเห็นว่า พระญาณไตรโลก ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มามากแล้ว จึงทรงแนะวิธีทำฌาน ให้เป็นบาทฐาน ของวิปัสสนาญาณ และทำฌานเป็นบาทฐาน ของโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ไม่นานนักประมาณปีเศษ พระญาณไตรโลก ก็ได้สำเร็จมรรคผล คู่ที่สอง____________________________________________________________
พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม วรวิหาร (พลับ)
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง (หน้า ๒๗๗-๒๗๘)
http://www.somdechsuk.com