ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'พุทธศาสนา'ต้องเรียนทั้งชีวิต 1 คาบต่อสัปดาห์ ไม่พอ.!!  (อ่าน 1863 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

'พุทธศาสนา'ต้องเรียนทั้งชีวิต 1 คาบต่อสัปดาห์ ไม่พอ.!! : โดย..ขวัญเรียม แก้วสุวรรณ

ว่ากันว่ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้บรรจุวิชาพระพุทธศาสนาลงในตำราเรียนไทย ไว้ 1 คาบเรียนต่อสัปดาห์ เพราะต้องการให้นักเรียนได้รับการปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรมจากผู้สืบทอดศาสนาโดยตรง และร่วมกับกรมการศาสนา (ศน.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัด "โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน" มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548-2550 ก่อนที่จะโอนภาระงานพร้อมงบประมาณให้ ศธ.รับดำเนินการ และได้มอบให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) รับโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในปี 2551

พระครูปลัดสุวัฒนบัณฑิคุณ (วัลลพ โกวิโล) ผู้อำนวยการส่วนธรรมนิเทศ มจร. กล่าวว่า โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนได้รับงบประมาณจากรัฐบาลปีละ 470 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางของพระครูที่ไปสอนศีลธรรมในโรงเรียน 2,500 บาทต่อเดือน ขณะนี้มีพระครูที่จบพระธรรมชั้นเอกจาก มจร. และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ในโครงการทั้งสิ้น 1.8 หมื่นรูป กระจายสอนอยู่ทั่ว 77 จังหวัดโรงเรียนในสังกัด สพฐ. กว่า 3 หมื่นโรง



แม้ว่าผลประเมินเบื้องต้นสรุปได้ว่า ผู้บริหารและครูพอใจเด็กๆ มีสัมมาคารวะ เคารพกราบไหว้ ได้ใกล้ชิดพุทธศาสนามากขึ้น ผู้ปกครองได้รับอานิสงส์สอนลูกให้เป็นคนดีจากพระ ทว่า กระทรวงศึกษาธิการกลับเอาวิชาพระพุทธศาสนาไปรวมกับวิชาสังคมเรียนแค่ 1 คาบต่อสัปดาห์ ทำให้บอกไม่ได้ว่าเด็กประสบผลสำเร็จ เพราะพระพุทธศาสนาต้องเรียนทั้งชีวิต ตั้งแต่ก้าวเข้าประตูโรงเรียน ต้องสอนอย่างจริงจัง ประเมินอย่างจริงจัง

    "พระท่านต้องการสร้างความเข้มแข็งในศีลธรรม อยากให้นักเรียนได้ใกล้ชิดกับศาสนา ความจริงหลักสูตรมันมีอยู่แล้ว พระที่จะสอนมีอยู่แล้ว แต่หาตารางสอน เวลาสอนไม่มี ที่สอนอยู่ทุกวันนี้ก็สอนตามที่โรงเรียนจัดตารางให้ ถ้าให้ดีต้องมีเวลาสอนมากกว่านี้ถึงจะเห็นผลและต้องประเมินผล 360 องศาและต้องเรียนทั้งชีวิต สอดแทรกทุกวิชาถึงจะได้ผลเป็นคนที่สมบูรณ์" พระครูปลัดสุวัฒนบัณฑิคุณ กล่าว


 :welcome: :welcome: :welcome:

พระกานต์ชนะ ภูริศรี (สนฺติกาโร) อายุ 29 ปี 9 พรรษา นักธรรมชั้นเอก วัดธรรมมงคล กทม. พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนวิถีพุทธพระโขนงพิทยาลัย เล่าว่า ใน 1 สัปดาห์ สอนวิชาพระพุทธศาสนาและวิชาสังคมศึกษารวมทั้งหมด 12 คาบ คาบละ 50 นาที เนื้อหาตามหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในสังกัด สพฐ. และปฏิบัติเสมือนฆราวาส

ดังนั้น เมื่อนักเรียนได้เรียนวิชาพระพุทธศาสนากับพระครูอย่างน้อยใน 1 คาบเรียน ( 50 นาทีต่อสัปดาห์) จะซึมซับพระพุทธศาสนา บางคนหลังจากเรียนกับพระครูเสร็จตามกลับไปปฏิบัติธรรมที่วัด เช่น บวชชีทุกวันพระ ตามผู้ปกครองมาฟังธรรมทุกวันพระ และด้วยความห่างไกลครอบครัวเกิดปัญหากระทบสังคม จึงพยายามหากิจกรรมนอกบทเรียนให้เด็กมีความสัมพันธ์กับครอบครัว โดยการทำหนังสือเป็นตารางกิจกรรมการนั่งสมาธิวันละ 5 นาที สุดสัปดาห์ให้ผู้ปกครองเซ็นรับทราบว่าบุตรหลานนั่งสมาธิจริงหรือไม่




กุมารี นันทกสิกร หรือน้ำหวาน วัย 16 ปี นักเรียนชั้น ม.5/2 นักธรรมชั้นโท โรงเรียนวิถีพุทธพระโขนงพิทยาลัย เล่าว่า เรียนวิชาพระพุทธศาสนากับพระสนุกสนาน การสอนไม่น่าเบื่อ มีการนำคลิปวิดีโอ เพลง รายการโทรทัศน์ หรือละครในโทรทัศน์มาเปิดให้ชมและสอนนักเรียนไปในตัว เช่น ละครบันทึกกรรม กรรมลิขิต ซึ่งเชื่อมโยงบทเรียนทางโลกกับทางธรรมได้ดีมาก หากได้เรียนพระพุทธศาสนา 2-3 คาบต่อสัปดาห์ จะมีทำให้การเรียนวิชาอื่นดีขึ้นด้วย

ณัฐธนพร อินทรัตน์ หรือแพรว นักธรรมชั้นโท วัย 17 ปี เพื่อนร่วมชั้น เล่าว่า ต้องทำสมาธิก่อนเรียนวิชาพระพุทธศาสนาทุกครั้ง ระหว่างเรียนพระครูจะให้ทำแบบฝึกหัด อาจจะสั่งระหว่างเรียนหรือท้ายชั่วโมงเพื่อให้กลับไปหาคำตอบที่ไม่มีในหนังสือเรียน และในระหว่างเรียนหากเกิดข้อสงสัยสามารถถามได้ เชื่อว่าหากทุกโรงเรียนได้เรียนวิชาพระพุทธศาสนากับพระจะเป็นการปลูกฝังให้เป็นคนมีศีลธรรมถาวร

    "ทุกวันนี้สิ่งยั่วยุมีเยอะมาก ถ้ายังเรียนแค่คาบเดียวใน 1 สัปดาห์ก็คงไม่ทำให้เด็กมีศีลธรรมถึงขั้นใช้ปัญญาได้ ต้องเพิ่มอีกเยอะเลย เพิ่มหรือสอดแทรกในทุกวิชาเลยก็ได้ ที่สำคัญยังปลูกฝังตั้งแต่เล็กๆ จะดีที่สุด" แพรว กล่าว


 gd1 gd1 gd1

ด้าน ดร.ปรีชา กันธิยะ อธิบดี ศน.กล่าวว่า ควรมีหลักสูตรพุทธศึกษาในสถานศึกษา โดยแยกออกมาจากวิชาสังคมให้อยู่ในหลักสูตรแกนกลาง เน้นภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดยภาคทฤษฎีเน้นเรียนรู้พุทธประวัติ ทฤษฎีการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา หลักคำสอน ส่วนภาคปฏิบัติเน้นให้เด็กได้ปฏิบัติจริง
     ซึ่งจากนี้ไป ศน.จะมีคณะทำงานร่างหลักสูตรพุทธศึกษา คาดว่าจะเสร็จประมาณเดือนตุลาคมนี้
     จากนั้นจะนำเข้าหารือกับทุกฝ่ายและสพฐ.อีกครั้ง ก่อนนำร่างหลักสูตรดังกล่าวเสนอต่อมหาเถรสมาคม (มส.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20130903/167258/พุทธศาสนาต้องเรียนทั้งชีวิต.html#.UiZ7un_KXHt
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การศึกษาพระพุทธศาสนาอย่าไปสำคัญที่กิจกรรมแบบยัดเยี่ยด เด็กจะไม่รับหนำซ้ำกลับให้เด็กคิดผละไม่ใส่ใจไม่เอาเท่ากับจม ครอบครัวนี่ซิสำคัญต้องเริ่มที่ผู้ปกครองแล้วป้อนใส่ให้กับเขาโดยพาไปกราบขมาสงฆ์เด็กจะซึมซับเมื่อเขาเติบใหญ่จากปัญหาอุปสรรคเขาจะแสวงหาครูอาจารย์นำพาบริวารไปสรรเสวนาเกาะเกี่ยวเป็นลูกโซ่คล้องใจกันและกันเองแล้วสันติสุขจึงจะกล่าวได้เต็มปาก...ครับ!
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา