ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ล่วงเกินกันด้วยสุตตะ  (อ่าน 2664 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ล่วงเกินกันด้วยสุตตะ
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2013, 11:03:40 am »
0



ผู้ได้รับความคุ้มครองจากธรรม
โดย อาจารย์วศิน อิทรสระ

ตอนที่ผ่านมา
ที่เวฬุวัน ป่าไผ่อันรื่นรมย์ พระจอมมุนีผู้ทรงเป็นนาถะแห่งโลก ประทับพักผ่อนอยู่ใต้ร่มเงาแห่งกอไผ่ใหญ่มีใบหนากอหนึ่งเวลานั้นเป็นวัฒนฉายากาล-ดวงอาทิตย์โคจรคล้อยไปทางตะวันตกมากแล้ว

พระพายโชยเฉื่อยฉิว ใบไผ่เล่นลมพลิ้วน่าทัศนา เสียงนกร้องเจี๊ยบจ๊าบอยู่มิได้ขาดทั้งบนกอไผ่และภายใต้ใกล้ภูมิภาค ณ เบื้องหน้าของพระชินสีห์ มีติณชาติซึ่งราชบุรุษของพระเจ้าพิมพิสารจงใจปลูกไว้มองดูเสมอเรียบขจีพรรณ

ป่านั้นจะชื่อว่าป่าไผ่ก็จริง แต่มิได้มีเพียงไม้พันธุ์ไผ่ เพียงอย่างเดียว ไม้พันธุ์อื่นก็ขึ้นอยู่เป็นอันมาก เช่นมะพร้าว มะม่วง กระดังงา ทองกวาว ประดู่ และ ตะแบกเป็นต้น ล้วนได้รับการตกแต่งอย่างดี เพื่อเป็นที่ประทับสำราญพระอิริยาบถแห่งจอมศาสดาและเป็นที่พักผ่อนตรึกตรองธรรมของพระสงฆ์


 :welcome: :welcome: :welcome:


ขณะนั้น มีพระเถระผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง อาการของท่านบ่งว่าเป็นที่พอใจในเสนาสนะป่า จีวรสีเหลืองหม่นคร่ำคร่าของพระภิกษุทั้งหลายอื่น น่าจะเป็นผู้สูงอายุทั้งโดยอายุ โดยพรรษาและโดยคุณธรรม พระผู้นั้นเข้ามาถวายบังคมพระพิชิตมารแล้วนั่งเฉยอยู่

พระศากยมุนีตรัสปราศรัยพอควรแก่มารยาทที่ดีแล้วจึงรับสั่งเป็นเชิงมอบภาระให้ว่า:-
    “กัสสปะ จงโอวาทสั่งสอนภิกษุเถิด จงกล่าวธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด เราหรือกัสสปะนี่แหละที่ควรโอวาทภิกษุ กล่าวธรรมกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย”

พระมหากัสสปะกราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้มีโชค! เวลานี้ภิกษุทั้งหลายเป็นคนหัวดื้อว่ายาก ประกอบด้วยธรรมแห่งผู้ว่ายาก ไม่ควรแก่โอวาท ไม่รับอนุศาสนีด้วยความเคารพ

    “ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงหักราคะ! ณ ที่นี้เอง ข้าพระองค์ได้เห็นภิกษุชื่อ ภัณฑะ ลัทธิวิหาริก (ศิษย์) ของพระอานนท์ กับภิกษุชื่อ อาภิชชิกะ ศิษย์ของพระอนุรุทธทะเลากัน กล่าวล่วงเกินกันด้วยเรื่องสุตตะ คือ ธรรมที่ได้เรียนมาว่า มาเถิด ใครจะกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจะกล่าวได้ไพเราะกว่ากัน ใครจะกล่าวได้นานกว่ากัน”

    “ข้าแต่พระองค์! ภิกษุทั้งหลายว่ายากอยู่อย่างนี้ จะให้ข้าพระองค์โอวาทอย่างไร?”





พระมหาสมณะ รับสั่งให้ภิกษุรูปหนึ่งไปตามพระภัณฑะและพระอาภิชชิกะมาเฝ้าตรัสถามความเรื่องนั้น เมื่อคู่กรณีทูลรับเป็นสัจแล้ว จึงตรัสว่า
     “ภิกษุ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เรากล่าวหมดแล้วหรือ?”
     “หามิได้เลยพระองค์” ภิกษุ ๒ รูปทูล
     “เมื่อดังนี้ ไฉนจึงทะเลาะกัน กล่าวโอ้อวดชวนโต้วาทะว่าใครจะกล่าวได้มากกว่า กล่าวได้ไพเราะกว่า กล่าวได้นานกว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ! (คนว่างจากคุณความดี) เธอผู้บวชในธรรมวินัยของเรา ควรหรือที่จะประพฤติตนเช่นนั้น”

ภิกษุทั้งสองได้รับคำเตือนจากพระมหาสมณะแล้ว รู้สึกตนจึงหมอบลงแทบพระยุคลบาททูลขอขมา พระศาสดาทรงประทานอภัยให้แล้ว ตรัสว่า “การสำนึกผิดแล้วตั้งใจสำรวมระวังต่อไปนั้น เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ



 :25: :25: :25:


พระศากยมุนี ตรัสกับพระมหากัสสปะต่อไปว่า “กัสสปะ เธอจงโอวาทภิกษุเถิด”
พระมหากัสสปะ กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์! ภิกษุเดี๋ยวนี้เป็นคนว่ายาก ประกอบด้วยธรรมแห่งผู้ว่ายากไม่รับโอวาทด้วยความเคารพ

    “ข้าแต่พระองค์! ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาในกุศลธรรมไม่มีแก่ภิกษุใด ความเสื่อมย่อมมีแก่ภิกษุนั้นทั้งกลางวันและกลางคืน หาความเจริญไม่ได้ เปรียบเหมือนดวงจันทร์ในกาฬปักข์ ภิกษุเช่นนั้นได้นามว่า เป็นผู้ไม่มี ศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญา เป็นคนมักโกรธ เป็นคนผูกโกรธ ภิกษุผู้จะโอวาทก็หาไม่ได้ ข้าแต่พระองค์! เรื่องเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นความเสื่อม

    “ส่วน ศรัทธา หิริ เป็นต้น มีแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นมีแต่ความเจริญทั้งกลางวันและกลางคืน เหมือนดวงจันทร์ในชุณหปักข์”

พระศาสดาทรงอุทานว่า “ชอบแล้ว กัสสปะ ถูกแล้วเธอกล่าวถูกแล้ว”



ที่มา http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=12288
ภาพประกอบจากเฟซบุ้ค
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=613226222051146&set=a.613222185384883.1073741831.100000913211652&type=1&theater
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ล่วงเกินกันด้วยสุตตะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2013, 11:25:33 am »
0



สุตตะ
    [-ตะ] ก. หลับแล้ว. (ป.; ส. สุปฺต).น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วน ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป.).


นวังคสัตถุศาสน์
    [นะวังคะสัดถุสาด] น. คําสอนของพระศาสดา คือ พระพุทธเจ้า มีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. (ป.).

____________________________________________
ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


ans1 ans1 ans1 ans1

นวังคสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง,
       ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ
           ๑. สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส)
           ๒. เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด)
           ๓. เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น)
           ๔. คาถา (ความร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น)
           ๕. อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร)
           ๖. อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร)
           ๗. ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง)
           ๘. อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ)
           ๙. เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น)
;
       เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์;

___________________________________________________
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)




พระพุทธพจน์มี ๙ อย่าง
               
      พระพุทธพจน์มี ๙ อย่าง ด้วยสามารถแห่งองค์อย่างไร.?
      จริงอยู่ พระพุทธพจน์นี้ทั้งหมดทีเดียว มี ๙ ประเภท คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ.



ans1 ans1 ans1 ans1

อธิบายพระพุทธพจน์มีองค์ ๙ ทีละองค์
               
      บรรดาพระพุทธพจน์ที่มีองค์ ๙ นั้น อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร และพระสูตรมีมงคลสูตร รตนสูตร นาลกสูตรและตุวฏกสูตร เป็นต้น ในสุตตนิบาต และพระตถาคตพจน์ (พระดำรัสของพระตถาคต) ที่มีชื่อว่าสูตรแม้อื่น พึงทราบว่า พระสูตร.

      พระสูตรที่มีคาถาแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เคยยะ.
      สคาถกวรรค (วรรคที่มีคาถา) แม้ทั้งสิ้น ในสังยุตตนิกาย พึงทราบว่า เคยยะ โดยพิเศษ.

      พระอภิธรรมปิฎกทั้งสิ้น พระสูตรที่ไม่มีคาถาปน และพระพุทธพจน์แม้อื่นที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าด้วยองค์ ๘ พึงทราบว่า เวยยากรณะ.
      ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนๆ ที่ไม่มีชื่อว่าสูตรในสุตตนิบาต พึงทราบว่า คาถา.


      พระสูตร ๘๒ สูตร ที่ปฏิสังยุตด้วยคาถาซึ่งสำเร็จด้วยโสมนัสสญาณ พึงทราบว่า อุทาน.
      พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ข้อนี้สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว พึงทราบว่า อิติวุตตกะ.


      ชาดก ๕๕๐ มีอปัณณกชาดกเป็นต้น พึงทราบว่า ชาตกะ.
      พระสูตร ที่ปฏิสังยุตด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมแม้ทั้งหมด ซึ่งเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อัจฉริยอัพภูตธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ย่อมมีในพระอานนท์ พึงทราบว่า อัพภูตธัมมะ.


      พระสูตรที่มนุษย์เป็นต้นมาแล้วได้ความรู้และความยินดีแม้ทั้งหมด มีจูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร และมหาปุณณมสูตร เป็นต้น พึงทราบว่า เวทัลละ.
      พระพุทธพจน์มีองค์ ๙ ด้วยอำนาจแห่งองค์ ดังพรรณนามาฉะนี้.

_________________________________
ที่มา อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์
www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=1&p=2#พระพุทธพจน์มี_๕_นิกาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 20, 2013, 11:33:38 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ